วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
- เพื่อคาดการณ์งบประมาณในการซื้อของขวัญปีใหม่ของคนกรุงฯ
- ลักษณะการซื้อกระเช้าของขวัญ
- ของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้กับบุคคลต่าง ๆ รวมถึงของขวัญปีใหม่ที่อยากได้ และไม่อยากได้มากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อของขวัญมอบแก่กันในเทศกาลปีใหม่
- คนกรุงฯ ทำอย่างไรกับของขวัญปีใหม่ที่ไม่ถูกใจ
- คนกรุงฯ อยากได้อะไรเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,164 คน เป็นชายร้อยละ 51.5 หญิงร้อยละ 48.5
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 19.0 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 35.6 มีอายุระหว่าง 26 — 35 ปี
ร้อยละ 27.6 มีอายุระหว่าง 36 — 45 ปี
และร้อยละ 17.8 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 23.8 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 19.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 32.8 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 24.2 เจ้าของกิจการ
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 5.3 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 30.2 มีรายได้ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 36.3 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท
ร้อยละ 13.1 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท
ร้อยละ 10.1 มีรายได้ 30,001-50,000 บาท
และร้อยละ 5.2 มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “ ของขวัญปีใหม่ที่ถูกใจคนกรุงฯ ”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 ธันวาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. เทศกาลปีใหม่นี้กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 41.7 คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่เกิน 1,000 บาทในการซื้อของขวัญปีใหม่มอบให้คนรู้จัก
ร้อยละ 36.2 จะใช้งบประมาณ 1,001-2,500 บาท
ร้อยละ 14.4 จะใช้งบประมาณ 2,501 — 5,000 บาท
ร้อยละ 3.1 จะใช้งบประมาณ 5,001 — 7,500 บาท
ร้อยละ 2.9 จะใช้งบประมาณ 7,501-10,000 บาท
และร้อยละ 1.7 ใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 บาท
เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยพบว่า เทศกาลปีใหม่นี้คนกรุงเทพฯ ที่ทำงานแล้วจะใช้งบประมาณในการซื้อของขวัญปีใหม่เฉลี่ยคนละ 1,998 บาท
2. สำหรับของขวัญปีใหม่ในรูปแบบของกระเช้าของขวัญนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ
ร้อยละ 51.5 นิยมซื้อกระเช้าสำเร็จรูป
ในขณะที่ร้อยละ 40.1 จะซื้อของแล้วนำมาจัดกระเช้าเอง
สำหรับกลุ่มที่ระบุว่าจะซื้อของแล้วนำมาจัดกระเช้าเองนั้น ให้เหตุผลว่า
สามารถเลือกเฉพาะของที่ต้องการได้ (ร้อยละ 51.1)
ราคาถูกกว่าซื้อกระเช้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 28.8)
กลัวของในกระเช้าสำเร็จรูปเก่าหมดอายุ (ร้อยละ 16.0)
และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.1
3. เมื่อถามถึงของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้ผู้อื่น รวมถึงของขวัญที่อยากได้และไม่อยากได้มากที่สุด พบว่า
- ของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้ผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า
ร้อยละ 53.4 นิยมมอบเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ร้อยละ 14.3 มอบผลไม้ไทย
ร้อยละ 4.4 มอบสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ร้อยละ 4.1 มอบสุรา
