คนกรุงเทพฯ เกือบ 60% เชื่อการทดสอบระบายน้ำของรัฐบาล ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ โดย 30.4% กังวลความไม่สามัคคีกันของรัฐบาลและ กทม. หากต้องรับมือกับน้ำท่วมจริง
เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำการทดสอบการระบายน้ำในพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการทดสอบดังกล่าว ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “คนกรุงเทพฯ คิดอย่างไรหลังการทดสอบระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วม” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,152 คน พบว่า
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 58.2 เชื่อว่าการทดสอบระบายน้ำของรัฐบาล หากเกิดสถานการณ์จริงจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ขณะที่ร้อยละ 41.8 เชื่อว่าไม่ได้ ทั้งนี้เมื่อถามว่าการทดสอบระบายน้ำในครั้งนี้ รัฐบาลใช้งบประมาณถูกทางแล้วหรือไม่ ร้อยละ 43.5 คิดว่าถูกทางแล้วเพราะเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่ร้อยละ 21.1 คิดว่าไม่ถูกทางน่าจะนำงบประมาณไปใช้ในเรื่องอื่นมากกว่า และร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ
ส่วนสิ่งที่คนกรุงเทพฯ เห็นว่ายังขาดหายไปในการทดสอบระบายน้ำครั้งนี้อันดับแรกคือ ขาดความสามัคคี ความร่วมมือกัน ระหว่าง รัฐบาล กทม. และภาคประชาชน (ร้อยละ 30.1) รองลงมาคือ ขาดการสื่อสารแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมล่วงหน้าให้ประชาชนได้รับทราบ (ร้อยละ 22.0) และขาดการเตรียมความพร้อมเช่น การขุดลอกคูคลอง เครื่องสูบน้ำ (ร้อยละ 16.8)
สำหรับเรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องรับมือกับปัญหาน้ำท่วมจริงในพื้นที่ กทม. หลังจากการติดตามการทดสอบการระบายน้ำคือ ความไม่สามัคคีกันในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและ กทม. (ร้อยละ 30.4) รองลงมาคือความพร้อมในการรับมือเช่นการขุดลอกคูคลอง การแก้ปัญหาประตูระบายน้ำ ความพร้อมของเครื่องสูบน้ำ (ร้อยละ 18.1) และการทุจริตคอร์รัปชั่น จากงบประมาณในการแก้ปัญหาน้ำท่วม (ร้อยละ 15.6)
เมื่อถามคนกรุงเทพฯ ว่ามาถึงวันนี้ รัฐบาลมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำมากมาย ท่านกลัวหรือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา ร้อยละ 44.3 กลัวว่าจะเกิดน้ำท่วมแต่ไม่หนักเหมือนปีที่ผ่านมา รองลงมาร้อยละ 22.7 กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่มีร้อยละ 16.5 เท่ากันที่ ไม่กลัวน้ำท่วมเพราะมั่นใจว่ารัฐเอาอยู่ และไม่กลัวน้ำท่วมเพราะคิดว่าไม่ท่วมอยู่แล้ว ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าว่าปัจจุบันการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล เดินมาถูกทางแล้วหรือไม่ หลังจากผ่าน 1 ปีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ร้อยละ 36.5 คิดว่าถูกทางแล้ว ขณะที่ร้อยละ 23.5 คิดว่ายังไม่ถูกทาง และร้อยละ 40.0 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ ยังได้ทำการประเมินเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในการรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล และ กทม. หลังจากการทดสอบระบายน้ำในครั้งนี้พบว่า คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อ กทม. 5.99 คะแนน (จากคะแนนต็ม 10 คะแนน) ซึ่งมากกว่าคะแนนความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล 0.03 คะแนน โดยให้คะแนนรัฐบาลเท่ากับ 5.96 คะแนน
รายละเอียดดังต่อไปนี้
