กรุงเทพโพลล์: มุมมองแรงงานหลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

ข่าวผลสำรวจ Monday April 29, 2013 11:01 —กรุงเทพโพลล์

นโยบายค่าแรง 300 บาทไม่ทำให้ชีวิตของแรงงานดีขึ้น เหตุเพราะข้าวของแพง และ 80% บอกอยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิด หากต่างจังหวัดมีงานไม่ต่างจากกรุงเทพฯ

เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเรื่อง “มุมมองแรงงานหลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท” โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า

ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 24.9 มีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุที่ผู้ใช้แรงงานไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด ร้อยละ 64.8 ระบุว่ามีงานให้เลือกน้อย รองลงมาร้อยละ 33.4 ระบุว่าในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการที่ดีกว่า และร้อยละ 33.3 ระบุว่าได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท โดยเมื่อถามต่อว่า “หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งใจที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเกิดหรือไม่” ร้อยละ 80.0 ตั้งใจว่าจะกลับ ขณะที่ร้อยละ 20.0 ตั้งใจว่าจะไม่กลับ

ส่วนผลกระทบที่มีต่อการทำงาน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.4 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าได้รับผลกระทบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 16.5 ระบุว่าทำงานล่วงเวลา (OT) ได้น้อยลง ร้อยละ 9.2 ระบุว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น และร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงที่ผ่านมา

เมื่อถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 เห็นว่ามีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากการสำรวจในปี 55) ขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่าดีขึ้น (ลดลง

ร้อยละ 16.5) และร้อยละ 9.9 เห็นว่าแย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1) โดยเมื่อถามสาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้นอันดับแรกคือ ข้าวของแพงขึ้น (ร้อยละ 85.9) รองลงมาคือ ขาดสวัสดิการช่วยเหลือ/สวัสดิการแย่ลง ( ร้อยละ 7.1) และงานไม่มั่นคง ไม่รู้จะถูกเลิกจ้างตอนไหน (ร้อยละ 4.4)

สุดท้ายเมื่อถามว่า “มีความกังวลว่าจะตกงานมากน้อยเพียงใด หลังจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทมีผลทำให้ผู้ประกอบการ SME มีการลดพนักงานลง 15% (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมฯ) เพื่อประคองกิจการให้อยู่รอด” ร้อยละ 73.2 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 26.8 กังวลมากถึงมากที่สุด

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ภูมิลำเนาของผู้ใช้แรงงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลหรือไม่
          - มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล            ร้อยละ          24.9
          - ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล          ร้อยละ          75.1

2. สาเหตุที่ไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อและถามเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
          - มีงานให้เลือกน้อย                            ร้อยละ          64.8
          - ในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการดีกว่า             ร้อยละ          33.4
          - ได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท                     ร้อยละ          33.3
          - ชอบอยู่กทม.และปริมณฑลมากกว่า                 ร้อยละ          20.9
          - เปิดรับคนเข้าทำงานน้อยกว่า                    ร้อยละ          19.7
          - หางานที่ตรงกับทักษะไม่ได้                      ร้อยละ          13.9
          - ต้องทำงานหนักกว่า                           ร้อยละ           9.6
          - ค่าครองชีพในกทม. และปริมณฑลถูกกว่า            ร้อยละ           2.2
          - มีแรงงานต่างด้าวมาแย่งงาน                    ร้อยละ           0.7

3. ความตั้งใจที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้
(ถามเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
          - ตั้งใจว่าจะกลับ                              ร้อยละ          80.0
          - ตั้งใจว่าจะไม่กลับ                            ร้อยละ          20.0

4. ผลกระทบที่มีต่อการทำงาน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท
          - ไม่ได้รับผลกระทบ                            ร้อยละ          65.4
          - ได้รับผลกระทบ  โดย...                      ร้อยละ          34.6
          - ทำงานล่วงเวลา (OT) ได้น้อยลง                ร้อยละ          16.5
          - ต้องทำงานหนักมากขึ้น                         ร้อยละ           9.2
          - ไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้าง ในช่วงที่ผ่านมา             ร้อยละ           4.2
          - มีรายได้โดยรวมต่อเดือนลดลงจากเดิม             ร้อยละ           3.5
          - ต้องหางานทำใหม่ เนื่องจากถูกเลิกจ้าง            ร้อยละ           1.2

5.  ชีวิตความเป็นอยู่ หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
ชีวิตความเป็นอยู่             สำรวจเมษายนปี 2555     สำรวจเมษายนปี 2556       เพิ่มขึ้น / ลดลง
                            (ร้อยละ)               (ร้อยละ)
ดีขึ้น                           60.7                  44.2                -16.5
เหมือนเดิม                      36.5                  45.9                  9.4
แย่ลง                           2.8                   9.9                  7.1

6. สาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้นเพราะ
(ถามเฉพาะผู้ที่มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมและแย่ลง)
          - ข้าวของแพงขึ้น                              ร้อยละ          85.9
          - ขาดสวัสดิการช่วยเหลือ/สวัสดิการแย่ลง            ร้อยละ           7.1
          - งานไม่มั่นคง ไม่รู้จะถูกเลิกจ้างตอนไหน            ร้อยละ           4.4
          - การเป็นหนี้เป็นสิน                            ร้อยละ           2.6

7.ระดับความกังวลว่าจะตกงาน หลังจากมีการขึ้นค่าแรง 300 บาทซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบการ SME มีการลดพนักงานลง 15% (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เพื่อประคองกิจการให้อยู่รอด
  • มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 5.2 และมากร้อยละ 21.6)          ร้อยละ          26.8
  • น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 24.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 48.4)         ร้อยละ          73.2

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นเกี่ยวกับ มุมมองชีวิตของแรงงานหลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย ดอนเมือง บางขุนเทียน บางเขน บางบอน บางรัก ปทุมวัน พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สาทร หลักสี่และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,052 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 และเพศหญิงร้อยละ 48.7

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :   23 - 25 เมษายน 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :   29 เมษายน 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                                      จำนวน (คน)              ร้อยละ
เพศ
          ชาย                                            540                   51.3
          หญิง                                            512                   48.7
              รวม                                      1,052                    100
อายุ
          18 ปี — 25 ปี                                    374                   35.6
          26 ปี — 35 ปี                                    336                   31.9
          36 ปี — 45 ปี                                    191                   18.2
          46 ปีขึ้นไป                                       151                   14.3
              รวม                                      1,052                    100
อาชีพ
          โรงงานอุตสาหกรรม                                469                   44.7
          กรรมกรก่อสร้าง                                    35                    3.3
          รปภ. / ภารโรง                                  148                   14.1
          แม่บ้าน / คนสวน                                   69                    6.5
          รับจ้างทั่วไป                                      104                    9.8
          ช่างซ่อม                                          41                    3.9
          พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ                       90                    8.5
          พนักงานขับรถ                                       6                    0.6
          พนักงานขาย                                       91                    8.6
              รวม                                      1,052                    100
อยู่ในระบบประกันสังคมหรือไม่
          อยู่ในประกันสังคม                                  872                   82.9
          ไม่อยู่ในประกันสังคม                                180                   17.1
              รวม                                      1,052                    100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