ร้อยละ 3.8 มอบผลไม้นอก
ร้อยละ 3.8 มอบเสื้อผ้า
ร้อยละ 3.7 มอบอาหารกระป๋อง/ของแห้ง
- ของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้ผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่า
ร้อยละ 29.8 มอบขนมเค้ก/คุ้กกี้
ร้อยละ 17.4 มอบของประดับบ้าน/ของตั้งโชว์
ร้อยละ 8.4 มอบผลไม้ไทย
ร้อยละ 6.8 มอบสุรา
ร้อยละ 5.6 มอบตุ๊กตา/ของเล่น
ร้อยละ 5.4 มอบเสื้อผ้า
ร้อยละ 4.8 มอบอาหารกระป๋อง/ของแห้ง
- ของขวัญปีใหม่ที่อยากได้มากที่สุด
ร้อยละ 27.9 อยากได้สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน
ร้อยละ 11.3 อยากได้เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ร้อยละ 6.5 อยากได้ทอง/เครื่องประดับ
ร้อยละ 6.3 อยากได้เงิน
ร้อยละ 5.9 อยากได้ผลไม้ไทย
ร้อยละ 5.8 อยากได้สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- ของขวัญปีใหม่ที่ไม่อยากได้มากที่สุด
ร้อยละ 46.3 ไม่อยากได้สุรา
ร้อยละ 12.0 ไม่อยากได้ขนมเค้ก/คุ้กกี้
ร้อยละ 8.3 ไม่อยากได้อาหารกระป๋อง/ของแห้ง
ร้อยละ 7.9 ไม่อยากได้ของประดับบ้าน/ของตั้งโชว์
และร้อยละ 5.3 ไม่อยากได้ผลไม้นอกทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับหญิง พบว่า สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเป็นของขวัญปีใหม่ที่ทั้งสองเพศ อยากได้มากที่สุดเป็นอันดับแรก โดยเพศหญิงมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเพศชาย ร้อยละ 12.8 ขณะที่เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ เพศชายมีเปอร์เซ็นต์อยากได้สูงกว่าเพศหญิง ร้อยละ 6.1 ส่วนของขวัญปีใหม่ที่ไม่อยากได้มากที่สุดทั้งเพศชายและเพศหญิงต่างระบุว่าสุราคือของขวัญปีใหม่ที่ไม่อยากได้มากที่สุดเป็นอันดับแรกเช่นกัน แต่เพศหญิงมีเปอร์เซ็นต์ที่ไม่อยากได้มากกว่าเพศชายถึงร้อยละ 32.0
ประเด็นที่น่าสนใจคือ สุรา เป็นของขวัญที่ผู้รับไม่อยากได้มากที่สุด แต่กลับเป็นของขวัญที่คนกรุงฯ นิยมมอบให้คนรู้จักในช่วงเทศกาลปีใหม่
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับค่านิยมของคนกรุงฯ ที่มีต่อผลไม้ไทย โดย ผลไม้ไทยเป็นของขวัญในลำดับ 5 ที่ผู้รับอยากได้ นำหน้าผลไม้นอกอยู่ ร้อยละ 4.4 และผู้มอบก็นิยมมอบให้กับทั้งผู้ที่มีอาวุโสมากกว่าและอาวุโสน้อยกว่า
4. กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 80.3 ระบุว่า ที่ผ่านมาของขวัญปีใหม่ที่ได้รับส่วนใหญ่ถูกใจ
อีกร้อยละ 19.7 ระบุว่า ไม่ถูกใจ
5. โดยกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 51.7 ยืนยันว่า หากได้รับของขวัญปีใหม่ที่ไม่ถูกใจ ก็จะเก็บไว้กินไว้ใช้เอง
ในขณะที่ร้อยละ 38.0 จะนำไปมอบต่อให้ผู้อื่น
ร้อยละ 9.0 นำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้
ร้อยละ 1.0 ทิ้งไป และอื่น ๆ อีกร้อยละ 0.3
6. สำหรับของขวัญปีใหม่ที่อยากได้จากรัฐบาลนั้น
ร้อยละ 20.6 อยากให้เพิ่มค่าแรงและขึ้นเงินเดือนข้าราชการเหมือนที่ขึ้นให้กับ สว.และ สส. รองลงมา
ร้อยละ 11.6 อยากให้แก้ไขปัญหาจราจร
ร้อยละ 10.2 ให้แก้ปัญหาค่าครองชีพและปัญหาของแพง
ร้อยละ 7.9 ให้แก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดความสงบสุข
ร้อยละ 7.8 ให้แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
ร้อยละ 7.2 ให้รัฐบาลเลิกสร้างภาพและมีความจริงใจในการทำงานเพื่อประชาชนมากกว่านี้
ร้อยละ 6.6 ให้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นโดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
ร้อยละ 4.4 ให้แก้ปัญหาราคาน้ำมัน
