วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
- ความพึงพอใจที่มีต่อผลงานของ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
- ความเห็นต่อการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
- การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่รัฐบาลกล่าวไว้ ได้หรือไม่
- การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือไม่อย่างไร
- การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จะส่งผลต่อคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทย หรือไม่อย่างไร
- ข้อเรียกร้องที่ประชาชนฝากถึง สว. และ สส.
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,193 คน เป็นชายร้อยละ 49.6 หญิงร้อยละ 50.4
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 12.0 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 35.9 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี
ร้อยละ 36.0 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี
และร้อยละ 16.1 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 2.5 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 5.4 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 4.5 ปวช.
ร้อยละ 12.1 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 62.8 ปริญญาตรี
และร้อยละ 12.7 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 22.4 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 22.8 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 32.1 พนักงานบริษัทเอกชน
และ ร้อยละ 22.7 เจ้าของกิจการ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง "ขึ้นเงินเดือน สว. และ สส. เหมาะสมหรือไม่"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 พฤศจิกายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 พฤศจิกายน 2547
ผลการสำรวจ
1. เมื่อสอบถามถึงผลงานที่ผ่านมาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โดยเปรียบเทียบระหว่างความพึงพอใจกับไม่พึงพอใจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.3 ไม่พอใจ (โดยแบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 39.8 และไม่พอใจเลย ร้อยละ 10.6) ขณะที่ร้อยละ 49.7 พอใจ (โดยร้อยละ 44.1 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 5.5 พอใจมาก)
2. ในส่วนผลงานที่ผ่านมาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ประชาชนร้อยละ 51.3 ไม่พอใจ (โดยแบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 39.1 และไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.2) ในขณะที่ร้อยละ 48.7 พอใจ (โดยร้อยละ 43.6 ค่อนข้างพอใจ และร้อยละ 5.1 พอใจมาก)
3. สำหรับกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 35.8 เห็นด้วย
โดยร้อยละ 22.4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า สว. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว
ร้อยละ 22.2 เห็นว่า ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ ร้อยละ 19.5 เห็นว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน ร้อยละ 18.5 เห็นว่า ผลงานของ สว. ที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน ร้อยละ 13.8 เห็นว่า จะทำให้ สว. เกรงใจรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อกลไกการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.6ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยนั้น ร้อยละ 33.8 ได้ให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ร้อยละ 26.5 เห็นว่า เป็นการตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อชาติ ร้อยละ 19.6 เห็นว่า เงินเดือน สว. ของไทยน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 17.6 เห็นว่า ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
4. การอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สส. นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 31.5เห็นด้วย โดยร้อยละ 27.4 ของกลุ่มตัวอย่างทีไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน ร้อยละ 24.1 เห็นว่า ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ ร้อยละ 23.5 เห็นว่า สส. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว ร้อยละ 20.9 เห็นว่า ผลงานที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน และเหตุผลอื่นอีกร้อยละ 4.1
ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยนั้น ร้อยละ 34.5 ได้ให้เหตุผลว่า เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ร้อยละ 21.9 เห็นว่า ตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 20.0 เห็นว่า ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว ร้อยละ 20.0 เห็นว่า เงินเดือน สส. ของไทยน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และเหตุผลอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.6
5. สำหรับการแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อน นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 เห็นว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. และ สส. ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่รัฐบาลกล่าวอ้างได้ร้อยละ 32.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 14.6 คิดว่าการขึ้นเงินเดือนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
6. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.8 เห็นว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ สว. และ สส. แต่อย่างใด ในขณะที่ร้อยละ 24.2 เห็นว่า จะทำให้การทำงานของ สว. และ สส. ดีขึ้น ร้อยละ 9.9 เห็นว่า จะทำให้แย่ลง และไม่มีความเห็น ร้อยละ 0.1
