กรุงเทพโพลล์: “โอกาสและข้อจำกัดของไทยในวิกฤติหนี้ยุโรป”

ข่าวผลสำรวจ Wednesday July 4, 2012 09:14 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์คาดวิกฤติครั้งนี้จะยืดเยื้อ แม้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าการส่งออกก็จะยังมีปัญหา การปกป้องสินค้าของประเทศผู้นำเข้าจะมากขึ้นโดยเฉพาะในยุโรป

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 20 แห่ง จำนวน 40 คน เรื่อง “โอกาสและข้อจำกัดของไทยในวิกฤติหนี้ยุโรป”โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 27 มิ.ย. — 3 ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา พบว่า นักเศรษฐศาสตร์มีความคิดเห็นต่อการปรับตัวของประเทศไทยเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกด้วยการ ขยายความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน / ขยายการค้าในตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตลาด EU และตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดเก่า (ร้อยละ 41.9) และเห็นว่าควรใช้วิกฤติหนี้ของยุโรปเป็นบทเรียนในเรื่องการบริหารหนี้ บริหารการเงินของรัฐ โครงการรัฐสวัสดิการต่างๆ และควรเร่งปฏิรูปการคลังอย่างจริงจัง (ร้อยละ 25.8)

ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 37.5 เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญของไทยที่อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในระดับที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น รองลงมาร้อยละ 20.9 เห็นว่าต้นทุนการผลิตสูง ประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำ ข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐาน เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อระดับผลกระทบที่อาจจะได้รับ

โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอันเป็นผลมาจากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในระยะสั้น(ปัจจุบันถึงปีหน้า)คือ การส่งออกที่จะลดลง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยส่งออกอื่นๆ (ร้อยละ 88.9) รองลงมาเป็นความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน/ค่าเงินบาท (ร้อยละ 25.0) ส่วนผลกระทบในระยะยาว(อีก 2-3 ปีข้างหน้า) คือ การส่งออกที่จะยังลดลง / การปกป้องสินค้าของประเทศตนจากประเทศผู้นำเข้า (ร้อยละ 33.3) รองลงมาเป็นเสถียรภาพทางด้านการคลังจากการก่อหนี้เพื่อกระตุ้นหรือประคองเศรษฐกิจในประเทศซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.2) และการลงทุนของภาคเอกชน การลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะน้อยลง(ร้อยละ 18.2)

สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาลในการนำพาเศรษฐกิจของประเทศฝ่าวิกฤติหนี้ในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก มีดังนี้

1. รัฐควรใช้นโยบายการคลังที่มุ่งประสิทธิภาพ ลดรายจ่ายประชานิยม มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ(ร้อยละ 38.7)

2. สร้างกำลังซื้อ ขยายตลาดในประเทศ เพื่อทดแทนตลาดต่างประเทศ(ร้อยละ 19.4)

3. วิกฤติครั้งนี้คงจะยืดเยื้อ ขอให้รัฐบาลเตรียมพร้อมแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเสมอ(ร้อยละ 16.1)

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. จากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศไทยควรมีการดำเนินการหรือปรับตัวอย่างไร
เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือรวมถึงสร้างโอกาสจากวิกฤติที่เกิดขึ้น
ร้อยละ 41.9          ขยายความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน / ขยายการค้าในตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตลาด EU

และตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดเก่า

ร้อยละ 25.8          ใช้เป็นบทเรียนในเรื่องการบริหารหนี้  บริหารการเงินของรัฐ  โครงการรัฐสวัสดิการต่างๆ

และควรเร่งปฏิรูปการคลังอย่างจริงจัง

ร้อยละ 22.6          เร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

รวมถึงการซื้อกิจการการซื้อสินทรัพย์ราคาถูกในต่างประเทศ และการชำระหนี้ต่างประเทศ

ร้อยละ 22.6          ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการค้าในประเทศ  ขยายอุปสงค์มวลรวมในประเทศเพื่อทดแทนตลาดต่างประเทศ
ร้อยละ 16.1          เป็นบทเรียน  และเป็นแนวทางในการพัฒนาอาเซียน
ร้อยละ 12.9          พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน / สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
ร้อยละ  9.7          การลงทุนทางตรงในไทยอาจจะเพิ่มขึ้น  หากไม่มีปัญหาด้านอื่นๆ
ร้อยละ  3.2          ทำประเทศให้พร้อมอยู่เสมอแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด

หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น

2. ท่านคิดว่าอะไรเป็นปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญของไทยที่อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยรับผลกระทบจากวิกฤติในยุโรป
และความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในระดับที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น
ร้อยละ 37.5          ความขัดแย้งทางการเมือง
ร้อยละ 20.9          ต้นทุนการผลิตสูง  ประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำ  ข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐาน

ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับต่ำ

ร้อยละ 20.8          การพึ่งพาเศรษฐกิจโลกมากกว่าเศรษฐกิจในประเทศ  การส่งออกที่พึ่งพิงประเทศอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง
ร้อยละ 12.5          นโยบายของรัฐที่ไม่ชัดเจน/ นโยบายที่ไม่ถูกทางในบางโครงการ โดยเฉพาะโครงการประชานิยมต่างๆ
ร้อยละ 12.5          ภัยธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดอื่นๆ
ร้อยละ  8.3          การวางแผนตั้งรับของภาคธุรกิจและภาครัฐจากผลกระทบจากวิกฤติในยุโรปแทนที่จะเป็นแผนเชิงรุก

รวมถึงความพร้อมของหน่วยงานราชการที่ยังน้อยอยู่

ร้อยละ  8.3          การขาดแคลนเงินทุนทำให้มีข้อจำกัดในการซื้อสินทรัพย์ราคาถูกในประเทศที่ประสบวิกฤติ หรือ ทำให้มีข้อจำกัด

ในการนำเข้าสินค้าทุน หรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

ร้อยละ  8.3          ขาดข้อมูลที่แท้จริงและการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม
ร้อยละ  4.2          ระบบราชการที่ไม่เอื้อ

หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น

3. ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอันเป็นผลมาจากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก

3.1 ระยะสั้น (ปัจจุบันถึงปีหน้า)
ร้อยละ 88.9          การส่งออกที่จะลดลง  โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ  สิ่งทอ  รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยส่งออกอื่นๆ
ร้อยละ 25.0          ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน  ค่าเงินบาท
ร้อยละ 22.2          การท่องเที่ยวที่จะลดลง
ร้อยละ  5.6          การลงทุนที่จะลดลง
ร้อยละ  5.6          ความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์
ร้อยละ  2.8          การขาดดุลการค้า
ร้อยละ  2.8          การว่างงาน
ร้อยละ  2.8          การเก็บภาษีได้น้อยลง/ขาดดุลงบประมาณมากขึ้น

หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น

3.2 ระยะยาว (อีก 2-3 ปีข้างหน้า)
ร้อยละ 33.3          การส่งออกที่จะยังลดลง / การปกป้องสินค้าของประเทศตนจากประเทศผู้นำเข้า
ร้อยละ 18.2          เสถียรภาพทางด้านการคลังจากการก่อหนี้เพื่อกระตุ้นหรือประคองเศรษฐกิจในประเทศ / หนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.2          การลงทุนของภาคเอกชน  การลงทุนจากต่างประเทศ จะน้อยลง
ร้อยละ 15.2          ความผันผวนในตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ร้อยละ 15.2          เศรษฐกิจของประเทศจะซบเซายาวนาน (นานกว่าวิกฤติ sub-prime)
ร้อยละ 12.1          การจ้างงานจะลดลง / เริ่มมีปัญหาว่างงาน
ร้อยละ  3.0          โครงสร้างการผลิตและการส่งออกจะปรับเปลี่ยน

หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น

4. ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นอื่นๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกที่ต้องการบอกไปยังรัฐบาล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร้อยละ 38.7          รัฐควรใช้นโยบายการคลังที่มุ่งประสิทธิภาพ  ลดรายจ่ายประชานิยม  มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
ร้อยละ 19.4          สร้างกำลังซื้อ  ขยายตลาดในประเทศ เพื่อทดแทนตลาดต่างประเทศ
ร้อยละ 16.1          วิกฤติคงจะยืดเยื้อ ขอให้รัฐบาลเตรียมพร้อมแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเสมอ
ร้อยละ 12.9          นำบทเรียนจากวิกฤติที่เกิดขึ้นกับยุโรปมาปรับใช้กับประเทศไทยและอาเซียน
ร้อยละ  6.5          ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่าให้ผันผวน
ร้อยละ  3.2          สร้างความได้เปรียบจากวิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น การซื้อสินทรัพย์ราคาถูกในประเทศที่ประสบวิกฤติ
ร้อยละ  3.2          สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
ร้อยละ  3.2          นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
ร้อยละ  3.2          สร้างความชัดเจนในนโยบายรัฐบาล  เพื่อเอกชนจะได้ปรับตัวอย่างมีทิศทาง

หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                  นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 20 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  27 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  4 กรกฎาคม 2555

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                         จำนวน         ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    20          50.0
           หน่วยงานภาคเอกชน                 13          32.5
           สถาบันการศึกษา                     7          17.5
          รวม                              40         100.0

เพศ
            ชาย                            20          50.0
            หญิง                            20          50.0
          รวม                              40         100.0

อายุ
            26 ปี — 35 ปี                    14          35.0
            36 ปี — 45 ปี                    12          30.0
            46 ปีขึ้นไป                       14          35.0
          รวม                              40         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        4          10.0
             ปริญญาโท                       28          70.0
             ปริญญาเอก                       8          20.0
          รวม                              40         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                        3           7.5
              6-10 ปี                       10          25.0
              11-15 ปี                      10          25.0
              16-20 ปี                       5          12.5
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                12          30.0
          รวม                              40         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