ผู้สมัครที่คนกรุงเทพฯ อยากให้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. มากที่สุดอันดับแรกคือ เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 34.8 รองลงมาคือเบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ร้อยละ 27.7 และเบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์
เตมียาเวส ร้อยละ 4.5 ขณะที่ร้อยละ 18.2 ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 10.1 บอกว่าตัดสินใจแล้วแต่ขอไม่เปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่เลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2 อันดับแรกที่มีคะแนนมากที่สุด ในคำถามที่ว่า “ในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งมีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครเบอร์อื่นหรือไม่” พบว่า กลุ่มที่เลือกผู้สมัครเบอร์ 16 คิดเป็นร้อยละ 19.7 ระบุว่า “มีโอกาสเปลี่ยนใจ” ซึ่งเป็นสัดส่วนพอๆ กับกลุ่มที่เลือกผู้สมัครเบอร์ 9 คิดเป็นร้อยละ 18.5 ที่ระบุว่า “มีโอกาสเปลี่ยนใจ” เช่นเดียวกัน
เมื่อถามคนกรุงเทพฯ ว่าในพื้นที่ละแวกบ้านของท่าน มีการติดต่อซื้อเสียงหรือไม่ ร้อยละ 72.1 ระบุว่า ไม่มีการซื้อเสียง ขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุว่ามีการซื้อเสียง และร้อยละ 21.1 ระบุว่าไม่ทราบ
สำหรับความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 47.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
รายละเอียดดังต่อไปนี้
รายชื่อผู้สัคร สำรวจวันที่ 21 -23 ม.ค.56 สำรวจวันที่ 1-5 ก.พ.56 สำรวจวันที่ 11-17 ก.พ.56 (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ 23.9 35.2 34.8 เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร 23.6 28.3 27.7 เบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส 6.5 7.0 4.5 เบอร์ 17 คุณสุหฤท สยามวาลา 1.3 1.7 1.1 เบอร์ 10 คุณโฆสิต สุวินิจจิต 0.5 0.8 0.9 ผู้สมัครคนอื่นๆ 1.0 0.6 0.5 งดออกเสียง 1.1 1.7 2.2 ไม่เปิดเผย 42.1 24.7 10.1 ยังไม่ตัดสินใจ 18.2
ทั้งนี้เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่เลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2 อันดับแรกที่มีคะแนนมากที่สุด ในคำถามที่ว่า “ในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งมีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครเบอร์อื่นหรือไม่” พบว่า
กลุ่มผู้ที่เลือก มีโอกาสเปลี่ยนใจ(ร้อยละ) ไม่เปลี่ยนใจ(ร้อยละ) เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ 18.5 81.5 เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร 19.7 80.3 2. การติดต่อซื้อเสียงจากคนในพื้นที่ละแวกบ้านของท่าน พบว่า มีการซื้อเสียง ร้อยละ 6.8 ไม่มีการซื้อเสียง ร้อยละ 72.1 ไม่ทราบ ร้อยละ 21.1 3. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 35.9 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 16.5) ร้อยละ 52.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 39.6 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 8.0) ร้อยละ 47.6
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี 2556
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,637 คน เป็นเพศชายร้อยละ 41.8 และเพศหญิงร้อยละ 58.2
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 684 41.8 หญิง 953 58.2 รวม 1,637 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 228 13.9 26 - 35 ปี 308 18.8 36 - 45 ปี 313 19.1 46 ปีขึ้นไป 788 48.2 รวม 1,637 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 1,059 64.7 ปริญญาตรี 464 28.3 สูงกว่าปริญญาตรี 114 7.0 รวม 1,637 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 101 6.2 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 276 16.9 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 461 28.1 รับจ้างทั่วไป 194 11.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 443 27.1 นักศึกษา 113 6.9 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 49 2.9 รวม 1,637 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--