7. สำหรับผลที่มีต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.3 เห็นว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. และ สส. ในครั้งนี้ ไม่มีผลต่อคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 34.5 เห็นว่า ทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 17.1 เห็นว่า ทำให้คะแนนนิยมลดลง และร้อยละ 0.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับข้อเรียกร้องที่ประชาชนฝากถึง สว. อันดับแรก คือ อยากเห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมให้มากกว่านี้ รองลงมา ได้แก่ ให้เลิกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ให้ใส่ใจตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างจริงจังและตรงไปตรงมา ปรับปรุงมารยาทและพฤติกรรมส่วนตัวให้ดีขึ้น อย่าหลงติดกับอำนาจและเกียรติยศชื่อเสียงมากเกินไป และสุดท้ายคือ ควรรับผิดชอบการประชุมให้มากกว่าที่ผ่านมา
ส่วนข้อเรียกร้องถึง สส. ได้แก่ ให้ลดการคอร์รัปชันโกงกิน ทำงานเพื่อประชาชนให้จริงจังกว่าที่เป็นอยู่ ใส่ใจกับความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น อย่าหลงอำนาจ ขาดประชุมให้น้อยลง และลดกิจกรรมเพื่อความสุขส่วนตัว เช่น ตีกอล์ฟ ลงบ้าง
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 592 49.6
หญิง 601 50.4
อายุ :
18 - 25 ปี 143 12.0
26 - 35 ปี 428 35.9
36 - 45 ปี 430 36.0
46 ปีขึ้นไป 192 16.1
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 30 2.5
มัธยมศึกษา 64 5.4
ปวช. 54 4.5
ปวส./อนุปริญญา 144 12.1
ปริญญาตรี 749 62.8
สูงกว่าปริญญาตรี 152 12.7
อาชีพ :
รับราชการ 267 22.4
รัฐวิสาหกิจ 272 22.8
พนักงานบริษัทเอกชน 383 32.1
เจ้าของกิจการ 271 22.7
ตารางที่ 2: ที่ผ่านมาท่านพึงพอใจผลงานของ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 66 5.5
ค่อนข้างพอใจ 526 44.1
ไม่ค่อยพอใจ 474 39.8
ไม่พอใจเลย 127 10.6
ตารางที่ 3: ที่ผ่านมาท่านพึงพอใจผลงานของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) มากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 61 5.1
ค่อนข้างพอใจ 520 43.6
ไม่ค่อยพอใจ 467 39.1
ไม่พอใจเลย 145 12.2
ตารางที่ 4 : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา(สว.)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 427 35.8
ไม่เห็นด้วย 766 64.2
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
จำนวน ร้อยละ
สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อประชาชน 221 33.8
ตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อชาติ 173 26.5
เงินเดือน สว. ของไทยน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 128 19.6
ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว 115 17.6
อื่น ๆ 17 2.5
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา(สว.)
จำนวน ร้อยละ
สว. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว 331 22.4
ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ 328 22.2
ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน 289 19.5
ผลงานของ สว. ที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน 274 18.5
ทำให้ สว. เกรงใจรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อกลไกการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย 204 13.8
อื่น ๆ 53 3.6
ตารางที่ 5 : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 376 31.5
ไม่เห็นด้วย 817 68.5
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
จำนวน ร้อยละ
สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อประชาชน 199 34.5
ตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ 126 21.9
ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว 115 20.0
เงินเดือน สส. ของไทยน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 115 20.0
อื่น ๆ 21 3.6
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
จำนวน ร้อยละ
ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน 412 27.4
ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ 362 24.1
สส. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว 353 23.5
ผลงานที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน 313 20.9
อื่น ๆ 61 4.1
ตารางที่ 6 : ท่านคิดว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. และ สส. ในครั้งนี้ จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่รัฐบาลกล่าวอ้างได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 174 14.6
ไม่ได้ 630 52.8
ไม่แน่ใจ 387 32.6
ตารางที่ 7 : ท่านคิดว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญในครั้งนี้ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสว. และ สส. อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 289 24.2
แย่ลง 118 9.9
เหมือนเดิม 785 65.8
ไม่มีความเห็น 1 0.1
ตารางที่ 8 : ท่านคิดว่าการขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญ ครั้งนี้ จะส่งผลต่อคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทยอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
เพิ่มขึ้น 411 34.5
ลดลง 204 17.1
ไม่เปลี่ยนแปลง 576 48.3
ไม่มีความเห็น 2 0.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
- ความพึงพอใจที่มีต่อผลงานของ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
- ความเห็นต่อการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
- การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่รัฐบาลกล่าวไว้ ได้หรือไม่
- การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือไม่อย่างไร
- การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จะส่งผลต่อคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทย หรือไม่อย่างไร
- ข้อเรียกร้องที่ประชาชนฝากถึง สว. และ สส.
