เนื่องในวันที่ 20 กันยายน เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,166 คน เรื่อง “การตื่นตัวของเยาวชนในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2558” พบว่า เยาวชนร้อยละ 66.0 ระบุว่า ตัวเองยังมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ สำหรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ขณะที่ร้อยละ 14.2 ระบุว่ามีความรู้เพียงพอแล้ว
ทั้งนี้เมื่อให้ประเมินศักยภาพของประเทศไทยในเวลานี้ว่าอยู่ในระดับใดของประเทศในกลุ่มอาเซียน เยาวชนร้อยละ 67.2 ระบุว่าอยู่ในระดับกลางๆ ขณะที่ร้อยละ 18.8 ระบุว่า อยู่ในระดับท้ายๆ และมีเพียงร้อยละ 14.6 ที่ระบุว่าอยู่ในระดับต้นๆ สำหรับประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่เยาวชนเห็นว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวและน่าจับตามองที่สุดสำหรับประเทศไทยคือ ประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ38.5) ประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 21.9) และประเทศมาเลเซีย (ร้อยละ11.3) ตามลำดับ
ส่วนความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและเยาวชนคนไทยคนอื่นๆ ว่าจะสามารถแข่งขันหรือสู้กับเยาชนของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้หรือไม่พบว่า เยาวชนร้อยละ 49.0 ระบุว่า เชื่อมั่นว่าสู้ได้ ขณะที่ร้อยละ 13.6 เชื่อว่าสู้ไม่ได้แน่นอน และร้อยละ 37.4 ระบุว่าไม่แน่ใจว่าจะสู้ได้
เมื่อถามว่าสถาบันการศึกษามีการส่งเสริมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรบ้าง ร้อยละ 30.8 บอกว่า มีการสอดแทรกเรื่องราว AEC ในการเรียนการสอน ร้อยละ 26.1 บอกว่ามีการเพิ่มและเน้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น และร้อยละ 22.9 บอกว่ามีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ AEC เช่น จัดนิทรรศการ แข่งขันตอบปัญหา ฯลฯ
ทั้งนี้เยาวชนร้อยละ 74.8 เชื่อว่าการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะได้ผลดีมากกว่าผลเสีย ขณะที่ร้อยละ 25.2 เชื่อว่าจะได้รับผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนเรื่องที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ ความขัดแย้งทางการเมือง(ร้อยละ 29.6) รองลงมาคือ การขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย (ร้อยละ 26.7) และการทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 18.8)
สำหรับเรื่องที่เยาวชนอยากให้ภาครัฐสนับสนุน/ส่งเสริมมากที่สุดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การสอนและติวภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร (ร้อยละ 58.7) รองลงมาคือ ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับเยาวชน (ร้อยละ 18.1) และให้ความรู้และการเตรียมตัวเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ร้อยละ 12.2)
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
- มีเพียงพอแล้ว ร้อยละ 14.2 - ยังไม่เพียงพอ ร้อยละ 66.0 - ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.8 2. ศักยภาพของประเทศไทยในความคิดของเยาวชนว่าในเวลานี้อยู่ในระดับใดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน - อยู่ในระดับต้นๆ ร้อยละ 14.6 - อยู่ในระดับกลางๆ ร้อยละ 67.2 - อยู่ในระดับท้ายๆ ร้อยละ 18.8 3. ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวและน่าจับตามองที่สุดสำหรับ ประเทศไทย ในสายตาของเยาวชน คือ - ประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 38.5 - ประเทศเวียดนาม ร้อยละ 21.9 - ประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 11.3 - ประเทศพม่า ร้อยละ 5.8 - ประเทศลาว ร้อยละ 5.5 - ประเทศฟิลิปปินส์ ร้อยละ 4.4 - ประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 4.2 - ประเทศบรูไน ร้อยละ 3.9 - ประเทศกัมพูชา ร้อยละ 2.2 - ไม่มี ร้อยละ 2.3 4. ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและเยาวชนคนไทยคนอื่นๆ ว่าจะสามารถแข่งขันหรือสู้กับเยาวชน ของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้ หรือไม่ - เชื่อมั่นว่าสู้ได้ ร้อยละ 49.0 - เชื่อว่าสู้ไม่ได้แน่นอน ร้อยละ 13.6 - ไม่แน่ใจว่าจะสู้ได้ ร้อยละ 37.4 5. การส่งเสริมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของสถาบันการศึกษา พบว่า - มีสอดแทรกเรื่องราวAECในการเรียนการสอน ร้อยละ 30.8 - เพิ่ม/เน้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ร้อยละ 26.1 - จัดกิจกรรมเกี่ยวกับAEC เช่น จัดนิทรรศการ แข่งขันตอบปัญหา ฯลฯ ร้อยละ 22.9 - สอนภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ร้อยละ 14.8 - ไม่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของ AEC เลย ร้อยละ 5.4 6. ความคิดเห็นเยาวชนต่อการได้รับผลดีหรือผลเสีย จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน ปี 2558 ว่าอะไรจะมากกว่ากัน - ได้รับผลดีมากกว่า ร้อยละ 74.8
(โดยให้เหตุผลว่า จะได้เปิดกว้างทางการศึกษา ทำให้สนใจเรียนรู้ภาษามากขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวและพัฒนาตัวเองมากขึ้น ได้โอกาสทำงานต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน ฯลฯ)
- ได้รับผลเสียมากกว่า ร้อยละ 25.2
(โดยให้เหตุผลว่า คนไทยอาจจะหางานทำได้ยากขึ้น ถูกเอาเปรียบ คนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ ฯลฯ)
- ความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 29.6 - การขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย ร้อยละ 26.7 - การทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 18.8 - ความรู้และการศึกษาของคนไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 9.0 - คนไทยไม่มีความสามัคคี ร้อยละ 8.5 - คนไทยไม่มีความตื่นตัวในเรื่องของ AEC ร้อยละ 3.5 - ขาดความเอาใจใส่และให้ความรู้จากภาครัฐเรื่อง AEC ร้อยละ 2.6 - ปัญหาภัยธรรมชาติ ร้อยละ 1.3 8. เรื่องที่เยาวชนต้องการให้ภาครัฐสนับสนุน/ส่งเสริมมากที่สุดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - การสอนและติวภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร ร้อยละ 58.7 - ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และการให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับเยาวชน ร้อยละ 18.1 - ให้ความรู้และการเตรียมตัวเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ร้อยละ 12.2
- การสอนภาษาและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก และให้มีการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิก ร้อยละ 5.3
- ให้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถฝีมือแรงงานและให้สำรองงานสำหรับคนไทยไว้ก่อน ร้อยละ 1.1
รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ในเรื่องของความรู้ที่ได้รับ ความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศและของเยาวชนไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิก รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนเรื่องต่างๆจากภาครัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นเยาวชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,166 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.6 และเพศหญิงร้อยละ 50.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13 — 17 กันยายน 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 กันยายน 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 578 49.6 หญิง 588 50.4 รวม 1,166 100.0 อายุ 15 — 17 ปี 350 30.0 18 — 20 ปี 399 34.2 21 — 24 ปี 417 35.8 รวม 1,166 100.0 การศึกษาปัจจุบัน มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 459 39.3 ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรี 625 53.6 สูงกว่าปริญญาตรี 16 1.4 จบการศึกษา 66 5.7 รวม 1,166 100.0 สังกัดสถาบันการศึกษา รัฐบาล 691 59.2 เอกชน 475 40.8 รวม 1,166 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--