เหตุผลและความเป็นมาในการสำรวจ
ด้วยวันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันที่นิสิตนักศึกษาไทยเคยมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประเทศชาติอันนำมาซึ่งการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นในปัจจุบัน นิสิตนักศึกษาในยุคนั้นจึงเป็นทั้งผู้นำความคิดและเป็นความหวังของคนในชาติ
ขณะที่ข่าวคราวเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบันกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ทำให้หลายฝ่ายเกิดคำถามว่า เราจะยังคงฝากอนาคตของประเทศชาติไว้กับนิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้หรือไม่
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ จึงดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติ ประเด็นเนื้อหาของการพูดคุย และการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติของนิสิตนักศึกษาเพื่อสะท้อนภาพรวมเกี่ยวกับจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อต้องการทราบถึงจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมและประเทศชาติของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบัน ในประเด็นต่อไปนี้
- ความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติ และเหตุการณ์ที่สนใจเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
- ปัญหาของสังคมและประเทศชาติที่นิสิตนักศึกษาเป็นห่วงมากที่สุด
- ประเด็นเนื้อหาของการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาด้วยกัน
- การเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษา
- สาเหตุที่ทำให้นิสิตนักศึกษาบางส่วนไม่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม
- แนวทางในการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติในความเห็นของนิสิตนักศึกษา
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ
จากการสุ่มตัวอย่างดังกล่าว ทำให้ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,148 คน เป็นชายร้อยละ 42.2 หญิงร้อยละ 57.8 จากสถาบันอุดมศึกษารวม 34 แห่ง โดยเป็นสถาบันของรัฐ 25 แห่ง และเอกชน 9 แห่ง
กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของรัฐบาล ร้อยละ 73.7 เอกชน ร้อยละ 26.3 แบ่งเป็นสายวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี / การแพทย์ ร้อยละ 51.0 และสายสังคมศาสตร์ ร้อยละ 49.0 ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 25.1 ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 22.7 ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 23.0 ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 29.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "จิตสำนึกรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบัน"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 13 ตุลาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. เมื่อสอบถามถึงความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติ นิสิตนักศึกษา ร้อยละ 49.2 ระบุว่าไม่ค่อยได้ติดตาม ร้อยละ 46.7 ติดตามเป็นประจำ ร้อยละ 4.1 ไม่ได้ติดตามเลย
2. สำหรับเหตุการณ์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่นิสิตนักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ 5 อันดับแรก ได้แก่ เหตุการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 30.2) สถานการณ์โรคไข้หวัดนก (ร้อยละ 16.8) การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. (ร้อยละ 15.6) การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (ร้อยละ 5.1) และปัญหาราคาน้ำมัน (ร้อยละ 4.0) ในขณะที่ ร้อยละ 26.4 ระบุว่าไม่มีเหตุการณ์ใดที่สนใจเป็นพิเศษ
3. สำหรับปัญหาของสังคมและประเทศชาติที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาเป็นห่วงมากที่สุดในปัจจุบันนี้ คือ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ (ร้อยละ 22.6) รองลงมา คือ ปัญหาการคอร์รัปชัน (ร้อยละ 16.0) ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 14.8 ) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 13.4 ) ปัญหาศีลธรรมเสื่อมทราม (ร้อยละ 13.4 ) ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 10.7 ) ปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 6.3 ) ปัญหาโรคเอดส์ (ร้อยละ 2.0 ) และอื่น ๆ อีก (ร้อยละ 0.8 )
4. เมื่อสอบถามถึงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ 4 ประการได้แก่ เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสในสังคม นิสิตนักศึกษา ร้อยละ 60.6 ตอบว่าให้ความสนใจมาก ขณะที่ร้อยละ 36.9 ไม่ค่อยสนใจ และ ร้อยละ 2.5 ไม่สนใจเลย