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,193 คน เป็นชายร้อยละ 49.6 หญิงร้อยละ 50.4
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 12.0 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 35.9 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี
ร้อยละ 36.0 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี
และร้อยละ 16.1 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 2.5 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 5.4 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 4.5 ปวช.
ร้อยละ 12.1 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 62.8 ปริญญาตรี
และร้อยละ 12.7 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 22.4 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 22.8 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 32.1 พนักงานบริษัทเอกชน
และ ร้อยละ 22.7 เจ้าของกิจการ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง "ขึ้นเงินเดือน สว. และ สส. เหมาะสมหรือไม่"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 พฤศจิกายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 พฤศจิกายน 2547
ผลการสำรวจ
1. เมื่อสอบถามถึงผลงานที่ผ่านมาของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โดยเปรียบเทียบระหว่างความพึงพอใจกับไม่พึงพอใจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.3 ไม่พอใจ (โดยแบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 39.8 และไม่พอใจเลย ร้อยละ 10.6) ขณะที่ร้อยละ 49.7 พอใจ (โดยร้อยละ 44.1 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 5.5 พอใจมาก)
2. ในส่วนผลงานที่ผ่านมาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ประชาชนร้อยละ 51.3 ไม่พอใจ (โดยแบ่งเป็นไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 39.1 และไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.2) ในขณะที่ร้อยละ 48.7 พอใจ (โดยร้อยละ 43.6 ค่อนข้างพอใจ และร้อยละ 5.1 พอใจมาก)
3. สำหรับกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 35.8 เห็นด้วย
โดยร้อยละ 22.4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า สว. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว
ร้อยละ 22.2 เห็นว่า ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ ร้อยละ 19.5 เห็นว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน ร้อยละ 18.5 เห็นว่า ผลงานของ สว. ที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน ร้อยละ 13.8 เห็นว่า จะทำให้ สว. เกรงใจรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อกลไกการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.6ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยนั้น ร้อยละ 33.8 ได้ให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ร้อยละ 26.5 เห็นว่า เป็นการตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อชาติ ร้อยละ 19.6 เห็นว่า เงินเดือน สว. ของไทยน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 17.6 เห็นว่า ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
4. การอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สส. นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 31.5เห็นด้วย โดยร้อยละ 27.4 ของกลุ่มตัวอย่างทีไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน ร้อยละ 24.1 เห็นว่า ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ ร้อยละ 23.5 เห็นว่า สส. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว ร้อยละ 20.9 เห็นว่า ผลงานที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน และเหตุผลอื่นอีกร้อยละ 4.1
ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยนั้น ร้อยละ 34.5 ได้ให้เหตุผลว่า เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ร้อยละ 21.9 เห็นว่า ตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 20.0 เห็นว่า ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว ร้อยละ 20.0 เห็นว่า เงินเดือน สส. ของไทยน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และเหตุผลอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.6
5. สำหรับการแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อน นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 เห็นว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. และ สส. ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่รัฐบาลกล่าวอ้างได้ร้อยละ 32.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 14.6 คิดว่าการขึ้นเงินเดือนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
6. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.8 เห็นว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ สว. และ สส. แต่อย่างใด ในขณะที่ร้อยละ 24.2 เห็นว่า จะทำให้การทำงานของ สว. และ สส. ดีขึ้น ร้อยละ 9.9 เห็นว่า จะทำให้แย่ลง และไม่มีความเห็น ร้อยละ 0.1