ร้อยละ 3.8 ให้ลดภาษี ร้อยละ 2.5 ให้แก้ปัญหาการว่างงาน
ร้อยละ 2.4 ให้แก้ปัญหาความยากจน
ร้อยละ 2.3 ให้สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ร้อยละ 2.1 ให้ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กไทย
ร้อยละ 1.7 ให้แก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม
ร้อยละ 1.7 ให้แก้ปัญหายาเสพติด
และอื่นๆ อีกร้อยละ 7.2
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 599 51.5
หญิง 565 48.5
อายุ :
18 — 25 ปี 221 19
26 — 35 ปี 414 35.6
36 — 45 ปี 321 27.6
46ปีขึ้นไป 208 17.8
อาชีพ :
รับราชการ 276 23.8
รัฐวิสาหกิจ 224 19.2
พนักงานบริษัทเอกชน 382 32.8
เจ้าของกิจการ 282 24.2
รายได้ :
ต่ำกว่า 5,000 บาท 62 5.3
5,001 — 10,000 บาท 351 30.2
10,001 — 20,000 บาท 422 36.3
20,001 — 30,000 บาท 152 13.1
30,001 — 50,000 บาท 117 10.1
มากกว่า 50,000 บาท 60 5.2
ตารางที่ 2: ปีใหม่นี้ท่านคาดว่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการซื้อของขวัญให้คนรู้จัก
จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 1,000 บาท 485 41.7
1,001 — 2,500 บาท 421 36.2
2,501 — 5,000 บาท 168 14.4
5,001 — 7,500 บาท 36 3.1
7,501 — 10,000 บาท 34 2.9
มากกว่า 10,000 บาท 20 1.7
ตารางที่ 3: ส่วนใหญ่ท่านซื้อกระเช้าของขวัญสำเร็จรูปหรือซื้อของมาจัดกระเช้าเอง
จำนวน ร้อยละ
ไม่ซื้อกระเช้า 98 8.4
ซื้อกระเช้าสำเร็จรูป 599 51.5
ซื้อของมาจัดกระเช้าเอง 467 40.1
เนื่องจาก :
กลัวเป็นของเก่าหมดอายุ 110 16
สามารถเลือกเฉพาะของที่ต้องการได้ 358 51.1
ราคาถูกกว่า 198 28.8
อื่น ๆ 21 3.1
ตารางที่ 4: โปรดเลือกคำตอบที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุดเพียงคำตอบเดียว
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านนิยมมอบให้ผู้มีอาวุโสมากกว่า
จำนวน ร้อยละ
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 622 53.4
ผลไม้ไทย 167 14.3
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 51 4.4
สุรา 48 4.1
ผลไม้นอก 44 3.8
เสื้อผ้า 44 3.8
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 43 3.7
ของประดับบ้าน / ของตั้งโชว์ 42 3.6
ขนมเค้ก / คุ้กกี้ 29 2.5
เงิน 16 1.4
การ์ด 8 0.7
อื่น ๆ 50 4.3
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านนิยมมอบให้ผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
จำนวน ร้อยละ
ขนมเค้ก / คุ้กกี้ 347 29.8
ของประดับบ้าน / ของตั้งโชว์ 202 17.4
ผลไม้ไทย 98 8.4
สุรา 79 6.8
ตุ๊กตา/ ของเล่น 66 5.6
เสื้อผ้า 63 5.4
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 56 4.8
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 52 4.5
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 43 3.7
การ์ด 17 1.5
ของใช้ 18 1.5
ผลไม้นอก 15 1.3
อื่น ๆ 108 9.3
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านอยากได้มากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน 324 27.9
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 131 11.3
ทอง/ เครื่องประดับ 76 6.5
เงิน 74 6.3
ผลไม้ไทย 68 5.9
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 67 5.8
รถยนต์ 57 4.9
สุรา 35 3
ความรัก 29 2.5
สุขภาพที่ดี 28 2.4
ขนมเค้ก / คุ้กกี้ 27 2.3
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 20 1.7
เสื้อผ้า 18 1.6
ผลไม้นอก 17 1.5
บ้านและที่ดิน 14 1.2
อื่น ๆ 179 15.2
