ที่มาและวัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่เกิดต่อเนื่องมานับตั้งแต่ต้นปี 2547 ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศไทย ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เศรษฐกิจการค้าการลงทุน ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาชาวโลก และที่สำคัญก็คือความแตกแยกระหว่างประชาชนบนผืนแผ่นดินไทยด้วยกัน ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงต่อประชาชนว่าได้พยายามแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังมาโดยตลอดแต่ก็ไม่มีทีท่าว่าเหตุการณ์จะสงบลง ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ในประเด็นเกี่ยวกับความวิตกกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล ความมั่นใจในการแก้ปัญหาในอนาคต และผลกระทบต่อคะแนนเสียงของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งต่อไประเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,380 คน เป็นชายร้อยละ 47.4 หญิงร้อยละ 52.6
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.0 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 29.5 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 28.6 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 12.9 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10.1 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 19.9 มัธยมศึกษา ร้อยละ 8.6 ปวช. ร้อยละ 9.3 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 46.0 ปริญญาตรี และร้อยละ 6.2 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.6 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 7.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.8 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 12.8 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.2 ค้าขาย ร้อยละ 18.7 นักศึกษา ร้อยละ 8.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 1.9 ประกอบอาชีพอื่น
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "การแก้ปัญหาภาคใต้ในสายตาประชาชน"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 พฤศจิกายน 2547
ผลการสำรวจ
1. การติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุว่าติดตามเป็นประจำ ขณะที่ร้อยละ 46.3 ไม่ค่อยได้ติดตาม
2. กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69.2) รู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาดังกล่าว โดยร้อยละ 28.3 ระบุว่ากังวลมาก และร้อยละ 51.8 ค่อนข้างกังวล ขณะที่ร้อยละ 17.5 ไม่ค่อยกังวล และร้อยละ 2.4 ไม่กังวลเลย
3. ผลกระทบของเหตุการณ์ดังกล่าวที่มีต่อประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากที่สุด คือร้อยละ 26.3 รองลงมาคือผลกระทบในด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ 19.3 ด้านความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน ร้อยละ 16.0 ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ร้อยละ 13.8 ด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ร้อยละ 12.5 ด้านภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก ร้อยละ 11.0 และด้านอื่นๆ อีกร้อยละ 1.1
4. สำหรับความเห็นที่ว่ารัฐบาลแก้ปัญหามาถูกทางแล้วหรือยัง ร้อยละ 43.1 ระบุว่ายังไม่ถูกทาง ขณะที่ร้อยละ 25.5 คิดว่าถูกทางแล้ว และร้อยละ 31.4 ไม่แน่ใจ
5. แต่เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาลในภาพรวมนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ เมื่อต้นปี 2547 ที่ผ่านมา ร้อยละ 49.3 ระบุว่าค่อนข้างพอใจ ขณะที่ร้อยละ 43.2 ไม่พอใจ ร้อยละ 7.5 พอใจมาก และร้อยละ 4.6 ไม่พอใจเลย
6. สำหรับความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ที่ได้รับจากรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.2 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อถือ ขณะที่ร้อยละ 43.3 ไม่เชื่อถือ ร้อยละ 7.4 เชื่อถือมาก และร้อยละ 3.0 ไม่เชื่อถือเลย
