กรุงเทพโพลล์: “ความคิดเห็นประชาชนต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญปี 2550”

ข่าวผลสำรวจ Monday July 23, 2012 08:33 —กรุงเทพโพลล์

หากวันนี้เป็นวันลงประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ประชาชนร้อยละ 63.5 จะไม่สนับสนุนแต่ร้อยละ 45.4 สนับสนุนให้แก้มาตรา 68

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน 22 จังหวัดทั่วประเทศ เรื่อง“ความคิดเห็นประชาชนต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญปี 2550” โดยเก็บข้อมูลกับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,265 คน พบว่า

เมื่อถามประชาชนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับปัจจุบันมีปัญหาหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 45.4 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบางมาตราอาจมีปัญหาจึงอยากให้แก้เป็นรายมาตราไป รองลงมาร้อยละ 25.2 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มีปัญหาจึงไม่จำเป็นต้องแก้ และมีเพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาและต้องแก้ทั้งฉบับ

สำหรับความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสองให้มีความชัดเจนขึ้น จากเดิมที่ระบุว่า “...ผู้ที่ทราบการกระทำ (เพื่อการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว…” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 45.4 เห็นด้วยให้มีการปรับแก้ไขมาตราดังกล่าว ในจำนวนนี้ ร้อยละ 27.8 เห็นว่าใจความสำคัญควรอยู่ในลักษณะ “ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ก่อนที่อัยการสูงสุดจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต่อไป” ขณะที่ร้อยละ 33.6 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว และร้อยละ 21.1 ไม่ออกความคิดเห็น

สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันลงประชามติเพื่อถามว่า “ท่านจะสนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่” พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.5 ไม่สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และมีเพียงร้อยละ 19.5 ที่สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในขณะที่ร้อยละ 17.0 ไม่แสดงความเห็น

ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่จะให้มาทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 49.8 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และร้อยละ 26.6 เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่แสดงความเห็น

รายละเอียดต่อไปนี้

1. เมื่อถามความคิดเห็นประชาชนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับปัจจุบัน มีปัญหาหรือไม่ พบว่า
          - รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบางมาตราอาจมีปัญหาจึงอยากให้แก้เป็นรายมาตราไป          ร้อยละ 45.4
          - รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มีปัญหา จึงไม่จำเป็นต้องแก้ทั้งฉบับ                    ร้อยละ  25.2
          - รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาและต้องแก้ทั้งฉบับ                               ร้อยละ  9.3
          - ไม่แสดงความเห็น                                                    ร้อยละ  20.1

2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสองให้มีความชัดเจน และใจความสำคัญควรอยู่ในลักษณะใด จากเดิมที่ระบุว่า  “...ผู้ที่ทราบการกระทำ(เพื่อการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว…”
          - เห็นด้วยให้มีการปรับแก้ไขมาตราดังกล่าว              ร้อยละ 45.4

โดย

  • เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว โดยมีใจความสำคัญคือ

“ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น

                      ก่อนที่อัยการสูงสุดจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต่อไป”                           ร้อยละ 27.8
  • เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว โดยมีใจความสำคัญคือ “ให้ส่งเรื่องได้
                      โดยผ่านอัยการสูงสุด  หรือส่งเรื่องโดยตรงผ่านศาลรัฐธรรมนูญก็ได้”                ร้อยละ 10.0
  • เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว โดยมีใจความสำคัญคือ “ให้สามารถส่งเรื่อง
                      ให้ศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง  โดยไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด”                      ร้อยละ 7.6
          - ไม่เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว               ร้อยละ 33.6
          - ไม่แสดงความเห็น                                ร้อยละ  21.0

3. หากวันนี้เป็นวันลงประชามติเพื่อถามว่า “ท่านจะสนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่”  พบว่า
          - ไม่สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ          ร้อยละ 63.5
          - สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ            ร้อยละ 19.5
          - ไม่แสดงความเห็น                          ร้อยละ 17.0

4. ความคิดเห็นที่มีต่อแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่จะให้มาทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ
          - ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ        ร้อยละ 49.8
          - เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ          ร้อยละ 26.6
          - ไม่แสดงความเห็น                                    ร้อยละ 23.6

หมายเหตุ ค่าร้อยละที่แสดงในทุกข้อข้างต้น เป็นค่าร้อยละที่ได้ถ่วงน้ำหนักตามข้อมูลสัดส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละภาค

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ในประเด็นต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของคนในสังคมในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 22 จังหวัดทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจังหวัดในแต่ละภาคจากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,265 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.0 และเพศหญิงร้อยละ 50.0

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  17-20 กรกฎาคม 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   21 กรกฎาคม 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

                       ชาย                                 632        50
                       หญิง                                 633        50
          รวม                                            1,265       100
อายุ
                      18 - 25 ปี                            260      20.5
                      26 - 35 ปี                            344      27.2
                      36 - 45 ปี                            316        25
                      46 ปีขึ้นไป                             345      27.3
รวม                                                      1,265       100

การศึกษา

                    ต่ำกว่าปริญญาตรี                           743      58.7
                    ปริญญาตรี                                441      34.9
                    สูงกว่าปริญญาตรี                            81       6.4
          รวม                                            1,265       100
อาชีพ
                    ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ              231      18.3
                    พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               258      20.4
                    ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                255      20.2
                    รับจ้างทั่วไป                              179      14.2
                    เกษตรกร                                109       8.6
                    พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    83       6.6
                    นักศึกษา                                 129      10.2
                    อื่นๆ อาทิ  อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น          21       1.5
          รวม                                            1,265       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