แท็ก
กรุงเทพโพลล์
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับความพร้อมของระบบขนส่งมวลชนที่จะรองรับมาตรการประหยัดน้ำมัน โดยมีประเด็นคำถามดังนี้
- มาตรการที่ประชาชนคิดว่าจะช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด
- ประเภทของบริการขนส่งมวลชนที่ประชาชนสนใจจะใช้บริการ
- ความพร้อมของระบบขนส่งมวลชนหากประชาชนจะหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
- สิ่งที่ระบบขนส่งมวลชนควรปรับปรุงเพื่อดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ
- การตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปี 2548 เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,174 คน เป็นชายร้อยละ 46.8 เป็นหญิงร้อยละ 53.2
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.3 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 27.5 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 23.2 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 15.0 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5.3 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 16.0 มัธยมศึกษาร้อยละ 8.8 ปวช. ร้อยละ 11.0 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 53.5 ปริญญาตรี และร้อยละ 5.5 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5.5 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 6.6 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 27.4 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.9 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6 ค้าขาย ร้อยละ 25.6 นักศึกษา ร้อยละ 3.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 1.1 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ขนส่งมวลชนไทยพร้อมแค่ไหนกับมาตรการประหยัดน้ำมัน"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 สิงหาคม 2547 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 19 สิงหาคม 2547
ผลการสำรวจ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับมาตรการประหยัดน้ำมัน กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 47.1 เห็นว่า การส่งเสริมให้ใช้บริการขนส่งมวลชนเป็นมาตรการที่จะช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด โดยร้อยละ 44.0 จะหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน รองลงมาได้แก่ รถเมล์ ร้อยละ 35.4 แท็กซี่ ร้อยละ 9.5 รถไฟ ร้อยละ 4.0 เรือโดยสาร ร้อยละ 4.0 และอื่นๆ อีกร้อยละ 3.1
เมื่อถามถึงความพร้อมของระบบขนส่งมวลชน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57.2) เห็นว่าระบบขนส่งมวลชนของไทยในปัจจุบันยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะรองรับความต้องการหากประชาชนจะหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว มีเพียงร้อยละ 26.1 ที่คิดว่าพร้อม และอีกร้อยละ 16.7 ไม่แน่ใจ
สำหรับแนวทางในการปรับปรุงบริการของระบบขนส่งมวลชนเพื่อดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ พบว่า ต้องการให้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องราคาค่าบริการ ความทั่วถึงของจุดที่ให้บริการ ความสะอาด ความรวดเร็ว ความสุภาพของพนักงาน และการตรงต่อเวลา ตามลำดับ
เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเภท พบว่า
- รถเมล์ ต้องปรับปรุงเรื่องความสุภาพของพนักงานมากที่สุด (ร้อยละ 28.0)
- รถแท็กซี่ ต้องปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด (ร้อยละ 49.1)
- รถไฟ ต้องปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด (ร้อยละ 39.6)
- รถไฟฟ้า ต้องปรับปรุงเรื่องราคาค่าบริการมากที่สุด (ร้อยละ 52.2)
- เรือโดยสาร ต้องปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด (ร้อยละ 56.6)
ส่วนเรื่องที่รัฐบาลตัดสินใจจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อไปจนถึงต้นปี 2548 นั้น กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 39.4 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย ขณะที่ร้อยละ 27.9 คิดว่าไม่เป็น และร้อยละ 32.6 ไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 550 46.8
หญิง 624 53.2
อายุ :
18 - 25 ปี 403 34.3
26 - 35 ปี 323 27.5
36 - 45 ปี 272 23.2
46ปีขึ้นไป 176 15.0
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 62 5.3
มัธยมศึกษา 188 16.0
ปวช. 103 8.8
ปวส./อนุปริญญา 129 11.0
ปริญญาตรี 628 53.5
สูงกว่าปริญญาตรี 64 5.5
อาชีพ :
รับราชการ 64 5.5
รัฐวิสาหกิจ 78 6.6
พนักงานบริษัทเอกชน 322 27.4
เจ้าของกิจการ 113 9.6
รับจ้างทั่วไป 93 7.9
ค้าขาย 148 12.6
นักศึกษา 300 25.6
