วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับกรณีคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในประเด็นดังนี้
- ความเหมาะสมขอคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- สาเหตุที่แท้จริงของการโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
- ความน่าเชื่อถือในคำพูด ของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กับ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
- ความเห็นที่มีต่อการทำงานของข้าราชการประจำที่ต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล
- ผลที่เกิดขึ้นต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และพรรคไทยรักไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง : การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,071 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ในเรื่อง " ศึกข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมือง "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล - 22 กรกฎาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ - 23 กรกฎาคม 2547
ผลการสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,071 คน เป็นชาย ร้อยละ 44.2 เป็นหญิง ร้อยละ 55.8
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 27.9 มีอายุระหว่าง 18 -25 ปี
ร้อยละ 43.9 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 23.6 มีอายุ ระหว่าง 36-45 ปี
และ ร้อยละ 4.6 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
การศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 0.4
มัธยมศึกษา ร้อยละ 5.4
ปวช. ร้อยละ 6.7
ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 12.4
ปริญญาตรี ร้อยละ 62.7
และ สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 12.4
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 9.7 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 59.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.3 เป็นเจ้าของกิจการ
ร้อยละ 4.1 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 5.2 ค้าขาย
ร้อยละ 5.6 เป็นนักศึกษา
และร้อยละ 0.9 พ่อบ้าน / แม่บ้าน
และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.5
1. กรณีคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากถึงร้อยละ 74.5 เห็นว่า เป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 25.0 เห็นว่า เป็นคำสั่งที่เหมาะสม และอีกร้อยละ 0.5 ไม่มีความเห็น
2. โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.9 เชื่อว่า สาเหตุที่แท้จริงของการที่ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ถูกโยกย้าย นั้น เป็นเพราะไปขัดขวางการวิ่งเต้นล้มประมูลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาท
ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.4 เชื่อว่า การถูกโยกย้ายครั้งนี้ เป็นเพราะ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ไม่สามารถผลักดันนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ตามที่ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
3. เมื่อสอบถามว่า จากการที่ทั้ง 2 ฝ่าย คือระหว่างนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ได้ออกมาให้ข่าวโต้ตอบกันครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเชื่อคำพูดของใครมากกว่ากัน ผลจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 43.2 เชื่อคำพูดของ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ มากกว่า ส่วนร้อยละ 16.9 เชื่อคำพูดของของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มากกว่า และอีกร้อยละ 39.9 ไม่เชื่อใครเลย
4. สำหรับปัญหาในการทำงานระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ข้าราชการประจำ จำเป็นต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล หรือไม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.0 ยังคงเห็นว่าข้าราชการประจำ จำเป็นต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล โดยได้ให้เหตุผลว่า เป็นหน้าที่ที่ต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล (ร้อยละ 13.0) เพื่อให้ผลงานตรงตามต้องการ (ร้อยละ 4.6) เพื่อให้มีมาตรฐานและไปในทิศทางเดียวกัน (ร้อยละ 4.3) เป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ (ร้อยละ 3.5)
สำหรับกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.0 เห็นว่า ข้าราชการประจำไม่จำเป็นต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล โดยให้เหตุผลว่า ข้าราชการประจำควรทำตามความเหมาะสม (ร้อยละ 4.8) เป็นนโยบายที่แอบแฝงไม่สุจริต (ร้อยละ 4.5) ข้าราชการมีสิทธิ์ทำตามความคิดของตนเองได้ (ร้อยละ 3.5) รัฐบาลไม่ได้ถูกต้องเสมอไป (ร้อยละ 3.0)
