วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กรณีข่าวของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ในประเด็นต่อไปนี้
- การมีข้อมูลการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาล และประโยชน์ของการออกมาเปิดเผยเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ
ความเชื่อถือในถ้อยแถลงของคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรณีการปั่นหุ้นธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C1)
- การทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ รวมทั้งการเปิดเผยวีดีโอเทปของเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองฯ
- คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยจากกรณีข่าวนายเอกยุทธ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,197 คน เป็นชายร้อยละ 52.6 หญิงร้อยละ 47.4
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 24.6 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 29.8 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี
ร้อยละ 33.1 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี
และร้อยละ 12.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 4.7 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 11.7 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 5.7 ปวช.
ร้อยละ 16.7 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 49.1 ปริญญาตรี
และร้อยละ 12.1 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 10.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 27.5 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.2 เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 9.9 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.3 ค้าขาย
ร้อยละ 14.9 นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 พ่อบ้าน/แม่บ้าน
และร้อยละ 1.4 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "หน่วยข่าวกรอง...คุ้มครองหรือข่มขู่"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 กันยายน 2547 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 กันยายน 2547
ผลการสำรวจ
กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจได้เป็นบุคคลที่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 27.4 และไม่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 72.6 ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.8 เชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริง ขณะที่ร้อยละ 28.2 ไม่เชื่อว่ามีข้อมูล โดยในการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นครั้งนี้ ร้อยละ 70.4 เห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย อีกร้อยละ 29.6 เห็นว่า ไม่เป็นประโยชน์ สำหรับกรณีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาแถลงว่าไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของหุ้นธนาคารนครหลวงไทย หรือ SCIB-C1 ตามที่นายเอกยุทธ กล่าวอ้างนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.8 ไม่เชื่อข้อมูลที่ ก.ล.ต. ออกมาแถลง ขณะที่ร้อยละ 34.2 เชื่อ
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นใน 3 ประเด็นข้างต้นระหว่างกลุ่มผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มผู้เคยเล่นหุ้นถึง ร้อยละ 83.5 เชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริง ส่วนที่ไม่เชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูล ร้อยละ 16.5 ในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้นเชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูล ร้อยละ 67.3 และไม่มีข้อมูล ร้อยละ 32.7
สำหรับประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยนั้น กลุ่มผู้เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 79.9 เห็นว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่ร้อยละ 20.1 เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยเล่นหุ้นเห็นว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ ร้อยละ 66.9 และไม่เป็นประโยชน์ ร้อยละ 33.1
ส่วนความเชื่อถือต่อคำแถลงของ ก.ล.ต. นั้น กลุ่มตัวอย่างที่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 73.5 ไม่เชื่อในคำแถลงของ ก.ล.ต. ที่ว่าไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C1) ขณะที่ ร้อยละ 26.5 เชื่อ ส่วนผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 62.9 ไม่เชื่อในคำแถลงของ ก.ล.ต. และร้อยละ 37.1 เชื่อ
สำหรับกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ออกมายอมรับว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติติดตามนายเอกยุทธ เพื่อให้การคุ้มครองความปลอดภัยนั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 74.4 ไม่เชื่อว่าเป็นการติดตามเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย แต่คิดว่าเหตุผลที่แท้จริงของการติดตาม คือ เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของนายเอกยุทธ (ร้อยละ 52.2) และเพื่อข่มขู่นายเอกยุทธ (ร้อยละ 22.2) มีเพียงร้อยละ 25.6 ที่เชื่อว่าเป็นการติดตามเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่คอยติดตามบุคคลที่กำลังมีข่าวเป็นที่สนใจของสังคมโดยไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74.4 เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เพราะ เป็นการคุกคามและละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (ร้อยละ 35.3) เป็นการสร้างความหวาดกลัวแก่ผู้ถูกติดตาม (ร้อยละ 14.0) ไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ที่ส่งมาจะคุ้มครองความปลอดภัยได้จริง (ร้อยละ 13.6) และทำให้เกิดความเข้าใจผิด (ร้อยละ 11.5) ในขณะที่ร้อยละ 25.6 เห็นว่าการไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้านั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว
ส่วนการพบวีดีโอเทปในรถของเจ้าหน้าที่จากสำนักข่าวกรองฯ ที่บันทึกข้อมูลการติดตามนายเอกยุทธ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 60.6 เห็นว่า ควรนำภาพจากวิดีโอเทปมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ขณะที่ ร้อยละ 39.4 เห็นว่า ไม่ควรนำมาเปิดเผย
