ประชาชน 87.7 % เห็นด้วยกับโครงการร้านถูกใจ แต่ 65.9% ไม่เคยไปซื้อสินค้า
ส่วนผู้ที่เคยไปซื้อสินค้าแล้วรู้สึกพอใจและจะแนะนำหรือบอกต่อคนอื่นๆ ให้มาใช้บริการ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่พักอาศัยหรือทำงานอยู่ใกล้บริเวณที่มี “ร้านถูกใจ” เปิดให้บริการ จำนวน 1,185 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.3 ระบุว่าทราบเรื่องการจัดทำโครงการโชห่วยช่วยชาติ ภายใต้ชื่อ “ร้านถูกใจ” ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ (โดยในจำนวนนี้ระบุว่า ทราบจากโฆษณาทางโทรทัศน์ร้อยละ 33.2 ทราบจากโฆษณาในหนังสือพิมพ์ร้อยละ 4.2 และทราบจากเพื่อน ญาติ คนรู้จักร้อยละ 4.0) ขณะที่ ร้อยละ 49.7 ไม่ทราบว่ามีโครงการดังกล่าว
ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยใช้งบประมาณราว 1,300 ล้านบาท จัดทำโครงการโชห่วยช่วยชาติภายใต้ชื่อ “ร้านถูกใจ”ที่เปิดให้บริการครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศพบว่า ประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 87.7 (โดยร้อยละ 57.4 ให้เหตุผลว่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ร้อยละ 22.5 เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และร้อยละ 7.8 จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น) ขณะที่มีผู้ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวร้อยละ 12.3 (โดยร้อยละ 6.8 ให้เหตุผลว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุดเพราะไม่เชื่อว่าวิธีดังกล่าวจะแก้ปัญหาของแพงได้ ร้อยละ 2.0 เห็นว่าสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ และร้อยละ 1.4 เห็นว่าเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม บิดเบือนกลไกตลาด)
ทั้งนี้เมื่อถามว่าเคยไปซื้อสินค้าที่ “ร้านถูกใจ” หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 65.9 ไม่เคยไปซื้อ (ในจำนวนนี้ร้อยละ 44.9 ให้เหตุผลว่าไม่รู้ว่าร้านตั้งอยู่ที่ไหน ร้อยละ 11.8 ให้เหตุผลว่ามีร้านค้าเจ้าประจำอยู่แล้ว และร้อยละ 3.7 ไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขายภายในร้าน) ส่วนผู้ที่เคยไปซื้อมีเพียงร้อยละ 34.1
เมื่อถามถึงความพึงพอใจของผู้ที่เคยเข้าไปซื้อสินค้าในร้านถูกใจพบว่า ร้อยละ 90.0 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจถึงพอใจมาก ที่เหลือร้อยละ 10.0 ไม่ค่อยพอใจถึงไม่พอใจเลย ทั้งนี้ เมื่อให้เปรียบเทียบความรู้สึกที่มีต่อร้านค้าโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ พบว่า ประชาชนร้อยละ 55.6 เห็นว่าหลังเข้าร่วมโครงการร้านถูกใจแล้วร้านค้าดังกล่าวมีความน่าสนใจมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 41.2 เห็นว่าเหมือนเดิม นอกจากนี้ผู้ที่เคยเข้าไปใช้บริการร้านถูกใจร้อยละ 84.0 ระบุว่าจะแนะนำและบอกต่อคนอื่นๆ ให้มาใช้บริการ ในขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุว่าไม่แนะนำและไม่บอกต่อ
สำหรับเรื่องที่ประชาชนอยากจะแนะนำให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอันดับแรกคือ ให้ลดราคาสินค้าแต่ละประเภทลง (ร้อยละ 28.2) รองลงมาคือเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการร้านถูกใจให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง เพิ่มจำนวนและประเภทสินค้าให้หลากหลายขึ้น(ร้อยละ 25.3) และให้คุมราคาสินค้าไม่ให้สูงขึ้น ลงพื้นที่ตรวจสอบราคาและระวังไม่ให้มีการกักตุนสินค้าของพ่อค้าคนกลางเป็นประจำ (ร้อยละ 15.4)
รายละเอียดต่อไปนี้
- รับทราบ ร้อยละ 50.3
โดยระบุว่ารับทราบจาก
โฆษณาทางโทรทัศน์ ร้อยละ 33.2 โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 4.2 เพื่อน ญาติ คนรู้จัก ร้อยละ 4.0 วิทยุ ร้อยละ 1.2 อื่นๆ อาทิ ป้ายโฆษณา จากป้ายติดที่ร้าน สื่อออนไลน์ ฯลฯ ร้อยละ 7.7 - ไม่ทราบ ร้อยละ 49.7 2. ความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยใช้งบประมาณราว 1,300 ล้านบาท จัดทำโครงการโชห่วยช่วยชาติภายใต้ชื่อ “ร้านถูกใจ” จำนวน 10,000 ร้าน กระจายในทุกตำบลทั่วประเทศ เพื่อจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปและสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน 20 รายการ เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย ปลากระป๋อง ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด - เห็นด้วย ร้อยละ 87.7
โดยให้เหตุผลว่า
ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ร้อยละ 57.4 เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ร้อยละ 22.5 สร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น ร้อยละ 7.8 - ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 12.3