7. เมื่อถามว่ารัฐบาลมีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 90.6 เห็นว่ารัฐบาลมีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจุดอ่อนที่ประชาชนกล่าวถึงมากที่สุดคือ ขาดการวางแผนและประสานงานที่รัดกุม (ร้อยละ 50.1) รองลงมาได้แก่การไม่เข้าใจต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา (ร้อยละ 47.5) ขาดทีมงานผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 35.7) การดำเนินงานด้านการข่าวบกพร่อง (ร้อยละ 22.2) มอบหมายบุคคลผู้รับผิดชอบไม่เหมาะสม (ร้อยละ 22.0) และรัฐบาลใจแคบไม่รับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย (ร้อยละ 18.6) ตามลำดับ มีที่ระบุว่ารัฐบาลไม่มีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพียงร้อยละ 9.4
8. สำหรับหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาภาคใต้ในสายตาประชาชน ได้แก่ การดึงคนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ร้อยละ 55.9 รองลงมาคือการทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมความเชื่อของคนในท้องถิ่น ร้อยละ 50.4 การสร้างงานฝึกอาชีพให้มีรายได้ ร้อยละ 30.7 การกำหนดผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาให้ชัดเจนต่อเนื่อง ร้อยละ 29.2 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยงานราชการในพื้นที่ให้เหมาะสม ร้อยละ 26.5 และอื่นๆ อีกร้อยละ 2.5
9. สำหรับความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.0 ค่อนข้างเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาได้ในที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 42.5 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 7.1 เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 5.4 ไม่เชื่อมั่นเลย
10. หากรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ลุล่วงไปได้ก่อนครบวาระ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าท่านจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 65.4 ยังคงจะเลือกพรรคไทยรักไทย โดยให้เหตุผลว่า เพื่อจะได้มาแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 33.9 ไม่มีพรรคการเมืองอื่นที่ดีกว่าพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 18.3 พรรคการเมืองไหนก็คงแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ ร้อยละ 11.3 และเหตุผลอื่นอีกร้อยละ 1.9ในขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าจะไม่เลือกพรรคไทยรัก
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 654 47.4
หญิง 726 52.6
อายุ :
18 - 25 ปี 400 29.0
26 - 35 ปี 407 29.5
36 - 45 ปี 395 28.6
46ปีขึ้นไป 178 12.9
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 139 10.1
มัธยมศึกษา 274 19.9
ปวช. 118 8.6
ปวส./อนุปริญญา 129 9.3
ปริญญาตรี 635 46.0
สูงกว่าปริญญาตรี 85 6.2
อาชีพ :
รับราชการ 118 8.6
รัฐวิสาหกิจ 103 7.5
พนักงานบริษัทเอกชน 232 16.8
เจ้าของกิจการ 133 9.6
รับจ้างทั่วไป 176 12.8
ค้าขาย 224 16.2
นักศึกษา 258 18.7
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 110 8.0
อื่น ๆ 26 1.9
ตารางที่ 2: ท่านได้ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ติดตามเป็นประจำ 741 53.7
ไม่ค่อยได้ติดตาม 639 46.3
ตารางที่ 3: ท่านรู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวหรือไม่เพียงใด
จำนวน ร้อยละ
กังวลมาก 391 28.3
ค่อนข้างกังวล 714 51.8
ไม่ค่อยกังวล 242 17.5
ไม่กังวลเลย 33 2.4
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบด้านใดต่อประเทศไทยมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 361 26.3
เสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ 267 19.3
ความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน 221 16.0
ธุรกิจท่องเที่ยว 191 13.8
เศรษฐกิจการค้า การลงทุน 173 12.5
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก 152 11.0
อื่นๆ 15 1.1
ตารางที่ 5: ปัจจุบันนี้ท่านคิดว่ารัฐบาลแก้ปัญหาดังกล่าวมาถูกทางแล้วหรือยัง
จำนวน ร้อยละ
ถูกทางแล้ว 352 25.5
ยังไม่ถูกทาง 595 43.1
ไม่แน่ใจ 433 31.4
ตารางที่ 6: ในภาพรวมนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ เมื่อต้นปี 2547 ท่านพึงพอใจการแก้ปัญหาที่ผ่านมา
ของรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 104 7.5
ค่อนข้างพอใจ 680 49.3
ไม่ค่อยพอใจ 533 38.6
ไม่พอใจเลย 63 4.6
ตารางที่ 7: ท่านเชื่อถือข้อมูลข่าวสารเรื่องดังกล่าวที่ได้รับการเปิดเผยจากรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
เชื่อถือมาก 102 7.4
ค่อนข้างเชื่อถือ 679 49.2
ไม่ค่อยเชื่อถือ 557 40.4
ไม่เชื่อถือเลย 42 3.0
