ประชาชนร้อยละ 69.0 ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างบุญกุศล ละเว้นชีวิตสัตว์ และร้อยละ 57.4 คิดว่าราคาอาหารเจน่าจะแพงกว่าปีที่ผ่านมา
เนื่องด้วยวันที่ 15 - 23 ตุลาคม นี้ เป็นช่วงของเทศกาลกินเจ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,243 คน โดยเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 12 — 14 ตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า สิ่งที่ประชาชนถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลกินเจคือ อาหารเจที่มีส่วนประกอบของ ผัก แป้ง เต้าหู้ ฯลฯ (ร้อยละ 69.0) รองลงมาคือ ธงเจ (ธงเหลือง) (ร้อยละ 26.4) และ การทรงเจ้า ลุยไฟ (ร้อยละ 2.4)
เมื่อถามถึงเมนูอาหารเจนึกถึงมากที่สุด ร้อยละ 39.0 บอกว่าเป็นผัดหมี่เจ (หมี่เหลือง) รองลงมาร้อยละ 23.5 บอกว่าเป็นต้มจับฉ่าย และร้อยละ 13.4 บอกว่าเป็นผัดหมี่ซั่ว และเมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบราคาอาหารเจและวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารเจในปีนี้กับปีที่ผ่านมา ร้อยละ 57.4 คิดว่าน่าจะแพงกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 39.9 คิดว่าราคาพอๆ กับปีที่ผ่านมา มีเพียงร้อยละ 2.7 ที่คิดว่าราคาน่าจะถูกกว่าปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 69.0 ระบุว่าตั้งใจจะกินเจในปีนี้ ในจำนวนนี้ร้อยละ 31.7 ระบุว่า จะกินเป็นบางมื้อ ร้อยละ 22.9 จะกินตลอดช่วงเทศกาล และร้อยละ 7.2 จะกิน 3 วัน
เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจถึงเหตุผลหลักที่กินเจในปีนี้ ร้อยละ 40.7 บอกว่าเพื่อสร้างบุญกุศล ละเว้นชีวิตสัตว์ ร้อยละ 24.6 บอกว่าเพื่อสุขภาพ และร้อยละ 12.7 บอกว่าปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี
สำหรับวิธีเลือกกินอาหารเจในปีนี้คือ ซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามร้านอาหารที่ปักธงเจ (ธงเหลือง) (ร้อยละ 67.5) รองลงมาคือ ทำกินเองที่บ้าน (ร้อยละ 25.7) และซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ (ร้อยละ 3.4)
เมื่อถามผู้ที่ตั้งใจกินเจในปีนี้ว่าจะชักชวนคนอื่นๆ มากินเจด้วยหรือไม่ ร้อยละ 64.3 ระบุว่า จะชักชวน (โดยให้เหตุผลว่า ปีนึงมีครั้งเดียว อยากให้คนอื่นแข็งแรง กินแล้วได้บุญ เป็นการละเว้นชีวิต ฯลฯ) ขณะที่ ร้อยละ 35.7 ไม่ชวน (โดยให้เหตุผลว่า อยากให้เป็นความตั้งใจของบุคคลนั้นเอง ไม่อยากบังคับใคร เป็นสิทธิส่วนบุคคล ฯลฯ)
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
- อาหารเจทีมีส่วนประกอบของ ผัก แป้ง เต้าหู้ ฯลฯ ร้อยละ 69.0 - ธงเจ (ธงเหลือง) ร้อยละ 26.4 - การทรงเจ้า ลุยไฟ ร้อยละ 2.4
- อื่นๆ อาทิ การถือศีล การขึ้นราคาผักต่างๆ โรงเจ ฯลฯ ร้อยละ 2.2
- ผัดหมี่เจ (หมี่เหลือง) ร้อยละ 39.0 - ต้มจับฉ่าย ร้อยละ 23.5 - ผัดหมี่ซั่ว ร้อยละ 13.4 - เต้าหู้ทอด เผือกทอด ไชเท้าทอด ร้อยละ 10.5 - กะหล่ำปลีตุ๋นเจ ร้อยละ 2.6 3. ความคิดเห็นต่อราคาอาหารเจ/วัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารเจในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่า - คิดว่าแพงกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 57.4 - คิดว่าพอๆกับปีที่ผ่านมา ร้อยละ 39.9 - คิดว่าถูกกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.7 4. ความตั้งใจที่จะกินเจ ในเทศกาลถือศีลกินเจช่วงวันที่ 15 — 23 ตุลาคม 2555 นี้ พบว่า - ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ ร้อยละ 69.0 โดยในจำนวนนี้ระบุว่า จะกินเป็นบางมื้อ ร้อยละ 31.7
