แท็ก
กรุงเทพโพลล์
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ โดยมีประเด็นคำถามดังนี้
- เห็นด้วยหรือไม่กับมาตรการประหยัดพลังงานโดยการกำหนดเวลาปิดการให้บริการของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณา และปั๊มน้ำมัน
- ควรกำหนดเวลาปิดร้านสะดวกซื้อ และกำหนดเวลาปิดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์หรือไม่
- มาตรการประหยัดพลังงานที่ออกมาเป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลหรือไม่
- มาตรการปิดห้างสรรพสินค้าเวลา 2 ทุ่ม ขัดกับนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่
- มาตรการประหยัดพลังงาน จะมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของประชาชนในกรุงเทพหรือไม่
- เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลถึงต้นปี 2548
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,192 คน ร้อยละเป็นชาย 47.1 ร้อยละ 52.9 เป็นหญิง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.3 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 28.2 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 29.5 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 15.0 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 17.4 ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 11.2 ระดับปวช. ร้อยละ 10.9 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 42.7 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.2 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.4 อาชีพรับราชการ ร้อยละ 12.8 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.7 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 11.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.0 ค้าขาย ร้อยละ 14.3 นักศึกษา ร้อยละ 10.2 พ่อบ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 1.1 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง " มาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ... เลือกปฏิบัติหรือไม่"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 19 สิงหาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 20 สิงหาคม 2547
ผลการสำรวจ
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เรื่อง "มาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ...เลือกปฏิบัติหรือไม่" พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการปิดห้าง-ปิดปั๊ม ที่รัฐบาลประกาศออกมา แต่เห็นด้วยกับการปิดไฟป้ายโฆษณา โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มาตรการปิดห้างสรรพสินค้าเวลา 2 ทุ่ม พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 66.1 และเห็นด้วย ร้อยละ 33.9
- มาตรการปิดห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เทสโก้โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี) เวลา 4 ทุ่ม กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วย ร้อยละ 50.3 เห็นด้วย ร้อยละ 49.7
- มาตรการปิดปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ เวลาเที่ยงคืน พบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 52.3 เห็นด้วย ร้อยละ47.7
- มาตรการปิดไฟป้ายโฆษณา เวลา 4 ทุ่ม พบว่า เห็นด้วย ร้อยละ 78.0 และไม่เห็นด้วยเพียงร้อยละ 22.0
สำหรับการกำหนดเวลาปิดร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น และมินิมาร์ทต่าง ๆ ) นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ71.1 คิดว่าไม่ควรกำหนดเวลาปิด ขณะที่ ร้อยละ 28.9 คิดว่าควรกำหนดเวลาปิด
ส่วนกำหนดเวลาปิดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่างมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 50.8 คิดว่าไม่ควรกำหนดเวลาปิดการออกอากาศ ขณะที่ ร้อยละ 49.2 คิดว่าควรกำหนดเวลาปิดการออกอากาศ
เมื่อถามว่ามาตรการประหยัดพลังงานโดยการปิดห้าง-ปิดปั๊ม ดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.7 คิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาล และร้อยละ 46.3 คิดว่าไม่เป็น
สำหรับคำถามที่ว่าการปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เวลา 2 ทุ่ม ขัดกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.6 คิดว่าไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 44.4 คิดว่าขัดกับนโยบายของรัฐบาล
เมื่อถามว่ามาตรการประหยัดพลังงานโดยการปิดห้าง-ปิดปั๊ม ดังกล่าว กระทบต่อการดำเนินชีวิตของท่านหรือไม่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.8 คิดว่ามีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต และร้อยละ 45.2 ตอบว่าไม่มีผลกระทบ
ส่วนเรื่องที่รัฐบาลจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปี 2548 กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 เห็นด้วย และร้อยละ 27.3 ไม่เห็นด้วย
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 561 47.1
หญิง 631 52.9
อายุ :
18 - 25 ปี 325 27.3
26 - 35 ปี 336 28.2
