เหตุผลในการสำรวจ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา นับเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งของปี 2547 ถึงแม้จะเป็นเพียงการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น แต่ก็เป็นเมืองหลวงซึ่งประชาชนมีโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ ประกอบกับหากพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาดีและมีคุณสมบัติเพียบพร้อมใกล้เคียงกัน จึงน่าจะได้มีการสำรวจถึงเหตุผลในการตัดสินใจเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. รวมถึงเหตุผลของผู้ที่เลือกผู้สมัครคนอื่น ๆ ที่ได้คะแนนในลำดับต้น ๆ ว่าดูจากอะไรเป็นเกณฑ์
สำหรับปัญหาของ กทม. ที่รอให้ผู้ว่าฯ คนใหม่มาแก้ไขเป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน มีความซับซ้อนเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ซึ่งผู้ว่าแต่ละยุคที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขได้หมดสิ้น จึงเกิดคำถามว่าชาวกรุงเทพฯ คาดหวังในผลงานของผู้ว่าฯคนใหม่ที่มีประสบการณ์งานบริหาร แต่ไม่เคยผ่านงานการเมืองมาก่อนมากน้อยเพียงใด และหากจะมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นในการทำงานน่าจะเกิดจากปัจจัยใดเป็นหลัก
นอกจากนี้ผู้รับผิดชอบจัดการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศที่จะมีขึ้นในต้นปีหน้าย่อมต้องอาศัยการประเมินปัญหาอุปสรรคจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน รวมถึงประเด็นการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ออกกฎห้ามสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ แต่ละคนจากผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหลังหย่อนบัตรลงคะแนน (เอ็กซิท โพลล์) โดยมีแนวโน้มจะใช้กฎดังกล่าวในการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งหน้าด้วย จึงน่าศึกษาว่าประชาชนเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และการเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ ทางสื่อต่าง ๆ มีผลชี้นำการตัดสินใจของประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
1. เพื่อสอบถามถึงปัญหาในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป
2. เพื่อทราบเหตุผลในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. ของชาวกรุงเทพฯ
3. เพื่อทราบถึงความคาดหวังต่อผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่และปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้น
4. เพื่อทราบความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อประเด็นการห้ามทำเอ็กซิทโพลล์
5. เพื่อทราบถึงความสามารถในการชี้นำของผลสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครที่เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรชาวกรุงเทพมหานครที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม 2547 ในแต่ละเขต จำนวน 1,160 คน
เป็นชายร้อยละ 50.1
เป็นหญิงร้อยละ 49.9
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 29.5 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 29.4 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 25.4 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 15.7 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 11.0 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 23.4 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 8.1 ปวช.
ร้อยละ 8.6 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 43.4 ปริญญาตรี
ร้อยละ 5.5 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 10.9 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 6.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 17.9 พนักงานบริษัท
ร้อยละ 8.9 เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 9.5 รับจ้าง
ร้อยละ 15.3 ค้าขาย
ร้อยละ 23.1 นักศึกษา
ร้อยละ 6.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน
ร้อยละ 2.0 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยมีการตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำมาวิเคราะห์เพื่อแปรผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 2 กันยายน 2547
ผลการสำรวจ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 87.6 ระบุว่าไม่พบปัญหาใด ๆ ขณะที่ร้อยละ 12.4 พบปัญหาที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ได้แก่ เรื่องความล่าช้าของเจ้าหน้าที่ รายชื่อตกหล่น และสถานที่จอดรถบริเวณหน่วยเลือกตั้งไม่เพียงพอ
สำหรับเหตุผลในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. นั้น เมื่อสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายที่เลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธินพบว่า ร้อยละ 27.2 เลือกเพราะชื่นชอบในนโยบายและทีมงาน ร้อยละ 17.8 ชอบที่เป็นคนหนุ่มไฟแรง มีความตั้งใจ และร้อยละ 15.0 เห็นว่าเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมกว่าผู้สมัครฯ คนอื่น ๆ ขณะที่ ร้อยละ 6.6เลือกเพราะชอบพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 4.2 ต้องการให้มาถ่วงดุลอำนาจรัฐบาล
ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่เลือกนางปวีณา หงสกุล มีเหตุผลหลัก ๆ คือ ชื่นชอบผลงานในอดีตที่ทำงานเพื่อส่วนรวม (ร้อยละ 35.6) รองลงมาคือ ต้องการให้โอกาสผู้หญิงได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. (ร้อยละ 23.1) และชอบแนวนโยบาย (ร้อยละ 9.6) สำหรับคะแนนเสียงของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เลือกเพราะความกล้าได้ กล้าเสีย กล้าชน พูดจาตรงไปตรงมามากที่สุด ส่วนผู้ที่เลือก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ให้เหตุผลว่า เป็นผู้สมัครที่มีประสบการณ์ทางการเมืองมานาน และผู้ที่เลือก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ระบุว่า เลือกเพราะเป็นผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถ
ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ สาเหตุที่นางปวีณา หงสกุล ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. นั้นกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 46.5 เชื่อว่า เป็นผลมาจากข่าวที่ว่ามีพรรคไทยรักไทยให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ขณะที่ร้อยละ 53.4เชื่อว่าเกิดจากสาเหตุอื่น
ในส่วนความคาดหวังต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่นั้น ประชาชนถึงร้อยละ 46.4 คาดหวังว่าผลงานของนายอภิรักษ์น่าจะดีกว่าผู้ว่าฯ กทม. ทุกคนที่ผ่านมา ร้อยละ 26.8 คิดว่าน่าจะพอ ๆ กับผู้ว่าฯ กทม. คนก่อน และร้อยละ 26.8 ไม่ได้คาดหวัง
สำหรับประเด็นที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้มีการจับตามองว่า จะสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้ดีเพียงใด และหากจะมีปัญหาอุปสรรคในการทำงานน่าจะเกิดจากสาเหตุใดเป็นหลักในประเด็นนี้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่า อุปสรรคที่จะส่งผลต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ มากที่สุด คือ การถูกแทรกแซงจากรัฐบาล (ร้อยละ 35.5) รองลงมา คือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการและส่วนงานต่าง ๆ ภายใน กทม. (ร้อยละ 20.1) อุปสรรคจากการที่ต้องทำงานอยู่ภายใต้กรอบของพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 18.3) ปัญหาจากตัวผู้ว่าฯ และทีมงานเอง (ร้อยละ 17.8) ปัญหาที่เกิดจากสาเหตุหลาย ๆ ข้อรวมกัน (ร้อยละ 3.0) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.8 ในขณะเดียวกัน มีกลุ่มเป้าหมายอีกร้อยละ 2.6 ที่คิดว่าไม่น่าจะมีอุปสรรคในการทำงาน
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกกฎห้ามสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ แต่ละคนจากผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหลังหย่อนบัตรลงคะแนน (เอ็กซิท โพลล์) นั้น มีกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการออกกฎดังกล่าว ร้อยละ 56.4 (แยกเป็นเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 22.8 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 33.6) ในขณะที่ร้อยละ 43.6 ไม่เห็นด้วย (แยกเป็นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 15.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 28.4)
สุดท้ายจากข้อสงสัยที่ว่าผลของการสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ ที่เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่เพียงใดนั้น การสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.1 คิดว่า การเผยแพร่ผลการสำรวจมีผลชี้นำต่อการตัดสินใจ (โดยคิดว่ามีผลมาก ร้อยละ 21.9 และมีผลเล็กน้อย ร้อยละ 34.2) ขณะที่ร้อยละ 43.8 คิดว่า การเผยแพร่ผลการสำรวจ ไม่มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจ และร้อยละ 0.1 ไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 581 50.1
หญิง 579 49.9
อายุ :
18 - 25 ปี 342 29.5
26 - 35 ปี 341 29.4
36 - 45 ปี 295 25.4
46 ปีขึ้นไป 182 15.7
การศึกษา:
ประถมศึกษา 127 11.0
มัธยมศึกษา 271 23.4
ปวช. 94 8.1
ปวส./อนุปริญญา 100 8.6
ปริญญาตรี 504 43.4
สูงกว่าปริญญาตรี 64 5.5
อาชีพ :
รับราชการ 126 10.9
รัฐวิสาหกิจ 75 6.5
พนักงานบริษัท 208 17.9
เจ้าของกิจการ 103 8.9
รับจ้าง 110 9.5
ค้าขาย 177 15.3
นักศึกษา 268 23.1
พ่อบ้าน / แม่บ้าน 70 6.0
อื่น ๆ 23 2.0
ตารางที่ 2: ท่านพบปัญหาจากการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่ต้องการให้มีการปรับปรุงแก้ไขสำหรับการเลือกตั้งครั้ง
ต่อไปหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ไม่พบปัญหาใด ๆ 1016 87.6
พบปัญหาที่ต้องการให้แก้ไข 144 12.4
ตารางที่ 3: ท่านลงคะแนนเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.
