ด้วยวันที่ 13 เมษายนของทุกปี นอกจากจะเป็นวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยแล้ว รัฐบาลยังกำหนดให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” อีกด้วยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง“บทเรียนชั่วชีวิตของผู้สูงอายุ ที่อยากบอกลูกหลานในวันสงกรานต์” โดยเก็บข้อมูลกับผู้สูงอายุ จำนวน 1,183 คน เมื่อวันที่ 5-8 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่า
ผู้สูงอายุร้อยละ 71.5 บอกว่าได้รับความสำคัญ ความสนใจ และความเอาใจใส่ จากลูกหลานอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 21.8 บอกว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 6.7 บอกว่าไม่ได้รับความสนใจเลย และเมื่อถามต่อว่า “กลัวจะถูกลูกหลานทอดทิ้งหรือไม่” ร้อยละ 87.7 บอกว่าไม่กลัว ขณะที่ร้อยละ 12.3 บอกว่ากลัวจะถูกทอดทิ้ง
สำหรับสิ่งที่อยากได้จากลูกหลานเนื่องในวันผู้สูงอายุในปีนี้ ร้อยละ 37.6 บอกว่าอยากให้ลูกหลานมาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ทำกิจกรรมร่วมกันที่บ้าน รองลงมาร้อยละ 18.3 บอกว่าอยากให้ลูกหลานเคารพและฟังคำตักเตือนของผู้ใหญ่ และร้อยละ 16.6 บอกว่าอยากให้พาไปทำบุญตามวัดต่างๆ
เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นสงกรานต์สมัยนี้ว่ามีความแตกต่างจากสมัยก่อนอย่างไร ร้อยละ 35.5 บอกว่าสมัยนี้เล่นกันรุนแรง และคึกคะนองเกินไป รองลงมาร้อยละ 22.7 บอกว่า เล่นไม่สุภาพ แต่งตัวโป๊ ล่วงเกินและลวนลามผู้หญิง และร้อยละ 13.5 บอกว่าเล่นกันเอาสนุกเข้าว่า ทำให้ประเพณีดั้งเดิมหายไปหมด
ส่วนเรื่องที่อยากให้ลูกหลานระมัดระวังมากที่สุดขณะออกไปเที่ยวในวันสงกรานต์ปีนี้ คือ ระวังอุบัติเหตุทางรถยนต์ ถนนลื่น (ร้อยละ 53.2) รองลงมาคือระวังคนเมาสุรา ทะเลาะวิวาท ตีกัน (ร้อยละ 14.1) และระวังการเล่นสาดน้ำรุนแรงเกิดขอบเขต (ร้อยละ 11.6)
สำหรับบทเรียนสำคัญที่สุดชั่วชีวิตที่ผู้สูงอายุต้องการจะบอกแก่ลูกหลานในสังคมคือ ให้ทำตัวเป็นคนดี อยู่ในศีลธรรม (ร้อยละ 26.7) รองลงมาคือให้รู้จักวางแผนการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง มีสติ ไม่ประมาท (ร้อยละ10.8) และให้ขยัน ตั้งใจ และอดทน ทั้งในเรื่องการเรียนและการทำงาน (ร้อยละ10.1)
สุดท้ายเรื่องที่ผู้สูงอายุอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ ดูแลมากที่สุดคือ เพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุให้สูงขึ้นจากเดิม (ร้อยละ 36.7) รองลงมาคือ ให้ผู้สูงอายุรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล และได้รับการบริการที่ดีและรวดเร็ว (ร้อยละ 30.3) และให้จัดหน่วยแพทย์ตรวจและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามชุมชนต่างๆ (ร้อยละ 8.1)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- มากที่สุด ร้อยละ 21.6 - ค่อนข้างมาก ร้อยละ 49.9 - ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 17.1 - น้อยที่สุด ร้อยละ 4.7 - ไม่ได้รับเลย ร้อยละ 6.7 2. ความเห็นเกี่ยวกับข้อคำถามที่ว่า “กลัวจะถูกลูกหลานทอดทิ้งหรือไม่” - กลัว ร้อยละ 12.3 - ไม่กลัว ร้อยละ 87.7 3. สิ่งที่อยากได้จากลูกหลานมากที่สุด เนื่องในวันสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ - อยากให้ลูกหลานมาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ร้อยละ 37.6
ทำกิจกรรมร่วมกันที่บ้าน
- อยากให้เคารพและฟังคำตักเตือนของผู้ใหญ่ ร้อยละ 18.3 - ให้พาไปทำบุญตามวัดต่างๆ ร้อยละ 16.6 - อยากได้การดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน ร้อยละ 11.2 - อยากให้พาไปเที่ยวในที่ต่างๆ ร้อยละ 4.5 - อื่นๆ อาทิ ไม่อยากได้อะไร แค่ให้ลูกหลานเป็นคนดี ร้อยละ 11.8
สามารถเลี้ยงตัวเองให้รอดก็พอแล้ว
- เล่นกันรุนแรง และคึกคะนองเกินไป ร้อยละ 35.5 - เล่นไม่สุภาพ ไม่ถูกกาลเทศะ แต่งตัวโป๊ ล่วงเกินและลวนลามผู้หญิง ร้อยละ 22.7 - เล่นกันเอาสนุกเข้าว่า ทำให้ประเพณีดั้งเดิมหายไปหมด เช่น ร้อยละ 13.5
ทำบุญวันสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
- ดีที่ยังมีประเพณีสงกรานต์ตกทอดมาถึงสมัยนี้ ร้อยละ 13.2 - เป็นเรื่องธรรมดา การเล่นก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ร้อยละ 7.3 5. เรื่องที่อยากให้ลูกหลานระมัดระวังมากที่สุดขณะออกไปเที่ยวในวันสงกรานต์ปีนี้ - ระวังอุบัติเหตุทางรถยนต์ ถนนลื่น ร้อยละ 53.2 - ระวังคนเมาสุรา / ทะเลาะวิวาท / ตีกัน ร้อยละ 14.1 - ระวังการเล่นสาดน้ำรุนแรงเกิดขอบเขต ร้อยละ 11.6 - ระวังตก/ร่วงจากรถ / อุบัติเหตุอื่นๆ ขณะเล่นสาดน้ำ ร้อยละ 6.9 - ระวังเรื่องการแต่งตัวโป๊ อนาจาร ร้อยละ 4.8 - ระวังเรื่องการถูกลวนลาม คุกคามทางเพศ ร้อยละ 3.7 - อื่นๆ อาทิ ระวังถูกล้วงกระเป๋า เด็กพลัดหลง ยาเสพติด ร้อยละ 5.7
การยิงปืนขึ้นฟ้า การเล่นการพนัน เป็นต้น
- ให้ทำตัวเป็นคนดี อยู่ในศีลธรรม ร้อยละ 26.7 - ให้รู้จักวางแผนการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง มีสติ ไม่ประมาท ร้อยละ 10.8 - ให้ขยัน ตั้งใจ และอดทน ทั้งในเรื่องการเรียนและการทำงาน ร้อยละ 10.1 - ให้คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยไว้ก่อนและระวังอุบัติเหตุต่างๆ ร้อยละ 7.9 - ให้รู้จักเก็บออม ไม่ฟุ่มเฟือย ดำรงชีพอย่างพอเพียง ร้อยละ 6.3 - ให้ห่างไกลจากอบายมุข เช่น เหล้า ยาเสพติด การพนัน ร้อยละ 5.7 - ให้กตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และเอาใจใส่ครอบครัว ร้อยละ 4.6 - ให้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และรักษาประเพณีไทยให้คงอยู่ ร้อยละ 4.3 - ให้เชื่อฟังและมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ ร้อยละ 4.0 - ให้ใจเย็นๆ จะได้ไม่เกิดการทะเลาวิวาทตีกัน ร้อยละ 3.3 7. เรื่องที่ผู้สูงอายุอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ ดูแล มากที่สุด 5 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - เพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุให้สูงขึ้นจากเดิม ร้อยละ 36.7 - ให้ผู้สูงอายุรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล และได้รับการบริการที่ดี และรวดเร็ว ร้อยละ 30.3 - ให้จัดหน่วยแพทย์ตรวจและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามชุมชนต่างๆ ร้อยละ 8.1 - ให้รัฐบาลใส่ใจดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ร้อยละ 6.3 - ให้ดูแล จัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่ถูกลูกหลานทอดทิ้ง ร้อยละ 3.1
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้สูงอายุเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยสอบถามเกี่ยวกับการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน เรื่องที่อยากได้จากลูกหลานในวันผู้สูงอายุ ความเห็นเกี่ยวกับการเล่นน้ำสงกรานต์ในปัจจุบัน ตลอดจนบทเรียนในชีวิตที่อยากบอกแก่ลูกหลานในสังคม รวมถึงเรื่องที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแล ทั้งนี้จะได้สะท้อนมุมมองความคิดเห็นของผู้สูงอายุให้คนในสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในวัยเกษียณ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้เขตที่ทำการเก็บข้อมูลดังนี้ เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง และสาทร จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,183 คน เป็นเพศชายร้อยละ 40.3 และเพศหญิงร้อยละ 59.7
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5 — 8 เมษายน 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 12 เมษายน 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 477 40.3 หญิง 706 59.7 รวม 1,183 100.0 อายุ 55 — 60 ปี 455 38.5 61 — 65 ปี 290 24.5 66 — 70 ปี 188 15.9 71 ปีขึ้นไป 250 21.1 รวม 1,183 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--