สำหรับผลกระทบต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.5 คิดว่ากรณีดังกล่าวส่งผลให้คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลดลง ขณะที่ ร้อยละ 9.4 คิดว่าทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น และร้อยละ 41.1 คิดว่ากรณีดังกล่าวไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 630 52.6
หญิง 567 47.4
อายุ :
18 - 25 ปี 295 24.6
26 - 35 ปี 357 29.8
36 - 45 ปี 396 33.1
46 ปีขึ้นไป 149 12.4
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 56 4.7
มัธยมศึกษา 140 11.7
ปวช. 68 5.7
ปวส./อนุปริญญา 200 16.7
ปริญญาตรี 588 49.1
สูงกว่าปริญญาตรี 145 12.1
อาชีพ :
รับราชการ 82 6.9
รัฐวิสาหกิจ 122 10.2
พนักงานบริษัทเอกชน 329 27.5
เจ้าของกิจการ 158 13.2
รับจ้างทั่วไป 118 9.9
ค้าขาย 123 10.3
นักศึกษา 178 14.9
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 70 5.8
อื่น ๆ 17 1.4
ตารางที่ 2: ท่านเคยเล่นหุ้นหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เคย 328 27.4
ไม่เคย 869 72.6
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่านายเอกยุทธ มีข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริงหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีข้อมูล 859 71.8
ไม่มีข้อมูล 338 28.2
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้นต่อประเด็นที่ว่า นายเอกยุทธ มี
ข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริงหรือไม่
มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ผู้เคยเล่นหุ้น 274 83.5 54 16.5
ผู้ไม่เคยเล่นหุ้น 585 67.3 284 32.7
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคน
ไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เป็นประโยชน์ 843 70.4
ไม่เป็นประโยชน์ 354 29.6
ตารางที่ 6: เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น ต่อประเด็นที่ว่าการออกมา
เปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยหรือไม่
เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ผู้เคยเล่นหุ้น 262 79.9 66 20.1
ผู้ไม่เคยเล่นหุ้น 581 66.9 288 33.1
ตารางที่ 7: ท่านเชื่อในข้อมูลที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาแถลงว่า
ตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของหุ้นธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C1)
ตามที่นายเอกยุทธ กล่าวอ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 409 34.2
ไม่เชื่อ 788 65.8
ตารางที่ 8: เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้นต่อประเด็นความเชื่อถือในคำแถลง
ของ ก.ล.ต. ที่ว่าไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของหุ้นธนาคารนครหลวงไทย
(SCIB-C1) ตามที่นายเอกยุทธ กล่าวอ้าง
เชื่อ ไม่เชื่อ
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ผู้เคยเล่นหุ้น 87 26.5 241 73.5
ผู้ไม่เคยเล่นหุ้น 332 37.1 547 62.9
ตารางที่ 9: ท่านเชื่อคำพูดของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ระบุว่าสั่งให้เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติติดตาม
นายเอกยุทธ เพื่อให้การคุ้มครองความปลอดภัย หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 307 25.6
ไม่เชื่อ 890 74.4
สำหรับท่านที่ไม่เชื่อ คิดว่าเหตุผลที่แท้จริงของการที่เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองติดตามนายเอกยุทธ คือ
จำนวน ร้อยละ
เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของนายเอกยุทธ 624 52.2
เพื่อข่มขู่นายเอกยุทธ 265 22.2
ตารางที่ 10: ท่านคิดว่าการที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่คอยติดตามบุคคลที่เป็นที่สนใจของสังคม (เช่น นายเอกยุทธ
และ นายเด่น โต๊ะมีนา) โดยไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้า เป็นการ เหมาะสมหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 307 25.6
ไม่เหมาะสม 890 74.4
สำหรับท่านที่คิดว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่ไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้า ได้ให้เหตุผล ดังนี้
จำนวน ร้อยละ
เป็นการคุกคาม/ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 616 35.3
สร้างความหวาดกลัวแก่ผู้ถูกติดตาม 243 14.0
ไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ที่ส่งมาจะคุ้มครองความปลอดภัยได้จริง 237 13.6
ทำให้เกิดความเข้าใจผิด 201 11.5
ตารางที่ 11: ท่านคิดว่าภาพถ่ายในวีดีโอเทปที่พบในรถของเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ซึ่งบันทึกข้อมูลการ
ติดตามนายเอกยุทธ ควรนำออกเปิดเผยต่อสาธารณชน หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควรเปิดเผย 725 60.6
ไม่ควรเปิดเผย 472 39.4
ตารางที่ 12 : ท่านคิดว่า กรณีที่เกิดขึ้นส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่ อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมลดลง 592 49.5
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 113 9.4
ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม 492 41.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กรณีข่าวของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ในประเด็นต่อไปนี้
- การมีข้อมูลการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาล และประโยชน์ของการออกมาเปิดเผยเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ
ความเชื่อถือในถ้อยแถลงของคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรณีการปั่นหุ้นธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C1)
- การทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ รวมทั้งการเปิดเผยวีดีโอเทปของเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองฯ
- คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยจากกรณีข่าวนายเอกยุทธ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,197 คน เป็นชายร้อยละ 52.6 หญิงร้อยละ 47.4
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 24.6 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 29.8 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี
ร้อยละ 33.1 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี
และร้อยละ 12.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 4.7 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 11.7 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 5.7 ปวช.
