วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีลูกเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ใน
เขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับ
- การประสบปัญหาด้านการเงินในช่วงเปิดเทอม
- แหล่งที่มาของเงินที่นำมาเป็นค่าเล่าเรียนลูกในเทอมใหม่นี้
- ค่าใช้จ่ายด้านการเรียนในส่วนที่ผู้ปกครองเห็นว่าถูกเรียกเก็บในราคาที่สูงเกินความจำเป็น
- ความมั่นใจในคุณภาพการศึกษาของลูกเปรียบเทียบกับจำนวนเงินค่าเล่าเรียนที่ผู้ปกครองต้องจ่าย
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีลูกเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,209 คน เป็นชายร้อยละ 41.6 หญิงร้อยละ 58.4
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.9 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 9.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.2 รับ
จ้างทั่วไปร้อยละ 24.7 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.5 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.5 พ่อ
บ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 2.7 อาชีพอื่น ๆ
กลุ่มตัวอย่างมีลูกกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลร้อยละ 54.8 โรงเรียนเอกชนร้อย
ละ 43.0 และทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนร้อยละ 2.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “เปิดเทอมใหม่กับภาระค่าใช้จ่ายด้านการเรียน”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 พฤษภาคม 2548
ผลการสำรวจ
1. การสำรวจพบว่า มีผู้ปกครองร้อยละ 34.7 ที่ประสบปัญหาเงินไม่พอจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูก
ในเทอมใหม่นี้ ส่วนอีกร้อยละ 65.3 ระบุว่าไม่ประสบปัญหา
2. แหล่งที่มาของเงินที่ผู้ปกครองนำมาจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนลูกในเทอมนี้ ร้อยละ 40.8 นำมาจาก
เงินเก็บสะสมร้อยละ 30.6 มาจากเงินเดือน/ค่าจ้าง/รายได้งวดสุดท้ายที่เพิ่งได้รับ ร้อยละ 7.2 ยืมจากคนใกล้
ชิด ร้อยละ 6.3 มาจากโรงรับจำนำ ร้อยละ 5.5 มาจากเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 5.1 ถอนเงินสดจากบัตร
เครดิต และร้อยละ 4.5 มาจากเงินกู้ในระบบ เช่นธนาคาร สหกรณ์
3. ผู้ปกครองร้อยละ 51.0 มีความเห็นว่าทุกวันนี้พ่อแม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเล่าเรียน
ของลูกมากเกินไป โดยค่าใช้จ่ายในส่วนที่ผู้ปกครองเห็นว่ามีการเรียกเก็บเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินความจำเป็น
ได้แก่ ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน (ร้อยละ 21.1) ค่ากิจกรรมเสริม (ร้อยละ 18.4) ค่าบำรุงโรงเรียน
(แป๊ะเจี๊ยะ) (ร้อยละ 16.4) ค่าเรียนพิเศษ (ร้อยละ 14.0) ค่าธรรมเนียมการเรียน (ค่าเทอม) (ร้อยละ
12.8) ค่าเครื่องแบบนักเรียน(ร้อยละ 9.4) ค่ารถรับส่ง (ร้อยละ 4.9) ค่าอาหาร (ร้อยละ 2.8) และค่า
ประกันอุบัติเหตุ (ร้อยละ 0.2)
4. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 56.3) ไม่มั่นใจว่าการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนเรียนที่สูงขึ้นจะทำ
ให้ลูกได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้นตามไปด้วย มีเพียงร้อยละ 43.7 ที่มั่นใจ
5. เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของเด็กไทยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พบว่า มีผู้ปกครองที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่
ของกระทรวงศึกษาธิการในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือพอใจร้อยละ 50.2 และไม่พอใจร้อยละ 49.8
นอกจากนี้ผู้ปกครองได้ฝากข้อเรียกร้องถึงกระทรวงศึกษาธิการ 2 เรื่อง คือ ให้เร่งรัดการออก
หนังสือแบบเรียนให้ทันกำหนดเปิดเทอม เนื่องจากที่ผ่านมาเด็กนักเรียนได้รับหนังสือเรียนล่าช้าซึ่งส่งผลให้การเรียน
การสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังเรียกร้องว่าอย่าปรับหลักสูตรและแผนการเรียนบ่อยเกินไปจน
สร้างความสับสนแก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 503 41.6
หญิง 706 58.4
อาชีพ :
รับราชการ 168 13.9
รัฐวิสาหกิจ 114 9.5
รับจ้างทั่วไป 208 17.2
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 299 24.7
