หลังจาก ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ไปเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความเห็นของคนกรุงฯ ต่อมาตรการและนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้หาเสียงไว้” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,152 คน เมื่อวันที่ 29 - 31 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่า
คนกรุงเทพฯ เห็นว่ามาตรการเร่งด่วนที่เคยประกาศหาเสียงไว้ของผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่อยากให้ทำด่วนที่สุดเป็นอันดับแรก หลังเข้ารับตำแหน่งคือ การติดตั้งกล้อง CCTV และไฟส่องสว่างเพิ่ม (ร้อยละ 63.9) รองลงมาคือโครงการจัดตั้งอาสาสมัครชุมชน เพื่อเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด (ร้อยละ 43.1) การปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS และ BRT (ร้อยละ 41.6) การเพิ่มบริการเก็บขยะไม่ให้ค้างในชุมชน (ร้อยละ 41.0) และโครงการฟรี ไฮ-สปีด ไวไฟ 4 MB 5,000 จุด (ร้อยละ 31.8)
ด้านความเชื่อมั่นว่า 6 นโยบายของผู้ว่าฯ กทม. เพื่อสร้างความสุขให้คนกรุงเทพฯ จะทำได้จริงตามที่ได้หาเสียงไว้พบว่า ในภาพรวมคนกรุงเทพฯร้อยละ 61.25 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 38.75 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด โดยนโยบายที่คนกรุงเทพฯคิดว่าทำได้จริงมากที่สุดคือ มหานครสีเขียวสะอาด (ร้อยละ 66.9) รองลงมาคือ มหานครแห่งการเรียนรู้ (ร้อยละ 66.0) และมหานครแห่งความปลอดภัย (ร้อยละ 65.8)
สุดท้ายเมื่อถามความคิดเห็นว่า ผู้ว่าฯ กทม. จะสร้างกทม. ให้ดีขึ้นกว่า 4 ปีที่แล้วที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรกได้เพียงใด ร้อยละ 60.8 คิดว่าจะดีขึ้นกว่าสมัยที่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 35.8 คิดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยังเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 3.4 ที่คิดว่าจะแย่ลงกว่าสมัยที่แล้ว
รายละเอียดดังต่อไปนี้
การติดตั้งกล้อง CCTV และไฟส่องสว่างเพิ่ม ร้อยละ 63.9 โครงการจัดตั้งอาสาสมัครชุมชน เพื่อเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ร้อยละ 43.1 การปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS และ BRT ร้อยละ 41.6 การเพิ่มบริการเก็บขยะไม่ให้ค้างในชุมชน ร้อยละ 41.0 โครงการฟรี ไฮ-สปีด ไวไฟ 4 MB 5,000 จุด ร้อยละ 31.8 โครงการเพิ่มทักษะอาชีพ พร้อมสอนภาษาอังกฤษ จีน มลายู ฟรี ร้อยละ 25.1 โครงการเพิ่มจุดบริการพิเศษงานทะเบียนราษฎรในห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 15.5 โครงการอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กเล็ก ปรับตำแหน่งและเพิ่มเงินเดือน ร้อยละ 10.4 โครงการเพิ่มแท๊กซี่เพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ ร้อยละ 8.3 โครงการโรงรับจำนำ กทม. รับจำนำดอกเบี้ย 1 สลึง 5,000 บาทแรก ร้อยละ 7.1 2. ความเชื่อมั่นว่า 6 นโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ เพื่อสร้างความสุขให้คนกรุงเทพฯ จะทำได้จริงตามที่ได้หาเสียงไว้ นโยบาย ความเชื่อมั่นว่าจะทำได้จริง
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(ร้อยละ) (ร้อยละ) -มหานครสีเขียวสะอาด เช่น เพิ่มสวนสาธารณะ/ เพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย/ เพิ่มระบบการจัดการขยะ/ ปรับภูมิทัศน์ถนนสายหลัก 66.9 33.1 -มหานครแห่งการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้/ ดูแล นร. จากอิ่มท้อง สมองดี สู่มีวินัย/ ภาษาอังกฤษแข็งแรง/ การเข้าสู่การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ 66.0 34.0 -มหานครแห่งความปลอดภัย เช่น ติดตั้งกล้อง CCTV /ระบบป้องกันอัคคีภัย อาสาสมัครเฝ้าระวังภัย /เสริมความปลอดภัยทุกชุมชน 65.8 34.2 -มหานครแห่งอาเซียน เช่น ศูนย์กลางท่องเที่ยวของอาเซียนและของโลก/ ศูนย์กลางทางการแพทย์/ ศูนย์กลางการลงทุน/ ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม 60.0 40.0 -มหานครแห่งโอกาสของทุกคน เช่น ให้ความสะดวกแก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ/ ส่งเสริมชุมชนพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ 57.5 42.5 -มหานครแห่งความสุข (แผนระบายการจราจร) เช่น สร้าง รพ. 4 มุมเมือง ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร/ การเชื่อมระบบขนส่งมลชน/ สร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ 51.3 48.7 -เฉลี่ยรวม 61.25 38.75 3. ความคิดเห็นว่า ผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ จะสร้างกทม. ให้ดีขึ้นกว่า 4 ปีที่แล้วที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรกได้ คิดว่าจะดีขึ้นกว่าสมัยที่แล้ว ร้อยละ 60.8 คิดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 35.8 คิดว่าจะแย่ลงกว่าสมัยที่แล้ว ร้อยละ 3.4
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความเห็นต่อมาตรการและนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้หาเสียงไว้
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,152 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 - 31 มีนาคม 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 เมษายน 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 575 49.9 หญิง 577 50.1 รวม 1,152 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 280 24.3 26 - 35 ปี 281 24.4 36 - 45 ปี 293 25.4 46 ปีขึ้นไป 298 25.9 รวม 1,152 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 590 51.2 ปริญญาตรี 493 42.8 สูงกว่าปริญญาตรี 69 6.0 รวม 1,152 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 93 8.1 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 334 29.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 344 29.8 รับจ้างทั่วไป 114 9.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 102 8.9 นักศึกษา 130 11.3 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 35 3.0 รวม 1,152 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--