วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดให้นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต นักศึกษา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ตระหนักถึงความสนใจของนิสิต นักศึกษาต่อแนวคิดดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจโพลล์ในประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับการรับทราบข่าวแนวคิดให้นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัว
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต นักศึกษาหากมีโน้ตบุ๊คประจำตัวให้ใช้
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้สินเชื่อเงินผ่อน และภาระการผ่อนโน้ตบุ๊คของนิสิต นักศึกษา
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวลเรื่องอันตรายจากการพกพาโน้ตบุ๊ค และคุณภาพของโน้ตบุ๊คที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐ และเอกชนในกรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 793 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง " โน้ตบุ๊ค...หนี้เพื่อการศึกษา คุ้มค่าหรือไม่ "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 - 22 กรกฎาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 24 กรกฎาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนามจากนิสิต นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 793 คน
เป็นชายร้อยละ 46.5
เป็นหญิงร้อยละ 53.1
ระดับการศึกษาปัจจุบันของ
กลุ่มตัวอย่าง ปริญญาตรี ชั้นปี 1 ร้อยละ 21.8
ชั้นปี 2 ร้อยละ 20.7
ชั้นปี 3 ร้อยละ 27.1
ชั้นปี 4 ร้อยละ 29.4
และชั้นปีอื่น ๆ ร้อยละ 1.0
สาขาวิชาของกลุ่มตัวอย่าง
สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ร้อยละ 81.7
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 18.3
สถาบันการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยรัฐ ร้อยละ 49.8
มหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 50.2
2. การสำรวจครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 61.9 ระบุว่าไม่ทราบข่าวเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดให้นิสิต นักศึกษาทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัว ร้อยละ 38.1 ระบุว่าทราบ
3. จากคำถามว่าหากมีโน้ตบุ๊คประจำตัว จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต/นักศึกษาอย่างไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.0 ระบุว่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่าโน้ตบุ๊คจะช่วยให้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมได้รวดเร็ว สะดวกต่อการทำรายงาน ประหยัดกระดาษ รอบรู้ข่าวสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถเก็บข้อมูลที่น่าสนใจไว้ทำรายงานได้ ร้อยละ 14.1 ระบุว่าไม่มีผลต่อประสิทธภาพการเรียน ร้อยละ 11.2 ระบุว่าประสิทธภาพการเรียนจะแย่ลง เนื่องจากอาจจะใช้โน้ตบุ๊คเพื่อเล่นเกมส์ หรือใช้เพื่อสนทนาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เสียเวลา เสียการเรียน และร้อยละ 27.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ
4. เมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับการให้สินเชื่อเงินผ่อนแก่นิสิต นักศึกษาเพื่อนำไปซื้อโน้ตบุ๊ค
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 44.9 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 40.1 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 15.0 ไม่มีความเห็น
5. สำหรับคำถามว่านิสิต นักศึกษา / ครอบครัว สามารถรับภาระการผ่อนชำระค่าโน้ตบุ๊คเทอมละ 2,000 - 3,000 บาทได้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.8 ระบุว่าได้
ร้อยละ 15.8 ไม่ได้
และร้อยละ 17.4 ไม่แน่ใจ
6. ส่วนคำถามว่ากังวลเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการพกพาโน้ตบุ๊คหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.2 ระบุว่ากังวล
และร้อยละ 48.8 ระบุว่าไม่กังวล
7. เมื่อถามว่ามั่นใจในคุณภาพของโน้ตบุ๊คที่จะนำมาเข้าโครงการนี้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 ระบุว่ามั่นใจมาก
ร้อยละ 28.8 ระบุว่าค่อนข้างมั่นใจ
ร้อยละ 50.1 ระบุว่าไม่ค่อยมั่นใจ
และร้อยละ 15.5 ระบุว่าไม่มั่นใจ
8. สำหรับคำถามที่ว่าคิดว่าใครได้รับประโยชน์มากที่สุดจากแนวคิดเรื่องให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัว
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 44.4 ระบุว่านิสิต นักศึกษา
รองลงมาร้อยละ 26.4 ระบุว่ารัฐบาล
ร้อยละ 17.4 ระบุว่าบริษัทเอกชนเจ้าของเครื่องโน้ตบุ๊ค
ร้อยละ 4.2 ระบุว่าสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
และร้อยละ 2.8 ระบุว่ามหาวิทยาลัย
9. ส่วนคำถามสรุปว่าเห็นด้วยกับแนวคิดให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัวหรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 42.4 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะทำให้ทันสมัย ความรู้กว้างไกล และสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน
ร้อยละ 36.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายทั้งของผู้ปกครอง และตัวเอง อีกทั้งมหาวิทยาลัยก็มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้อยู่แล้ว