เชื่อว่าได้ ร้อยละ 58.2 เชื่อว่าไม่ได้ ร้อยละ 41.8 2. ความคิดเห็นต่อการทดสอบระบายน้ำในครั้งนี้ รัฐบาลใช้งบประมาณถูกทางแล้วหรือไม่ ถูกทางแล้วเพราะเป็นสิ่งจำเป็น ร้อยละ 43.5 ไม่ถูกทางน่าจะนำงบประมาณไปใช้ในเรื่องอื่นมากกว่า ร้อยละ 21.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 35.4 3. สิ่งที่ประชาชนคิดว่าขาดหายไปของการทดสอบระบายน้ำครั้งนี้ (5 อันดับแรก) คือ (คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ขาดความสามัคคี ความร่วมมือกัน ระหว่าง รัฐบาล กทม. และภาคประชาชน ร้อยละ 30.1 ขาดการสื่อสารแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมล่วงหน้าให้ประชาชนได้รับทราบ ร้อยละ 22.0 ขาดการเตรียมความพร้อมเช่น การขุดลอกคูคลอง เครื่องสูบน้ำ ร้อยละ 16.8 การทดสอบยังไม่คำนึงถึงหลักความจริง ทั้งปริมาณน้ำที่ปล่อยน้อยเกินไปและปริมาณน้ำฝน ร้อยละ 11.1 รัฐบาลยังทำงานไม่จริงจัง ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ร้อยละ 6.4 4. เรื่องที่ประชาชนกังวลมากที่สุด หากต้องรับมือกับปัญหาน้ำท่วมจริงในพื้นที่ กทม. หลังจากการติดตามการทดสอบการระบายน้ำ ความไม่สามัคคีกันในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและ กทม. ร้อยละ 30.4 ความพร้อมในการรับมือเช่นการขุดลอกคูคลอง การแก้ปัญหาประตูระบายน้ำ ความพร้อมของเครื่องสูบน้ำ ร้อยละ 18.1 การทุจริตคอร์รัปชั่น จากงบประมาณในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 15.6 การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและถูกวิธี รวมถึงการบูรณาการของทุกภาคส่วน ร้อยละ 14.8 การเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ร้อยละ 9.5 การสื่อสารระหว่างภาครัฐกับประชาชน ร้อยละ 6.0 ความพร้อมของประชาชนหากเกิดน้ำท่วมจริง ร้อยละ 5.6 5. มาถึงวันนี้ รัฐบาลมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำมากมาย ท่านกลัวหรือไม่ว่า จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา ร้อยละ 22.7 กลัวว่าจะเกิดน้ำท่วมแต่ไม่หนักเหมือนปีที่ผ่านมา ร้อยละ 44.3 ไม่กลัวน้ำท่วมเพราะมั่นใจว่ารัฐเอาอยู่ ร้อยละ 16.5 ไม่กลัวน้ำท่วมเพราะคิดว่าไม่ท่วมอยู่แล้ว ร้อยละ 16.5 6. ปัจจุบันการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล เดินมาถูกทางแล้วหรือไม่ หลังจากผ่าน 1 ปีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ถูกทางแล้ว ร้อยละ 36.5 ยังไม่ถูกทาง ร้อยละ 23.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 40.0 7. เปรียบเทียบคะแนนความเชื่อมั่นในการรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและ กทม. หลังจากการทดสอบระบายน้ำในครั้งนี้ (0 คือไม่เชื่อมั่นเลย และ 10 คือเชื่อมั่นมากที่สุด) หน่วยงาน คะแนน รัฐบาล 5.96 กรุงเทพมหานคร (กทม.) 5.99
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการทดสอบระบายน้ำว่า หากเกิดสถานการณ์จริงจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้หรือไม่ รัฐบาลใช้งบประมาณถูกทางแล้วหรือไม่ และสิ่งที่ขาดหายไปของการทดสอบระบายน้ำครั้งนี้
2. เพื่อสะท้อนสิ่งที่ประชาชนกังวลมกที่สุด หากต้องรับมือกับปัญหาน้ำท่วมจริงในพื้นที่ กทม.
3. เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลเดินมาถูกทางแล้วหรือไม่ และประชาชนกลัวหรือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมา
4. เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและ กทม.
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สายไหม หนองแขมและหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,152 คน เป็นชายร้อยละ 49.1 และหญิงร้อยละ 50.9
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6 - 8 กันยายน 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 กันยายน 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 566 49.1 หญิง 586 50.9 รวม 1,152 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 269 23.4 26 - 35 ปี 322 28.0 36 - 45 ปี 280 24.3 46 ปีขึ้นไป 281 24.3 รวม 1,152 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 755 65.6 ปริญญาตรี 353 30.6 สูงกว่าปริญญาตรี 44 3.8 รวม 1,152 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 123 10.7 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 283 24.6 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 365 31.6 รับจ้างทั่วไป 173 15.0 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 78 6.8 นักศึกษา 102 8.9 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 28 2.4 รวม 1,152 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--