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่ารัฐบาลมีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีจุดอ่อน 1250 90.6
ไม่มีจุดอ่อน 130 9.4
จุดอ่อนในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวของรัฐบาล คือ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
ขาดการวางแผน ประสานงานที่รัดกุม 691 50.1
ไม่เข้าใจต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา 656 47.5
ขาดทีมงานผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา 493 35.7
ดำเนินงานด้านการข่าวบกพร่อง 307 22.2
มอบหมายผู้รับผิดชอบไม่เหมาะสม 304 22.0
ใจแคบไม่รับฟังข้อมูลความคิดเห็นจากหลายฝ่าย 256 18.6
อื่นๆ 51 3.7
ตารางที่ 9: ท่านคิดว่าหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คืออะไร (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
การดึงคนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 771 55.9
การทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมความเชื่อของคนในท้องถิ่น 696 50.4
การสร้างงานฝึกอาชีพให้มีรายได้ 423 30.7
การกำหนดผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาให้ชัดเจนต่อเนื่อง 403 29.2
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยงานราชการในพื้นที่ 366 26.5
อื่นๆ 34 2.5
ตารางที่ 10: ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงไปได้
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 98 7.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น 621 45.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 587 42.5
ไม่เชื่อมั่นเลย 74 5.4
ตารางที่ 11: หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ลุล่วงไปได้ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า
ท่านจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ไม่เลือก 478 34.6
เลือก 902 65.4
สาเหตุที่จะเลือกพรรคไทยรักไทย เพราะ
จำนวน ร้อยละ
จะได้มาแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง 468 33.9
ไม่มีพรรคการเมืองอื่นดีกว่าพรรคไทยรักไทย 252 18.3
ไม่ว่าพรรคไหนก็แก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ 156 11.3
อื่นๆ 26 1.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่เกิดต่อเนื่องมานับตั้งแต่ต้นปี 2547 ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศไทย ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เศรษฐกิจการค้าการลงทุน ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาชาวโลก และที่สำคัญก็คือความแตกแยกระหว่างประชาชนบนผืนแผ่นดินไทยด้วยกัน ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงต่อประชาชนว่าได้พยายามแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังมาโดยตลอดแต่ก็ไม่มีทีท่าว่าเหตุการณ์จะสงบลง ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ในประเด็นเกี่ยวกับความวิตกกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล ความมั่นใจในการแก้ปัญหาในอนาคต และผลกระทบต่อคะแนนเสียงของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งต่อไประเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,380 คน เป็นชายร้อยละ 47.4 หญิงร้อยละ 52.6
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.0 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 29.5 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 28.6 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 12.9 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10.1 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 19.9 มัธยมศึกษา ร้อยละ 8.6 ปวช. ร้อยละ 9.3 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 46.0 ปริญญาตรี และร้อยละ 6.2 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.6 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 7.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.8 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 12.8 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.2 ค้าขาย ร้อยละ 18.7 นักศึกษา ร้อยละ 8.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 1.9 ประกอบอาชีพอื่น
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "การแก้ปัญหาภาคใต้ในสายตาประชาชน"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 พฤศจิกายน 2547