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านไม่อยากได้มากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
สุรา 539 46.3
ขนมเค้ก / คุกกี้ 140 12
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 97 8.3
ของประดับบ้าน / ของตั้งโชว์ 92 7.9
ผลไม้นอก 62 5.3
เสื้อผ้า 33 2.8
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 31 2.7
ผลไม้ไทย 29 2.5
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 29 2.5
อื่น ๆ 112 9.7
ตารางที่ 5: ที่ผ่านมาของขวัญปีใหม่ที่ได้รับส่วนใหญ่ถูกใจท่านหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ถูกใจ 935 80.3
ไม่ถูกใจ 229 19.7
ตารางที่ 6: ท่านทำอย่างไรกับของขวัญปีใหม่ที่ไม่ถูกใจ
จำนวน ร้อยละ
เก็บไว้กิน-ใช้เอง 592 51.7
มอบต่อให้ผู้อื่น 435 38.0
นำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ 104 9. 0
ทิ้งไป 11 1.0
อื่น ๆ 3 0.3
ตารางที่ 7: ท่านอยากได้อะไรเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
จำนวน ร้อยละ
ต้องการให้ขึ้นเงินเดือนและค่าแรงเหมือนที่ขึ้นให้ สว. และ สส. 240 20.6
แก้ปัญหาจราจร 135 11.6
แก้ปัญหาค่าครองชีพ/ ปัญหาของแพง 119 10.2
ทำให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุข 92 7.9
แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน 91 7.8
ให้เลิกสร้างภาพและจริงใจในการทำงานเพื่อประชาชน 84 7.2
พัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ 76 6.6
แก้ปัญหาราคาน้ำมัน 51 4.4
ลดภาษี 44 3.8
แก้ปัญหาการว่างงาน 29 2.5
แก้ปัญหาความยากจน 28 2.4
สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 27 2.3
ขยายโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทย 25 2.1
แก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม 20 1.7
แก้ปัญหายาเสพติด 20 1.7
อื่นๆ 83 7.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
- เพื่อคาดการณ์งบประมาณในการซื้อของขวัญปีใหม่ของคนกรุงฯ
- ลักษณะการซื้อกระเช้าของขวัญ
- ของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้กับบุคคลต่าง ๆ รวมถึงของขวัญปีใหม่ที่อยากได้ และไม่อยากได้มากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อของขวัญมอบแก่กันในเทศกาลปีใหม่
- คนกรุงฯ ทำอย่างไรกับของขวัญปีใหม่ที่ไม่ถูกใจ
- คนกรุงฯ อยากได้อะไรเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,164 คน เป็นชายร้อยละ 51.5 หญิงร้อยละ 48.5
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 19.0 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 35.6 มีอายุระหว่าง 26 — 35 ปี
ร้อยละ 27.6 มีอายุระหว่าง 36 — 45 ปี
และร้อยละ 17.8 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 23.8 มีอาชีพรับราชการ
ร้อยละ 19.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 32.8 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 24.2 เจ้าของกิจการ
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 5.3 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 30.2 มีรายได้ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 36.3 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท
ร้อยละ 13.1 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท
ร้อยละ 10.1 มีรายได้ 30,001-50,000 บาท