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 43 3.7
อื่น ๆ 13 1.1
ตารางที่ 2: ท่านคิดว่า มาตรการใดต่อไปนี้จะช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ส่งเสริมการใช้บริการขนส่งมวลชน 553 47.1
มาตรการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ประหยัดน้ำมัน (TUNE UP) 206 17.5
จัดหาพื้นที่สำหรับก่อสร้างที่จอดรถสาธารณะขนาดใหญ่ (PARK AND RIDE) 173 14.7
อนุญาตให้ใช้ช่องทางบัสเลนในชั่วโมงเร่งด่วน 84 7.2
จัดตั้งศูนย์เพื่อลดจำนวนการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า 57 4.9
เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอีก 1 พันคน 57 4.9
แยกรถที่เกิดอุบัติเหตุโดยไม่ต้องรอ บ.ประกันภัย เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัด 44 3.7
ตารางที่ 3: จากสถานการณ์น้ำมันขึ้นราคา ท่านคิดจะหันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนประเภทใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
รถไฟฟ้า 517 44.0
รถเมล์ 416 35.4
รถแท็กซี่ 111 9.5
รถไฟ 47 4.0
เรือ 47 4.0
อื่น ๆ 36 3.1
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าในปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนของไทย มีความพร้อมหรือไม่ที่จะรองรับความต้องการ
หากประชาชนหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
จำนวน ร้อยละ
พร้อม 306 26.1
ไม่พร้อม 672 57.2
ไม่แน่ใจ 196 16.7
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าระบบขนส่งมวลชนต่อไปนี้ ควรได้รับการปรับปรุงด้านใดมากที่สุด จึงจะสามารถ
ดึงดูดให้ประชาชนหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
ความ ความ ความสุภาพ ราคาค่า ความสะอาด ความทั่วถึงของจุด ความตรงต่อเวลา
รวดเร็ว ปลอดภัย ของพนักงาน บริการ ที่ให้บริการ
รถเมล์ 21.1 26.8 28.0 2.4 6.1 4.5 11.0
รถแท็กซี่ 1.7 49.1 7.8 38.0 1.1 1.7 0.6
รถไฟ 18.0 10.6 5.4 3.7 39.6 15.6 7.2
รถไฟฟ้า 1.7 2.0 0.9 52.2 1.2 40.7 1.4
เรือ 10.6 56.6 5.2 1.9 5.8 12.1 7.8
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่ามาตรการตรึงราคาน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยม
ของพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เป็น 463 39.4
ไม่เป็น 328 27.9
ไม่มีความเห็น 383 32.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การสำรวจครั้งนี้ต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับความพร้อมของระบบขนส่งมวลชนที่จะรองรับมาตรการประหยัดน้ำมัน โดยมีประเด็นคำถามดังนี้
- มาตรการที่ประชาชนคิดว่าจะช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด
- ประเภทของบริการขนส่งมวลชนที่ประชาชนสนใจจะใช้บริการ
- ความพร้อมของระบบขนส่งมวลชนหากประชาชนจะหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
- สิ่งที่ระบบขนส่งมวลชนควรปรับปรุงเพื่อดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ
- การตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปี 2548 เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,174 คน เป็นชายร้อยละ 46.8 เป็นหญิงร้อยละ 53.2
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.3 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 27.5 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 23.2 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 15.0 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5.3 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 16.0 มัธยมศึกษาร้อยละ 8.8 ปวช. ร้อยละ 11.0 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 53.5 ปริญญาตรี และร้อยละ 5.5 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5.5 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 6.6 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 27.4 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.9 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6 ค้าขาย ร้อยละ 25.6 นักศึกษา ร้อยละ 3.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 1.1 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ขนส่งมวลชนไทยพร้อมแค่ไหนกับมาตรการประหยัดน้ำมัน"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 สิงหาคม 2547 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 19 สิงหาคม 2547
ผลการสำรวจ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับมาตรการประหยัดน้ำมัน กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 47.1 เห็นว่า การส่งเสริมให้ใช้บริการขนส่งมวลชนเป็นมาตรการที่จะช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด โดยร้อยละ 44.0 จะหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน รองลงมาได้แก่ รถเมล์ ร้อยละ 35.4 แท็กซี่ ร้อยละ 9.5 รถไฟ ร้อยละ 4.0 เรือโดยสาร ร้อยละ 4.0 และอื่นๆ อีกร้อยละ 3.1
