วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการอภิปราย
รัฐมนตรีรายบุคคลเมื่อวันที่ 19 - 21 พฤษภาคม 2547 ในหัวข้อไว้วางใจ....ไม่ไว้วางใจให้ประชาชนตัดสิน ซึ่งมีประเด็น
คำถามดังนี้
-ควรหรือไม่ควรที่จะมีการอภิปรายย้อนหลังตำแหน่งเดิมของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย
-รัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายควรตอบข้ออภิปรายในเรื่องต่าง ๆ เองหรือให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงแทน
-ความเชื่อเกี่ยวกับการฮั้วหรือสมยอมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในข้อคำถามการอภิปราย
-ความคิดเห็นเกี่ยวกับการไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ 8 รัฐมนตรี และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพรวมบรรยากาศการอภิปรายที่ผ่านมา
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขต
ปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
ดุสิต ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ พญาไท ปทุมวัน สาทร บางรัก ราชเทวี คลองเตย
พระโขนง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง จตุจักร บางซื่อ ดินแดง บางเขน
บางกะปิ บึงกุ่ม ภาษีเจริญ สะพานสูง ธนบุรี บางกอกน้อย บางแค บางนา มีนบุรี
ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ทวีวัฒนา
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,153 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
" ไว้วางใจ... ไม่ไว้วางใจ ให้ประชาชนตัดสิน "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 พฤษภาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 23 พฤษภาคม 2547
ผลการสำรวจ
1.การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากประชากรในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
จำนวน 1,153 คน ร้อยละ 48.7 เป็นชาย และร้อยละ 51.3 เป็นหญิง
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.7 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 29.2 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 27.4 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี และร้อยละ 17.7 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.0 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 18.8 ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 10.3 ระดับปวช. ร้อยละ 17.0 ระดับปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 38.8 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 7.1
สูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 16.7 นักศึกษา ร้อยละ 12.7
ค้าขาย ร้อยละ 10.2 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.7 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 9.4 พนังงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.7
รับราชการ และร้อยละ 7.5 พ่อบ้าน/แม่บ้าน
2.เมื่อถามว่า ควรให้มีการอภิปรายย้อนหลังตำแหน่งเดิมก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งในปัจจุบันของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายได้ด้วยหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุว่าควร ร้อยละ 36.5 ระบุว่าไม่ควร และร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
3.สำหรับการอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล คิดว่ารัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายควรตอบข้ออภิปรายนั้น ๆ เอง
หรือสามารถให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลุกขึ้นชี้แจงแทนได้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุว่าควรตอบเอง ร้อยละ 31.1
ระบุว่าให้ผู้เกี่ยวข้องตอบได้ และร้อยละ 11.0 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4.ตามที่มีข่าวจากสื่อว่ามีการฮั้วหรือสมยอมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในบางประเด็นคำถามที่จะอภิปรายนั้น
ท่านเชื่อหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.4 ระบุว่าเชื่อ ร้อยละ 34.9 ระบุว่าไม่เชื่อ และร้อยละ 27.8 ระบุว่าไม่มี
ความเห็น
5.เมื่อถามว่า จากการอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคลที่ผ่านมา ให้ความไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลดังต่อไปนี้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าไม่ไว้วางใจมากกว่าไว้วางใจ เรียงตามลำดับดังนี้
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 59.8 และไว้วางใจร้อยละ 20.1)
นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 52.2 และไว้วางใจร้อยละ 24.1)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 48.4 และไว้วางใจร้อยละ 23.4)
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 44.0 และไว้วางใจร้อยละ 28.4)
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 42.1 และไว้วางใจร้อยละ 19.1)
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 38.2)(และไว้วางใจร้อยละ 35.7 )
นายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 37.1 และไว้วางใจร้อยละ 20.7)
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 35.2 และไว้วางใจร้อยละ 29.6)
6.สำหรับคำถามว่า โดยภาพรวมพอใจในบรรยากาศของการอภิปรายครั้งนี้เพียงใด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 4.4 .พอใจ
อย่างมาก ร้อยละ 30.6 ระบุว่าพอใจ ร้อยละ 33.0 ระบุว่าเฉย ๆ ร้อยละ 18.1 ระบุว่าไม่พอใจ ร้อยละ 5.2 ระบุว่า
ไม่พอใจอย่างมาก และร้อยละ 8.6 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 561 48.7
หญิง 592 51.3
อายุ :
18 - 25 ปี 296 25.7
