กรุงเทพโพลล์: ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า

ข่าวผลสำรวจ Monday October 15, 2012 09:42 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้ายังเป็นขาลงจากปัญหาภาคส่งออก

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 67 คน เรื่อง “ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 5—12 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า

ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 45.18 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า 50 เป็นครั้งที่สี่ติดต่อกันนับ จากการสำรวจในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในสถานะอ่อนแออย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี โดยสถานะเศรษฐกิจที่ อ่อนแอดังกล่าวเป็นผลมาจากปัจจัยการส่งออกเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเดือนปัจจุบันที่ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการส่งออกปรับตัวลดลงถึง 12.41 จุด อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า ค่าดัชนีรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อยเพียง 0.39 จุดซึ่งได้รับผลดีจาก การบริโภคภาคเอกชนจึงช่วยให้ดัชนีไม่ปรับตัวลดลงมาก

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ในระดับ 47.18 และ เมื่อมองออกไปในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ในระดับ 48.80 หมายความว่า นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยใน อีก 3-6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวแย่ลงเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน โดยปัจจัยฉุดรั้งทางเศรษฐกิจที่สำคัญใน 3-6 เดือนข้างหน้าคือ การส่งออก สินค้า และการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ปัจจัยการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเป็นปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้ การที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 และมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อ เนื่องนับจากต้นปี แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ไม่ค่อยจะสดใส ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                  นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
ตารางที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
                                         2553     -------------2554-------------      ------------2555--------------  เปลี่ยนแปลง
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                       ต.ค.     ม.ค.    เม.ย.     ก.ค.     ต.ค.     ม.ค.    เม.ย.     ก.ค.     ต.ค.    (MoM)
 1)  การบริโภคภาคเอกชน                      50    56.02       50    52.46    46.77    32.39    48.31       50    59.23    9.23
 2)  การลงทุนภาคเอกชน                    45.21    49.39    45.59    50.82    48.36    20.71    44.07    46.67    51.52    4.85
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ            56.16    58.02    55.71    52.59    54.03    45.71    57.14    51.69    46.21   -5.48
 4)  การส่งออกสินค้า                       69.59    65.24    69.29    69.17    66.39       20    36.21    23.77    11.36  -12.41
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ             46.53    53.09    53.52    59.68    54.03    23.24    50.85    55.74    57.58    1.84
ดัชนีรวม                                   53.5    56.35    54.82    56.94    53.92    28.41    47.31    45.57    45.18   -0.39

หมายเหตุ: ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย

ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับ ปัจจุบัน)

ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะ ปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับ ปัจจุบัน)

ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ตารางที่ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 เดือนข้างหน้า (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)
                                         2553     -------------2554-------------      ------------2555--------------
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                      ต.ค.     ม.ค.     เม.ย.     ก.ค.    ต.ค.      ม.ค.    เม.ย.     ก.ค.     ต.ค.
 1)  การบริโภคภาคเอกชน                   64.19    53.61    50.71    66.07    45.08    62.14    56.03    57.63    50.78
 2)  การลงทุนภาคเอกชน                    67.81     62.2    55.15    57.41    42.24    69.57    58.62    51.72    41.41
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ            55.48    63.58    59.29    70.69    71.19    71.64       75    70.34    57.38
 4)  การส่งออกสินค้า                       28.38    47.56    48.57    49.12    31.36    54.41    65.79    42.37    30.16
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ             67.36    63.58    39.44    67.24    47.41    59.29    56.78    58.33    56.15
ดัชนีรวม                                  56.64    58.11    50.63    62.11    47.46    63.41    62.44    56.08    47.18


ตารางที่ 3  ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 6 เดือนข้างหน้า (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

2554 ------------ 2555---------------

ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                      ต.ค.     ม.ค.     เม.ย.      ก.ค.     ต.ค.
 1)  การบริโภคภาคเอกชน                   48.25    68.84     62.28    55.21    49.11
 2)  การลงทุนภาคเอกชน                    44.07    81.82     67.31       55    48.15
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ               70       75     75.93    61.82    60.83
 4)  การส่งออกสินค้า                       25.44    62.12     67.59    44.23     37.5
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ             37.96    73.19      68.1    62.73    48.39
ดัชนีรวม                                  45.14    72.19     68.24     55.8     48.8

ตารางที่ 4  ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3-6 เดือนข้างหน้า
                                                  3  เดือนข้างหน้า                 6  เดือนข้างหน้า
                                           การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ        การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า                         การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
จะดีขึ้น                                             การบริโภคภาคเอกชน
เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า                                   การส่งออกสินค้า                   การส่งออกสินค้า
จะแย่ลง                                             การลงทุนภาคเอกชน                การลงทุนภาคเอกชน
เมื่อเทียบกับปัจจุบัน                                                             การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
                                                                                 การบริโภคภาคเอกชน

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 และ 6 เดือน ข้างหน้า

2. เพื่อสะท้อนข้อเสนอแนะประเด็นเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของ ประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บริษัท TRIS Rating สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กล ต.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศ ศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  5 — 12 ตุลาคม 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  15 ตุลาคม 2555

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                   จำนวน         ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ              32          47.7
           หน่วยงานภาคเอกชน           18          26.9
           สถาบันการศึกษา              17          25.4
รวม                                  67         100.0

เพศ
            ชาย                      35          52.2
            หญิง                      32          47.8
รวม                                  67         100.0

อายุ
            26 ปี — 35 ปี              21          31.3
            36 ปี — 45 ปี              22          32.8
            46 ปีขึ้นไป                 24          35.9
รวม                                  67         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                  4          6.0
             ปริญญาโท                 43          64.1
             ปริญญาเอก                20          29.9
รวม                                  67         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                  8          11.9
              6-10 ปี                 16          23.9
              11-15 ปี                13          19.4
              16-20 ปี                 8          11.9
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป          22          32.9
รวม                                  67         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