กรุงเทพโพลล์: นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกับเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ปี 2556

ข่าวผลสำรวจ Wednesday April 10, 2013 09:10 —กรุงเทพโพลล์

นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเกือบร้อยละ 70 ตั้งใจจะเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ โดยอยากเล่นน้ำที่เชียงใหม่มากที่สุด แต่วอนรัฐดูแลเรื่องความปลอดภัย

เนื่องด้วยในวันที่ 13 - 15 เมษายนที่จะถึงนี้เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเรื่อง “นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกับเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ปี 2556” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 2 - 4 เมษายนที่ผ่านมา พบว่า สิ่งที่โดดเด่นของประเทศไทยและทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยากมาท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมากที่สุดคือ โบราณสถานและโบราณวัตถุ (ร้อยละ 26.9) รองลงมาคือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ร้อยละ 24.4) และวัฒนธรรมประเพณีและศิลปะพื้นบ้าน (ร้อยละ 14.5)

เมื่อถามถึงความตั้งใจเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงนี้ พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ร้อยละ 69.9 ตั้งใจว่าจะเข้าร่วม โดยสถานที่ที่ตั้งใจว่าจะไปร่วมงานเทศกาลสงกรานต์มากที่สุดคือ เชียงใหม่ (ร้อยละ 14.9) รองลงมาคือ ภูเก็ต (ร้อยละ 10.3) และถนนข้าวสาร (ร้อยละ 8.4) ขณะที่ร้อยละ 30.1 คิดว่าจะไม่เข้าร่วม ทั้งนี้เมื่อถามผู้ที่ตั้งใจจะเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์ว่ามีความกังวลใจเรื่องใดมากที่สุดในการเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ 32.5 ระบุว่ากังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รองลงมาร้อยละ 29.3 ระบุว่ากังวลปัญหาจราจรติดขัด และร้อยละ 15.0 ระบุว่ากังวลเรื่องการเล่นสงกรานต์ด้วยความรุนแรง ขณะที่ร้อยละ 26.3 ระบุว่าไม่กังวลเลย

ด้านคะแนนความพึงพอใจต่อการมาท่องเที่ยวประเทศไทยในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.65 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน (30 มี.ค. — 1 เม.ย. 55) 0.23 คะแนน โดยด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีมีคะแนนความพึงพอใจสูงที่สุด 8.58 คะแนน ขณะที่คุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำที่สุด 5.62 คะแนน

เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกหรือไม่ ในโอกาสถัดไป ร้อยละ 80.9 ระบุว่าจะกลับมาอีก ขณะที่ร้อยละ 1.9 ระบุว่าจะไม่กลับมาอีก และร้อยละ 17.2 ยังไม่แน่ใจ ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่ายินดีที่จะแนะนำหรือบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวประเทศไทยหรือไม่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติร้อยละ 93.6 ระบุว่าจะแนะนำหรือบอกต่อ ขณะที่ร้อยละ 1.3 ระบุว่าจะไม่แนะนำหรือบอกต่อ และ ร้อยละ 5.1 ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทยร้อยละ 96.0 มีความเชื่อมั่นต่อการให้ความปลอดภัยในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 4.0 เท่านั้นที่เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้

1. สิ่งโดดเด่นของประเทศไทยที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยากมาท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน 5 อันดับแรก คือ
โบราณสถานและโบราณวัตถุ               ร้อยละ          26.9
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ              ร้อยละ          24.4
วัฒนธรรมประเพณีและศิลปะพื้นบ้าน          ร้อยละ          14.5
อาหารไทย                           ร้อยละ          12.0
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย                 ร้อยละ          10.2

2. ความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง
ตั้งใจว่าจะเข้าร่วม                                       ร้อยละ          69.9

โดยสถานที่ที่ ตั้งใจว่าจะไปร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ (5 อันดับแรก) ได้แก่

                    เชียงใหม่          ร้อยละ          14.9
                    ภูเก็ต             ร้อยละ          10.3
                    ถนนข้าวสาร        ร้อยละ           8.4
                    เกาะสมุย          ร้อยละ           6.7
                    พัทยา             ร้อยละ           6.0
ตั้งใจว่าจะไม่เข้าร่วม                                     ร้อยละ           30.1