ประเด็นเรื่องความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ร้อยละ 50.2 สนใจมาก ร้อยละ 44.8 ไม่ค่อยสนใจ และร้อยละ 5.2 ไม่สนใจเลย
ประเด็นปัญหาการผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรของไทย ร้อยละ 57.9 ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 30.7 สนใจมาก และร้อยละ 11.4 ไม่สนใจเลย
ประเด็นเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก ร้อยละ 49.1 ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 41.7 สนใจมาก และร้อยละ 9.2 ไม่สนใจเลย
5. สำหรับประเด็นเนื้อหาของการพูดคุยในกลุ่มนิสิตนักศึกษา อันดับแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง (ร้อยละ 27.3 ) รองลงมาคือ เรื่องการเรียน (ร้อยละ 24.5 ) เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก (ร้อยละ 23.2 ) เรื่องอาชีพการงานในอนาคต (ร้อยละ 14.1) เรื่องปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ ( ร้อยละ 4.7 ) เรื่องการเมืองการปกครอง (ร้อยละ 2.2 ) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.1 โดยทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างนิสิตนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลกับเอกชน
เมื่อเปรียบเทียบเนื้อหาของการพูดคุยระหว่างนิสิตนักศึกษาเพศชายกับเพศหญิง พบว่า เนื้อหาการพูดคุยของนิสิตนักศึกษาชายจะเน้นไปที่เรื่องอาชีพการงานในอนาคต ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ และเรื่องการเมืองการปกครอง ขณะที่นิสิตนักศึกษาหญิงจะเน้นเรื่องกิน/เที่ยว/ช็อปปิ้ง เรื่องส่วนตัว และเรื่องการเรียน
และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสาขาวิชาที่เรียน พบว่าเนื้อหาการพูดคุยของนิสิตนักศึกษาสายสังคมศาสตร์จะเน้นไปที่เรื่องกิน/เที่ยว/ช็อปปิ้ง เรื่องส่วนตัว และเรื่องการเมืองการปกครอง ขณะที่สายวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์ เน้นไปที่เรื่องการเรียน และอาชีพการงานในอนาคต
6. สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการรับใช้สังคมและประเทศชาตินั้น ร้อยละ 76.3 เห็นว่า นิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการรับใช้สังคมและประเทศชาติ โดยให้เหตุผลว่า เพราะนิสิตนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและประเทศชาติ (ร้อยละ 40.3) เป็นกลุ่มที่มีพลังกาย พลังสมอง สามารถทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติได้มาก (ร้อยละ 8.1) เป็นความหวังของประเทศชาติ (ร้อยละ 7.9) เป็นการพัฒนาตัวเอง (ร้อยละ 1.4 ) ส่วนหนึ่งของค่าเล่าเรียนมาจากเงินภาษี (ร้อยละ 0.8) และเหตุผลอื่นอีกร้อยละ 17.8 ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ระบุว่าการรับใช้สังคมและประเทศชาติไม่ใช่หน้าที่ของนิสิตนักศึกษา แต่ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล/นักการเมือง (ร้อยละ 17.1) และของผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว (ร้อยละ 5.4) และอื่นๆ อีก (ร้อยละ 1.2 )
7. นิสิตนักศึกษาร้อยละ 70.5 เคยเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ ขณะที่ ร้อยละ 29.5 ไม่เคยเข้าร่วม สำหรับกลุ่มที่เคยร่วมทำกิจกรรม ได้ให้เหตุผลหลักของการเข้าร่วม คือ ต้องการประสบการณ์เพิ่มเติม (ร้อยละ 28.5) ต้องการมีเพื่อน มีสังคม (ร้อยละ 14.5 ) ต้องการมีส่วนช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ (ร้อยละ 14.1 ) เป็นกิจกรรมในหลักสูตรที่มีคะแนน (ร้อยละ 12.1 ) และอื่น ๆ (ร้อยละ 1.3)
สำหรับกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมทำกิจกรรม ได้ให้เหตุผลว่า มีภาระด้านการเรียน (ร้อยละ 11.8) ไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดในการสมัครเข้าร่วม (ร้อยละ 8.0 ) ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจ (ร้อยละ 5.5 ) บรรยากาศแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย (ร้อยละ 3.3 ) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 0.9
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสถาบันของรัฐกับเอกชน พบว่า นิสิตนักศึกษาในสถาบันของรัฐเคยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมมากกว่านิสิตนักศึกษาในสถาบันเอกชน ร้อยละ 10.6 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสาขาวิชาที่ศึกษากับการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม พบว่า นิสิตนักศึกษาสายสังคมศาสตร์เข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมมากกว่าสายวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์ ร้อยละ 10.4
8. ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความเห็นถึงการที่นิสิตนักศึกษาบางส่วนไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมว่ามีสาเหตุมาจากสภาพสังคมในปัจจุบันที่ต้องแข่งขันเอาชนะเพื่อความอยู่รอดจึงไม่ค่อยได้คิดถึงคนอื่นนอกจากตัวเอง (ร้อยละ 24.2 ) ต้องใช้เวลาไปกับการเดินทางและภารกิจส่วนตัวจนไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม (ร้อยละ 17.8 ) มีกิจกรรมสนุกสนานบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจได้มากกว่ากิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม (ร้อยละ 17.4 ) แนวทางการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นความเก่งมากกว่าความดี (ร้อยละ 17.1 ) ขาดการกระตุ้นชี้นำจากครู อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ร้อยละ 12.7 ) การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวที่ไม่สอนให้รู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน (ร้อยละ 8.3 ) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
9. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.6 เห็นว่า การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้นิสิตนักศึกษาได้ออกไปสัมผัสใกล้ชิดสังคมเพื่อรับรู้ถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติแก่นิสิตนักศึกษาไทย ส่วนอีกร้อยละ 24.9 เห็นว่า ควรใช้วิธีการสอดแทรกแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติลงในเนื้อหาของบทเรียน ร้อยละ 21.0 เห็นว่าควรใช้การกระตุ้น รณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ ร้อยละ 5.5 เห็นว่า ควรยกย่องเชิดชูนิสิตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมให้มากขึ้น และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.0
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 484 42.2
หญิง 664 57.8
ประเภทสถานศึกษา :
รัฐบาล 846 73.7
เอกชน 302 26.3
สาขาวิชา :
สายวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี / การแพทย์ 586 51.0
สายสังคมศาสตร์ 562 49.0
ชั้นปีที่ศึกษา :
ปี 1 288 25.1
ปี 2 261 22.7
ปี 3 264 23.0
ปี 4 335 29.2
ตารางที่ 2: ท่านสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
ติดตามเป็นประจำ 536 46.7
ไม่ค่อยได้ติดตาม 565 49.2
ไม่ได้ติดตามเลย 47 4.1
ตารางที่ 3: ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีเหตุการณ์เรื่องใดที่ท่านสนใจเป็นพิเศษหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 845 73.6
ไม่มี 303 26.4
เหตุการณ์ที่สนใจเป็นพิเศษ คือ
จำนวน ร้อยละ
สถานการณ์ชายแดนภาคใต้ 255 30.2
ไข้หวัดนก 142 16.8
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 132 15.6
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 43 5.1
การปรับราคาน้ำมัน 34 4.0
อื่น ๆ 239 28.3
ตารางที่ 4 : ท่านคิดว่าปัญหาของสังคมและประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในปัจจุบันคือข้อใด
จำนวน ร้อยละ
ความไม่สงบในภาคใต้ 259 22.6
คอร์รัปชัน 184 16.0
ยาเสพติด 170 14.8
เศรษฐกิจ 154 13.4
ศีลธรรมเสื่อมทราม 154 13.4
ความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน 123 10.7
สิ่งแวดล้อม 72 6.3
โรคเอดส์ 23 2.0
อื่น ๆ 9 0.8
ตารางที่ 5: ท่านสนใจเรื่องราวต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
สนใจมาก ไม่ค่อยสนใจ ไม่สนใจเลย
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสในสังคม 695 60.6 424 36.9 29 2.5
ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 576 50.2 513 44.8 59 5.2
ปัญหาการผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรของไทย 352 30.7 665 57.9 132 11.4
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก 479 41.7 564 49.1 105 9.2
ตารางที่ 6 : เนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาของท่านเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
กิน/เที่ยว/ช็อปปิ้ง 313 27.3
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 266 23.2
การเรียน 281 24.5
อาชีพการงานในอนาคต 162 14.1
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 54 4.7
การเมืองการปกครอง 25 2.2
อื่นๆ 47 4.1
เปรียบเทียบเนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่ศึกษาในสถาบันของรัฐกับเอกชน
รัฐบาล เอกชน
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 23.8 21.5
กิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง 26.0 30.8
การเรียน 25.9 20.5
การเมืองการปกครอง 1.3 4.6
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 4.9 4.3
อาชีพการงานในอนาคต 14.0 14.6
อื่นๆ 4.1 3.6
เปรียบเทียบเนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
ชาย หญิง
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 17.6 27.3
กิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง 25.8 28.4
การเรียน 22.1 26.2
การเมืองการปกครอง 3.5 1.2