5. กรณีที่สมาชิกชมรมสาธารณสุข ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ โดยการแต่ง ชุดดำนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.0 เห็นว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 30.0 เห็นว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสม
6. เมื่อสอบถามถึงข่าวความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ครั้งนี้ จะส่งผลต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หรือไม่อย่างไรนั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.6 ให้ความเห็นว่า จะส่งผลให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมในตัวนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ลดลง ในขณะที่ร้อยละ 42.4 เห็นว่ากรณีความขัดแย้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยม และร้อยละ 6.0 เห็นว่า จะทำให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
7. ในส่วนของภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.8 เห็นว่า ข่าวที่เกิดกับนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ครั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย แต่อีกร้อยละ 38.3 เห็นว่า มีผลทำให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลดลง และร้อยละ 5.7 เห็นว่า มีผลทำให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ข้อมูลประชากรศาสตร์ :
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 473 44.2
หญิง 598 55.8
อายุ :
18 - 25 ปี 299 27.9
26 - 35 ปี 470 43.9
36 - 45 ปี 253 23.6
45 ปี ขึ้นไป 49 4.6
การศึกษา :
ประถมศึกษา 4 0.4
มัธยมศึกษา 58 5.4
ปวช. 72 6.7
ปวส. / อนุปริญญา 133 12.4
ปริญญาตรี 671 62.7
สูงกว่าปริญญาตรี 133 12.4
อาชีพ :
รับราชการ 76 7.1
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 104 9.7
พนักงานบริษัทเอกชน 637 59.5
เจ้าของกิจการ 68 6.3
รับจ้างทั่วไป 44 4.1
ค้าขาย 56 5.2
นักศึกษา 60 5.6
พ่อบ้าน / แม่บ้าน 10 0.9
อื่น ๆ 16 1.5
ตารางที่ 1 ท่านคิดว่า คำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นคำสั่งที่เหมาะสม หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 268 25.0
ไม่เหมาะสม 798 74.5
ไม่มีความเห็น 5 0.5
ตารางที่ 2 ท่านคิดว่า สาเหตุที่แท้จริงของการโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ คือสาเหตุใด
จำนวน ร้อยละ
ไม่สามารถผลักดันนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ 316 29.4
ขัดขวางการวิ่งเต้นล้มประมูลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาท 664 61.9
อื่น ๆ 93 8.7
ตารางที่ 3 จากการออกมาให้ข่าวของทั้ง 2 ฝ่าย ท่านเชื่อคำพูดของใครมากกว่ากัน ระหว่าง
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มากกว่า 181 16.9
เชื่อ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ มากกว่า 463 43.2
ไม่เชื่อใครเลย 427 39.9
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่า ข้าราชการประจำ จำเป็นต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
จำเป็น 546 51.0
ไม่จำเป็น 525 49.0
เหตุผลที่ข้าราชการประจำ จำเป็นต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล คือ
จำนวน ร้อยละ
เป็นหน้าที่ที่ต้องสนองตอบนโยบาย 139 13.0
เพื่อให้ผลงานตรงตามต้องการ 49 4.6
ให้มีมาตรฐาน งานไปในทิศทางเดียวกัน 46 4.3
เป็นนโยบายที่เป็นประโยชย์ต่อประเทศ 38 3.5
เหตุผลที่ข้าราชการประจำ ไม่จำเป็นต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล คือ
จำนวน ร้อยละ
ควรทำตามความเหมาะสม 51 4.8
นโยบายแอบแฝง ไม่สุจริต 48 4.5
ข้าราชการมีสิทธิ์ทำตามความคิดตนเองได้ 38 3.5
รัฐบาลไม่ได้ถูกต้องเสมอไป 32 3.0
ตารางที่ 5 การที่สมาชิกชมรมสาธารณสุข ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
โดยการแต่งชุดดำนั้น ท่านคิดว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 321 30.0
ไม่เหมาะสม 750 70.0
ตารางที่ 6 ท่านคิดว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
หรือไม่ อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 64 6.0
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเท่าเดิม 454 42.4
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมลดลง 553 51.6
ตารางที่ 7 ท่านคิดว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง
ครั้งหน้า หรือไม่ อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 61 5.7
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเท่าเดิม 598 55.8
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมลดลง 410 38.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับกรณีคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในประเด็นดังนี้
- ความเหมาะสมขอคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- สาเหตุที่แท้จริงของการโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
- ความน่าเชื่อถือในคำพูด ของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กับ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
- ความเห็นที่มีต่อการทำงานของข้าราชการประจำที่ต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล
- ผลที่เกิดขึ้นต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และพรรคไทยรักไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง : การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,071 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ในเรื่อง " ศึกข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมือง "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล - 22 กรกฎาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ - 23 กรกฎาคม 2547
ผลการสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,071 คน เป็นชาย ร้อยละ 44.2 เป็นหญิง ร้อยละ 55.8
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 27.9 มีอายุระหว่าง 18 -25 ปี
ร้อยละ 43.9 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 23.6 มีอายุ ระหว่าง 36-45 ปี
และ ร้อยละ 4.6 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
การศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 0.4
มัธยมศึกษา ร้อยละ 5.4
ปวช. ร้อยละ 6.7
ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 12.4
ปริญญาตรี ร้อยละ 62.7
และ สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 12.4
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 9.7 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 59.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.3 เป็นเจ้าของกิจการ
ร้อยละ 4.1 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 5.2 ค้าขาย
ร้อยละ 5.6 เป็นนักศึกษา
และร้อยละ 0.9 พ่อบ้าน / แม่บ้าน
และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.5
1. กรณีคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากถึงร้อยละ 74.5 เห็นว่า เป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 25.0 เห็นว่า เป็นคำสั่งที่เหมาะสม และอีกร้อยละ 0.5 ไม่มีความเห็น
2. โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.9 เชื่อว่า สาเหตุที่แท้จริงของการที่ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ถูกโยกย้าย นั้น เป็นเพราะไปขัดขวางการวิ่งเต้นล้มประมูลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาท
ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.4 เชื่อว่า การถูกโยกย้ายครั้งนี้ เป็นเพราะ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ไม่สามารถผลักดันนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ตามที่ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
3. เมื่อสอบถามว่า จากการที่ทั้ง 2 ฝ่าย คือระหว่างนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ได้ออกมาให้ข่าวโต้ตอบกันครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเชื่อคำพูดของใครมากกว่ากัน ผลจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 43.2 เชื่อคำพูดของ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ มากกว่า ส่วนร้อยละ 16.9 เชื่อคำพูดของของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มากกว่า และอีกร้อยละ 39.9 ไม่เชื่อใครเลย
4. สำหรับปัญหาในการทำงานระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ข้าราชการประจำ จำเป็นต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล หรือไม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.0 ยังคงเห็นว่าข้าราชการประจำ จำเป็นต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล โดยได้ให้เหตุผลว่า เป็นหน้าที่ที่ต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล (ร้อยละ 13.0) เพื่อให้ผลงานตรงตามต้องการ (ร้อยละ 4.6) เพื่อให้มีมาตรฐานและไปในทิศทางเดียวกัน (ร้อยละ 4.3) เป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ (ร้อยละ 3.5)
สำหรับกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.0 เห็นว่า ข้าราชการประจำไม่จำเป็นต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล โดยให้เหตุผลว่า ข้าราชการประจำควรทำตามความเหมาะสม (ร้อยละ 4.8) เป็นนโยบายที่แอบแฝงไม่สุจริต (ร้อยละ 4.5) ข้าราชการมีสิทธิ์ทำตามความคิดของตนเองได้ (ร้อยละ 3.5) รัฐบาลไม่ได้ถูกต้องเสมอไป (ร้อยละ 3.0)