36 - 45 ปี 352 29.5
46 ปีขึ้นไป 179 15.0
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 115 9.6
มัธยมศึกษา 207 17.4
ปวช. 133 11.2
ปวส./อนุปริญญา 130 10.9
ปริญญาตรี 509 42.7
สูงกว่าปริญญาตรี 98 8.2
อาชีพ :
รับราชการ 136 11.4
รัฐวิสาหกิจ 153 12.8
พนักงานบริษัทเอกชน 166 13.9
เจ้าของกิจการ 140 11.7
รับจ้างทั่วไป 136 11.4
ค้าขาย 155 13.0
นักศึกษา 171 14.3
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 122 10.2
อื่น ๆ 13 1.1
ตารางที่ 2: ท่านเห็นด้วยกับมาตรการประหยัดพลังงานเหล่านี้หรือไม่
มาตรการ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ปิดห้างสรรพสินค้าเวลา 2 ทุ่ม 33.9 66.1
ปิดห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เทสโก้โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี)เวลา 4 ทุ่ม 49.7 50.3
ปิดไฟป้ายโฆษณา เวลา 4 ทุ่ม 78.0 22.0
ปิดปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ เวลาเที่ยงคืน 47.7 52.3
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่าควรกำหนดเวลาปิดร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น และมินิมาร์ทต่าง ๆ )
ด้วยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 345 28.9
ไม่ควร 847 71.1
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าควรกำหนดเวลาปิดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ด้วยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 587 49.2
ไม่ควร 605 50.8
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่ามาตรการประหยัดพลังงานดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เป็น 640 53.7
ไม่เป็น 552 46.3
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าการปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เวลา 2 ทุ่ม ขัดกับนโยบายของรัฐบาล
ในเรื่องการผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ขัดกับนโยบาย 529 44.4
ไม่ขัดกับนโยบาย 663 55.6
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่ามาตรการประหยัดพลังงานดังกล่าว จะมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต
ของท่านหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีผลกระทบ 653 54.8
ไม่มีผลกระทบ 539 45.2
ตารางที่ 8: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปี 2548
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 866 72.7
ไม่เห็นด้วย 326 27.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ โดยมีประเด็นคำถามดังนี้
- เห็นด้วยหรือไม่กับมาตรการประหยัดพลังงานโดยการกำหนดเวลาปิดการให้บริการของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณา และปั๊มน้ำมัน
- ควรกำหนดเวลาปิดร้านสะดวกซื้อ และกำหนดเวลาปิดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์หรือไม่
- มาตรการประหยัดพลังงานที่ออกมาเป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลหรือไม่
- มาตรการปิดห้างสรรพสินค้าเวลา 2 ทุ่ม ขัดกับนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่
- มาตรการประหยัดพลังงาน จะมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของประชาชนในกรุงเทพหรือไม่
- เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลถึงต้นปี 2548
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,192 คน ร้อยละเป็นชาย 47.1 ร้อยละ 52.9 เป็นหญิง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.3 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 28.2 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 29.5 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 15.0 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 17.4 ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 11.2 ระดับปวช. ร้อยละ 10.9 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 42.7 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.2 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.4 อาชีพรับราชการ ร้อยละ 12.8 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.7 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 11.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.0 ค้าขาย ร้อยละ 14.3 นักศึกษา ร้อยละ 10.2 พ่อบ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 1.1 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง " มาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ... เลือกปฏิบัติหรือไม่"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 19 สิงหาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 20 สิงหาคม 2547
ผลการสำรวจ
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เรื่อง "มาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ...เลือกปฏิบัติหรือไม่" พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการปิดห้าง-ปิดปั๊ม ที่รัฐบาลประกาศออกมา แต่เห็นด้วยกับการปิดไฟป้ายโฆษณา โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มาตรการปิดห้างสรรพสินค้าเวลา 2 ทุ่ม พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 66.1 และเห็นด้วย ร้อยละ 33.9
