ประชาชน 69.0% ตั้งตาคอยอย่างมากกับ 3G เต็มรูปแบบ โดย 74.1% คิดจะซื้อมือถือใหม่ให้ดีขึ้นเพื่อรองรับ 3G เต็มรูปแบบ แต่ 71.3% ระบุว่าจะยังไม่เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G เต็มรูปแบบทันที ขอรอดูค่าบริการ และระบบสัญญาณก่อน
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยกับการรอคอยระบบ 3G เต็มรูปแบบ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,164 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.9 ใช้มือถือสมาร์ทโฟน (ในจำนวนนี้ร้อยละ 38.9 ได้เปิดใช้ระบบ 3G แล้ว) ขณะที่ร้อยละ 44.1 ใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดา
เมื่อถามประชาชนว่ามีการตั้งตาคอยระบบ 3G เต็มรูปแบบมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 69.0 ระบุว่ามากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุว่าน้อยถึงน้อยที่สุด ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าหากมีการเปิดใช้ระบบ 3G เต็มรูปแบบ จะใช้ประโยชน์อะไรมากที่สุด ร้อยละ 61.8 บอกว่าจะใช้สังคมออนไลน์ เช่น facebook/ twitter รองลงมา ร้อยละ 42.0 จะใช้ติดตามข่าวสารออนไลน์ และร้อยละ 37.5 จะใช้ฟังเพลง/ฟังวิทยุ/ดูหนัง (ออนไลน์)
ทั้งนี้หากมีการเปิดให้บริการระบบ 3G เต็มรูปแบบ ประชาชนร้อยละ 73.1 ระบุว่าจะยังไม่เปลี่ยนไปใช้ทันที ขอรอดูค่าบริการ และระบบสัญญาณว่าครอบคลุมมากน้อยเพียงใดก่อน ขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุว่าจะเปลี่ยนไปใช้ทันทีที่เปิดบริการ มีเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้นที่ระบุว่า ไม่เปลี่ยนไปใช้แน่นอน
ส่วนความคิดเห็นต่ออัตราค่าบริการ 3G เต็มรูปแบบ เปรียบเทียบกับระบบ 3G ที่ให้บริการในปัจจุบัน ประชาชนร้อยละ 55.3 อยากให้ค่าบริการถูกลงกว่าเดิม ขณะที่ร้อยละ 24.9 ระบุว่าค่าบริการสามารถปรับเพิ่มได้ตามความเหมาะสม และร้อยละ 19.8 อยากให้ค่าบริการเท่าเดิม โดยเมื่อถามเกี่ยวกับอัตราค่าบริการต่อเดือนสูงสุดที่ยอมรับได้ ร้อยละ 26.8 ระบุว่า ไม่ควรเกิน 500 บาท รองลงมาร้อยละ 22.1 ระบุว่าไม่ควรเกิน 300 บาท และร้อยละ 5.7 ระบุว่าไม่ควรเกิน 600 บาท
เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อรองรับระบบ 3G เต็มรูปแบบ ร้อยละ 74.1 เห็นว่ามีความเป็นไปได้มาก ขณะที่ร้อยละ 21.1 เห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อย
สำหรับความมั่นใจต่อ กสทช. ว่าจะเร่งผลักดันให้มีการขยายสัญญาณ 3G เต็มรูปแบบ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศพบว่า ประชาชนร้อยละ 59.2 ระบุว่ามีความมั่นใจใน กสทช. มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 40.8 มีความมั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่าเทคโนโลยี 4G มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากน้อยเพียงใดที่จะต้องรีบผลักดันให้เกิดขึ้นร้อยละ 50.3 เห็นว่ามีความสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน ขณะที่ร้อยละ 43.6 เห็นว่ามีความสำคัญมากและเร่งด่วน และร้อยละ 6.1 เห็นว่าไม่มีความสำคัญ
รายละเอียดดังต่อไปนี้
มือถือธรรมดา ร้อยละ 44.1 สมาร์ทโฟน โดย ร้อยละ 55.9 มีการเปิดบริการระบบ 3G ร้อยละ 38.9 ยังไม่มีการเปิดบริการระบบ 3G ร้อยละ 17.0 2. การตั้งตาคอยระบบ 3G เต็มรูปแบบของผู้บริโภค
ตั้งตาคอยมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากร้อยละ 46.8 และมากที่สุดร้อยละ 22.2) ร้อยละ 69.0