และร้อยละ 21.6 ไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 369 46.5
หญิง 424 53.5
กำลังศึกษา:
ชั้นปี 1 173 21.8
ชั้นปี 2 164 20.7
ชั้นปี 3 215 27.1
ชั้นปี 4 233 29.4
สูงกว่าชั้นปี 4 8 1.0
สาขาวิชา :
สังคมศาสตร์ 648 81.7
วิทยาศาสตร์ 145 18.3
สถาบันที่ศึกษา :
มหาวิทยาลัยรัฐบาล 395 49.8
มหาวิทยาลัยเอกชน 398 50.2
ตารางที่ 2: ท่านทราบข่าวเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดให้นิสิต
นักศึกษาทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ทราบ 302 38.1
ไม่ทราบ 491 61.9
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่า หากมีโน้ตบุ๊คประจำตัว จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต/นักศึกษาอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 373 47.0
เหมือนเดิม 112 14.1
แย่ลง 89 11.2
ไม่แน่ใจ 219 27.6
ตารางที่ 4: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการให้สินเชื่อเงินผ่อนแก่นิสิต นักศึกษาในการซื้อโน้ตบุ๊ค
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 356 44.9
ไม่เห็นด้วย 318 40.1
ไม่มีความเห็น 119 15.0
ตารางที่ 5: ท่าน / ครอบครัว สามารถรับภาระการผ่อนชำระค่าโน้ตบุ๊คเทอมละ 2,000 - 3,000 บาทได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 530 66.8
ไม่ได้ 125 15.8
ไม่แน่ใจ 138 17.4
ตารางที่ 6: ท่านกังวลเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการพกพาโน้ตบุ๊คหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
กังวล 406 51.2
ไม่กังวล 387 48.8
ตารางที่ 7: ท่านมั่นใจในคุณภาพของโน้ตบุ๊คที่จะนำมาเข้าโครงการนี้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 45 5.7
ค่อนข้างมั่นใจ 228 28.8
ไม่ค่อยมั่นใจ 397 50.1
ไม่มั่นใจเลย 123 15.5
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าใครได้รับประโยชน์มากที่สุดจากแนวคิดเรื่องให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัว
จำนวน ร้อยละ
นิสิต นักศึกษา 352 44.4
รัฐบาล 209 26.4
บริษัทเอกชนเจ้าของเครื่องโน้ตบุ๊ค 138 17.4
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 33 4.2
มหาวิทยาลัย 22 2.8
อื่น ๆ 39 4.9
ตารางที่ 9: สรุปแล้วท่านเห็นด้วยกับแนวคิดให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 336 42.4
ไม่เห็นด้วย 286 36.1
ไม่มีความเห็น 171 21.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดให้นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต นักศึกษา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ตระหนักถึงความสนใจของนิสิต นักศึกษาต่อแนวคิดดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจโพลล์ในประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับการรับทราบข่าวแนวคิดให้นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัว
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต นักศึกษาหากมีโน้ตบุ๊คประจำตัวให้ใช้
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้สินเชื่อเงินผ่อน และภาระการผ่อนโน้ตบุ๊คของนิสิต นักศึกษา
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวลเรื่องอันตรายจากการพกพาโน้ตบุ๊ค และคุณภาพของโน้ตบุ๊คที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐ และเอกชนในกรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 793 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง " โน้ตบุ๊ค...หนี้เพื่อการศึกษา คุ้มค่าหรือไม่ "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 - 22 กรกฎาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 24 กรกฎาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนามจากนิสิต นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 793 คน
เป็นชายร้อยละ 46.5
เป็นหญิงร้อยละ 53.1
ระดับการศึกษาปัจจุบันของ
กลุ่มตัวอย่าง ปริญญาตรี ชั้นปี 1 ร้อยละ 21.8
ชั้นปี 2 ร้อยละ 20.7
ชั้นปี 3 ร้อยละ 27.1
ชั้นปี 4 ร้อยละ 29.4
และชั้นปีอื่น ๆ ร้อยละ 1.0
สาขาวิชาของกลุ่มตัวอย่าง
สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ร้อยละ 81.7
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 18.3
สถาบันการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยรัฐ ร้อยละ 49.8
มหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 50.2
2. การสำรวจครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 61.9 ระบุว่าไม่ทราบข่าวเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดให้นิสิต นักศึกษาทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัว ร้อยละ 38.1 ระบุว่าทราบ
