กรุงเทพโพลล์: ความตื่นตัวของประชาชนต่อข่าวน้ำท่วมในปัจจุบัน

ข่าวผลสำรวจ Tuesday June 19, 2012 10:31 —กรุงเทพโพลล์

รัฐบาลได้คะแนนความพึงพอใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำ 5.49 คะแนนจาก 10 คะแนน

จากข่าวเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ต่างจังหวัดในขณะนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เฉพาะพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว จำนวน 1,141 คน เรื่อง “ความตื่นตัวของประชาชนต่อข่าวน้ำท่วมในปัจจุบัน”พบว่า

ประชาชนถึงร้อยละ 60.8 มีความกังวลค่อนข้างน้อยถึงไม่กังวลเลย ว่ากรุงเทพฯและปริมณฑล จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นอีกในปีนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 39.2 ยังมีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ทั้งนี้เมื่อถามว่าในปีนี้จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเหมือนเมื่อปีที่แล้วหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 62.9 คิดว่าน่าจะท่วมอีกแต่คงไม่มากและนานเหมือนปีที่แล้ว และร้อยละ 20.1 คิดว่าน้ำจะไม่ท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแน่นอน มีเพียงร้อยละ 11.0 ที่คิดว่าน่าจะท่วมหนักและนานพอๆ กับปีที่แล้ว และร้อยละ 6.0 ที่คิดว่าน่าจะท่วมและอาจจะหนักกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามหากวันนี้บ้าน / ที่พักอาศัยเกิดน้ำท่วมขึ้นอีก ประชาชนร้อยละ 66.2 ระบุว่าพร้อมแล้วที่จะรับมือกับน้ำท่วม (โดยระบุว่าบ้านมี 2 ชั้น ยกพื้นบ้านไว้แล้ว มีประสบการณ์แล้ว มีเรือจากปีที่แล้ว ฯลฯ) ในขณะที่ ร้อยละ 33.8 ระบุว่ายังไม่พร้อม(โดยระบุว่า ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ยังไม่ได้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า ยังไม่แน่ใจว่าจะท่วมอีกไหม ฯลฯ)

ส่วนเรื่องที่กังวลว่าจะเกิดกับประเทศไทยมากที่สุด หากเกิดน้ำท่วมเหมือนปีที่แล้วคือ กลัวเศรษฐกิจตกต่ำ สิ้นค้าแพงขึ้นร้อยละ 48.0 รองลงมาคือ กลัวความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง อาคาร บ้านเรือนร้อยละ 24.0 และกลัวส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนจากต่างประเทศ/ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นร้อยละ 14.9

สำหรับความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลหลังการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมของนายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 54.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย ในขณะที่เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดร้อยละ 45.8

ด้านความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในปีนี้พบว่าประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 5.49 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยด้านที่รัฐบาลได้คะแนนมากที่สุดคือ ความเอาใจใส่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆได้ 5.80 คะแนน และด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ความชัดเจนของมาตรการเยียวยาในกรณีที่เกิดน้ำท่วมขึ้นอีกในปีนี้ได้ 5.15 คะแนน

สำหรับเรื่องที่ประชาชนอยากบอกรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมมากที่สุดคือ ให้วางแผนเตรียมความพร้อมไว้เสมอ เช่น ขุดลอกคูคลอง ไม่ให้มีอะไรขวางทางไหลน้ำ ตรวจสอบระบบระบายน้ำฯลฯ ร้อยละ 22.0 รองลงมาคือ ให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันปัญหาน้ำท่วมและลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างรวดเร็ว เพราะไม่อยากให้น้ำท่วมอีก ร้อยละ 19.8 และให้รัฐบาลตั้งใจทำงานให้เต็มที่ และตั้งใจทำให้ดีที่สุดร้อยละ 11.7

รายละเอียดต่อไปนี้

1. ความกังวลว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นอีกในปีนี้
          - กังวลมากที่สุด                                 ร้อยละ 14.7
          - กังวลค่อนข้างมาก                              ร้อยะล 24.5
          - กังวลค่อนข้างน้อย                              ร้อยละ 33.7
          - ไม่กังวลเลย                                  ร้อยละ 27.1

2. เมื่อถามว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนเมื่อปีที่แล้วหรือไม่ พบว่า
  • คิดว่าน่าจะท่วมอีกแต่คงไม่มากและนานเหมือนปีที่แล้ว ร้อยละ 62.9
          - คิดว่าน่าจะท่วมหนักและนานพอๆ กับปีที่แล้ว            ร้อยละ 11.0
          - คิดว่าน่าจะท่วมและอาจจะหนักกว่าปีที่แล้ว             ร้อยละ 6.0
  • คิดว่าน้ำจะไม่ท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแน่นอน ร้อยละ 20.1
3. เมื่อถามว่าหากวันนี้บ้าน / ที่พักอาศัยเกิดน้ำท่วมขึ้นอีก พร้อมจะรับมือแล้วหรือยัง พบว่า
          - พร้อมแล้ว                                    ร้อยละ 66.2

