ช่วงใกล้เปิดเทอม นับเป็นช่วงเวลาที่แทบทุกครอบครัวต่างมีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ เรื่องการศึกษาของบุตร ไม่ว่าจะเป็น ค่าเทอม ค่าหนังสือ ค่าชุดนักเรียน ตลอดจนค่าอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ภาวะการเงินของผู้ปกครองในช่วงใกล้เปิดเทอม ปีการศึกษา 2556” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล — มัธยมศึกษา ทั้งสังกัดโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,192 คน เมื่อวันที่ 26 -29 เมษายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.4 - มีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม ร้อยละ 23.9 - มีค่าใช้จ่ายลดลง ร้อยละ 3.7 2. ความเครียดหรือกังวลว่าจะมีปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมของบุตร พบว่า - เครียดและกังวล ร้อยละ 55.6 - ไม่เครียดและไม่กังวลเลย ร้อยละ 44.4 3. เหตุผลหลักที่ทำให้เครียดเรื่องปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม คือ (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่าเครียดและกังวล โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) - มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 84.8 - สินค้าเกี่ยวกับการเรียนแพงขึ้น ร้อยละ 71.7 - รายได้ / รายรับลดลง ร้อยละ 45.0 - เงินที่รัฐบาลช่วยเหลือไม่เพียงพอ ร้อยละ 45.0 - ค่าเทอม/ค่าบำรุงโรงเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.7 - มีจำนวนบุตรที่ต้องเข้าเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.7 - อื่นๆ อาทิ หาเงินคนเดียว ตกงาน เป็นต้น ร้อยละ 5.0 4. วิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการแก้ปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย คือ (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่าเครียดและกังวล โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) - ทำงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.9 - ลดปริมาณการซื้อเสื้อผ้า / อุปกรณ์ต่างๆ ลงจากที่ตั้งใจไว้ ร้อยละ 37.0 - นำเงินที่สะสมไว้ออกมาใช้ ร้อยละ 34.0 - ใช้เสื้อผ้า /อุปกรณ์การเรียนของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.6 - ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง /เพื่อน ร้อยละ 31.4 - กู้เงินนอกระบบ ร้อยละ 26.9 - จำนำทรัพย์สิน ร้อยละ 18.5 - ขายของมีค่า (เช่น ทอง เพชร เครื่องประดับต่างๆ ฯลฯ) ร้อยละ 7.7 - อื่นๆ อาทิ ย้ายโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนถูกกว่า กู้เงินที่ทำงาน ร้อยละ 4.7
ใช้จ่ายประหยัดขึ้นเป็นต้น
- กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 6.30 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 10 คะแนน
- ควรเพิ่มเงินช่วยเหลือค่าชุดนักเรียน รองเท้านักเรียน ร้อยละ 32.5
และอุปกรณ์การเรียน ให้สอดคล้องตามความเป็นจริง
- ให้คำนึงถึงคุณภาพการเรียนการสอนของครู อาจารย์ ควบคู่ไปด้วย ร้อยละ 26.4 - ควรจะให้เรียนฟรีจริงๆ ไม่ควรเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ตามมา ร้อยละ 15.5 - ให้เน้นเรื่องการสอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนโดยไม่คิดเงินเพิ่ม ร้อยละ 5.1 - ดีอยู่แล้วและเห็นควรให้ทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 4.4 7. เรื่องที่ผู้ปกครองกังวลมากที่สุดในช่วงเปิดเทอมใหม่ที่จะมาถึงนี้ คือ - คุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน ร้อยละ 27.5 - ค่าใช้จ่ายที่ให้ลูกไปโรงเรียนแต่ละวัน ร้อยละ 23.1 - ความปลอดภัยในการเดินทางของลูก ร้อยละ 19.9 - ปัญหารถติด ร้อยละ 17.5 - ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ร้อยละ 3.0 - ไม่มีเรื่องที่ต้องกังวล ร้อยละ 8.8
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล — มัธยมศึกษา เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเล่าเรียนของบุตรในเทอมนี้เทียบกับที่ผ่านมา ความเครียดเรื่องปัญหาเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม ตลอดจนสาเหตุและวิธีแก้ปัญหา รวมถึงความพึงพอใจในการสนับสนุนด้านการศึกษาของภาครัฐ เรื่องที่นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ที่ควรปรับปรุง และเรื่องที่กังวลในช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล — มัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สะพานสูง สาทร หนองแขม และหลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,192 คน เป็นเพศชายร้อยละ 32.0 และเพศหญิงร้อยละ 68.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26 — 29 เมษายน 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 พฤษภาคม 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 382 32 หญิง 810 68 รวม 1,192 100 อายุ ต่ำกว่า 25 ปี 31 2.6 26 ปี — 35 ปี 295 24.7 36 ปี — 45 ปี 560 47 46 ปีขึ้นไป 306 25.7 รวม 1,192 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 932 78.2 ปริญญาตรี 233 19.5 สูงกว่าปริญญาตรี 27 2.3 รวม 1,192 100 อาชีพ ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 80 6.7 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 209 17.5 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 492 41.3 รับจ้างทั่วไป 234 19.6 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 145 12.2 อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ ว่างงาน 32 2.7 รวม 1,192 100 ประเภทของโรงเรียนที่บุตรศึกษาอยู่ โรงเรียนรัฐบาล 793 66.5 โรงเรียนเอกชน 344 28.9 โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน 55 4.6 รวม 1,192 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--