แฟนบอลไทย 30.9% เชียร์สเปน และทุกๆ 1 ใน 4 คนคิดจะเล่นพนันฟุตบอล นอกจากนี้ คอบอลเกือบครึ่งเชื่อการดูบอลจะส่งผลกระทบต่อการเรียนและการทำงาน
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คอบอลไทยกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สนใจกีฬาฟุตบอล จำนวน 1,133 ตัวอย่าง พบว่า แฟนบอลร้อยละ 89.9 จะติดตามรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 มีเพียงร้อยละ 10.1 ที่จะไม่ติดตามรับชม
โดยทีมชาติสเปนเป็นทีมที่แฟนบอลชาวไทยเชียร์มากที่สุด (ร้อยละ 30.9) รองลงมาคือ อังกฤษ (ร้อยละ 23.7) และเยอรมัน (ร้อยละ 19.9) ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าเรื่องที่อาจทำให้ช็อคความรู้สึกแฟนบอลมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 คือ แชมป์เก่าสเปน ตกรอบแรก (ร้อยละ 34.9) รองลงมาคือ อังกฤษตกรอบแรก (ร้อยละ 24.2) และ ทีมรองบ่อนได้แชมป์ (ร้อยละ 18.8)
ส่วนกิจกรรมที่แฟนบอลคิดว่าจะทำมากที่สุด ขณะชมฟุตบอลยูโร 2012 พบว่า ร้อยละ 37.2 จะกินขนมขบเคี้ยว ร้อยละ 23.8 จะดื่มน้ำอัดลม น้ำผลไม้ และร้อยละ 22.8 จะดื่มเหล้า/เบียร์ ขณะที่ร้อยละ 19.0 ไม่มีกิจกรรม รับชมอย่างเดียว
เมื่อถามความเห็นต่อการเล่นพนันฟุตบอล ในช่วงการแข่งขันยูโร 2012 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.5 คิดว่าจะเล่น ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเยาวชนมากที่สุด โดยจำนวนเงินที่คาดว่าจะเล่นพนันฟุตบอลในแต่ละครั้งพบว่าอยู่ในช่วง 101 -500 บาท (ร้อยละ 32.2) 51-100 บาท (ร้อยละ 22.1) และ 501-1,000 บาท (ร้อยละ 16.4) ขณะที่ ร้อยละ 72.5 ไม่เล่นพนันอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงการรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 จะมีผลกระทบต่อการเรียนหรือการทำงานหรือไม่ (โดยผลกระทบอาจทำให้ไปเรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ มีอาการง่วง แอบหลับ หรือมีการลาหยุด / ไปสาย) ร้อยละ 48.8 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 48.6 ระบุว่ามีผลกระทบ โดยในจำนวนนี้เป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 15.3) รองลงมาคือ พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน (ร้อยละ 14.1) และค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว (ร้อยละ 8.2)
รายละเอียดดังต่อไปนี้
ติดตามรับชม ร้อยละ 89.9 โดย ติดตามชมทุกคู่ ร้อยละ 20.6 ติดตามเฉพาะทีมใหญ่และทีมที่เชียร์ ร้อยละ 49.9 ติดตามเฉพาะบิ๊กแมตช์ทีมใหญ่เจอกัน ร้อยละ 13.6 ติดตามเฉพาะรอบลึกๆ ร้อยละ 5.8 ไม่ติดตามรับชม ร้อยละ 10.1 2. ท่านเชียร์ทีมใดในจำนวน 16 ทีมสุดท้ายฟุตบอลยูโร 2012 (5 อันดับแรก) สเปน ร้อยละ 30.9 อังกฤษ ร้อยละ 23.7 เยอรมัน ร้อยละ 19.9 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 9.3 โปรตุเกส ร้อยละ 4.8 3. เรื่องที่อาจทำให้ช็อคความรู้สึกแฟนบอล ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 แชมป์เก่าสเปน ตกรอบแรก ร้อยละ 34.9 อังกฤษ ตกรอบแรก ร้อยละ 24.2 ทีมรองบ่อนได้แชมป์ ร้อยละ 18.8 เยอรมัน ตกรอบแรก ร้อยละ 12.0 อิตาลี ตกรอบแรก ร้อยละ 5.6 ฮอลแลนด์ ตกรอบแรก ร้อยละ 4.5 4. กิจกรรมที่คิดว่าจะทำขณะชมฟุตบอลยูโร 2012 (5 อันดับแรก) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) กินขนมขบเขี้ยว ร้อยละ 37.2 ดื่มน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ร้อยละ 23.8 ดื่มเหล้า/เบียร์ ร้อยละ 22.8 นัดกันไปดูบอลที่บ้านเพื่อน ร้อยละ 18.4 เล่นพนันกับเพื่อนหรือกับโต๊ะบอล ร้อยละ 13.9 ไม่มีกิจกรรม รับชมอย่างเดียว ร้อยละ 19.0 5. ความเห็นต่อการเล่นพนันฟุตบอล ในช่วงการแข่งขันยูโร 2012 พบว่า คิดว่าจะเล่น ร้อยละ 27.5
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าจะเล่นพนันฟุตบอล พบว่า
เป็นผู้ที่มีอายุ 15-25 ปี ร้อยละ 10.1 26-35 ปี ร้อยละ 8.9 36-45 ปี ร้อยละ 5.6 46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2.9 ไม่เล่นพนันอยู่แล้ว ร้อยละ 72.5 6. จำนวนเงินที่คาดว่าจะเล่นพนันฟุตบอลในแต่ละครั้ง พบว่า (ถามเฉพาะผู้ที่คาดว่าจะเล่นพนันฟุตบอล) ไม่เกิน 50 บาท ร้อยละ 14.8 51-100 บาท ร้อยละ 22.1 101-500 บาท ร้อยละ 32.2 501-1,000 บาท ร้อยละ 16.4 1,001-5000 บาท ร้อยละ 8.2 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 2.5 10,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 3.8 7. ความคิดเห็นต่อการรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 จะมีผลกระทบต่อการเรียนหรือการทำงานหรือไม่ โดยผลกระทบอาจทำให้ไปเรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ มีอาการง่วง แอบหลับ หรือมีการลาหยุด / ไปสาย (ถามเฉพาะผู้ที่ติดตามรับชมการถ่ายทอดสด) มีผลกระทบ ร้อยละ 48.6 ในจำนวนนี้ 5 อันดับแรกอยู่ในกลุ่ม นักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 15.3 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 14.1 ค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว ร้อยละ 8.2 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 3.6 ไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 48.8 อยู่บ้านเฉยๆ ร้อยละ 2.6
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอนบางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปรทุมธานี สมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,133 คน เป็นเพศชายร้อยละ 88.4 และเพศหญิงร้อยละ 11.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 31 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 6 มิถุนายน 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 1,002 88.4 หญิง 131 11.6 รวม 1,133 100.0 อายุ 15 ปี — 25 ปี 470 41.4 26 ปี — 35 ปี 342 30.2 36 ปี — 45 ปี 199 17.6 46 ปีขึ้นไป 122 10.8 รวม 1,133 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 735 64.8 ปริญญาตรี 368 32.5 สูงกว่าปริญญาตรี 30 2.7 รวม 1,133 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 77 6.8 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 340 30.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 215 19.0 รับจ้างทั่วไป 170 15.0 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 13 1.1 นักเรียน / นักศึกษา 308 27.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 10 0.9 รวม 1,133 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--