ในรอบ 1 ปี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ คนกรุงเทพฯ เสี่ยงด้านการเมืองมากที่สุด และ51.0% เชื่อหากเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญหรือพรบ.ปรองดองจะทำให้เกิดการชุมนุมและความไม่สงบทางการเมือง
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในรอบ 1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,183 คน พบว่า
คะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวมอยู่ที่ 5.89 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนซึ่งเป็นระดับความเสี่ยงสูงสุด) โดยคนกรุงเทพฯ รู้สึกเสี่ยงในด้านการเมืองมากที่สุด (6.83 คะแนน) รองลงมาคือ รู้สึกเสี่ยงด้านค่าครองชีพ (6.63 คะแนน) และ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน (6.32 คะแนน) ขณะที่ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความเสี่ยงน้อยที่สุด (4.25 คะแนน) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่า ความเสี่ยงด้านการเมืองมีคะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุด (+0.32 คะแนน) รองลงมาคือด้านสุขภาพจิตใจ (+0.22 คะแนน) และด้านสุขภาพร่างกาย (+0.15 คะแนน) ส่วนความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สินที่คนกรุงฯ เสี่ยงมากที่สุดในการสำรวจครั้งที่ผ่านมามีคะแนนลดลง (-0.12 คะแนน ) ขณะที่ด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นด้านที่มีความเสี่ยงลดลงมากที่สุด (-0.55 คะแนน)
นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ยังมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองเพิ่มเติมว่าหากรัฐบาลมีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญหรือ พรบ. ปรองดอง ร้อยละ 51.0 เชื่อว่าจะทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองและนำไปสู่การชุมนุมทางการเมือง ขณะที่ ร้อยละ 16.6 ไม่เชื่อว่าจะเกิดความไม่สงบดังกล่าว
ส่วนความคิดเห็นหากมีการลอยตัวก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนในอนาคต จะกระทบต่อค่าครองชีพของคนกรุงเทพฯ มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 77.0 ระบุว่า “มากถึงมากที่สุด” ขณะที่ ร้อยละ 23.0 ระบุว่า “น้อยถึงน้อยที่สุด” ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่านโยบายเพิ่มรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผ่านโครงการต่างๆ ของรัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน โครงการร้านธงฟ้าราคาประหยัด โครงการร้านถูกใจ เป็นต้น ช่วยท่านได้อย่างไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.3 เห็นว่า “เหมือนเดิมไม่ได้ช่วยอะไรเลย” ขณะที่ร้อยละ 27.9 เห็นว่า “ช่วยเพิ่มรายได้และหรือลดค่าใช้จ่าย” และร้อยละ 18.8 เห็นว่า “ไม่เพียงไม่ช่วย แต่ชีวิตความเป็นอยู่กลับแย่ลง”
สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุดคือ สินค้าราคาแพง ค่าครองชีพสูง (ร้อยละ 39.0) รองลงมาคือ การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนในชาติ (ร้อยละ 23.5) และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย (ร้อยละ 12.0)
รายละเอียดดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงในด้านต่างๆ สำรวจเมื่อก.พ.55 สำรวจเมื่อก.ค.55 เพิ่มขึ้น/ลดลง
(เต็ม 10 คะแนน) (เต็ม 10 คะแนน) 1) ความเสี่ยงด้านการเมือง เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง
ความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตยถูกสั่นคลอน 6.51 6.83 +0.32 2) ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน เช่น สินค้าราคาสูง มีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ มีภาระ หนี้สิน หรือมีโอกาสเป็นหนี้ ฯลฯ 6.75 6.63 -0.12 3) ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย ถูกลูกหลง โจรกรรม ทรัพย์สิน ฉกชิงวิ่งราว และล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ 6.19 6.32 +0.13 4) ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร การเดินทาง ตกรถ ตกเรือ ฯลฯ 5.96 6.16 +0.20 5) ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง เช่น พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว โรคมือเท้าปาก โรคไข้เลือดออก ฯลฯ 6.08 6.08 0.00 6) ความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย เช่น กินอาหารไม่ถูกสุขอนามัย มีสารพิษเจือปน ขาดการออกกำลังกาย ได้รับมลพิษทางอากาศและทางน้ำ ฯลฯ 5.88 6.03 +0.15 7) ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตใจ เช่นความเครียด วิตกกังวล ทุกข์ใจ ซึมเศร้า ฯลฯ 5.52 5.74 +0.22 8) ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ เช่น มีโอกาสตกงาน ถูกลดเงินเดือน รายได้ลดลง หน้าที่การงานไม่มั่นคง 5.81 5.49 -0.32 9) ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่นความเสี่ยง ที่จะสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ความสัมพันธ์ในชุมชน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และห่างไกลจากศาสนา 5.87 5.32 -0.55 10) ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายร่างกาย ห่างเหิน ไม่เข้าใจกัน และความแตกแยกในครอบครัว 4.48 4.25 -0.23 เฉลี่ยรวม 5.91 5.89 -0.02 หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน 2. ความคิดเห็นหากมีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญหรือ พรบ. ปรองดอง จะทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองและนำไปสู่การชุมนุมทางการเมืองหรือไม่ เชื่อว่าจะเกิด ร้อยละ 51.0 ไม่เชื่อว่าจะเกิด ร้อยละ 16.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 32.4 3. ความคิดเห็นหากมีการลอยตัวก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนในอนาคต จะกระทบต่อค่าครองชีพมากน้อยเพียงใด
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากร้อยละ 51.4 และมากที่สุดร้อยละ 25.6 ) ร้อยละ 77.0
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 19.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.0 ) ร้อยละ 23.0 4. ความคิดเห็นต่อนโยบายเพิ่มรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผ่านโครงการต่างๆของรัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน โครงการร้านธงฟ้าราคาประหยัด โครงการร้านถูกใจ เป็นต้น ช่วยเพิ่มรายได้และหรือลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 27.9 เหมือนเดิมไม่ได้ช่วยอะไรเลย ร้อยละ 53.3 ไม่เพียงไม่ช่วย แต่ชีวิตความเป็นอยู่กลับแย่ลง ร้อยละ 18.8 5. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุด (5 อันดับแรก) ได้แก่ สินค้าราคาแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 39.0 การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 23.5 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย ร้อยละ 12.0 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 11.0 การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2555 ร้อยละ 9.2
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ
2. เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญหรือ พรบ.ปรองดอง จะทำให้เกิดดความไม่สงบทางการเมืองและนำไปสู่การชุมนุมทางการเมืองหรือไม่
3. เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการลอยตัวก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน จะกระทบต่อค่าครองชีพมากน้อยเพียงใด
4. เพื่อสะท้อนสิ่งที่เต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี สวนหลวง สะพานสูง สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,183 คน เป็นชายร้อยละ 50.5 และหญิงร้อยละ 49.5 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 - 18 กรกฎาคม2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 19 กรกฎาคม 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 597 50.5 หญิง 586 49.5 รวม 1,183 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 298 25.2 26 - 35 ปี 310 26.2 36 - 45 ปี 290 24.5 46 ปีขึ้นไป 285 24.1 รวม 1,183 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 769 65.0 ปริญญาตรี 377 31.9 สูงกว่าปริญญาตรี 37 3.1 รวม 1,183 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 119 10.1 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 338 28.6 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 333 28.2 รับจ้างทั่วไป 169 14.3 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 71 6.0 นักศึกษา 120 10.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 33 2.6 รวม 1,183 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--