ผลการสำรวจ
1. การติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุว่าติดตามเป็นประจำ ขณะที่ร้อยละ 46.3 ไม่ค่อยได้ติดตาม
2. กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69.2) รู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาดังกล่าว โดยร้อยละ 28.3 ระบุว่ากังวลมาก และร้อยละ 51.8 ค่อนข้างกังวล ขณะที่ร้อยละ 17.5 ไม่ค่อยกังวล และร้อยละ 2.4 ไม่กังวลเลย
3. ผลกระทบของเหตุการณ์ดังกล่าวที่มีต่อประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากที่สุด คือร้อยละ 26.3 รองลงมาคือผลกระทบในด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ 19.3 ด้านความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน ร้อยละ 16.0 ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ร้อยละ 13.8 ด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ร้อยละ 12.5 ด้านภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก ร้อยละ 11.0 และด้านอื่นๆ อีกร้อยละ 1.1
4. สำหรับความเห็นที่ว่ารัฐบาลแก้ปัญหามาถูกทางแล้วหรือยัง ร้อยละ 43.1 ระบุว่ายังไม่ถูกทาง ขณะที่ร้อยละ 25.5 คิดว่าถูกทางแล้ว และร้อยละ 31.4 ไม่แน่ใจ
5. แต่เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาลในภาพรวมนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ เมื่อต้นปี 2547 ที่ผ่านมา ร้อยละ 49.3 ระบุว่าค่อนข้างพอใจ ขณะที่ร้อยละ 43.2 ไม่พอใจ ร้อยละ 7.5 พอใจมาก และร้อยละ 4.6 ไม่พอใจเลย
6. สำหรับความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ที่ได้รับจากรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.2 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อถือ ขณะที่ร้อยละ 43.3 ไม่เชื่อถือ ร้อยละ 7.4 เชื่อถือมาก และร้อยละ 3.0 ไม่เชื่อถือเลย
7. เมื่อถามว่ารัฐบาลมีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 90.6 เห็นว่ารัฐบาลมีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจุดอ่อนที่ประชาชนกล่าวถึงมากที่สุดคือ ขาดการวางแผนและประสานงานที่รัดกุม (ร้อยละ 50.1) รองลงมาได้แก่การไม่เข้าใจต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา (ร้อยละ 47.5) ขาดทีมงานผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 35.7) การดำเนินงานด้านการข่าวบกพร่อง (ร้อยละ 22.2) มอบหมายบุคคลผู้รับผิดชอบไม่เหมาะสม (ร้อยละ 22.0) และรัฐบาลใจแคบไม่รับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย (ร้อยละ 18.6) ตามลำดับ มีที่ระบุว่ารัฐบาลไม่มีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพียงร้อยละ 9.4
8. สำหรับหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาภาคใต้ในสายตาประชาชน ได้แก่ การดึงคนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ร้อยละ 55.9 รองลงมาคือการทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมความเชื่อของคนในท้องถิ่น ร้อยละ 50.4 การสร้างงานฝึกอาชีพให้มีรายได้ ร้อยละ 30.7 การกำหนดผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาให้ชัดเจนต่อเนื่อง ร้อยละ 29.2 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยงานราชการในพื้นที่ให้เหมาะสม ร้อยละ 26.5 และอื่นๆ อีกร้อยละ 2.5
9. สำหรับความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.0 ค่อนข้างเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาได้ในที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 42.5 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 7.1 เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 5.4 ไม่เชื่อมั่นเลย
10. หากรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ลุล่วงไปได้ก่อนครบวาระ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าท่านจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 65.4 ยังคงจะเลือกพรรคไทยรักไทย โดยให้เหตุผลว่า เพื่อจะได้มาแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 33.9 ไม่มีพรรคการเมืองอื่นที่ดีกว่าพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 18.3 พรรคการเมืองไหนก็คงแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ ร้อยละ 11.3 และเหตุผลอื่นอีกร้อยละ 1.9ในขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าจะไม่เลือกพรรคไทยรัก
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 654 47.4