ร้อยละ 16.7 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 49.1 ปริญญาตรี
และร้อยละ 12.1 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 10.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 27.5 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.2 เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 9.9 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.3 ค้าขาย
ร้อยละ 14.9 นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 พ่อบ้าน/แม่บ้าน
และร้อยละ 1.4 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "หน่วยข่าวกรอง...คุ้มครองหรือข่มขู่"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 กันยายน 2547 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 กันยายน 2547
ผลการสำรวจ
กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจได้เป็นบุคคลที่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 27.4 และไม่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 72.6 ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.8 เชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริง ขณะที่ร้อยละ 28.2 ไม่เชื่อว่ามีข้อมูล โดยในการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นครั้งนี้ ร้อยละ 70.4 เห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย อีกร้อยละ 29.6 เห็นว่า ไม่เป็นประโยชน์ สำหรับกรณีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาแถลงว่าไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของหุ้นธนาคารนครหลวงไทย หรือ SCIB-C1 ตามที่นายเอกยุทธ กล่าวอ้างนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.8 ไม่เชื่อข้อมูลที่ ก.ล.ต. ออกมาแถลง ขณะที่ร้อยละ 34.2 เชื่อ
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นใน 3 ประเด็นข้างต้นระหว่างกลุ่มผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มผู้เคยเล่นหุ้นถึง ร้อยละ 83.5 เชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริง ส่วนที่ไม่เชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูล ร้อยละ 16.5 ในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้นเชื่อว่านายเอกยุทธ มีข้อมูล ร้อยละ 67.3 และไม่มีข้อมูล ร้อยละ 32.7
สำหรับประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยนั้น กลุ่มผู้เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 79.9 เห็นว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่ร้อยละ 20.1 เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยเล่นหุ้นเห็นว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ ร้อยละ 66.9 และไม่เป็นประโยชน์ ร้อยละ 33.1
ส่วนความเชื่อถือต่อคำแถลงของ ก.ล.ต. นั้น กลุ่มตัวอย่างที่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 73.5 ไม่เชื่อในคำแถลงของ ก.ล.ต. ที่ว่าไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C1) ขณะที่ ร้อยละ 26.5 เชื่อ ส่วนผู้ที่ไม่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 62.9 ไม่เชื่อในคำแถลงของ ก.ล.ต. และร้อยละ 37.1 เชื่อ
สำหรับกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ออกมายอมรับว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติติดตามนายเอกยุทธ เพื่อให้การคุ้มครองความปลอดภัยนั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 74.4 ไม่เชื่อว่าเป็นการติดตามเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย แต่คิดว่าเหตุผลที่แท้จริงของการติดตาม คือ เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของนายเอกยุทธ (ร้อยละ 52.2) และเพื่อข่มขู่นายเอกยุทธ (ร้อยละ 22.2) มีเพียงร้อยละ 25.6 ที่เชื่อว่าเป็นการติดตามเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่คอยติดตามบุคคลที่กำลังมีข่าวเป็นที่สนใจของสังคมโดยไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74.4 เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เพราะ เป็นการคุกคามและละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (ร้อยละ 35.3) เป็นการสร้างความหวาดกลัวแก่ผู้ถูกติดตาม (ร้อยละ 14.0) ไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ที่ส่งมาจะคุ้มครองความปลอดภัยได้จริง (ร้อยละ 13.6) และทำให้เกิดความเข้าใจผิด (ร้อยละ 11.5) ในขณะที่ร้อยละ 25.6 เห็นว่าการไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้านั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว
ส่วนการพบวีดีโอเทปในรถของเจ้าหน้าที่จากสำนักข่าวกรองฯ ที่บันทึกข้อมูลการติดตามนายเอกยุทธ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 60.6 เห็นว่า ควรนำภาพจากวิดีโอเทปมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ขณะที่ ร้อยละ 39.4 เห็นว่า ไม่ควรนำมาเปิดเผย