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 5.8 3.9
อาชีพการงานในอนาคต 18.0 11.3
อื่นๆ 7.2 1.7
เปรียบเทียบเนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่เรียนสายวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์ กับสายสังคมศาสตร์
สายวิทย์ฯ สายสังคม
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 21.5 24.8
กิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง 22.7 32.1
การเรียน 29.1 19.8
การเมืองการปกครอง 1.5 2.9
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 4.6 4.8
อาชีพการงานในอนาคต 16.8 11.4
อื่นๆ 3.8 4.3
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่านิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมรับใช้สังคมและประเทศชาติหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 876 76.3
เหตุผล คือ :
- นิสิตนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและประเทศชาติ 463 40.3
- เป็นกลุ่มที่มีพลังกายพลังสมอง สามารถทำประโยชน์ให้สังคม
และประเทศชาติได้มาก 93 8.1
- เป็นความหวังของประเทศชาติ 91 7.9
- เป็นการพัฒนาตัวเอง 16 1.4
- ส่วนหนึ่งของค่าเล่าเรียนมาจากเงินภาษีจึงควรตอบแทนประเทศชาติ 9 0.8
- อื่น ๆ 204 17.8
ไม่ควร 262 23.7
เหตุผล คือ :
- ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล / นักการเมือง 196 17.7
- ควรเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว 62 5.4
- อื่น ๆ 14 1.2
ตารางที่ 8: ท่านเคยเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษาบ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เคยเข้าร่วม 810 70.5
ไม่เคยเข้าร่วม 338 29.5
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เคยร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษา
จำนวน ร้อยละ
ต้องการประสบการณ์เพิ่มเติม 327 28.5
ต้องการมีเพื่อน มีสังคม 167 14.5
ต้องการมีส่วนช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ 162 14.1
เป็นกิจกรรมในหลักสูตรที่มีคะแนน 139 12.1
อื่น ๆ 15 1.3
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษา
จำนวน ร้อยละ
มีภาระด้านการเรียน 135 11.8
ไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดในการสมัครเข้าร่วม 92 8.0
ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจให้เข้าร่วม 63 5.5
บรรยากาศแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย 38 3.3
อื่น ๆ 10 0.9
เปรียบเทียบการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมระหว่างนิสิตนักศึกษาในสถาบันของรัฐกับเอกชน ระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์กับสายสังคมศาสตร์ และระหว่างชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4
เคย ไม่เคย
ประเภทสถานศึกษา :
รัฐบาล 73.3 26.7
เอกชน 62.7 37.3
สาขาวิชาที่ศึกษา :
สายวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี / การแพทย์ 75.6 24.4
สายสังคมศาสตร์ 65.2 34.8
ชั้นปีที่ศึกษา :
ปี 1 64.6 35.4
ปี 2 63.5 36.5
ปี 3 74.6 25.4
ปี 4 77.7 22.3
ตารางที่ 9: ท่านคิดว่าข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้นิสิตนักศึกษาบางส่วนไม่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือ
สังคม(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
สภาพสังคมในปัจจุบันที่ต้องแข่งขัน เอาชนะเพื่อความอยู่รอด 396 24.2
ต้องใช้เวลาไปกับการเดินทางและภารกิจส่วนตัวจนไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม 293 17.8
มีกิจกรรมสนุกสนานบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า 286 17.4
ระบบการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นความเก่งมากกว่าความดี 281 17.1
ขาดการกระตุ้นชี้นำจากครู อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 208 12.7
การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวที่ให้ความสุขสบายโดยไม่สอนให้รู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน 137 8.3
อื่น ๆ 41 2.5
ตารางที่ 10: ท่านคิดว่าข้อใดคือแนวทางที่ดีที่สุดในการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติแก่ นิสิตนักศึกษาไทย
จำนวน ร้อยละ
- ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้นิสิตนักศึกษาได้ออกไปสัมผัสสังคมมากขึ้น 523 45.6
- สอดแทรกแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติลงในเนื้อหาของบท เรียน 286 24.9
- ใช้การกระตุ้น รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ 241 21.0
- ยกย่องเชิดชูนิสิตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมให้มากขึ้น 64 5.5
