คนกรุงเทพฯ 65.3% เห็นว่า 3 ปี 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม. ไม่มีผลงานเด่นชัด ระบุหากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.สมัยหน้า 45.0% ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือก
เนื่องในวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 ที่จะถึงนี้ เป็นวันครบรอบ 3 ปี 6 เดือน ของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 3 ปี 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม.” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,195 คน เมื่อวันที่ 6 - 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า
คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความพึงพอใจผลงาน ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ 5.63 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลสำรวจเมื่อตอนที่ ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ทำงานครบ 3 ปี 0.15 คะแนน โดยพึงพอใจผลงานด้านสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดมากที่สุด (6.15 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินน้อยที่สุด (5.19 คะแนน) ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านเปรียบเทียบกับช่วงที่ทำงานครบ 3 ปี พบว่า มีเพียงด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองเพียงด้านเดียวที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจาก 5.76 คะแนนเป็น 5.77 คะแนน
ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนน 6.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลสำรวจในช่วงที่ทำงานครบ 3 ปี 0.08 คะแนน โดยได้คะแนนด้านความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด (6.40 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่น้อยที่สุด (5.80 คะแนน)
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจในช่วง 3 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 34.7 เห็นว่า มีผลงานเด่นชัดน่าประทับใจ โดยในจำนวนนี้ระบุว่าผลงานที่เด่นชัดมากที่สุดอันดับแรกคือ การแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม ในปี 2554 (ร้อยละ 9.4) รองลงมา คือ โครงการขุดลอกคูคลอง กทม. (ร้อยละ 5.4) และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างสวนสาธารณะ และลานกีฬา (ร้อยละ 5.0) อย่างไรก็ตามคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.3 ยังเห็นว่าผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ไม่มีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ
สำหรับความเชื่อมั่นต่อ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ พบว่า คนกรุงเทพส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 มีความเชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 49.5 ไม่มีความเชื่อมั่น
สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สมัยหน้า ท่านจะสนับสนุน ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร หรือไม่” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.1 ระบุว่าจะสนับสนุน ซึ่งลดลงจากร้อยละ 39.3 ในการสำรวจเดือนพฤศจิกายน 2554 ขณะที่ร้อยละ 18.9 ระบุว่าจะไม่สนับสนุน และร้อยละ 45.0 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ทำงานครบ 3 ปี พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยลดลง 0.15 คะแนน
ด้าน ครบ 3 ปี(คะแนน) ครบ 3 ปี 6 เดือน(คะแนน) เพิ่มขึ้น/ ลดลง(คะแนน) 1. สุขภาพและการป้องกันโรคระบาด 6.25 6.15 -0.10 2. การศึกษาและคุณภาพชีวิต 6.06 5.86 -0.20 3. สิ่งแวดล้อมการพัฒนาเมือง 5.76 5.77 +0.01 4. เศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ 5.69 5.55 -0.14 5. การจราจรและระบบขนส่งมวลชน 5.43 5.28 -0.15 6. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5.49 5.19 -0.30 เฉลี่ยรวม 5.78 5.63 -0.15 2. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อทำงานครบ 3 ปี 6 เดือน พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 6.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเมื่อพิจารณาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม.ในแต่ละด้านพบว่า ความซื่อสัตย์โปร่งใสมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ มีคะแนนต่ำที่สุด
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ทำงานครบ 3 ปี พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยลดลง 0.08 คะแนน
ด้าน ครบ 3 ปี(คะแนน) ครบ 3 ปี 6 เดือน(คะแนน) เพิ่มขึ้น / ลดลง(คะแนน) 1. ความซื่อสัตย์โปร่งใส 6.51 6.40 -0.11 2. ความขยันทุ่มเทในการทำงาน 6.60 6.38 -0.22 3. การปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ 6.09 6.02 -0.07 4. การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม 6.06 5.96 -0.10 5. ความฉับไวในการแก้ปัญหา 5.84 5.85 +0.01 6. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ 5.78 5.80 +0.02 เฉลี่ยรวม 6.15 6.07 -0.08 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานหรือโครงการที่เด่นชัดน่าประทับใจ ในช่วง 3 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เห็นว่ายังไม่มีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ ร้อยละ 65.3 เห็นว่ามีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ ร้อยละ 34.7 โดยผลงานในช่วง 3 ปี 6 เดือน ที่เด่นชัดน่าประทับใจ 5 อันดับแรก (จากผู้ตอบที่เห็นว่ามีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ) คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง) - การแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม ในปี 2554 ร้อยละ 9.4 - โครงการขุดลอกคูคลอง กทม. ร้อยละ 5.4 - การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างสวนสาธารณะ และลานกีฬา ร้อยละ 5.0 - การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการอุโมงค์ยักษ์ การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ร้อยละ 4.2 - ความสะอาดของกรุงเทพฯ ทั้ง ทางเท้า ถนน และแม่น้ำลำคลอง ร้อยละ 2.1 4. ความเชื่อมั่นต่อ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ เชื่อมั่น ร้อยละ 50.5 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 49.5 5. หากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สมัยหน้า ท่านจะสนับสนุน ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร หรือไม่ สำรวจเมื่อ 25-28 พ.ย. 54 สำรวจเมื่อ 12-15 ม.ค. 55 สำรวจเมื่อ 6-8 ก.ค. 55 (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) สนับสนุน 39.3 37.9 36.1 ไม่สนับสนุน 29.6 18.3 18.9 ไม่แน่ใจ 31.1 43.8 45.0 หมายเหตุ : การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สาทร และสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,195 คน เป็นชายร้อยละ 49.7 และหญิงร้อยละ 50.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6 - 8 กรกฎาคม 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 11 กรกฎาคม 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 594 49.7 หญิง 601 50.3 รวม 1,195 100.0 อายุ 18 ปี — 25 ปี 286 23.9 26 ปี — 35 ปี 293 24.5 36 ปี — 45 ปี 294 24.6 46 ปีขึ้นไป 322 27.0 รวม 1,195 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 728 60.9 ปริญญาตรี 391 32.7 สูงกว่าปริญญาตรี 76 6.4 รวม 1,195 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 89 7.5 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 358 29.9 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 302 25.3 รับจ้างทั่วไป 137 11.5 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 156 13.1 นิสิตนักศึกษา 125 10.5 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน 28 2.2 รวม 1,195 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--