สำหรับผลกระทบต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.5 คิดว่ากรณีดังกล่าวส่งผลให้คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลดลง ขณะที่ ร้อยละ 9.4 คิดว่าทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น และร้อยละ 41.1 คิดว่ากรณีดังกล่าวไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 630 52.6
หญิง 567 47.4
อายุ :
18 - 25 ปี 295 24.6
26 - 35 ปี 357 29.8
36 - 45 ปี 396 33.1
46 ปีขึ้นไป 149 12.4
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 56 4.7
มัธยมศึกษา 140 11.7
ปวช. 68 5.7
ปวส./อนุปริญญา 200 16.7
ปริญญาตรี 588 49.1
สูงกว่าปริญญาตรี 145 12.1
อาชีพ :
รับราชการ 82 6.9
รัฐวิสาหกิจ 122 10.2
พนักงานบริษัทเอกชน 329 27.5
เจ้าของกิจการ 158 13.2
รับจ้างทั่วไป 118 9.9
ค้าขาย 123 10.3
นักศึกษา 178 14.9
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 70 5.8
อื่น ๆ 17 1.4
ตารางที่ 2: ท่านเคยเล่นหุ้นหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เคย 328 27.4
ไม่เคย 869 72.6
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่านายเอกยุทธ มีข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริงหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีข้อมูล 859 71.8
ไม่มีข้อมูล 338 28.2
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้นต่อประเด็นที่ว่า นายเอกยุทธ มี
ข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของบุคคลในคณะรัฐบาลจริงหรือไม่
มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ผู้เคยเล่นหุ้น 274 83.5 54 16.5
ผู้ไม่เคยเล่นหุ้น 585 67.3 284 32.7
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคน
ไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เป็นประโยชน์ 843 70.4
ไม่เป็นประโยชน์ 354 29.6
ตารางที่ 6: เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้น ต่อประเด็นที่ว่าการออกมา
เปิดเผยข้อมูลเรื่องการปั่นหุ้นของนายเอกยุทธ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยหรือไม่
เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ผู้เคยเล่นหุ้น 262 79.9 66 20.1
ผู้ไม่เคยเล่นหุ้น 581 66.9 288 33.1
ตารางที่ 7: ท่านเชื่อในข้อมูลที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาแถลงว่า
ตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของหุ้นธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C1)
ตามที่นายเอกยุทธ กล่าวอ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 409 34.2
ไม่เชื่อ 788 65.8
ตารางที่ 8: เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้เคยเล่นหุ้นกับไม่เคยเล่นหุ้นต่อประเด็นความเชื่อถือในคำแถลง
ของ ก.ล.ต. ที่ว่าไม่พบความผิดปกติที่เข้าข่ายการปั่นหุ้นของหุ้นธนาคารนครหลวงไทย
(SCIB-C1) ตามที่นายเอกยุทธ กล่าวอ้าง
เชื่อ ไม่เชื่อ
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ผู้เคยเล่นหุ้น 87 26.5 241 73.5
ผู้ไม่เคยเล่นหุ้น 332 37.1 547 62.9
ตารางที่ 9: ท่านเชื่อคำพูดของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ระบุว่าสั่งให้เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติติดตาม
นายเอกยุทธ เพื่อให้การคุ้มครองความปลอดภัย หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 307 25.6
ไม่เชื่อ 890 74.4
สำหรับท่านที่ไม่เชื่อ คิดว่าเหตุผลที่แท้จริงของการที่เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองติดตามนายเอกยุทธ คือ
จำนวน ร้อยละ
เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของนายเอกยุทธ 624 52.2
เพื่อข่มขู่นายเอกยุทธ 265 22.2
ตารางที่ 10: ท่านคิดว่าการที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่คอยติดตามบุคคลที่เป็นที่สนใจของสังคม (เช่น นายเอกยุทธ
และ นายเด่น โต๊ะมีนา) โดยไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้า เป็นการ เหมาะสมหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 307 25.6
ไม่เหมาะสม 890 74.4
สำหรับท่านที่คิดว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่ไม่แจ้งให้ผู้ถูกติดตามทราบล่วงหน้า ได้ให้เหตุผล ดังนี้
จำนวน ร้อยละ
เป็นการคุกคาม/ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 616 35.3
สร้างความหวาดกลัวแก่ผู้ถูกติดตาม 243 14.0
ไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ที่ส่งมาจะคุ้มครองความปลอดภัยได้จริง 237 13.6
ทำให้เกิดความเข้าใจผิด 201 11.5
ตารางที่ 11: ท่านคิดว่าภาพถ่ายในวีดีโอเทปที่พบในรถของเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ซึ่งบันทึกข้อมูลการ
ติดตามนายเอกยุทธ ควรนำออกเปิดเผยต่อสาธารณชน หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควรเปิดเผย 725 60.6
ไม่ควรเปิดเผย 472 39.4
ตารางที่ 12 : ท่านคิดว่า กรณีที่เกิดขึ้นส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่ อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมลดลง 592 49.5
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 113 9.4
ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม 492 41.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-