กรุงเทพโพลล์: “ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในรอบ 9 เดือน”

ข่าวผลสำรวจ Wednesday May 2, 2012 07:38 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลได้แค่ 3.83 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10

ชี้โครงการขจัดยาเสพติดเป็นผลงานยอดเยี่ยม ขณะที่ โครงการยกเลิกกองทุนน้ำมัน เป็นผลงานยอดแย่

ด้วยรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะปฎิบัติงานครบ 9 เดือนในเดือนพฤษภาคมนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพ โพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 26 แห่ง จำนวน 63 คน เรื่อง “ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของ รัฐบาลในรอบ 9 เดือน” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 20 — 25 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจในภาพรวมของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ โดยให้คะแนนเพียง 3.83 คะแนน(จาก เต็ม 10) โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้านดังนี้

                    ด้านการเติบโตของ GDP                                                        5.00  คะแนน
                    ด้านการนำพาเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตน้ำท่วมใหญ่                                  4.53  คะแนน
                    ด้านการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ                                                 3.75  คะแนน
                    ด้านการสร้างความเป็นธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ                       3.47  คะแนน
                    ด้านการแก้ปัญหา/ดูแลเสถียรภาพของราคาสินค้า                                       3.17  คะแนน
                    ด้านการบริหารจัดการราคาพลังงาน                                                3.03  คะแนน

สำหรับผลงานในการดำเนินโครงการตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน พบว่าโครงการที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ามีผลงานอยู่ในระดับใน ระดับยอดเยี่ยม มีดังนี้

          อันดับ   1          ร้อยละ          54.9          โครงการขจัดยาเสพติดใน 12  เดือน
          อันดับ   2          ร้อยละ          35.3          โครงการคืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก
          อันดับ   3          ร้อยละ          33.3          โครงการ30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง

ส่วนโครงการที่เห็นว่ามีผลงานอยู่ในระดับในระดับยอดแย่ มีดังนี้

          อันดับ   1          ร้อยละ          43.5          โครงการยกเลิกกองทุนน้ำมัน (การลดราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล)
          อันดับ   2          ร้อยละ          40.3          โครงการจำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ 15,000 บาท และ

ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท

          อันดับ   3          ร้อยละ          38.7          โครงการแจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน
          อันดับ   3          ร้อยละ          38.7          โครงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายใน 90 วัน

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ความคิดเห็นต่อการบริหารเศรษฐกิจภาพรวมในรอบ 9 เดือนของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์
                                                                   คะแนน                        ผลงาน                      ไม่ตอบ/
                                                                 (เต็ม 10)      ดีเยี่ยม       ดี     พอใช้     แย่     แย่มาก     ไม่ทราบ
1. การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม (GDP)                                  5           0        18     61.9     14      1.6        4.7
2. การนำพาเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตน้ำท่วมใหญ่                           4.53         1.6       16     42.9     30      3.2        6.2
3. การแก้ปัญหา/ดูแลเสถียรภาพของราคาสินค้า                                3.17          0        4.8    28.6     49      12.7       4.7
4. การบริหารจัดการราคาพลังงาน                                         3.03          0        6.3     27      44       19        3.3
5. การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ                                          3.75          0        6.3    42.9     33      9.5         8
6. การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ                3.47          0        6.3    34.9     30      14.3      14.3
                               รวม                                 3.83         0.3       9.5    39.7     34      10.1       6.8


2. โครงการใดของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่มีการดำเนินการไปแล้วและมีผลงานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
(เลือกตอบจำนวนไม่เกิน 3 โครงการ)
          อันดับ          1          ร้อยละ          54.9          โครงการขจัดยาเสพติดใน 12  เดือน
          อันดับ          2          ร้อยละ          35.3          โครงการคืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก
          อันดับ          3          ร้อยละ          33.3          โครงการ30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง
          อันดับ          4          ร้อยละ          25.5          โครงการคืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อนให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรก
          อันดับ          5          ร้อยละ          21.6          โครงการแจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร  เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต
          ไม่มีโครงการใดเลยที่มีผลงานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม            ร้อยละ          21.6

(หมายเหตุ: เป็นการเลือกโครงการที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้ตอนปราศัยใหญ่ที่เวทีราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อ 1 ก.ค. 54  และคัดเลือกโดยกรุง
เทพโพลล์เพื่อทำการประเมินทั้งหมด 14 โครงการ)

3. โครงการใดของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่มีการดำเนินการไปแล้วและมีผลงานอยู่ในระดับยอดแย่
(เลือกตอบจำนวนไม่เกิน 3 โครงการ)
          อันดับ          1          ร้อยละ          43.5          โครงการยกเลิกกองทุนน้ำมัน (การลดราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล)
          อันดับ          2          ร้อยละ          40.3          โครงการจำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ 15,000 บาท และ

ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท

          อันดับ          3          ร้อยละ          38.7          โครงการแจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน
          อันดับ          3          ร้อยละ          38.7          โครงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายใน 90 วัน
          อันดับ          5          ร้อยละ          25.8          โครงการจบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท

โครงการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ คือ การดูแลราคาสินค้า

          ไม่มีโครงการใดเลยที่มีผลงานอยู่ในระดับยอดแย่            ร้อยละ          0.0

(หมายเหตุ: เป็นการเลือกโครงการที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้ตอนปราศัยใหญ่ที่เวทีราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อ 1 ก.ค. 54  และคัดเลือกโดยกรุง
เทพโพลล์เพื่อทำการประเมินทั้งหมด 14 โครงการ)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
         นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์
          1.          เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชน
โดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
          2.          เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ
ประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของ ประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ

บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน  บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน         คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศ
ศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร  สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ  และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัย
ประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ


วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  20 — 25 เมษายน 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  1 พฤษภาคม 2555

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

           หน่วยงานภาครัฐ                    28          44.4
           หน่วยงานภาคเอกชน                 18          28.6
           สถาบันการศึกษา                    17          27.0
          รวม                              63         100.0

เพศ
            ชาย                            33          52.4
            หญิง                            30          47.6
          รวม                              63         100.0

อายุ
            26 ปี — 35 ปี                    26          41.3
            36 ปี — 45 ปี                    17          27.0
            46 ปีขึ้นไป                       20          31.7
          รวม                              63         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        3           4.8
             ปริญญาโท                       44          69.8
             ปริญญาเอก                      16          25.4
          รวม                              63         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                       11          17.5
              6-10 ปี                       19          30.2
              11-15 ปี                      10          15.9
              16-20 ปี                       6           9.5
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                17          27.0
          รวม                              63         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