3. จากคำถามว่าหากมีโน้ตบุ๊คประจำตัว จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต/นักศึกษาอย่างไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.0 ระบุว่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่าโน้ตบุ๊คจะช่วยให้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมได้รวดเร็ว สะดวกต่อการทำรายงาน ประหยัดกระดาษ รอบรู้ข่าวสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถเก็บข้อมูลที่น่าสนใจไว้ทำรายงานได้ ร้อยละ 14.1 ระบุว่าไม่มีผลต่อประสิทธภาพการเรียน ร้อยละ 11.2 ระบุว่าประสิทธภาพการเรียนจะแย่ลง เนื่องจากอาจจะใช้โน้ตบุ๊คเพื่อเล่นเกมส์ หรือใช้เพื่อสนทนาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เสียเวลา เสียการเรียน และร้อยละ 27.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ
4. เมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับการให้สินเชื่อเงินผ่อนแก่นิสิต นักศึกษาเพื่อนำไปซื้อโน้ตบุ๊ค
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 44.9 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 40.1 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 15.0 ไม่มีความเห็น
5. สำหรับคำถามว่านิสิต นักศึกษา / ครอบครัว สามารถรับภาระการผ่อนชำระค่าโน้ตบุ๊คเทอมละ 2,000 - 3,000 บาทได้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.8 ระบุว่าได้
ร้อยละ 15.8 ไม่ได้
และร้อยละ 17.4 ไม่แน่ใจ
6. ส่วนคำถามว่ากังวลเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการพกพาโน้ตบุ๊คหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.2 ระบุว่ากังวล
และร้อยละ 48.8 ระบุว่าไม่กังวล
7. เมื่อถามว่ามั่นใจในคุณภาพของโน้ตบุ๊คที่จะนำมาเข้าโครงการนี้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 ระบุว่ามั่นใจมาก
ร้อยละ 28.8 ระบุว่าค่อนข้างมั่นใจ
ร้อยละ 50.1 ระบุว่าไม่ค่อยมั่นใจ
และร้อยละ 15.5 ระบุว่าไม่มั่นใจ
8. สำหรับคำถามที่ว่าคิดว่าใครได้รับประโยชน์มากที่สุดจากแนวคิดเรื่องให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัว
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 44.4 ระบุว่านิสิต นักศึกษา
รองลงมาร้อยละ 26.4 ระบุว่ารัฐบาล
ร้อยละ 17.4 ระบุว่าบริษัทเอกชนเจ้าของเครื่องโน้ตบุ๊ค
ร้อยละ 4.2 ระบุว่าสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
และร้อยละ 2.8 ระบุว่ามหาวิทยาลัย
9. ส่วนคำถามสรุปว่าเห็นด้วยกับแนวคิดให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัวหรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 42.4 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะทำให้ทันสมัย ความรู้กว้างไกล และสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน
ร้อยละ 36.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายทั้งของผู้ปกครอง และตัวเอง อีกทั้งมหาวิทยาลัยก็มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้อยู่แล้ว
และร้อยละ 21.6 ไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 369 46.5
หญิง 424 53.5
กำลังศึกษา:
ชั้นปี 1 173 21.8
ชั้นปี 2 164 20.7
ชั้นปี 3 215 27.1
ชั้นปี 4 233 29.4
สูงกว่าชั้นปี 4 8 1.0
สาขาวิชา :
สังคมศาสตร์ 648 81.7
วิทยาศาสตร์ 145 18.3
สถาบันที่ศึกษา :
มหาวิทยาลัยรัฐบาล 395 49.8
มหาวิทยาลัยเอกชน 398 50.2
ตารางที่ 2: ท่านทราบข่าวเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีแนวคิดให้นิสิต
นักศึกษาทุกคนมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คประจำตัวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ทราบ 302 38.1
ไม่ทราบ 491 61.9
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่า หากมีโน้ตบุ๊คประจำตัว จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนของนิสิต/นักศึกษาอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 373 47.0
เหมือนเดิม 112 14.1
แย่ลง 89 11.2
ไม่แน่ใจ 219 27.6
ตารางที่ 4: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการให้สินเชื่อเงินผ่อนแก่นิสิต นักศึกษาในการซื้อโน้ตบุ๊ค
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 356 44.9
ไม่เห็นด้วย 318 40.1
ไม่มีความเห็น 119 15.0
ตารางที่ 5: ท่าน / ครอบครัว สามารถรับภาระการผ่อนชำระค่าโน้ตบุ๊คเทอมละ 2,000 - 3,000 บาทได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 530 66.8
ไม่ได้ 125 15.8
ไม่แน่ใจ 138 17.4
ตารางที่ 6: ท่านกังวลเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการพกพาโน้ตบุ๊คหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
กังวล 406 51.2
ไม่กังวล 387 48.8
ตารางที่ 7: ท่านมั่นใจในคุณภาพของโน้ตบุ๊คที่จะนำมาเข้าโครงการนี้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 45 5.7
ค่อนข้างมั่นใจ 228 28.8
ไม่ค่อยมั่นใจ 397 50.1
ไม่มั่นใจเลย 123 15.5
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าใครได้รับประโยชน์มากที่สุดจากแนวคิดเรื่องให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัว
จำนวน ร้อยละ
นิสิต นักศึกษา 352 44.4
รัฐบาล 209 26.4
บริษัทเอกชนเจ้าของเครื่องโน้ตบุ๊ค 138 17.4
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 33 4.2
มหาวิทยาลัย 22 2.8
อื่น ๆ 39 4.9
ตารางที่ 9: สรุปแล้วท่านเห็นด้วยกับแนวคิดให้นิสิต นักศึกษามีโน้ตบุ๊คประจำตัวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 336 42.4
ไม่เห็นด้วย 286 36.1
ไม่มีความเห็น 171 21.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-