ตั้งตาคอยน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 24.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 6.6) ร้อยละ 31.0 3. ความเห็นด้านการใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือหากมีการเปิดใช้ระบบ 3G เต็มรูปแบบ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) สังคมออนไลน์ เช่น facebook/ twitter ร้อยละ 61.8 ติดตามข่าวสารออนไลน์ ร้อยละ 42.0 ฟังเพลง/ฟังวิทยุ/ดูหนัง (ออนไลน์) ร้อยละ 37.5 พูดคุย เช่น line, whatsapp ร้อยละ 35.3 พูดโทรศัพท์แบบเห็นหน้า (video call) ร้อยละ 35.0 โหลดสิ่งต่างๆ เช่น เกมส์ แอพพลิเคชั่น ร้อยละ 32.3 เช็คเมลล์ ส่งเมลล์ ร้อยละ 22.0 เล่นเกมส์ออนไลน์ ร้อยละ 9.8 4. ความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนระบบโทรศัพท์ไปใช้ระบบ 3G เต็มรูปแบบ จะเปลี่ยนไปใช้ทันทีที่เปิดบริการ ร้อยละ 21.5 จะยังไม่เปลี่ยนไปใช้ทันที ขอรอดูค่าบริการ และระบบสัญญาณว่าครอบคลุมมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 73.1 ไม่เปลี่ยนไปใช้แน่นอน ร้อยละ 5.4 5. ความคิดเห็นต่ออัตราค่าบริการ 3G เต็มรูปแบบเปรียบเทียบระบบ 3G ที่ให้บริการในปัจจุบัน อยากให้ถูกลงกว่าเดิม ร้อยละ 55.3 อยากให้ราคาเท่าเดิม ร้อยละ 19.8 ให้ปรับค่าบริการเพิ่มได้ตามความเหมาะสม ร้อยละ 24.9 6. ความเห็นต่ออัตราค่าบริการระบบ 3G เต็มรูปแบบสูงสุดต่อเดือนที่ยอมรับได้ไม่ควรเกินกี่บาท (5 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) 200 บาท ร้อยละ 4.5 300 บาท ร้อยละ 22.1 500 บาท ร้อยละ 26.8 600 บาท ร้อยละ 5.7 800 บาท ร้อยละ 5.0 7. ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อรองรับระบบ 3G เต็มรูปแบบ มีความเป็นไปได้มาก ร้อยละ 74.1 มีความเป็นไปได้น้อย ร้อยละ 21.1 ไม่เปลี่ยนแน่นอน ร้อยละ 4.8 8. ความมั่นใจต่อ กสทช. ว่าจะเร่งผลักดันให้มีการขยายสัญญาณ 3G เต็มรูปแบบ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ
มั่นใจต่อ กสทช. มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากร้อยละ 47.0 และมากที่สุดร้อยละ 12.2) ร้อยละ 59.2
มั่นใจต่อ กสทช. น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 33.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.7) ร้อยละ 40.8 9. เทคโนโลยี 4G มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากน้อยเพียงใดที่จะต้องรีบผลักดันให้เกิดขึ้น มีความสำคัญมากและเร่งด่วน ร้อยละ 43.6 มีความสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 50.3 ไม่มีความสำคัญ ร้อยละ 6.1
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนการใช้ประโยชน์ และอัตราค่าบริการที่เหมาะสม ของระบบ 3G เต็มรูปแบบ
2. เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อ กสทช. ในการขยายสัญญาณ 3G ให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ
3. เพื่อสะท้อนความสำคัญของระบบ 4G ต่อประเทศไทยที่จะต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้น
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 26 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองสาน คันนายาว จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางนา บางรัก ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร พระโขนง ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง หนองแขม หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,164 คน เป็นชายร้อยละ 50.3 และหญิงร้อยละ 49.7
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5 - 7 ตุลาคม 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 11 ตุลาคม 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 585 50.3 หญิง 579 49.7 รวม 1,164 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 447 38.4 26 - 35 ปี 428 36.8 36 - 45 ปี 160 13.7 46 ปีขึ้นไป 129 11.1 รวม 1,164 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 538 46.2 ปริญญาตรี 548 47.1 สูงกว่าปริญญาตรี 78 6.7 รวม 1,164 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 122 10.5 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 400 34.4 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 223 19.2 รับจ้างทั่วไป 74 6.4 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 33 2.8 นักศึกษา 282 24.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 30 2.5 รวม 1,164 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--