- อื่น ๆ 34 3.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ด้วยวันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันที่นิสิตนักศึกษาไทยเคยมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประเทศชาติอันนำมาซึ่งการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นในปัจจุบัน นิสิตนักศึกษาในยุคนั้นจึงเป็นทั้งผู้นำความคิดและเป็นความหวังของคนในชาติ
ขณะที่ข่าวคราวเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบันกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ทำให้หลายฝ่ายเกิดคำถามว่า เราจะยังคงฝากอนาคตของประเทศชาติไว้กับนิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้หรือไม่
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ จึงดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติ ประเด็นเนื้อหาของการพูดคุย และการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติของนิสิตนักศึกษาเพื่อสะท้อนภาพรวมเกี่ยวกับจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อต้องการทราบถึงจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมและประเทศชาติของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบัน ในประเด็นต่อไปนี้
- ความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติ และเหตุการณ์ที่สนใจเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
- ปัญหาของสังคมและประเทศชาติที่นิสิตนักศึกษาเป็นห่วงมากที่สุด
- ประเด็นเนื้อหาของการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาด้วยกัน
- การเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษา
- สาเหตุที่ทำให้นิสิตนักศึกษาบางส่วนไม่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม
- แนวทางในการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติในความเห็นของนิสิตนักศึกษา
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ
จากการสุ่มตัวอย่างดังกล่าว ทำให้ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,148 คน เป็นชายร้อยละ 42.2 หญิงร้อยละ 57.8 จากสถาบันอุดมศึกษารวม 34 แห่ง โดยเป็นสถาบันของรัฐ 25 แห่ง และเอกชน 9 แห่ง
กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของรัฐบาล ร้อยละ 73.7 เอกชน ร้อยละ 26.3 แบ่งเป็นสายวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี / การแพทย์ ร้อยละ 51.0 และสายสังคมศาสตร์ ร้อยละ 49.0 ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 25.1 ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 22.7 ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 23.0 ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 29.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "จิตสำนึกรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาไทยในปัจจุบัน"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 13 ตุลาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. เมื่อสอบถามถึงความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติ นิสิตนักศึกษา ร้อยละ 49.2 ระบุว่าไม่ค่อยได้ติดตาม ร้อยละ 46.7 ติดตามเป็นประจำ ร้อยละ 4.1 ไม่ได้ติดตามเลย
2. สำหรับเหตุการณ์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่นิสิตนักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ 5 อันดับแรก ได้แก่ เหตุการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 30.2) สถานการณ์โรคไข้หวัดนก (ร้อยละ 16.8) การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. (ร้อยละ 15.6) การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (ร้อยละ 5.1) และปัญหาราคาน้ำมัน (ร้อยละ 4.0) ในขณะที่ ร้อยละ 26.4 ระบุว่าไม่มีเหตุการณ์ใดที่สนใจเป็นพิเศษ
3. สำหรับปัญหาของสังคมและประเทศชาติที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาเป็นห่วงมากที่สุดในปัจจุบันนี้ คือ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ (ร้อยละ 22.6) รองลงมา คือ ปัญหาการคอร์รัปชัน (ร้อยละ 16.0) ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 14.8 ) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 13.4 ) ปัญหาศีลธรรมเสื่อมทราม (ร้อยละ 13.4 ) ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 10.7 ) ปัญหาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 6.3 ) ปัญหาโรคเอดส์ (ร้อยละ 2.0 ) และอื่น ๆ อีก (ร้อยละ 0.8 )
4. เมื่อสอบถามถึงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ 4 ประการได้แก่ เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสในสังคม นิสิตนักศึกษา ร้อยละ 60.6 ตอบว่าให้ความสนใจมาก ขณะที่ร้อยละ 36.9 ไม่ค่อยสนใจ และ ร้อยละ 2.5 ไม่สนใจเลย
ประเด็นเรื่องความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ร้อยละ 50.2 สนใจมาก ร้อยละ 44.8 ไม่ค่อยสนใจ และร้อยละ 5.2 ไม่สนใจเลย