จะกินจนครบช่วงเทศกาลกินเจ ร้อยละ 22.9
จะกิน 3 วัน ร้อยละ 7.2 จะกิน 7 วัน ร้อยละ 4.4 จะกิน 5 วัน ร้อยละ 2.8 - ไม่กินเจ ร้อยละ 31.0 5. เหตุผลหลักที่กินเจในปีนี้ 5 อันดับแรก คือ (ถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้) - เพื่อสร้างบุญกุศล ละเว้นชีวิตสัตว์ ร้อยละ 40.7 - เพื่อสุขภาพ ร้อยละ 24.6 - ปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี ร้อยละ 12.7 - อยากลองกินเจดูบ้าง ร้อยละ 8.4 - เพื่อให้เข้ากับเทศกาล ร้อยละ 6.8 6. วิธีการเลือกทานอาหารเจของผู้ที่ตั้งใจกินเจในปีนี้ คือ (ถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้)
- ซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามร้านอาหารที่ปักธงเจ (ธงเหลือง) ร้อยละ 67.5
- ทำกินเองที่บ้าน ร้อยละ 25.7 - ซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 3.4 - ซื้อในห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 2.6 - อื่นๆ อาทิ กินที่โรงเจ ศาลเจ้า ฯลฯ ร้อยละ 0.8 7. เมื่อถามว่าจะชักชวนคนอื่นๆ มากินเจด้วยหรือไม่ พบว่า (ถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้) - ชักชวน ร้อยละ 64.3
(โดยให้เหตุผลว่า ปีนึงมีครั้งเดียว อยากให้คนอื่นแข็งแรง กินแล้วได้บุญ เป็นการละเว้นชีวิต ฯลฯ)
- ไม่ชวน ร้อยละ 35.7
(โดยให้เหตุผลว่า อยากให้เป็นความตั้งใจของบุคคลนั้นเอง ไม่อยากบังคับใคร เป็นสิทธิส่วนบุคคล ฯลฯ)
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับเทศกาลกินเจปี 2555 ในเรื่องสัญลักษณ์ของเทศกาลกินเจ อาหารเจยอดนิยม และราคาของอาหาร รวมถึงความตั้งใจและเหตุผลที่จะกินเจในปีนี้ ตลอดจนวิธีเลือกทานอาหารเจและการชักชวนคนอื่นๆ มากินอาหารเจในช่วงเทศกาลกินเจ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดยสุ่มจากเขตการปกครองชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้จำนวนทั้งสิ้น 37 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง วัฒนา สัมพันธวงศ์ สะพานสูง สายไหม หนองแขมและหลักสี่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,243 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.0 และเพศหญิงร้อยละ 51.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 12 — 14 ตุลาคม 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 ตุลาคม 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 608 49.0 หญิง 635 51.0 รวม 1,243 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 350 28.2 26 - 35 ปี 319 25.7 36 - 45 ปี 268 21.6 46 ปีขึ้นไป 306 24.5 รวม 1,243 100.0 การศึกษาปัจจุบัน ต่ำกว่าปริญญาตรี 672 54.1 ปริญญาตรี 500 40.2 สูงกว่าปริญญาตรี 71 5.7 รวม 1,243 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 140 11.2 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 367 29.5 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 335 26.9 รับจ้างทั่วไป 129 10.4 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 66 5.3 นักศึกษา 190 15.3 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 16 1.4 รวม 1,243 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--