โดยให้เหตุผลว่า
-แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาของแพงได้ ร้อยละ 6.8 -สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ ร้อยละ 2.0 -เป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม บิดเบือนกลไกตลาด- ร้อยละ 1.4
อาจทำให้ร้านโชห่วยหรือร้านสหกรณ์ในพื้นที่ต้องปิดตัวลง
-อื่นๆ อาทิ เป็นช่องทางในการทุจริตคอร์รัปชั่น- ร้อยละ 2.1
เป็นโครงการหาเสียงของรัฐบาล ซื้อของที่ตลาดอยู่แล้ว
- ไม่เคยไปซื้อ ร้อยละ 65.9
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่รู้ว่าร้านตั้งอยู่ที่ไหน ร้อยละ 44.9 มีร้านค้าเจ้าประจำอยู่แล้ว ร้อยละ 11.8 ไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขายภายในร้าน ร้อยละ 3.7 ไม่เชื่อว่าสินค้าในร้านจะเป็นของดีราคาถูกจริง ร้อยละ 1.4
อื่นๆ อาทิ ร้านเพิ่งเปิดยังไม่มีสินค้า ที่อื่นมีของครบกว่าไม่มีเวลาไปซื้อ สินค้ามีน้อย ฯลฯ ร้อยละ 4.1
- เคยไปซื้อ ร้อยละ 34.1
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความพึงพอใจที่มีต่อ “ร้านถูกใจ” (ถามเฉพาะผู้ที่เคยไปซื้อ) พบว่า
ค่อนข้างพอใจถึงพอใจมาก ไม่ค่อยพอใจถึงไม่พอใจเลย ทำเลที่ตั้งของร้านอยู่ในแหล่งชุมชน สะดวก เข้าถึงง่าย 96.6 3.4 คุณภาพของสินค้าที่วางจำหน่ายมีคุณภาพได้มาตรฐาน 95.0 5.0 การจัดร้านเหมาะสม น่าสนใจ 91.6 8.4 ราคาสินค้าถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป 86.4 13.6 ประเภทของสินค้าที่ขายมีความหลากหลาย ตรงตามความต้องการ 80.2 19.8 เฉลี่ยรวม 90.0 10.0 4. ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ร้านถูกใจ” มีจุดดึงดูดหรือน่าสนใจเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ (ถามเฉพาะผู้ที่เคยไปซื้อ) พบว่า - น่าสนใจมากขึ้น ร้อยละ 55.6 - เหมือนเดิม ร้อยละ 41.2 - แย่ลง ร้อยละ 0.2 - ไม่ทราบเพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยเข้าร้านนี้มาก่อน ร้อยละ 3.0 5. เมื่อถามว่าจะแนะนำหรือบอกต่อให้คนอื่นมาใช้บริการ“ร้านถูกใจ” หรือไม่(ถามเฉพาะผู้ที่เคยไปซื้อ) พบว่า - แนะนำและบอกต่อ ร้อยละ 84.0 - ไม่แนะนำและไม่บอกต่อ ร้อยละ 16.0 6. เรื่องที่อยากแนะนำให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ทำมากที่สุด เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ให้ลดราคาสินค้าแต่ละประเภทลงกว่านี้ ร้อยละ 28.2 - โครงการนี้ดีแล้วแต่ให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ ร้อยละ 25.3
เพิ่มจำนวนและประเภทสินค้าให้หลากหลายขึ้น
- ให้คุมราคาสินค้าไม่ให้สูงขึ้น ลงพื้นที่ตรวจสอบราคาสินค้าเป็นประจำ ร้อยละ 15.4
และระวังไม่ให้มีการกักตุนสินค้าของพ่อค้าคนกลาง
- ให้จัดโครงการขายสินค้าราคาถูกหมุนเวียนกันไปและกระจายทุกพื้นที่ ร้อยละ 14.2
อย่างต่อเนื่องตามแหล่งชุมชน ตลาดนัด
- ให้ลดราคาสินค้าประเภทอาหารลง ร้อยละ 4.6
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อโครงการ “ร้านถูกใจ” และความคิดเห็นในด้านต่างๆที่มีต่อโครงการ ตลอดจนความ พึงพอใจของผู้ที่เคยใช้บริการร้านถูกใจ และเหตุผลของผู้ที่ไม่เคยใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในระแวก ร้านถูกใจ จำนวนทั้งสิ้น 30 เขต ทั้งในเขตการปกครองชั้นใน ชั้นกลางและชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน จอมทอง ดุสิต ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร สายไหมและหลักสี่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,185 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11-13 กรกฎาคม 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 กรกฎาคม 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 585 49.4 หญิง 600 50.6 รวม 1,185 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 254 21.4 26 - 35 ปี 310 26.2 36 - 45 ปี 287 24.2 46 ปีขึ้นไป 334 28.2 รวม 1,185 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 966 81.4 ปริญญาตรี 203 17.2 สูงกว่าปริญญาตรี 16 1.4 รวม 1,185 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 48 4.1 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 225 19.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 442 37.3 รับจ้างทั่วไป 216 18.2 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 139 11.7 นักศึกษา 88 7.5 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 27 2.2 รวม 1,185 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--