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 224 18.5
พ่อบ้าน /แม่บ้าน/เกษียณอายุ 164 13.5
อื่น ๆ 32 2.7
ประเภทของโรงเรียนที่ลูกศึกษาอยู่ :
โรงเรียนรัฐบาล 663 54.8
โรงเรียนเอกชน 520 43.0
ทั้งรัฐบาลและเอกชน 26 2.2
ตารางที่ 2: ท่านประสบปัญหาเรื่องมีเงินไม่พอจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกในเทอมนี้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ประสบปัญหา 420 34.7
ไม่ประสบปัญหา 789 65.3
ตารางที่ 3: เงินที่นำมาจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกในเทอมใหม่นี้ท่านนำมาจากแหล่งใด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
เงินเก็บสะสม 701 40.8
เงินเดือน/ค่าจ้าง/รายได้ งวดสุดท้ายที่เพิ่งได้รับ 527 30.6
ยืมจากคนใกล้ชิด 123 7.2
โรงรับจำนำ 108 6.3
เงินกู้นอกระบบ 95 5.5
ถอนเงินสดจากบัตรเครดิต 89 5.1
เงินกู้ในระบบ เช่น ธนาคาร สหกรณ์ 77 4.5
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าทุกวันนี้พ่อแม่ต้องรับภาระเรื่องค่าเล่าเรียนของลูกมากเกินไปหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มากเกินไป 616 51.0
ไม่มากเกินไป 593 49.0
ตารางที่ 5: ค่าเล่าเรียนในส่วนใดที่ท่านคิดว่ามีการเรียกเก็บจากผู้ปกครองในราคาที่สูงเกินความจำเป็น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน 522 21.1
ค่ากิจกรรมเสริม 454 18.4
ค่าบำรุงโรงเรียน (แป๊ะเจี๊ยะ) 404 16.4
ค่าเรียนพิเศษ 346 14.0
ค่าธรรมเนียมการเรียน (ค่าเทอม) 316 12.8
ค่าเครื่องแบบนักเรียน 231 9.4
ค่ารถรับส่ง 121 4.9
ค่าอาหาร 69 2.8
ค่าประกันอุบัติเหตุ 4 0.2
ตารางที่ 6: ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้นจะทำให้ลูกได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้น
ตามไปด้วย
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 529 43.7
ไม่มั่นใจ 680 56.3
ตารางที่ 7: ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
เด็กไทยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 607 50.2
ไม่พอใจ 602 49.8
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีลูกเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ใน
เขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับ
- การประสบปัญหาด้านการเงินในช่วงเปิดเทอม
- แหล่งที่มาของเงินที่นำมาเป็นค่าเล่าเรียนลูกในเทอมใหม่นี้
- ค่าใช้จ่ายด้านการเรียนในส่วนที่ผู้ปกครองเห็นว่าถูกเรียกเก็บในราคาที่สูงเกินความจำเป็น
- ความมั่นใจในคุณภาพการศึกษาของลูกเปรียบเทียบกับจำนวนเงินค่าเล่าเรียนที่ผู้ปกครองต้องจ่าย
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีลูกเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,209 คน เป็นชายร้อยละ 41.6 หญิงร้อยละ 58.4
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.9 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 9.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.2 รับ
จ้างทั่วไปร้อยละ 24.7 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.5 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.5 พ่อ
บ้าน/แม่บ้าน และร้อยละ 2.7 อาชีพอื่น ๆ
กลุ่มตัวอย่างมีลูกกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลร้อยละ 54.8 โรงเรียนเอกชนร้อย
ละ 43.0 และทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนร้อยละ 2.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “เปิดเทอมใหม่กับภาระค่าใช้จ่ายด้านการเรียน”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 พฤษภาคม 2548
ผลการสำรวจ
1. การสำรวจพบว่า มีผู้ปกครองร้อยละ 34.7 ที่ประสบปัญหาเงินไม่พอจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูก
ในเทอมใหม่นี้ ส่วนอีกร้อยละ 65.3 ระบุว่าไม่ประสบปัญหา
2. แหล่งที่มาของเงินที่ผู้ปกครองนำมาจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนลูกในเทอมนี้ ร้อยละ 40.8 นำมาจาก
เงินเก็บสะสมร้อยละ 30.6 มาจากเงินเดือน/ค่าจ้าง/รายได้งวดสุดท้ายที่เพิ่งได้รับ ร้อยละ 7.2 ยืมจากคนใกล้
ชิด ร้อยละ 6.3 มาจากโรงรับจำนำ ร้อยละ 5.5 มาจากเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 5.1 ถอนเงินสดจากบัตร
