คนกรุงเทพฯ เครียดที่สุดเรื่อง ข้าวของแพง น้ำท่วม และรถติด ที่แย่กว่านั้นเยาวชนใช้แอลกอฮอลล์เป็นเครื่องมือคลายเครียดมากที่สุด
เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคมที่จะถึงนี้เป็นวันสุขภาพจิตโลก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “สุขภาพจิตของคนกรุงท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและภัยธรรมชาติ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,474 คน พบว่า
เรื่องที่ทำให้คนกรุงเทพฯ เครียดและวิตกกังวลมากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคือ ข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง (ร้อยละ 28.6) รองลงมาคือกลัวน้ำท่วมกรุงเทพฯ (ร้อยละ 15.4) และการจราจรติดขัด (ร้อยละ 12.4) ขณะที่ร้อยละ 3.5 ไม่มีเรื่องเครียดและวิตกกังวลเลย โดยบุคคลที่คิดว่าจะเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นที่พึ่งทางใจ ในยามเครียดและวิตกกังวลมากที่สุดคือ คนในครอบครัว (ร้อยละ 60.0) รองลงมาคือ เพื่อน (ร้อยละ 19.7) และคนรัก (ร้อยละ 10.0)
สำหรับกิจกรรมที่คนกรุงเทพฯ นิยมทำเพื่อผ่อนคลายเมื่อเกิดความเครียดและวิตกกังวลมากที่สุดอันดับแรกคือ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ (ร้อยละ 98.3) รองลงมาคือ ช้อปปิ้ง ดูหนัง ทานข้าว (ร้อยละ 88.0) และออกกำลังกาย (ร้อยละ 84.5)
อย่างไรก็ตามคนกรุงเทพฯ บางส่วนเลือกที่จะใช้วิธีที่ไม่ดีเพื่อผ่อนคลายคือ ร้อยละ 52.9 เลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และร้อยละ 24.9 เลือกที่จะสูบบุหรี่ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์พบว่า เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 18-25 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 19.8)
เมื่อถามว่าคนกรุงเทพฯ จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพจิต (เช่น โรควิตกกังวล โรคจิต โรคซึมเศร้า) มากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับคนต่างจังหวัด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 คิดว่าคนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 29.3 คิดว่ามีพอๆกัน และร้อยละ 3.2 คิดว่ามีน้อยกว่า
ด้านความเห็นต่อปัญหาความแตกแยกในสังคม ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาของแพง ในปัจจุบันมีส่วนทำให้สุขภาพจิตของคนไทยไม่ดี มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 94.6 เห็นว่ามากถึงมากที่สุด และร้อยละ 5.4 เห็นว่าน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่าปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตของประชาชนมากน้อยเพียงใด คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 64.6 เห็นว่าไม่ค่อยให้ความสำคัญ และร้อยละ 22.2 เห็นว่าไม่ให้ความสำคัญเลย ขณะที่ร้อยละ 13.2 เห็นว่าให้ความสำคัญมาก
รายละเอียดดังต่อไปนี้
ข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 28.6 กลัวน้ำท่วมกรุงเทพฯ ร้อยละ 15.4 การจราจรติดขัด ร้อยละ 12.4 การทำงาน / เรียน ร้อยละ 9.0 ความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 6.1 ไม่มีเรื่องเครียดและวิตกกังวล ร้อยละ 3.5 2. บุคคลที่คิดว่าจะเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นที่พึ่งทางใจ ในยามเครียดและวิตกกังวลมากที่สุด คนในครอบครัว ร้อยละ 60.0 เพื่อน ร้อยละ 19.7 คนรัก ร้อยละ 10.0 พระ / บาทหลวง / ผู้นำทางศาสนา ร้อยละ 2.1 หมอจิตแพทย์ ร้อยละ 0.4 สายด่วนของภาครัฐที่ช่วยแก้ปัญหา ร้อยละ 0.4 ไม่ได้ปรึกษาใคร แก้ปัญหาด้วยตนเอง ร้อยละ 7.4 3. กิจกรรมที่นิยมทำเพื่อผ่อนคลายเมื่อเกิดความเครียดและวิตกกังวล กิจกรรม ได้ทำ(ร้อยละ) ไม่ได้ทำเลย(ร้อยละ) ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ 98.3 1.7 ช้อปปิ้ง ดูหนัง ทานข้าว 88.0 12.0 ออกกำลังกาย 84.5 15.5 ไปเที่ยวทะเล ภูเขา 82.6 17.4 นั่งสมาธิ เข้าวัด ฟังธรรม 76.5 23.5 เล่นอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน 74.0 26.0 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 52.9 47.1 สูบบุหรี่ 24.9 75.1
ทั้งนี้เมื่อแยกเฉพาะกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (ร้อยละ 52.9) พบว่า
เป็นผู้ที่มี อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 19.8 26-35 ปี ร้อยละ 15.8 36-45 ปี ร้อยละ 10.4 46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 6.9 4. ความคิดเห็นต่อคนในกรุงเทพฯ เสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิต (เช่น โรควิตกกังวล โรคจิต โรคซึมเศร้า) มากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับคนต่างจังหวัด มีมากกว่า ร้อยละ 66.0 มีพอๆกัน ร้อยละ 29.3 มีน้อยกว่า ร้อยละ 3.2 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 1.5 5. ความคิดเห็นต่อปัญหาความแตกแยกในสังคม ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาของแพง ในปัจจุบันมีส่วนทำให้สุขภาพจิตของคนไทยไม่ดี มากน้อยเพียงใด
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากร้อยละ 51.9 และมากที่สุดร้อยละ 42.7) ร้อยละ 94.6
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 4.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 0.7) ร้อยละ 5.4 6. ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตของประชาชน มากน้อยเพียงใด ให้ความสำคัญมาก ร้อยละ 13.2 ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ร้อยละ 64.6 ไม่ให้ความสำคัญเลย ร้อยละ 22.2
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนเรื่องที่ประชาชนเครียดและวิตกกังวลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา 2. เพื่อต้องการทราบกิจกรรมที่ประชาชนใช้ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล 3. เพื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพจิตระหว่างคนในเมืองเทียบกับคนในต่างจังหวัด 4. เพื่อสะท้อนปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันว่ามีส่วนทำให้สุขภาพจิตของประชาชนไม่ดีมากน้อยเพียงใด และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตของประชาชนหรือไม่ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,474 คน เป็นชายร้อยละ 48.9 และหญิงร้อยละ 51.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 - 28 กันยายน 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 ตุลาคม 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 721 48.9 หญิง 753 51.1 รวม 1,474 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 444 30.1 26 - 35 ปี 369 25.0 36 - 45 ปี 321 21.8 46 ปีขึ้นไป 340 23.1 รวม 1,474 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 709 48.1 ปริญญาตรี 678 46.0 สูงกว่าปริญญาตรี 87 5.9 รวม 1,474 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 112 7.6 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 363 24.6 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 382 25.9 รับจ้างทั่วไป 160 10.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 109 7.4 นักศึกษา 313 21.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 35 2.4 รวม 1,474 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--