7. สำหรับผลที่มีต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.3 เห็นว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. และ สส. ในครั้งนี้ ไม่มีผลต่อคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 34.5 เห็นว่า ทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 17.1 เห็นว่า ทำให้คะแนนนิยมลดลง และร้อยละ 0.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับข้อเรียกร้องที่ประชาชนฝากถึง สว. อันดับแรก คือ อยากเห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมให้มากกว่านี้ รองลงมา ได้แก่ ให้เลิกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ให้ใส่ใจตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างจริงจังและตรงไปตรงมา ปรับปรุงมารยาทและพฤติกรรมส่วนตัวให้ดีขึ้น อย่าหลงติดกับอำนาจและเกียรติยศชื่อเสียงมากเกินไป และสุดท้ายคือ ควรรับผิดชอบการประชุมให้มากกว่าที่ผ่านมา
ส่วนข้อเรียกร้องถึง สส. ได้แก่ ให้ลดการคอร์รัปชันโกงกิน ทำงานเพื่อประชาชนให้จริงจังกว่าที่เป็นอยู่ ใส่ใจกับความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น อย่าหลงอำนาจ ขาดประชุมให้น้อยลง และลดกิจกรรมเพื่อความสุขส่วนตัว เช่น ตีกอล์ฟ ลงบ้าง
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 592 49.6
หญิง 601 50.4
อายุ :
18 - 25 ปี 143 12.0
26 - 35 ปี 428 35.9
36 - 45 ปี 430 36.0
46 ปีขึ้นไป 192 16.1
กำลังศึกษา:
ประถมศึกษา 30 2.5
มัธยมศึกษา 64 5.4
ปวช. 54 4.5
ปวส./อนุปริญญา 144 12.1
ปริญญาตรี 749 62.8
สูงกว่าปริญญาตรี 152 12.7
อาชีพ :
รับราชการ 267 22.4
รัฐวิสาหกิจ 272 22.8
พนักงานบริษัทเอกชน 383 32.1
เจ้าของกิจการ 271 22.7
ตารางที่ 2: ที่ผ่านมาท่านพึงพอใจผลงานของ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 66 5.5
ค่อนข้างพอใจ 526 44.1
ไม่ค่อยพอใจ 474 39.8
ไม่พอใจเลย 127 10.6
ตารางที่ 3: ที่ผ่านมาท่านพึงพอใจผลงานของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) มากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
พอใจมาก 61 5.1
ค่อนข้างพอใจ 520 43.6
ไม่ค่อยพอใจ 467 39.1
ไม่พอใจเลย 145 12.2
ตารางที่ 4 : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา(สว.)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 427 35.8
ไม่เห็นด้วย 766 64.2
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
จำนวน ร้อยละ
สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อประชาชน 221 33.8
ตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อชาติ 173 26.5
เงินเดือน สว. ของไทยน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 128 19.6
ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว 115 17.6
อื่น ๆ 17 2.5
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกวุฒิสภา(สว.)
จำนวน ร้อยละ
สว. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว 331 22.4
ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ 328 22.2
ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน 289 19.5
ผลงานของ สว. ที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน 274 18.5
ทำให้ สว. เกรงใจรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อกลไกการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย 204 13.8
อื่น ๆ 53 3.6
ตารางที่ 5 : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 376 31.5
ไม่เห็นด้วย 817 68.5
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
จำนวน ร้อยละ
สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อประชาชน 199 34.5
ตอบแทนกลุ่มบุคคลที่ทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ 126 21.9
ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว 115 20.0
เงินเดือน สส. ของไทยน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 115 20.0
อื่น ๆ 21 3.6
เหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
จำนวน ร้อยละ
ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมืองด้วยกัน 412 27.4
ยังไม่ควรเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศในยามนี้ 362 24.1
สส. ได้สิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลอาชีพอื่นอยู่แล้ว 353 23.5
ผลงานที่ผ่านมายังไม่คุ้มค่าเงินเดือน 313 20.9
อื่น ๆ 61 4.1
ตารางที่ 6 : ท่านคิดว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญแก่ สว. และ สส. ในครั้งนี้ จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนตามที่รัฐบาลกล่าวอ้างได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 174 14.6
ไม่ได้ 630 52.8
ไม่แน่ใจ 387 32.6
ตารางที่ 7 : ท่านคิดว่า การขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญในครั้งนี้ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสว. และ สส. อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 289 24.2
แย่ลง 118 9.9
เหมือนเดิม 785 65.8
ไม่มีความเห็น 1 0.1
ตารางที่ 8 : ท่านคิดว่าการขึ้นเงินเดือนและให้บำเหน็จบำนาญ ครั้งนี้ จะส่งผลต่อคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทยอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
เพิ่มขึ้น 411 34.5
ลดลง 204 17.1
ไม่เปลี่ยนแปลง 576 48.3
ไม่มีความเห็น 2 0.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-