และร้อยละ 5.2 มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “ ของขวัญปีใหม่ที่ถูกใจคนกรุงฯ ”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 ธันวาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. เทศกาลปีใหม่นี้กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 41.7 คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่เกิน 1,000 บาทในการซื้อของขวัญปีใหม่มอบให้คนรู้จัก
ร้อยละ 36.2 จะใช้งบประมาณ 1,001-2,500 บาท
ร้อยละ 14.4 จะใช้งบประมาณ 2,501 — 5,000 บาท
ร้อยละ 3.1 จะใช้งบประมาณ 5,001 — 7,500 บาท
ร้อยละ 2.9 จะใช้งบประมาณ 7,501-10,000 บาท
และร้อยละ 1.7 ใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 บาท
เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยพบว่า เทศกาลปีใหม่นี้คนกรุงเทพฯ ที่ทำงานแล้วจะใช้งบประมาณในการซื้อของขวัญปีใหม่เฉลี่ยคนละ 1,998 บาท
2. สำหรับของขวัญปีใหม่ในรูปแบบของกระเช้าของขวัญนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ
ร้อยละ 51.5 นิยมซื้อกระเช้าสำเร็จรูป
ในขณะที่ร้อยละ 40.1 จะซื้อของแล้วนำมาจัดกระเช้าเอง
สำหรับกลุ่มที่ระบุว่าจะซื้อของแล้วนำมาจัดกระเช้าเองนั้น ให้เหตุผลว่า
สามารถเลือกเฉพาะของที่ต้องการได้ (ร้อยละ 51.1)
ราคาถูกกว่าซื้อกระเช้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 28.8)
กลัวของในกระเช้าสำเร็จรูปเก่าหมดอายุ (ร้อยละ 16.0)
และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.1
3. เมื่อถามถึงของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้ผู้อื่น รวมถึงของขวัญที่อยากได้และไม่อยากได้มากที่สุด พบว่า
- ของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้ผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า
ร้อยละ 53.4 นิยมมอบเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ร้อยละ 14.3 มอบผลไม้ไทย
ร้อยละ 4.4 มอบสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ร้อยละ 4.1 มอบสุรา
ร้อยละ 3.8 มอบผลไม้นอก
ร้อยละ 3.8 มอบเสื้อผ้า
ร้อยละ 3.7 มอบอาหารกระป๋อง/ของแห้ง
- ของขวัญปีใหม่ที่นิยมมอบให้ผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่า
ร้อยละ 29.8 มอบขนมเค้ก/คุ้กกี้
ร้อยละ 17.4 มอบของประดับบ้าน/ของตั้งโชว์
ร้อยละ 8.4 มอบผลไม้ไทย
ร้อยละ 6.8 มอบสุรา
ร้อยละ 5.6 มอบตุ๊กตา/ของเล่น
ร้อยละ 5.4 มอบเสื้อผ้า
ร้อยละ 4.8 มอบอาหารกระป๋อง/ของแห้ง
- ของขวัญปีใหม่ที่อยากได้มากที่สุด
ร้อยละ 27.9 อยากได้สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน
ร้อยละ 11.3 อยากได้เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ร้อยละ 6.5 อยากได้ทอง/เครื่องประดับ
ร้อยละ 6.3 อยากได้เงิน
ร้อยละ 5.9 อยากได้ผลไม้ไทย
ร้อยละ 5.8 อยากได้สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- ของขวัญปีใหม่ที่ไม่อยากได้มากที่สุด
ร้อยละ 46.3 ไม่อยากได้สุรา
ร้อยละ 12.0 ไม่อยากได้ขนมเค้ก/คุ้กกี้
ร้อยละ 8.3 ไม่อยากได้อาหารกระป๋อง/ของแห้ง
ร้อยละ 7.9 ไม่อยากได้ของประดับบ้าน/ของตั้งโชว์
และร้อยละ 5.3 ไม่อยากได้ผลไม้นอกทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับหญิง พบว่า สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเป็นของขวัญปีใหม่ที่ทั้งสองเพศ อยากได้มากที่สุดเป็นอันดับแรก โดยเพศหญิงมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเพศชาย ร้อยละ 12.8 ขณะที่เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ เพศชายมีเปอร์เซ็นต์อยากได้สูงกว่าเพศหญิง ร้อยละ 6.1 ส่วนของขวัญปีใหม่ที่ไม่อยากได้มากที่สุดทั้งเพศชายและเพศหญิงต่างระบุว่าสุราคือของขวัญปีใหม่ที่ไม่อยากได้มากที่สุดเป็นอันดับแรกเช่นกัน แต่เพศหญิงมีเปอร์เซ็นต์ที่ไม่อยากได้มากกว่าเพศชายถึงร้อยละ 32.0