5. กรณีที่สมาชิกชมรมสาธารณสุข ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ โดยการแต่ง ชุดดำนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.0 เห็นว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 30.0 เห็นว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสม
6. เมื่อสอบถามถึงข่าวความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ครั้งนี้ จะส่งผลต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หรือไม่อย่างไรนั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.6 ให้ความเห็นว่า จะส่งผลให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมในตัวนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ลดลง ในขณะที่ร้อยละ 42.4 เห็นว่ากรณีความขัดแย้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยม และร้อยละ 6.0 เห็นว่า จะทำให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
7. ในส่วนของภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.8 เห็นว่า ข่าวที่เกิดกับนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ครั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย แต่อีกร้อยละ 38.3 เห็นว่า มีผลทำให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลดลง และร้อยละ 5.7 เห็นว่า มีผลทำให้ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ข้อมูลประชากรศาสตร์ :
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 473 44.2
หญิง 598 55.8
อายุ :
18 - 25 ปี 299 27.9
26 - 35 ปี 470 43.9
36 - 45 ปี 253 23.6
45 ปี ขึ้นไป 49 4.6
การศึกษา :
ประถมศึกษา 4 0.4
มัธยมศึกษา 58 5.4
ปวช. 72 6.7
ปวส. / อนุปริญญา 133 12.4
ปริญญาตรี 671 62.7
สูงกว่าปริญญาตรี 133 12.4
อาชีพ :
รับราชการ 76 7.1
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 104 9.7
พนักงานบริษัทเอกชน 637 59.5
เจ้าของกิจการ 68 6.3
รับจ้างทั่วไป 44 4.1
ค้าขาย 56 5.2
นักศึกษา 60 5.6
พ่อบ้าน / แม่บ้าน 10 0.9
อื่น ๆ 16 1.5
ตารางที่ 1 ท่านคิดว่า คำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นคำสั่งที่เหมาะสม หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 268 25.0
ไม่เหมาะสม 798 74.5
ไม่มีความเห็น 5 0.5
ตารางที่ 2 ท่านคิดว่า สาเหตุที่แท้จริงของการโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ คือสาเหตุใด
จำนวน ร้อยละ
ไม่สามารถผลักดันนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ 316 29.4
ขัดขวางการวิ่งเต้นล้มประมูลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาท 664 61.9
อื่น ๆ 93 8.7
ตารางที่ 3 จากการออกมาให้ข่าวของทั้ง 2 ฝ่าย ท่านเชื่อคำพูดของใครมากกว่ากัน ระหว่าง
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มากกว่า 181 16.9
เชื่อ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ มากกว่า 463 43.2
ไม่เชื่อใครเลย 427 39.9
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่า ข้าราชการประจำ จำเป็นต้องทำงานสนองตอบนโยบายของรัฐบาล หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
จำเป็น 546 51.0
ไม่จำเป็น 525 49.0
เหตุผลที่ข้าราชการประจำ จำเป็นต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล คือ
จำนวน ร้อยละ
เป็นหน้าที่ที่ต้องสนองตอบนโยบาย 139 13.0
เพื่อให้ผลงานตรงตามต้องการ 49 4.6
ให้มีมาตรฐาน งานไปในทิศทางเดียวกัน 46 4.3
เป็นนโยบายที่เป็นประโยชย์ต่อประเทศ 38 3.5
เหตุผลที่ข้าราชการประจำ ไม่จำเป็นต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาล คือ
จำนวน ร้อยละ
ควรทำตามความเหมาะสม 51 4.8
นโยบายแอบแฝง ไม่สุจริต 48 4.5
ข้าราชการมีสิทธิ์ทำตามความคิดตนเองได้ 38 3.5
รัฐบาลไม่ได้ถูกต้องเสมอไป 32 3.0
ตารางที่ 5 การที่สมาชิกชมรมสาธารณสุข ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งโยกย้าย น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ
โดยการแต่งชุดดำนั้น ท่านคิดว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 321 30.0
ไม่เหมาะสม 750 70.0
ตารางที่ 6 ท่านคิดว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
หรือไม่ อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 64 6.0
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเท่าเดิม 454 42.4
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมลดลง 553 51.6
ตารางที่ 7 ท่านคิดว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง
ครั้งหน้า หรือไม่ อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 61 5.7
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมเท่าเดิม 598 55.8
ภาพลักษณ์และคะแนนนิยมลดลง 410 38.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-