จำนวน ร้อยละ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 500 43.1
เหตุผลที่เลือก :
ชอบนโยบายที่นำเสนอ และทีมงาน 136 27.2
เป็นคนหนุ่ม ไฟแรง มีความตั้งใจ 89 17.8
เก่ง มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมกว่าคนอื่น ๆ 75 15.0
บุคลิก หน้าตาน่าเชื่อถือ 58 11.6
ต้องการผู้ว่าฯ ที่เป็นนักบริหาร 34 6.8
ชอบพรรคประชาธิปัตย์ 33 6.6
ต้องการให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจกับรัฐบาล 21 4.2
อื่น ๆ 54 10.8
นางปวีณา หงสกุล 208 17.9
เหตุผลที่เลือก
ผลงานในอดีต ทำงานเพื่อส่วนรวม 74 35.6
อยากให้โอกาสผู้หญิง 48 23.1
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 20 9.6
อื่น ๆ 66 31.7
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 207 17.8
เหตุผลที่เลือก
กล้าได้ กล้าเสีย กล้าชน พูดจาตรงไปตรงมา 71 34.3
เป็นทางเลือกใหม่ 38 18.4
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 33 15.9
อื่น ๆ 65 31.4
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 68 5.9
เหตุผลที่เลือก
มีประสบการณ์การเมืองมานาน 24 35.2
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 11 16.2
ชอบโดยส่วนตัว 8 11.8
อื่น ๆ 25 36.8
ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ 53 4.6
เหตุผลที่เลือก
มีความรู้ความสามารถ 20 37.7
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 15 28.3
เป็นผู้สมัครอิสระ 7 13.2
อื่น ๆ 11 20.8
ตารางที่ 4: จากข่าวที่ว่าพรรคไทยรักไทยให้การสนับสนุนนางปวีณา หงสกุล ท่านคิดว่าเป็นเหตุให้นางปวีณา ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 539 46.5
ไม่ใช่ 620 53.4
ไม่ทราบ 1 0.1
ตารางที่ 5: ท่านคาดหวังต่อผลงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ในระดับใด
จำนวน ร้อยละ
น่าจะดีกว่าทุกคนที่ผ่านมา 538 46.4
พอ ๆ กับคนก่อน 311 26.8
ไม่ได้คาดหวัง 311 26.8
ตารางที่ 6: หากจะมีปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่เกิดขึ้น ท่านคาดว่าปัญหา
ดังกล่าวน่าจะมาจากสาเหตุใดเป็นหลัก
จำนวน ร้อยละ
ถูกแทรกแซงจากรัฐบาล 412 35.5
ไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการและส่วนงานต่าง ๆ ภายใน กทม. 233 20.1
ต้องทำงานอยู่ภายใต้กรอบของพรรคประชาธิปัตย์ 212 18.3
ปัญหาจากตัวผู้ว่าฯ และทีมงาน 206 17.8
หลายข้อรวมกัน 35 3.0
คิดว่าไม่มีอุปสรรค 30 2.6
อื่น ๆ 32 2.8
ตารางที่ 7: ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกกฎห้ามสำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ แต่ละคน จากผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหลังหย่อนบัตรลงคะแนน (เอ็กซิท โพลล์)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 265 22.8
ค่อนข้างเห็นด้วย 390 33.6
ไม่ค่อยเห็นด้วย 330 28.4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 175 15.2
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าการเผยแพร่ผลการสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ ทางสื่อต่าง ๆ มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจของท่านหรือไม่ เพียงใด
จำนวน ร้อยละ
มีผลมาก 254 21.9
มีผลเล็กน้อย 397 34.2
ไม่มีผล 508 43.8
ไม่มีความเห็น 1 0.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา นับเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งของปี 2547 ถึงแม้จะเป็นเพียงการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น แต่ก็เป็นเมืองหลวงซึ่งประชาชนมีโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ ประกอบกับหากพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาดีและมีคุณสมบัติเพียบพร้อมใกล้เคียงกัน จึงน่าจะได้มีการสำรวจถึงเหตุผลในการตัดสินใจเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. รวมถึงเหตุผลของผู้ที่เลือกผู้สมัครคนอื่น ๆ ที่ได้คะแนนในลำดับต้น ๆ ว่าดูจากอะไรเป็นเกณฑ์
สำหรับปัญหาของ กทม. ที่รอให้ผู้ว่าฯ คนใหม่มาแก้ไขเป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน มีความซับซ้อนเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ซึ่งผู้ว่าแต่ละยุคที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขได้หมดสิ้น จึงเกิดคำถามว่าชาวกรุงเทพฯ คาดหวังในผลงานของผู้ว่าฯคนใหม่ที่มีประสบการณ์งานบริหาร แต่ไม่เคยผ่านงานการเมืองมาก่อนมากน้อยเพียงใด และหากจะมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นในการทำงานน่าจะเกิดจากปัจจัยใดเป็นหลัก