3. เรื่องที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรู้สึกกังวลใจมากที่สุดหากเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อและถามเฉพาะผู้ที่คิดว่าจะเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์)
เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน          ร้อยละ          32.5
เรื่องการจราจรติดขัด                      ร้อยละ          29.3
เรื่องการเล่นสงกรานต์ด้วยความรุนแรง         ร้อยละ          15.0
เรื่องการฉวยโอกาสลวนลามทางเพศ           ร้อยละ           4.8
มีการชุมนุมทางการเมือง                    ร้อยละ           3.1
ไม่กังวล                                ร้อยละ          26.3

4.  คะแนนความพึงพอใจต่อการมาท่องเที่ยวประเทศไทย  ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.65 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน 0.23 คะแนน โดยพึงพอใจในศิลปวัฒนธรรมประเพณีสูงที่สุด ขณะที่พึงพอใจในคุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำสุด ดังนี้

สำรวจเมื่อ 30 มี.ค.—1 เม.ย.55 สำรวจเมื่อ 2—4 เม.ย.56 เพิ่มขึ้น /ลดลง

                                      (คะแนนเต็ม 10)          (คะแนนเต็ม 10)              (คะแนน)
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี                      8.16                    8.58                    +0.42
อาหารและเครื่องดื่ม                          8.29                    8.55                    +0.26
ความสวยงามน่าประทับใจของสถานที่ท่องเที่ยว       8.01                    8.33                    +0.32
ความคุ้มค่าเงิน                              7.96                    8.31                    +0.35
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย                       8.27                    8.25                    -0.02
แหล่งช้อปปิ้ง                                7.93                    8.23                    +0.30
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว     7.63                    7.71                    +0.08
บริการจากมัคคุเทศก์                          7.19                    7.39                    +0.20
ระบบขนส่งสาธารณะ                          7.00                    7.34                    +0.34
ข้อมูลด้านการเดินทางท่องเที่ยว                  7.02                    7.23                    +0.21
ความสะอาด                                6.18                    6.31                    +0.13
คุณภาพอากาศ                               5.36                    5.62                    +0.26
เฉลี่ยรวม                                  7.42                    7.65                    +0.23

หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

5. ความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้งของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
จะกลับมาอีก            ร้อยละ          80.9
จะไม่กลับมาอีก          ร้อยละ           1.9
ยังไม่แน่ใจ             ร้อยละ          17.2

6. การยินดีที่จะแนะนำหรือบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวประเทศไทย
จะแนะนำหรือบอกต่อ      ร้อยละ          93.6
จะไม่แนะนำ            ร้อยละ           1.3
ไม่แน่ใจ               ร้อยละ           5.1

7. ความเชื่อมั่นต่อการให้ความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย
          เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                        ร้อยละ         96.0

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 58.5 และมากที่สุดร้อยละ 37.5)

          เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                        ร้อยละ          4.0

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 3.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 0.2)

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาเที่ยวประเทศไทย

2) เพื่อต้องการทราบถึงความตั้งใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป บริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาตินิยมไป 4 แห่งของกรุงเทพฯ ได้แก่ 1) ถนนข้าวสาร 2) ประตูน้ำ - พระพรหม - แยกราชดำริ 3) วัดพระแก้ว - วัดโพธิ์ 4) สถานีรถไฟหัวลำโพง - ถนนเยาวราช ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 629 คน เป็นเพศชายร้อยละ 52.8 และเพศหญิงร้อยละ 47.2

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  2 - 4 เมษายน 2556

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  10 เมษายน 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                  จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                    332          52.8
            หญิง                    297          47.2
รวม                                629         100.0

อายุ
            15 - 30 ปี              259          41.2
            31 - 40 ปี              160          25.4
            41 - 50 ปี               93          14.8
            51 - 60 ปี               62           9.9
            60 ปีขึ้นไป                55           8.7
รวม                                629         100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี             111          17.6
          ปริญญาตรี                  244          38.8
          สูงกว่าปริญญาตรี             274          43.6
รวม                                629         100.0

ภูมิลำเนามาจากทวีป
          ทวีปยุโรป                  332          52.8
          ทวีปอเมริกา                 82          13.0
          ทวีปโอเชียเนีย              161          25.6
          ทวีปเอเชีย                  46           7.3
          ทวีปแอฟริกา                  8           1.3
รวม                                629         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