หญิง 726 52.6
อายุ :
18 - 25 ปี 400 29.0
26 - 35 ปี 407 29.5
36 - 45 ปี 395 28.6
46ปีขึ้นไป 178 12.9
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 139 10.1
มัธยมศึกษา 274 19.9
ปวช. 118 8.6
ปวส./อนุปริญญา 129 9.3
ปริญญาตรี 635 46.0
สูงกว่าปริญญาตรี 85 6.2
อาชีพ :
รับราชการ 118 8.6
รัฐวิสาหกิจ 103 7.5
พนักงานบริษัทเอกชน 232 16.8
เจ้าของกิจการ 133 9.6
รับจ้างทั่วไป 176 12.8
ค้าขาย 224 16.2
นักศึกษา 258 18.7
พ่อบ้าน /แม่บ้าน 110 8.0
อื่น ๆ 26 1.9
ตารางที่ 2: ท่านได้ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ติดตามเป็นประจำ 741 53.7
ไม่ค่อยได้ติดตาม 639 46.3
ตารางที่ 3: ท่านรู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวหรือไม่เพียงใด
จำนวน ร้อยละ
กังวลมาก 391 28.3
ค่อนข้างกังวล 714 51.8
ไม่ค่อยกังวล 242 17.5
ไม่กังวลเลย 33 2.4
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบด้านใดต่อประเทศไทยมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 361 26.3
เสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ 267 19.3
ความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน 221 16.0
ธุรกิจท่องเที่ยว 191 13.8
เศรษฐกิจการค้า การลงทุน 173 12.5
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก 152 11.0
อื่นๆ 15 1.1
ตารางที่ 5: ปัจจุบันนี้ท่านคิดว่ารัฐบาลแก้ปัญหาดังกล่าวมาถูกทางแล้วหรือยัง
จำนวน ร้อยละ
ถูกทางแล้ว 352 25.5
ยังไม่ถูกทาง 595 43.1
ไม่แน่ใจ 433 31.4
ตารางที่ 6: ในภาพรวมนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ เมื่อต้นปี 2547 ท่านพึงพอใจการแก้ปัญหาที่ผ่านมา
ของรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 104 7.5
ค่อนข้างพอใจ 680 49.3
ไม่ค่อยพอใจ 533 38.6
ไม่พอใจเลย 63 4.6
ตารางที่ 7: ท่านเชื่อถือข้อมูลข่าวสารเรื่องดังกล่าวที่ได้รับการเปิดเผยจากรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
เชื่อถือมาก 102 7.4
ค่อนข้างเชื่อถือ 679 49.2
ไม่ค่อยเชื่อถือ 557 40.4
ไม่เชื่อถือเลย 42 3.0
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่ารัฐบาลมีจุดอ่อนในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีจุดอ่อน 1250 90.6
ไม่มีจุดอ่อน 130 9.4
จุดอ่อนในการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวของรัฐบาล คือ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
ขาดการวางแผน ประสานงานที่รัดกุม 691 50.1
ไม่เข้าใจต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา 656 47.5
ขาดทีมงานผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา 493 35.7
ดำเนินงานด้านการข่าวบกพร่อง 307 22.2
มอบหมายผู้รับผิดชอบไม่เหมาะสม 304 22.0
ใจแคบไม่รับฟังข้อมูลความคิดเห็นจากหลายฝ่าย 256 18.6
อื่นๆ 51 3.7
ตารางที่ 9: ท่านคิดว่าหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คืออะไร (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
การดึงคนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 771 55.9
การทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมความเชื่อของคนในท้องถิ่น 696 50.4
การสร้างงานฝึกอาชีพให้มีรายได้ 423 30.7
การกำหนดผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาให้ชัดเจนต่อเนื่อง 403 29.2
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยงานราชการในพื้นที่ 366 26.5
อื่นๆ 34 2.5
ตารางที่ 10: ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงไปได้
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 98 7.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น 621 45.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 587 42.5
ไม่เชื่อมั่นเลย 74 5.4
ตารางที่ 11: หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ลุล่วงไปได้ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า
ท่านจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ไม่เลือก 478 34.6
เลือก 902 65.4
สาเหตุที่จะเลือกพรรคไทยรักไทย เพราะ
จำนวน ร้อยละ
จะได้มาแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง 468 33.9
ไม่มีพรรคการเมืองอื่นดีกว่าพรรคไทยรักไทย 252 18.3
ไม่ว่าพรรคไหนก็แก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ 156 11.3
อื่นๆ 26 1.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-