(โดยระบุว่าบ้านมี 2 ชั้น ยกพื้นบ้านไว้แล้ว มีประสบการณ์แล้ว มีเรือจากปีที่แล้ว ฯลฯ)

          - ยังไม่พร้อม                                   ร้อยละ 33.8

(โดยระบุว่า ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ยังไม่ได้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า ยังไม่แน่ใจว่าจะท่วมอีกไหม ฯลฯ)

4. เรื่องที่กังวลว่าจะเกิดกับประเทศไทยมากที่สุด หากเกิดน้ำท่วมเหมือนปีที่แล้ว คือ
          - กลัวเศรษฐกิจตกต่ำ สิ้นค้าแพงขึ้น                                             ร้อยละ 48.0
          - กลัวความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง อาคาร บ้านเรือน                       ร้อยละ 24.0
          - กลัวส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนจากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น        ร้อยละ 14.9
          - กลัวงบประมาณในการเยียวยา ฟื้นฟู ไม่เพียงพอ ต้องกู้เงินเพิ่ม                       ร้อยะล 7.6
          - กระทบเรื่องการส่งออก / การท่องเที่ยว                                       ร้อยละ 2.0
          - อื่นๆ อาทิประชาชนจะพึ่งรัฐมากเกินไป กระทบการศึกษาของเด็ก                      ร้อยละ 3.5

ความแตกแยกจากความไม่เชื่อมั่นในการทำงานของผู้นำประเทศ ฯลฯ

5. ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลว่าจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ หลังจากการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของ นายกรัฐมนตรี คือ
          - เชื่อมั่นมากที่สุด                                 ร้อยละ  9.6
          - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก                              ร้อยละ 36.2
          - เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย                              ร้อยละ 40.5
          - ไม่เชื่อมั่นเลย                                  ร้อยละ 13.7

6. คะแนนความพึงพอใจในการทำหน้าที่ของรัฐบาลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในปีนี้          จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า
          - ความเอาใจใส่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆ              5.80 คะแนน
          - การสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนในการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม          5.61 คะแนน
          - การมีแผนงานและการดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน                   5.60 คะแนน
          - ความรวดเร็วในการทำงานเพื่อเตรียมการรับน้ำจากหน้าฝนปีนี้                 5.57 คะแนน
          - การจัดสรรงบและการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ                      5.19 คะแนน
          - ความชัดเจนของมาตรการเยียวยาในกรณีที่เกิดน้ำท่วมขึ้นอีกในปีนี้               5.15 คะแนน
          เฉลี่ยรวม                                                         5.49 คะแนน

7. เรื่องที่อยากบอกรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
  • ให้วางแผนเตรียมความพร้อมไว้เสมอ เช่น ขุดลอกคูคลอง ไม่ให้มีอะไรขวางทางไหลน้ำ
            ตรวจสอบระบบระบายน้ำ ฯลฯ                                                  ร้อยละ 22.0
  • ให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันปัญหาน้ำท่วมและลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างรวดเร็ว
            เพราะไม่อยากให้น้ำท่วมอีก                                                    ร้อยละ 19.8
          - ให้รัฐบาลตั้งใจทำงานให้เต็มที่ และตั้งใจทำให้ดีที่สุด                                  ร้อยละ 11.7
          - ให้ดูแลประชาชนให้มากกว่านี้โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง หรือที่เคยถูกน้ำท่วมหนัก                ร้อยละ 9.6
  • ให้ดูแลตรวจสอบเรื่องการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับน้ำท่วมให้มีความเป็นธรรม
            ไม่ให้มีการคอร์รัปชั่น โกงกิน                                                   ร้อยละ 8.9

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เฉพาะพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว ถึงทัศนคติที่มีต่อการรับทราบข่าวน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ความกังวลในด้านต่างๆ ความเชื่อมั่นและความพึงพอใจที่มีต่อรัฐบาลเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนเรื่องที่ต้องการบอกรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว ได้แก่ เขตคลองสามวา คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บางบอน บางพลัด บึงกุ่ม ประเวศ ภาษีเจริญ มีนบุรี ลาดกระบัง ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สายไหม หนองแขม หนองจอก และหลักสี่ และปริมณฑลได้แก่ ปทุมธานี นครปฐมและนนทบุรี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,141 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.5 และเพศหญิงร้อยละ 51.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล                     :  14 — 17 มิถุนายน 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                         :   19 มิถุนายน 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                                553          48.5
          หญิง                                588          51.5
          รวม                              1,141         100.0

อายุ
          18 - 25 ปี                          270          23.7
          26 - 35 ปี                          310          27.1
          36 - 45 ปี                          270          23.7
          46 ปีขึ้นไป                           291          25.5
          รวม                              1,141         100.0
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                       850          74.5
          ปริญญาตรี                            269          23.6
          สูงกว่าปริญญาตรี                        22           1.9
          รวม                              1,141         100.0
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ           86           7.5
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน           241          21.1
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว            412          36.1
          รับจ้างทั่วไป                          173          15.2
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                98           8.6
          นักศึกษา                             106           9.3
          อื่นๆ อาทิ  อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น      25           2.2
          รวม                              1,141         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