- มาตรการปิดห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เทสโก้โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี) เวลา 4 ทุ่ม กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วย ร้อยละ 50.3 เห็นด้วย ร้อยละ 49.7
- มาตรการปิดปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ เวลาเที่ยงคืน พบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 52.3 เห็นด้วย ร้อยละ47.7
- มาตรการปิดไฟป้ายโฆษณา เวลา 4 ทุ่ม พบว่า เห็นด้วย ร้อยละ 78.0 และไม่เห็นด้วยเพียงร้อยละ 22.0
สำหรับการกำหนดเวลาปิดร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น และมินิมาร์ทต่าง ๆ ) นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ71.1 คิดว่าไม่ควรกำหนดเวลาปิด ขณะที่ ร้อยละ 28.9 คิดว่าควรกำหนดเวลาปิด
ส่วนกำหนดเวลาปิดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่างมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 50.8 คิดว่าไม่ควรกำหนดเวลาปิดการออกอากาศ ขณะที่ ร้อยละ 49.2 คิดว่าควรกำหนดเวลาปิดการออกอากาศ
เมื่อถามว่ามาตรการประหยัดพลังงานโดยการปิดห้าง-ปิดปั๊ม ดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.7 คิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาล และร้อยละ 46.3 คิดว่าไม่เป็น
สำหรับคำถามที่ว่าการปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เวลา 2 ทุ่ม ขัดกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.6 คิดว่าไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 44.4 คิดว่าขัดกับนโยบายของรัฐบาล
เมื่อถามว่ามาตรการประหยัดพลังงานโดยการปิดห้าง-ปิดปั๊ม ดังกล่าว กระทบต่อการดำเนินชีวิตของท่านหรือไม่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.8 คิดว่ามีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต และร้อยละ 45.2 ตอบว่าไม่มีผลกระทบ
ส่วนเรื่องที่รัฐบาลจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปี 2548 กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 เห็นด้วย และร้อยละ 27.3 ไม่เห็นด้วย
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 561 47.1
หญิง 631 52.9
อายุ :
18 - 25 ปี 325 27.3
26 - 35 ปี 336 28.2
36 - 45 ปี 352 29.5
46 ปีขึ้นไป 179 15.0
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 115 9.6
มัธยมศึกษา 207 17.4
ปวช. 133 11.2
ปวส./อนุปริญญา 130 10.9
ปริญญาตรี 509 42.7
สูงกว่าปริญญาตรี 98 8.2
อาชีพ :
รับราชการ 136 11.4
รัฐวิสาหกิจ 153 12.8
พนักงานบริษัทเอกชน 166 13.9
เจ้าของกิจการ 140 11.7
รับจ้างทั่วไป 136 11.4
ค้าขาย 155 13.0
นักศึกษา 171 14.3
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 122 10.2
อื่น ๆ 13 1.1
ตารางที่ 2: ท่านเห็นด้วยกับมาตรการประหยัดพลังงานเหล่านี้หรือไม่
มาตรการ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ปิดห้างสรรพสินค้าเวลา 2 ทุ่ม 33.9 66.1
ปิดห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เทสโก้โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี)เวลา 4 ทุ่ม 49.7 50.3
ปิดไฟป้ายโฆษณา เวลา 4 ทุ่ม 78.0 22.0
ปิดปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ เวลาเที่ยงคืน 47.7 52.3
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่าควรกำหนดเวลาปิดร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น และมินิมาร์ทต่าง ๆ )
ด้วยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 345 28.9
ไม่ควร 847 71.1
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าควรกำหนดเวลาปิดการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ด้วยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 587 49.2
ไม่ควร 605 50.8
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่ามาตรการประหยัดพลังงานดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เป็น 640 53.7
ไม่เป็น 552 46.3
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าการปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เวลา 2 ทุ่ม ขัดกับนโยบายของรัฐบาล
ในเรื่องการผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ขัดกับนโยบาย 529 44.4
ไม่ขัดกับนโยบาย 663 55.6
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่ามาตรการประหยัดพลังงานดังกล่าว จะมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต
ของท่านหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีผลกระทบ 653 54.8
ไม่มีผลกระทบ 539 45.2
ตารางที่ 8: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลจนถึงต้นปี 2548
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 866 72.7
ไม่เห็นด้วย 326 27.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-