เมื่อถามถึงความพร้อมของระบบขนส่งมวลชน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57.2) เห็นว่าระบบขนส่งมวลชนของไทยในปัจจุบันยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะรองรับความต้องการหากประชาชนจะหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว มีเพียงร้อยละ 26.1 ที่คิดว่าพร้อม และอีกร้อยละ 16.7 ไม่แน่ใจ
สำหรับแนวทางในการปรับปรุงบริการของระบบขนส่งมวลชนเพื่อดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ พบว่า ต้องการให้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องราคาค่าบริการ ความทั่วถึงของจุดที่ให้บริการ ความสะอาด ความรวดเร็ว ความสุภาพของพนักงาน และการตรงต่อเวลา ตามลำดับ
เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเภท พบว่า
- รถเมล์ ต้องปรับปรุงเรื่องความสุภาพของพนักงานมากที่สุด (ร้อยละ 28.0)
- รถแท็กซี่ ต้องปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด (ร้อยละ 49.1)
- รถไฟ ต้องปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด (ร้อยละ 39.6)
- รถไฟฟ้า ต้องปรับปรุงเรื่องราคาค่าบริการมากที่สุด (ร้อยละ 52.2)
- เรือโดยสาร ต้องปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด (ร้อยละ 56.6)
ส่วนเรื่องที่รัฐบาลตัดสินใจจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อไปจนถึงต้นปี 2548 นั้น กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 39.4 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย ขณะที่ร้อยละ 27.9 คิดว่าไม่เป็น และร้อยละ 32.6 ไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 550 46.8
หญิง 624 53.2
อายุ :
18 - 25 ปี 403 34.3
26 - 35 ปี 323 27.5
36 - 45 ปี 272 23.2
46ปีขึ้นไป 176 15.0
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 62 5.3
มัธยมศึกษา 188 16.0
ปวช. 103 8.8
ปวส./อนุปริญญา 129 11.0
ปริญญาตรี 628 53.5
สูงกว่าปริญญาตรี 64 5.5
อาชีพ :
รับราชการ 64 5.5
รัฐวิสาหกิจ 78 6.6
พนักงานบริษัทเอกชน 322 27.4
เจ้าของกิจการ 113 9.6
รับจ้างทั่วไป 93 7.9
ค้าขาย 148 12.6
นักศึกษา 300 25.6
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 43 3.7
อื่น ๆ 13 1.1
ตารางที่ 2: ท่านคิดว่า มาตรการใดต่อไปนี้จะช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ส่งเสริมการใช้บริการขนส่งมวลชน 553 47.1
มาตรการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ประหยัดน้ำมัน (TUNE UP) 206 17.5
จัดหาพื้นที่สำหรับก่อสร้างที่จอดรถสาธารณะขนาดใหญ่ (PARK AND RIDE) 173 14.7
อนุญาตให้ใช้ช่องทางบัสเลนในชั่วโมงเร่งด่วน 84 7.2
จัดตั้งศูนย์เพื่อลดจำนวนการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า 57 4.9
เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอีก 1 พันคน 57 4.9
แยกรถที่เกิดอุบัติเหตุโดยไม่ต้องรอ บ.ประกันภัย เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัด 44 3.7
ตารางที่ 3: จากสถานการณ์น้ำมันขึ้นราคา ท่านคิดจะหันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนประเภทใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
รถไฟฟ้า 517 44.0
รถเมล์ 416 35.4
รถแท็กซี่ 111 9.5
รถไฟ 47 4.0
เรือ 47 4.0
อื่น ๆ 36 3.1
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าในปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนของไทย มีความพร้อมหรือไม่ที่จะรองรับความต้องการ
หากประชาชนหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
จำนวน ร้อยละ
พร้อม 306 26.1
ไม่พร้อม 672 57.2
ไม่แน่ใจ 196 16.7
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าระบบขนส่งมวลชนต่อไปนี้ ควรได้รับการปรับปรุงด้านใดมากที่สุด จึงจะสามารถ
ดึงดูดให้ประชาชนหันมาใช้บริการแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
ความ ความ ความสุภาพ ราคาค่า ความสะอาด ความทั่วถึงของจุด ความตรงต่อเวลา
รวดเร็ว ปลอดภัย ของพนักงาน บริการ ที่ให้บริการ
รถเมล์ 21.1 26.8 28.0 2.4 6.1 4.5 11.0
รถแท็กซี่ 1.7 49.1 7.8 38.0 1.1 1.7 0.6
รถไฟ 18.0 10.6 5.4 3.7 39.6 15.6 7.2
รถไฟฟ้า 1.7 2.0 0.9 52.2 1.2 40.7 1.4
เรือ 10.6 56.6 5.2 1.9 5.8 12.1 7.8
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่ามาตรการตรึงราคาน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยม
ของพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เป็น 463 39.4
ไม่เป็น 328 27.9
ไม่มีความเห็น 383 32.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-