26 - 35 ปี 337 29.2
36 - 45 ปี 316 27.4
45 ปีขึ้นไป 204 17.7
การศึกษา:
ประถมศึกษา 92 8.0
มัธยมศึกษา 217 18.8
ปวช. 119 10.3
ปวส./อนุปริญญา 196 17.0
ปริญญาตรี 447 38.8
สูงกว่าปริญญาตรี 82 7.1
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 264 22.9
นักศึกษา 192 16.7
ค้าขาย 147 12.7
รับจ้างทั่วไป 118 10.2
เจ้าของกิจการ 112 9.7
รัฐวิสาหกิจ 108 9.4
รับราชการ 100 8.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 86 7.5
อื่น ๆ 26 2.3
ตารางที่ 2: ควรให้มีการอภิปรายย้อนหลังตำแหน่งเดิมก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งในปัจจุบันของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายได้ด้วยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 585 50.7
ไม่ควร 421 36.5
ไม่มีความเห็น 147 12.7
ตารางที่ 3: เมื่ออภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ท่านคิดว่ารัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายควรตอบข้ออภิปรายนั้น ๆ เอง หรือสามารถให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องลุกขึ้นชี้แจงแทนได้
จำนวน ร้อยละ
ควรตอบเอง 667 57.8
ให้ผู้เกี่ยวข้องตอบได้ 359 31.1
ไม่มีความเห็น 127 11.0
ตารางที่ 4: ตามที่มีข่าวจากสื่อว่า มีการฮั้วหรือสมยอมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในบางประเด็นคำถามที่จะอภิปรายนั้น ท่านเชื่อหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 431 37.4
ไม่เชื่อ 402 34.9
ไม่มีความเห็น 320 27.8
ตารางที่ 5: จากการอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคลที่ผ่านมา ท่านให้ความไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลดังต่อไปนี้หรือไม่
รายชื่อ ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ ไม่มีความเห็น
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี 20.1 59.8 20.0
นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ 24.1 52.2 23.7
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม 23.4 48.4 28.2
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี 28.4 44.0 27.6
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี 19.1 42.1 38.9
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 35.7 38.2 26.1
นายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ 20.7 37.1 42.2
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง 29.6 35.2 35.2
ตารางที่ 6: โดยภาพรวมท่านพอใจในบรรยากาศของการอภิปรายครั้งนี้ เพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจอย่างมาก 51 4.4
พอใจ 353 30.6
เฉย ๆ 381 33.0
ไม่พอใจ 209 18.1
ไม่พอใจอย่างมาก 60 5.2
ไม่มีความเห็น 99 8.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ลจ-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการอภิปราย
รัฐมนตรีรายบุคคลเมื่อวันที่ 19 - 21 พฤษภาคม 2547 ในหัวข้อไว้วางใจ....ไม่ไว้วางใจให้ประชาชนตัดสิน ซึ่งมีประเด็น
คำถามดังนี้
-ควรหรือไม่ควรที่จะมีการอภิปรายย้อนหลังตำแหน่งเดิมของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย
-รัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายควรตอบข้ออภิปรายในเรื่องต่าง ๆ เองหรือให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงแทน
-ความเชื่อเกี่ยวกับการฮั้วหรือสมยอมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในข้อคำถามการอภิปราย
-ความคิดเห็นเกี่ยวกับการไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ 8 รัฐมนตรี และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพรวมบรรยากาศการอภิปรายที่ผ่านมา
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขต
ปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
ดุสิต ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ พญาไท ปทุมวัน สาทร บางรัก ราชเทวี คลองเตย
พระโขนง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง จตุจักร บางซื่อ ดินแดง บางเขน
บางกะปิ บึงกุ่ม ภาษีเจริญ สะพานสูง ธนบุรี บางกอกน้อย บางแค บางนา มีนบุรี
ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ทวีวัฒนา
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,153 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
" ไว้วางใจ... ไม่ไว้วางใจ ให้ประชาชนตัดสิน "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 พฤษภาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 23 พฤษภาคม 2547
ผลการสำรวจ
1.การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากประชากรในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
จำนวน 1,153 คน ร้อยละ 48.7 เป็นชาย และร้อยละ 51.3 เป็นหญิง
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.7 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 29.2 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 27.4 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี และร้อยละ 17.7 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.0 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 18.8 ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 10.3 ระดับปวช. ร้อยละ 17.0 ระดับปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 38.8 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 7.1
สูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 16.7 นักศึกษา ร้อยละ 12.7
ค้าขาย ร้อยละ 10.2 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.7 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 9.4 พนังงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.7