ประเด็นที่น่าสนใจคือ สุรา เป็นของขวัญที่ผู้รับไม่อยากได้มากที่สุด แต่กลับเป็นของขวัญที่คนกรุงฯ นิยมมอบให้คนรู้จักในช่วงเทศกาลปีใหม่
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับค่านิยมของคนกรุงฯ ที่มีต่อผลไม้ไทย โดย ผลไม้ไทยเป็นของขวัญในลำดับ 5 ที่ผู้รับอยากได้ นำหน้าผลไม้นอกอยู่ ร้อยละ 4.4 และผู้มอบก็นิยมมอบให้กับทั้งผู้ที่มีอาวุโสมากกว่าและอาวุโสน้อยกว่า
4. กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 80.3 ระบุว่า ที่ผ่านมาของขวัญปีใหม่ที่ได้รับส่วนใหญ่ถูกใจ
อีกร้อยละ 19.7 ระบุว่า ไม่ถูกใจ
5. โดยกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 51.7 ยืนยันว่า หากได้รับของขวัญปีใหม่ที่ไม่ถูกใจ ก็จะเก็บไว้กินไว้ใช้เอง
ในขณะที่ร้อยละ 38.0 จะนำไปมอบต่อให้ผู้อื่น
ร้อยละ 9.0 นำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้
ร้อยละ 1.0 ทิ้งไป และอื่น ๆ อีกร้อยละ 0.3
6. สำหรับของขวัญปีใหม่ที่อยากได้จากรัฐบาลนั้น
ร้อยละ 20.6 อยากให้เพิ่มค่าแรงและขึ้นเงินเดือนข้าราชการเหมือนที่ขึ้นให้กับ สว.และ สส. รองลงมา
ร้อยละ 11.6 อยากให้แก้ไขปัญหาจราจร
ร้อยละ 10.2 ให้แก้ปัญหาค่าครองชีพและปัญหาของแพง
ร้อยละ 7.9 ให้แก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดความสงบสุข
ร้อยละ 7.8 ให้แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
ร้อยละ 7.2 ให้รัฐบาลเลิกสร้างภาพและมีความจริงใจในการทำงานเพื่อประชาชนมากกว่านี้
ร้อยละ 6.6 ให้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นโดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
ร้อยละ 4.4 ให้แก้ปัญหาราคาน้ำมัน
ร้อยละ 3.8 ให้ลดภาษี ร้อยละ 2.5 ให้แก้ปัญหาการว่างงาน
ร้อยละ 2.4 ให้แก้ปัญหาความยากจน
ร้อยละ 2.3 ให้สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ร้อยละ 2.1 ให้ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กไทย
ร้อยละ 1.7 ให้แก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม
ร้อยละ 1.7 ให้แก้ปัญหายาเสพติด
และอื่นๆ อีกร้อยละ 7.2
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 599 51.5
หญิง 565 48.5
อายุ :
18 — 25 ปี 221 19
26 — 35 ปี 414 35.6
36 — 45 ปี 321 27.6
46ปีขึ้นไป 208 17.8
อาชีพ :
รับราชการ 276 23.8
รัฐวิสาหกิจ 224 19.2
พนักงานบริษัทเอกชน 382 32.8
เจ้าของกิจการ 282 24.2
รายได้ :
ต่ำกว่า 5,000 บาท 62 5.3
5,001 — 10,000 บาท 351 30.2
10,001 — 20,000 บาท 422 36.3
20,001 — 30,000 บาท 152 13.1
30,001 — 50,000 บาท 117 10.1
มากกว่า 50,000 บาท 60 5.2
ตารางที่ 2: ปีใหม่นี้ท่านคาดว่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการซื้อของขวัญให้คนรู้จัก
จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 1,000 บาท 485 41.7
1,001 — 2,500 บาท 421 36.2
2,501 — 5,000 บาท 168 14.4
5,001 — 7,500 บาท 36 3.1
7,501 — 10,000 บาท 34 2.9
มากกว่า 10,000 บาท 20 1.7
ตารางที่ 3: ส่วนใหญ่ท่านซื้อกระเช้าของขวัญสำเร็จรูปหรือซื้อของมาจัดกระเช้าเอง
จำนวน ร้อยละ
ไม่ซื้อกระเช้า 98 8.4
ซื้อกระเช้าสำเร็จรูป 599 51.5
ซื้อของมาจัดกระเช้าเอง 467 40.1
เนื่องจาก :
กลัวเป็นของเก่าหมดอายุ 110 16
สามารถเลือกเฉพาะของที่ต้องการได้ 358 51.1
ราคาถูกกว่า 198 28.8
อื่น ๆ 21 3.1
ตารางที่ 4: โปรดเลือกคำตอบที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุดเพียงคำตอบเดียว
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านนิยมมอบให้ผู้มีอาวุโสมากกว่า