ประเด็นปัญหาการผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรของไทย ร้อยละ 57.9 ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 30.7 สนใจมาก และร้อยละ 11.4 ไม่สนใจเลย
ประเด็นเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก ร้อยละ 49.1 ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 41.7 สนใจมาก และร้อยละ 9.2 ไม่สนใจเลย
5. สำหรับประเด็นเนื้อหาของการพูดคุยในกลุ่มนิสิตนักศึกษา อันดับแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง (ร้อยละ 27.3 ) รองลงมาคือ เรื่องการเรียน (ร้อยละ 24.5 ) เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก (ร้อยละ 23.2 ) เรื่องอาชีพการงานในอนาคต (ร้อยละ 14.1) เรื่องปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ ( ร้อยละ 4.7 ) เรื่องการเมืองการปกครอง (ร้อยละ 2.2 ) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.1 โดยทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างนิสิตนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลกับเอกชน
เมื่อเปรียบเทียบเนื้อหาของการพูดคุยระหว่างนิสิตนักศึกษาเพศชายกับเพศหญิง พบว่า เนื้อหาการพูดคุยของนิสิตนักศึกษาชายจะเน้นไปที่เรื่องอาชีพการงานในอนาคต ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ และเรื่องการเมืองการปกครอง ขณะที่นิสิตนักศึกษาหญิงจะเน้นเรื่องกิน/เที่ยว/ช็อปปิ้ง เรื่องส่วนตัว และเรื่องการเรียน
และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสาขาวิชาที่เรียน พบว่าเนื้อหาการพูดคุยของนิสิตนักศึกษาสายสังคมศาสตร์จะเน้นไปที่เรื่องกิน/เที่ยว/ช็อปปิ้ง เรื่องส่วนตัว และเรื่องการเมืองการปกครอง ขณะที่สายวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์ เน้นไปที่เรื่องการเรียน และอาชีพการงานในอนาคต
6. สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการรับใช้สังคมและประเทศชาตินั้น ร้อยละ 76.3 เห็นว่า นิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการรับใช้สังคมและประเทศชาติ โดยให้เหตุผลว่า เพราะนิสิตนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและประเทศชาติ (ร้อยละ 40.3) เป็นกลุ่มที่มีพลังกาย พลังสมอง สามารถทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติได้มาก (ร้อยละ 8.1) เป็นความหวังของประเทศชาติ (ร้อยละ 7.9) เป็นการพัฒนาตัวเอง (ร้อยละ 1.4 ) ส่วนหนึ่งของค่าเล่าเรียนมาจากเงินภาษี (ร้อยละ 0.8) และเหตุผลอื่นอีกร้อยละ 17.8 ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ระบุว่าการรับใช้สังคมและประเทศชาติไม่ใช่หน้าที่ของนิสิตนักศึกษา แต่ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล/นักการเมือง (ร้อยละ 17.1) และของผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว (ร้อยละ 5.4) และอื่นๆ อีก (ร้อยละ 1.2 )
7. นิสิตนักศึกษาร้อยละ 70.5 เคยเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ ขณะที่ ร้อยละ 29.5 ไม่เคยเข้าร่วม สำหรับกลุ่มที่เคยร่วมทำกิจกรรม ได้ให้เหตุผลหลักของการเข้าร่วม คือ ต้องการประสบการณ์เพิ่มเติม (ร้อยละ 28.5) ต้องการมีเพื่อน มีสังคม (ร้อยละ 14.5 ) ต้องการมีส่วนช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ (ร้อยละ 14.1 ) เป็นกิจกรรมในหลักสูตรที่มีคะแนน (ร้อยละ 12.1 ) และอื่น ๆ (ร้อยละ 1.3)
สำหรับกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมทำกิจกรรม ได้ให้เหตุผลว่า มีภาระด้านการเรียน (ร้อยละ 11.8) ไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดในการสมัครเข้าร่วม (ร้อยละ 8.0 ) ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจ (ร้อยละ 5.5 ) บรรยากาศแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย (ร้อยละ 3.3 ) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 0.9
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสถาบันของรัฐกับเอกชน พบว่า นิสิตนักศึกษาในสถาบันของรัฐเคยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมมากกว่านิสิตนักศึกษาในสถาบันเอกชน ร้อยละ 10.6 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสาขาวิชาที่ศึกษากับการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม พบว่า นิสิตนักศึกษาสายสังคมศาสตร์เข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมมากกว่าสายวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์ ร้อยละ 10.4
8. ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความเห็นถึงการที่นิสิตนักศึกษาบางส่วนไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมว่ามีสาเหตุมาจากสภาพสังคมในปัจจุบันที่ต้องแข่งขันเอาชนะเพื่อความอยู่รอดจึงไม่ค่อยได้คิดถึงคนอื่นนอกจากตัวเอง (ร้อยละ 24.2 ) ต้องใช้เวลาไปกับการเดินทางและภารกิจส่วนตัวจนไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม (ร้อยละ 17.8 ) มีกิจกรรมสนุกสนานบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจได้มากกว่ากิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม (ร้อยละ 17.4 ) แนวทางการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นความเก่งมากกว่าความดี (ร้อยละ 17.1 ) ขาดการกระตุ้นชี้นำจากครู อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ร้อยละ 12.7 ) การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวที่ไม่สอนให้รู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน (ร้อยละ 8.3 ) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
9. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.6 เห็นว่า การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้นิสิตนักศึกษาได้ออกไปสัมผัสใกล้ชิดสังคมเพื่อรับรู้ถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติแก่นิสิตนักศึกษาไทย ส่วนอีกร้อยละ 24.9 เห็นว่า ควรใช้วิธีการสอดแทรกแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติลงในเนื้อหาของบทเรียน ร้อยละ 21.0 เห็นว่าควรใช้การกระตุ้น รณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ ร้อยละ 5.5 เห็นว่า ควรยกย่องเชิดชูนิสิตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมให้มากขึ้น และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.0
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 484 42.2
หญิง 664 57.8
ประเภทสถานศึกษา :
รัฐบาล 846 73.7
เอกชน 302 26.3
สาขาวิชา :
สายวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี / การแพทย์ 586 51.0
สายสังคมศาสตร์ 562 49.0
ชั้นปีที่ศึกษา :
ปี 1 288 25.1
ปี 2 261 22.7
ปี 3 264 23.0
ปี 4 335 29.2
ตารางที่ 2: ท่านสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของสังคมและประเทศชาติมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
ติดตามเป็นประจำ 536 46.7
ไม่ค่อยได้ติดตาม 565 49.2
ไม่ได้ติดตามเลย 47 4.1
ตารางที่ 3: ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีเหตุการณ์เรื่องใดที่ท่านสนใจเป็นพิเศษหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 845 73.6
ไม่มี 303 26.4
เหตุการณ์ที่สนใจเป็นพิเศษ คือ
จำนวน ร้อยละ
สถานการณ์ชายแดนภาคใต้ 255 30.2
ไข้หวัดนก 142 16.8
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 132 15.6
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 43 5.1
การปรับราคาน้ำมัน 34 4.0
อื่น ๆ 239 28.3
ตารางที่ 4 : ท่านคิดว่าปัญหาของสังคมและประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในปัจจุบันคือข้อใด
จำนวน ร้อยละ
ความไม่สงบในภาคใต้ 259 22.6
คอร์รัปชัน 184 16.0
ยาเสพติด 170 14.8
เศรษฐกิจ 154 13.4
ศีลธรรมเสื่อมทราม 154 13.4
ความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน 123 10.7
สิ่งแวดล้อม 72 6.3
โรคเอดส์ 23 2.0
อื่น ๆ 9 0.8
ตารางที่ 5: ท่านสนใจเรื่องราวต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
สนใจมาก ไม่ค่อยสนใจ ไม่สนใจเลย
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสในสังคม 695 60.6 424 36.9 29 2.5
ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 576 50.2 513 44.8 59 5.2
ปัญหาการผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรของไทย 352 30.7 665 57.9 132 11.4
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก 479 41.7 564 49.1 105 9.2
ตารางที่ 6 : เนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาของท่านเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
กิน/เที่ยว/ช็อปปิ้ง 313 27.3
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 266 23.2
การเรียน 281 24.5
อาชีพการงานในอนาคต 162 14.1
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 54 4.7
การเมืองการปกครอง 25 2.2
อื่นๆ 47 4.1
เปรียบเทียบเนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่ศึกษาในสถาบันของรัฐกับเอกชน
รัฐบาล เอกชน
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 23.8 21.5
กิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง 26.0 30.8
การเรียน 25.9 20.5
การเมืองการปกครอง 1.3 4.6
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 4.9 4.3
อาชีพการงานในอนาคต 14.0 14.6
อื่นๆ 4.1 3.6
เปรียบเทียบเนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
ชาย หญิง
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 17.6 27.3
กิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง 25.8 28.4
การเรียน 22.1 26.2
การเมืองการปกครอง 3.5 1.2
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 5.8 3.9