เครดิต และร้อยละ 4.5 มาจากเงินกู้ในระบบ เช่นธนาคาร สหกรณ์
3. ผู้ปกครองร้อยละ 51.0 มีความเห็นว่าทุกวันนี้พ่อแม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเล่าเรียน
ของลูกมากเกินไป โดยค่าใช้จ่ายในส่วนที่ผู้ปกครองเห็นว่ามีการเรียกเก็บเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินความจำเป็น
ได้แก่ ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน (ร้อยละ 21.1) ค่ากิจกรรมเสริม (ร้อยละ 18.4) ค่าบำรุงโรงเรียน
(แป๊ะเจี๊ยะ) (ร้อยละ 16.4) ค่าเรียนพิเศษ (ร้อยละ 14.0) ค่าธรรมเนียมการเรียน (ค่าเทอม) (ร้อยละ
12.8) ค่าเครื่องแบบนักเรียน(ร้อยละ 9.4) ค่ารถรับส่ง (ร้อยละ 4.9) ค่าอาหาร (ร้อยละ 2.8) และค่า
ประกันอุบัติเหตุ (ร้อยละ 0.2)
4. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 56.3) ไม่มั่นใจว่าการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนเรียนที่สูงขึ้นจะทำ
ให้ลูกได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้นตามไปด้วย มีเพียงร้อยละ 43.7 ที่มั่นใจ
5. เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของเด็กไทยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พบว่า มีผู้ปกครองที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่
ของกระทรวงศึกษาธิการในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือพอใจร้อยละ 50.2 และไม่พอใจร้อยละ 49.8
นอกจากนี้ผู้ปกครองได้ฝากข้อเรียกร้องถึงกระทรวงศึกษาธิการ 2 เรื่อง คือ ให้เร่งรัดการออก
หนังสือแบบเรียนให้ทันกำหนดเปิดเทอม เนื่องจากที่ผ่านมาเด็กนักเรียนได้รับหนังสือเรียนล่าช้าซึ่งส่งผลให้การเรียน
การสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังเรียกร้องว่าอย่าปรับหลักสูตรและแผนการเรียนบ่อยเกินไปจน
สร้างความสับสนแก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 503 41.6
หญิง 706 58.4
อาชีพ :
รับราชการ 168 13.9
รัฐวิสาหกิจ 114 9.5
รับจ้างทั่วไป 208 17.2
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 299 24.7
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 224 18.5
พ่อบ้าน /แม่บ้าน/เกษียณอายุ 164 13.5
อื่น ๆ 32 2.7
ประเภทของโรงเรียนที่ลูกศึกษาอยู่ :
โรงเรียนรัฐบาล 663 54.8
โรงเรียนเอกชน 520 43.0
ทั้งรัฐบาลและเอกชน 26 2.2
ตารางที่ 2: ท่านประสบปัญหาเรื่องมีเงินไม่พอจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกในเทอมนี้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ประสบปัญหา 420 34.7
ไม่ประสบปัญหา 789 65.3
ตารางที่ 3: เงินที่นำมาจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกในเทอมใหม่นี้ท่านนำมาจากแหล่งใด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
เงินเก็บสะสม 701 40.8
เงินเดือน/ค่าจ้าง/รายได้ งวดสุดท้ายที่เพิ่งได้รับ 527 30.6
ยืมจากคนใกล้ชิด 123 7.2
โรงรับจำนำ 108 6.3
เงินกู้นอกระบบ 95 5.5
ถอนเงินสดจากบัตรเครดิต 89 5.1
เงินกู้ในระบบ เช่น ธนาคาร สหกรณ์ 77 4.5
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าทุกวันนี้พ่อแม่ต้องรับภาระเรื่องค่าเล่าเรียนของลูกมากเกินไปหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มากเกินไป 616 51.0
ไม่มากเกินไป 593 49.0
ตารางที่ 5: ค่าเล่าเรียนในส่วนใดที่ท่านคิดว่ามีการเรียกเก็บจากผู้ปกครองในราคาที่สูงเกินความจำเป็น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน 522 21.1
ค่ากิจกรรมเสริม 454 18.4
ค่าบำรุงโรงเรียน (แป๊ะเจี๊ยะ) 404 16.4
ค่าเรียนพิเศษ 346 14.0
ค่าธรรมเนียมการเรียน (ค่าเทอม) 316 12.8
ค่าเครื่องแบบนักเรียน 231 9.4
ค่ารถรับส่ง 121 4.9
ค่าอาหาร 69 2.8
ค่าประกันอุบัติเหตุ 4 0.2
ตารางที่ 6: ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้นจะทำให้ลูกได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้น
ตามไปด้วย
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 529 43.7
ไม่มั่นใจ 680 56.3
ตารางที่ 7: ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
เด็กไทยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 607 50.2
ไม่พอใจ 602 49.8
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-