จำนวน ร้อยละ
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 622 53.4
ผลไม้ไทย 167 14.3
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 51 4.4
สุรา 48 4.1
ผลไม้นอก 44 3.8
เสื้อผ้า 44 3.8
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 43 3.7
ของประดับบ้าน / ของตั้งโชว์ 42 3.6
ขนมเค้ก / คุ้กกี้ 29 2.5
เงิน 16 1.4
การ์ด 8 0.7
อื่น ๆ 50 4.3
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านนิยมมอบให้ผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
จำนวน ร้อยละ
ขนมเค้ก / คุ้กกี้ 347 29.8
ของประดับบ้าน / ของตั้งโชว์ 202 17.4
ผลไม้ไทย 98 8.4
สุรา 79 6.8
ตุ๊กตา/ ของเล่น 66 5.6
เสื้อผ้า 63 5.4
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 56 4.8
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 52 4.5
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 43 3.7
การ์ด 17 1.5
ของใช้ 18 1.5
ผลไม้นอก 15 1.3
อื่น ๆ 108 9.3
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านอยากได้มากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน 324 27.9
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 131 11.3
ทอง/ เครื่องประดับ 76 6.5
เงิน 74 6.3
ผลไม้ไทย 68 5.9
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 67 5.8
รถยนต์ 57 4.9
สุรา 35 3
ความรัก 29 2.5
สุขภาพที่ดี 28 2.4
ขนมเค้ก / คุ้กกี้ 27 2.3
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 20 1.7
เสื้อผ้า 18 1.6
ผลไม้นอก 17 1.5
บ้านและที่ดิน 14 1.2
อื่น ๆ 179 15.2
- ของขวัญปีใหม่ที่ท่านไม่อยากได้มากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
สุรา 539 46.3
ขนมเค้ก / คุกกี้ 140 12
อาหารกระป๋อง / ของแห้ง 97 8.3
ของประดับบ้าน / ของตั้งโชว์ 92 7.9
ผลไม้นอก 62 5.3
เสื้อผ้า 33 2.8
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 31 2.7
ผลไม้ไทย 29 2.5
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 29 2.5
อื่น ๆ 112 9.7
ตารางที่ 5: ที่ผ่านมาของขวัญปีใหม่ที่ได้รับส่วนใหญ่ถูกใจท่านหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ถูกใจ 935 80.3
ไม่ถูกใจ 229 19.7
ตารางที่ 6: ท่านทำอย่างไรกับของขวัญปีใหม่ที่ไม่ถูกใจ
จำนวน ร้อยละ
เก็บไว้กิน-ใช้เอง 592 51.7
มอบต่อให้ผู้อื่น 435 38.0
นำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ 104 9. 0
ทิ้งไป 11 1.0
อื่น ๆ 3 0.3
ตารางที่ 7: ท่านอยากได้อะไรเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
จำนวน ร้อยละ
ต้องการให้ขึ้นเงินเดือนและค่าแรงเหมือนที่ขึ้นให้ สว. และ สส. 240 20.6
แก้ปัญหาจราจร 135 11.6
แก้ปัญหาค่าครองชีพ/ ปัญหาของแพง 119 10.2
ทำให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุข 92 7.9
แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน 91 7.8
ให้เลิกสร้างภาพและจริงใจในการทำงานเพื่อประชาชน 84 7.2
พัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ 76 6.6
แก้ปัญหาราคาน้ำมัน 51 4.4
ลดภาษี 44 3.8
แก้ปัญหาการว่างงาน 29 2.5
แก้ปัญหาความยากจน 28 2.4
สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 27 2.3
ขยายโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทย 25 2.1
แก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม 20 1.7
แก้ปัญหายาเสพติด 20 1.7
อื่นๆ 83 7.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-