อาชีพการงานในอนาคต 18.0 11.3
อื่นๆ 7.2 1.7
เปรียบเทียบเนื้อหาการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนนิสิตนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่เรียนสายวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์ กับสายสังคมศาสตร์
สายวิทย์ฯ สายสังคม
เรื่องส่วนตัว เช่น ครอบครัว ความรัก 21.5 24.8
กิน / เที่ยว / ช็อปปิ้ง 22.7 32.1
การเรียน 29.1 19.8
การเมืองการปกครอง 1.5 2.9
ปัญหาที่สังคมและประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่ 4.6 4.8
อาชีพการงานในอนาคต 16.8 11.4
อื่นๆ 3.8 4.3
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่านิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมรับใช้สังคมและประเทศชาติหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 876 76.3
เหตุผล คือ :
- นิสิตนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและประเทศชาติ 463 40.3
- เป็นกลุ่มที่มีพลังกายพลังสมอง สามารถทำประโยชน์ให้สังคม
และประเทศชาติได้มาก 93 8.1
- เป็นความหวังของประเทศชาติ 91 7.9
- เป็นการพัฒนาตัวเอง 16 1.4
- ส่วนหนึ่งของค่าเล่าเรียนมาจากเงินภาษีจึงควรตอบแทนประเทศชาติ 9 0.8
- อื่น ๆ 204 17.8
ไม่ควร 262 23.7
เหตุผล คือ :
- ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล / นักการเมือง 196 17.7
- ควรเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้ว 62 5.4
- อื่น ๆ 14 1.2
ตารางที่ 8: ท่านเคยเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษาบ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เคยเข้าร่วม 810 70.5
ไม่เคยเข้าร่วม 338 29.5
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เคยร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษา
จำนวน ร้อยละ
ต้องการประสบการณ์เพิ่มเติม 327 28.5
ต้องการมีเพื่อน มีสังคม 167 14.5
ต้องการมีส่วนช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ 162 14.1
เป็นกิจกรรมในหลักสูตรที่มีคะแนน 139 12.1
อื่น ๆ 15 1.3
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมในระหว่างการเป็นนิสิตนักศึกษา
จำนวน ร้อยละ
มีภาระด้านการเรียน 135 11.8
ไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดในการสมัครเข้าร่วม 92 8.0
ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจให้เข้าร่วม 63 5.5
บรรยากาศแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย 38 3.3
อื่น ๆ 10 0.9
เปรียบเทียบการเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมระหว่างนิสิตนักศึกษาในสถาบันของรัฐกับเอกชน ระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/การแพทย์กับสายสังคมศาสตร์ และระหว่างชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4
เคย ไม่เคย
ประเภทสถานศึกษา :
รัฐบาล 73.3 26.7
เอกชน 62.7 37.3
สาขาวิชาที่ศึกษา :
สายวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี / การแพทย์ 75.6 24.4
สายสังคมศาสตร์ 65.2 34.8
ชั้นปีที่ศึกษา :
ปี 1 64.6 35.4
ปี 2 63.5 36.5
ปี 3 74.6 25.4
ปี 4 77.7 22.3
ตารางที่ 9: ท่านคิดว่าข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้นิสิตนักศึกษาบางส่วนไม่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือ
สังคม(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
สภาพสังคมในปัจจุบันที่ต้องแข่งขัน เอาชนะเพื่อความอยู่รอด 396 24.2
ต้องใช้เวลาไปกับการเดินทางและภารกิจส่วนตัวจนไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม 293 17.8
มีกิจกรรมสนุกสนานบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า 286 17.4
ระบบการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นความเก่งมากกว่าความดี 281 17.1
ขาดการกระตุ้นชี้นำจากครู อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 208 12.7
การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวที่ให้ความสุขสบายโดยไม่สอนให้รู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน 137 8.3
อื่น ๆ 41 2.5
ตารางที่ 10: ท่านคิดว่าข้อใดคือแนวทางที่ดีที่สุดในการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติแก่ นิสิตนักศึกษาไทย
จำนวน ร้อยละ
- ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้นิสิตนักศึกษาได้ออกไปสัมผัสสังคมมากขึ้น 523 45.6
- สอดแทรกแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติลงในเนื้อหาของบท เรียน 286 24.9
- ใช้การกระตุ้น รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ 241 21.0
- ยกย่องเชิดชูนิสิตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมให้มากขึ้น 64 5.5
- อื่น ๆ 34 3.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-