กรุงเทพโพลล์: “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล”

ข่าวผลสำรวจ Thursday November 29, 2012 10:07 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 55.3% ระบุอภิปรายฯครั้งนี้ ฝ่ายค้านยังไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจ ส่วนรัฐบาลตอบคำถามไม่ชัดเจนไม่ตรงประเด็น และ 44.5% จี้นายกฯ ควรจะตอบชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ด้วยตนเองให้มากกว่านี้

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,061 คน ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล” พบว่า

ประชาชนร้อยละ 55.7 เห็นว่าข้อมูลที่ฝ่ายค้านที่นำมาอภิปรายฯ ในครั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจ ขณะที่ร้อยละ 44.3 เห็นว่ามีข้อมูลเด็ดโดนใจ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 41.8 คิดว่าข้อมูลของฝ่ายค้านที่นำมาอภิปรายฯ นั้นยังไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุว่ามีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก

สำหรับความเห็นต่อการตอบข้อซักถามของ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 3 ท่าน ที่ถูกอภิปรายฯ ในครั้งนี้ว่าสามารถชี้แจงได้ชัดเจน/ตรงประเด็นหรือไม่ มีดังนี้

                                          ชี้แจงไม่ชัดเจน/ไม่ตรงประเด็น        ชี้แจงได้ชัดเจน/ตรงประเด็น
 - น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี                  ร้อยละ 41.1                    ร้อยละ 37.7
 - ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี               ร้อยละ 43.0                    ร้อยละ 34.8
 - พล.อ.อ. สุกำพล  สุวรรณฑัต รมว.กระทรวงกลาโหม       ร้อยละ 39.3                    ร้อยละ 26.5
 - พล.ต.ท ชัจจ์  กุลดิลก รมช. กระทรวงมหาดไทย          ร้อยละ 41.7                    ร้อยละ 22.0

นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 44.5 ยังมีความเห็นว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีควรจะตอบหรือชี้แจง และรับฟังการอภิปรายฯ ด้วยตนเองให้มากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 39.2 เห็นว่าตอบหรือชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ได้ดีอยู่แล้ว

ทั้งนี้ประชาชนได้ให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายฯ ครั้งนี้ โดยประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายประธานสภามากที่สุดคือได้ 6.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือการตอบและชี้แจงของฝ่ายรัฐบาลได้ 6.07 คะแนน และการอภิปรายของฝ่ายค้านได้ 5.67 คะแนน ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าฝ่ายค้านจะมีปัญหาด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลและยังไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจที่เพียงพอ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็มีปัญหาที่ไม่สามารถชี้แจงได้ชัดเจนและตรงประเด็น

ส่วนประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับจากการอภิปรายฯ ในครั้งนี้ ร้อยละ 42.6 ระบุว่าได้รับประโยชน์ปานกลาง ร้อยละ 35.5 ระบุว่าได้รับประโยชน์มาก และร้อยละ 9.8 ได้รับประโยชน์มากที่สุด

รายละเอียดต่อไปนี้

1. การติดตามรับชม รับฟัง การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
          - ติดตามชมเป็นช่วงๆ เฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ                                  ร้อยละ 52.2
          - ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ                                        ร้อยละ 40.7
          - ติดตามชมตลอดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ                                      ร้อยละ  7.1

2. เมื่อถามว่าข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปรายนั้นมีข้อมูลเด็ดโดนใจหรือไม่ พบว่า
          - ไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจ                                                    ร้อยละ  55.7
          - มีข้อมูลเด็ดโดนใจ                                                      ร้อยละ  44.3

3. ความเห็นต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปรายฯ ซักฟอกรัฐบาลในครั้งนี้
          - น่าเชื่อถือมาก                                          ร้อยละ 8.2
          - น่าเชื่อถือค่อนข้างมาก                                    ร้อยละ 40.7
          - ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ                                        ร้อยละ 41.8
          - ไม่น่าเชื่อถือเลย                                        ร้อยละ 9.3

4.ความเห็นต่อการตอบข้อซักถามจากฝ่ายค้าน ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 3 ท่านว่าชัดเจนตรง  ประเด็นหรือไม่
     รายชื่อ                                        ชี้เจงไม่ชัดเจน/      ชี้แจงได้ชัดเจน/        ไม่ตอบ

ไม่ตรงประเด็น(ร้อยละ) ตรงประเด็น(ร้อยละ) (ร้อยละ)

 - น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี                      41.1               37.7             21.2
  • ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่
   ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ                              43.0               34.8             22.2
 - พล.อ.อ สุกำพล  สุวรรณฑัต รมว.กระทรวงกลาโหม            39.3               26.5             34.2
 - พล.ต.ท ชัจจ์ กุลดิลก รมช. กระทรวงมหาดไทย               41.7               22.0             36.3

5. เมื่อถามว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญและทำหน้าที่ตอบข้อซักถามของฝ่ายค้าน
ในการอภิปรายฯ ครั้งนี้ได้ดีเพียงใด พบว่า
          - เห็นว่าควรจะตอบชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ด้วยตนเองให้มากกว่านี้        ร้อยละ 44.5
          - เห็นว่าตอบชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ได้ดีอยู่แล้ว                      ร้อยละ 39.2
          - ไม่ตอบ                                                       ร้อยละ 16.3

6. ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายฯ ครั้งนี้ คือ

เต็ม 10 คะแนน

          - การทำหน้าที่ของฝ่ายประธานสภา                    คะแนนที่ได้                    6.14
          - การตอบและชี้แจงของฝ่ายรัฐบาล                    คะแนนที่ได้                    6.07
          - การอภิปรายของฝ่ายค้าน                          คะแนนที่ได้                    5.67

7. เมื่อถามว่าข้อมูลที่ได้จากการอภิปรายฯ ครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมมากน้อยเพียงใด
          - ได้ประโยชน์มากที่สุด                               ร้อยละ 9.8
          - ได้ประโยชน์มาก                                  ร้อยละ 35.5
          - ได้ประโยชน์ปานกลาง                              ร้อยละ 42.6
          - ได้ประโยชน์น้อย                                  ร้อยละ 8.9
          - ได้ประโยชน์น้อยที่สุด                               ร้อยละ 3.2

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน ที่มีขึ้นในวันที่ 25-27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในประเด็นต่างๆ อาทิ การติดตามชมการอภิปรายฯ ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาอภิปรายจากทางฝ่ายค้านการชี้แจงและตอบข้อซักถามของฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนการให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในสภาฯ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการอภิปรายดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนแต่ละภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น นนทบุรี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ปทุมธานี พะเยา และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,061 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.1 และเพศหญิงร้อยละ 48.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล                     :  26 — 27 พฤศจิกายน 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                         :   29 พฤศจิกายน 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                                         542          51.1
          หญิง                                         519          48.9
          รวม                                       1,061         100.0

อายุ
          18 - 25 ปี                                   255          24.0
          26 - 35 ปี                                   297          28.0
          36 - 45 ปี                                   248          23.4
          46 ปีขึ้นไป                                    261          24.6
          รวม                                       1,061         100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                                611          57.6
          ปริญญาตรี                                     396          37.3
          สูงกว่าปริญญาตรี                                 54           5.1
          รวม                                       1,061         100.0

อาชีพ
               ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ              132          12.4
               พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               272          25.6
               ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                315          29.7
               รับจ้างทั่วไป                              134          12.7
               พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    46           4.3
               นักศึกษา                                 110          10.4
               อื่นๆ อาทิ  อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น          52           4.9
          รวม                                       1,061         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