นอกจากนี้ผู้รับผิดชอบจัดการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศที่จะมีขึ้นในต้นปีหน้าย่อมต้องอาศัยการประเมินปัญหาอุปสรรคจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน รวมถึงประเด็นการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ออกกฎห้ามสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ แต่ละคนจากผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหลังหย่อนบัตรลงคะแนน (เอ็กซิท โพลล์) โดยมีแนวโน้มจะใช้กฎดังกล่าวในการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งหน้าด้วย จึงน่าศึกษาว่าประชาชนเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และการเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ ทางสื่อต่าง ๆ มีผลชี้นำการตัดสินใจของประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
1. เพื่อสอบถามถึงปัญหาในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป
2. เพื่อทราบเหตุผลในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. ของชาวกรุงเทพฯ
3. เพื่อทราบถึงความคาดหวังต่อผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่และปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้น
4. เพื่อทราบความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อประเด็นการห้ามทำเอ็กซิทโพลล์
5. เพื่อทราบถึงความสามารถในการชี้นำของผลสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครที่เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรชาวกรุงเทพมหานครที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม 2547 ในแต่ละเขต จำนวน 1,160 คน
เป็นชายร้อยละ 50.1
เป็นหญิงร้อยละ 49.9
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 29.5 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 29.4 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 25.4 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 15.7 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 11.0 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 23.4 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 8.1 ปวช.
ร้อยละ 8.6 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 43.4 ปริญญาตรี
ร้อยละ 5.5 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 10.9 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 6.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 17.9 พนักงานบริษัท
ร้อยละ 8.9 เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 9.5 รับจ้าง
ร้อยละ 15.3 ค้าขาย
ร้อยละ 23.1 นักศึกษา
ร้อยละ 6.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน
ร้อยละ 2.0 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยมีการตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำมาวิเคราะห์เพื่อแปรผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 2 กันยายน 2547
ผลการสำรวจ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 87.6 ระบุว่าไม่พบปัญหาใด ๆ ขณะที่ร้อยละ 12.4 พบปัญหาที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ได้แก่ เรื่องความล่าช้าของเจ้าหน้าที่ รายชื่อตกหล่น และสถานที่จอดรถบริเวณหน่วยเลือกตั้งไม่เพียงพอ
สำหรับเหตุผลในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. นั้น เมื่อสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายที่เลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธินพบว่า ร้อยละ 27.2 เลือกเพราะชื่นชอบในนโยบายและทีมงาน ร้อยละ 17.8 ชอบที่เป็นคนหนุ่มไฟแรง มีความตั้งใจ และร้อยละ 15.0 เห็นว่าเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมกว่าผู้สมัครฯ คนอื่น ๆ ขณะที่ ร้อยละ 6.6เลือกเพราะชอบพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 4.2 ต้องการให้มาถ่วงดุลอำนาจรัฐบาล
ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่เลือกนางปวีณา หงสกุล มีเหตุผลหลัก ๆ คือ ชื่นชอบผลงานในอดีตที่ทำงานเพื่อส่วนรวม (ร้อยละ 35.6) รองลงมาคือ ต้องการให้โอกาสผู้หญิงได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. (ร้อยละ 23.1) และชอบแนวนโยบาย (ร้อยละ 9.6) สำหรับคะแนนเสียงของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เลือกเพราะความกล้าได้ กล้าเสีย กล้าชน พูดจาตรงไปตรงมามากที่สุด ส่วนผู้ที่เลือก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ให้เหตุผลว่า เป็นผู้สมัครที่มีประสบการณ์ทางการเมืองมานาน และผู้ที่เลือก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ระบุว่า เลือกเพราะเป็นผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถ
ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ สาเหตุที่นางปวีณา หงสกุล ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. นั้นกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 46.5 เชื่อว่า เป็นผลมาจากข่าวที่ว่ามีพรรคไทยรักไทยให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ขณะที่ร้อยละ 53.4เชื่อว่าเกิดจากสาเหตุอื่น
ในส่วนความคาดหวังต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่นั้น ประชาชนถึงร้อยละ 46.4 คาดหวังว่าผลงานของนายอภิรักษ์น่าจะดีกว่าผู้ว่าฯ กทม. ทุกคนที่ผ่านมา ร้อยละ 26.8 คิดว่าน่าจะพอ ๆ กับผู้ว่าฯ กทม. คนก่อน และร้อยละ 26.8 ไม่ได้คาดหวัง
สำหรับประเด็นที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้มีการจับตามองว่า จะสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้ดีเพียงใด และหากจะมีปัญหาอุปสรรคในการทำงานน่าจะเกิดจากสาเหตุใดเป็นหลักในประเด็นนี้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่า อุปสรรคที่จะส่งผลต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ มากที่สุด คือ การถูกแทรกแซงจากรัฐบาล (ร้อยละ 35.5) รองลงมา คือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการและส่วนงานต่าง ๆ ภายใน กทม. (ร้อยละ 20.1) อุปสรรคจากการที่ต้องทำงานอยู่ภายใต้กรอบของพรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 18.3) ปัญหาจากตัวผู้ว่าฯ และทีมงานเอง (ร้อยละ 17.8) ปัญหาที่เกิดจากสาเหตุหลาย ๆ ข้อรวมกัน (ร้อยละ 3.0) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.8 ในขณะเดียวกัน มีกลุ่มเป้าหมายอีกร้อยละ 2.6 ที่คิดว่าไม่น่าจะมีอุปสรรคในการทำงาน
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกกฎห้ามสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ แต่ละคนจากผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหลังหย่อนบัตรลงคะแนน (เอ็กซิท โพลล์) นั้น มีกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการออกกฎดังกล่าว ร้อยละ 56.4 (แยกเป็นเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 22.8 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 33.6) ในขณะที่ร้อยละ 43.6 ไม่เห็นด้วย (แยกเป็นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 15.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 28.4)
สุดท้ายจากข้อสงสัยที่ว่าผลของการสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ ที่เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่เพียงใดนั้น การสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.1 คิดว่า การเผยแพร่ผลการสำรวจมีผลชี้นำต่อการตัดสินใจ (โดยคิดว่ามีผลมาก ร้อยละ 21.9 และมีผลเล็กน้อย ร้อยละ 34.2) ขณะที่ร้อยละ 43.8 คิดว่า การเผยแพร่ผลการสำรวจ ไม่มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจ และร้อยละ 0.1 ไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 581 50.1
หญิง 579 49.9
อายุ :
18 - 25 ปี 342 29.5
26 - 35 ปี 341 29.4
36 - 45 ปี 295 25.4
46 ปีขึ้นไป 182 15.7
การศึกษา:
ประถมศึกษา 127 11.0
มัธยมศึกษา 271 23.4
ปวช. 94 8.1
ปวส./อนุปริญญา 100 8.6
ปริญญาตรี 504 43.4
สูงกว่าปริญญาตรี 64 5.5
อาชีพ :
รับราชการ 126 10.9
รัฐวิสาหกิจ 75 6.5
พนักงานบริษัท 208 17.9
เจ้าของกิจการ 103 8.9
รับจ้าง 110 9.5
ค้าขาย 177 15.3
นักศึกษา 268 23.1
พ่อบ้าน / แม่บ้าน 70 6.0
อื่น ๆ 23 2.0
ตารางที่ 2: ท่านพบปัญหาจากการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่ต้องการให้มีการปรับปรุงแก้ไขสำหรับการเลือกตั้งครั้ง
ต่อไปหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ไม่พบปัญหาใด ๆ 1016 87.6
พบปัญหาที่ต้องการให้แก้ไข 144 12.4
ตารางที่ 3: ท่านลงคะแนนเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.