รับราชการ และร้อยละ 7.5 พ่อบ้าน/แม่บ้าน
2.เมื่อถามว่า ควรให้มีการอภิปรายย้อนหลังตำแหน่งเดิมก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งในปัจจุบันของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายได้ด้วยหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุว่าควร ร้อยละ 36.5 ระบุว่าไม่ควร และร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
3.สำหรับการอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล คิดว่ารัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายควรตอบข้ออภิปรายนั้น ๆ เอง
หรือสามารถให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลุกขึ้นชี้แจงแทนได้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุว่าควรตอบเอง ร้อยละ 31.1
ระบุว่าให้ผู้เกี่ยวข้องตอบได้ และร้อยละ 11.0 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4.ตามที่มีข่าวจากสื่อว่ามีการฮั้วหรือสมยอมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในบางประเด็นคำถามที่จะอภิปรายนั้น
ท่านเชื่อหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.4 ระบุว่าเชื่อ ร้อยละ 34.9 ระบุว่าไม่เชื่อ และร้อยละ 27.8 ระบุว่าไม่มี
ความเห็น
5.เมื่อถามว่า จากการอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคลที่ผ่านมา ให้ความไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลดังต่อไปนี้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าไม่ไว้วางใจมากกว่าไว้วางใจ เรียงตามลำดับดังนี้
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 59.8 และไว้วางใจร้อยละ 20.1)
นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 52.2 และไว้วางใจร้อยละ 24.1)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 48.4 และไว้วางใจร้อยละ 23.4)
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 44.0 และไว้วางใจร้อยละ 28.4)
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 42.1 และไว้วางใจร้อยละ 19.1)
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 38.2)(และไว้วางใจร้อยละ 35.7 )
นายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 37.1 และไว้วางใจร้อยละ 20.7)
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง (ไม่ไว้วางใจร้อยละ 35.2 และไว้วางใจร้อยละ 29.6)
6.สำหรับคำถามว่า โดยภาพรวมพอใจในบรรยากาศของการอภิปรายครั้งนี้เพียงใด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 4.4 .พอใจ
อย่างมาก ร้อยละ 30.6 ระบุว่าพอใจ ร้อยละ 33.0 ระบุว่าเฉย ๆ ร้อยละ 18.1 ระบุว่าไม่พอใจ ร้อยละ 5.2 ระบุว่า
ไม่พอใจอย่างมาก และร้อยละ 8.6 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 561 48.7
หญิง 592 51.3
อายุ :
18 - 25 ปี 296 25.7
26 - 35 ปี 337 29.2
36 - 45 ปี 316 27.4
45 ปีขึ้นไป 204 17.7
การศึกษา:
ประถมศึกษา 92 8.0
มัธยมศึกษา 217 18.8
ปวช. 119 10.3
ปวส./อนุปริญญา 196 17.0
ปริญญาตรี 447 38.8
สูงกว่าปริญญาตรี 82 7.1
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 264 22.9
นักศึกษา 192 16.7
ค้าขาย 147 12.7
รับจ้างทั่วไป 118 10.2
เจ้าของกิจการ 112 9.7
รัฐวิสาหกิจ 108 9.4
รับราชการ 100 8.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 86 7.5
อื่น ๆ 26 2.3
ตารางที่ 2: ควรให้มีการอภิปรายย้อนหลังตำแหน่งเดิมก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งในปัจจุบันของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายได้ด้วยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 585 50.7
ไม่ควร 421 36.5
ไม่มีความเห็น 147 12.7
ตารางที่ 3: เมื่ออภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ท่านคิดว่ารัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายควรตอบข้ออภิปรายนั้น ๆ เอง หรือสามารถให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องลุกขึ้นชี้แจงแทนได้
จำนวน ร้อยละ
ควรตอบเอง 667 57.8
ให้ผู้เกี่ยวข้องตอบได้ 359 31.1
ไม่มีความเห็น 127 11.0
ตารางที่ 4: ตามที่มีข่าวจากสื่อว่า มีการฮั้วหรือสมยอมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในบางประเด็นคำถามที่จะอภิปรายนั้น ท่านเชื่อหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 431 37.4
ไม่เชื่อ 402 34.9
ไม่มีความเห็น 320 27.8
ตารางที่ 5: จากการอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคลที่ผ่านมา ท่านให้ความไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลดังต่อไปนี้หรือไม่
รายชื่อ ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ ไม่มีความเห็น
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี 20.1 59.8 20.0
นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พาณิชย์ 24.1 52.2 23.7
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม 23.4 48.4 28.2
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี 28.4 44.0 27.6
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี 19.1 42.1 38.9
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 35.7 38.2 26.1
นายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ 20.7 37.1 42.2
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง 29.6 35.2 35.2
ตารางที่ 6: โดยภาพรวมท่านพอใจในบรรยากาศของการอภิปรายครั้งนี้ เพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจอย่างมาก 51 4.4
พอใจ 353 30.6
เฉย ๆ 381 33.0
ไม่พอใจ 209 18.1
ไม่พอใจอย่างมาก 60 5.2
ไม่มีความเห็น 99 8.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ลจ-