จำนวน ร้อยละ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 500 43.1
เหตุผลที่เลือก :
ชอบนโยบายที่นำเสนอ และทีมงาน 136 27.2
เป็นคนหนุ่ม ไฟแรง มีความตั้งใจ 89 17.8
เก่ง มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมกว่าคนอื่น ๆ 75 15.0
บุคลิก หน้าตาน่าเชื่อถือ 58 11.6
ต้องการผู้ว่าฯ ที่เป็นนักบริหาร 34 6.8
ชอบพรรคประชาธิปัตย์ 33 6.6
ต้องการให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจกับรัฐบาล 21 4.2
อื่น ๆ 54 10.8
นางปวีณา หงสกุล 208 17.9
เหตุผลที่เลือก
ผลงานในอดีต ทำงานเพื่อส่วนรวม 74 35.6
อยากให้โอกาสผู้หญิง 48 23.1
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 20 9.6
อื่น ๆ 66 31.7
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 207 17.8
เหตุผลที่เลือก
กล้าได้ กล้าเสีย กล้าชน พูดจาตรงไปตรงมา 71 34.3
เป็นทางเลือกใหม่ 38 18.4
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 33 15.9
อื่น ๆ 65 31.4
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 68 5.9
เหตุผลที่เลือก
มีประสบการณ์การเมืองมานาน 24 35.2
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 11 16.2
ชอบโดยส่วนตัว 8 11.8
อื่น ๆ 25 36.8
ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ 53 4.6
เหตุผลที่เลือก
มีความรู้ความสามารถ 20 37.7
ชอบนโยบายที่นำเสนอ 15 28.3
เป็นผู้สมัครอิสระ 7 13.2
อื่น ๆ 11 20.8
ตารางที่ 4: จากข่าวที่ว่าพรรคไทยรักไทยให้การสนับสนุนนางปวีณา หงสกุล ท่านคิดว่าเป็นเหตุให้นางปวีณา ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 539 46.5
ไม่ใช่ 620 53.4
ไม่ทราบ 1 0.1
ตารางที่ 5: ท่านคาดหวังต่อผลงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ในระดับใด
จำนวน ร้อยละ
น่าจะดีกว่าทุกคนที่ผ่านมา 538 46.4
พอ ๆ กับคนก่อน 311 26.8
ไม่ได้คาดหวัง 311 26.8
ตารางที่ 6: หากจะมีปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่เกิดขึ้น ท่านคาดว่าปัญหา
ดังกล่าวน่าจะมาจากสาเหตุใดเป็นหลัก
จำนวน ร้อยละ
ถูกแทรกแซงจากรัฐบาล 412 35.5
ไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการและส่วนงานต่าง ๆ ภายใน กทม. 233 20.1
ต้องทำงานอยู่ภายใต้กรอบของพรรคประชาธิปัตย์ 212 18.3
ปัญหาจากตัวผู้ว่าฯ และทีมงาน 206 17.8
หลายข้อรวมกัน 35 3.0
คิดว่าไม่มีอุปสรรค 30 2.6
อื่น ๆ 32 2.8
ตารางที่ 7: ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกกฎห้ามสำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ แต่ละคน จากผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหลังหย่อนบัตรลงคะแนน (เอ็กซิท โพลล์)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 265 22.8
ค่อนข้างเห็นด้วย 390 33.6
ไม่ค่อยเห็นด้วย 330 28.4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 175 15.2
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าการเผยแพร่ผลการสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครฯ ทางสื่อต่าง ๆ มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจของท่านหรือไม่ เพียงใด
จำนวน ร้อยละ
มีผลมาก 254 21.9
มีผลเล็กน้อย 397 34.2
ไม่มีผล 508 43.8
ไม่มีความเห็น 1 0.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-