ยิ่งลักษณ์ การแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง การจราจรติดขัด และความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่เห็นผล
จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิด ข้าวของสินค้าราคาแพง นักเรียนตีกัน เป็นต้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และการก่อการร้าย” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,202 คน พบว่า ความเสี่ยงในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 (0.24 คะแนน)
คนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สินมากที่สุด (7.32 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) รองลงมาคือ ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง (7.15 คะแนน) และความเสี่ยงด้านการเมือง (6.94 คะแนน) ขณะที่ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความเสี่ยงน้อยที่สุด (4.28 คะแนน)
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 พบว่าด้านที่มีคะแนนความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ด้านการจราจรและการเดินทาง (+0.99 คะแนน) รองลงมาคือด้านค่าครองชีพและหนี้สิน (+0.69 คะแนน) และด้านการเมือง (+0.59 คะแนน) ขณะที่ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรงมีความเสี่ยงลดลงมากที่สุด (-0.64 คะแนน)
สำหรับความเห็นต่อเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ ได้เลย หลังผ่านการทำหน้าที่มาเกือบ 2 ปี อันดับแรกคือ สินค้าราคาแพงขึ้น/ค่าครองชีพสูง (ร้อยละ 81.6) รองลงมาคือ ปัญหาจราจรและการเดินทาง (ร้อยละ 64.3) และการชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนในชาติ (ร้อยละ 64.1)
รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 (0.24 คะแนน) โดยความเสี่ยงในด้านค่าครองชีพและหนี้สินมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีคะแนนต่ำที่สุด
ความเสี่ยงในด้านต่างๆ สำรวจเมื่อ สำรวจเมื่อ (คะแนนสูงหมายถึงเสี่ยงมาก คะแนนต่ำหมายถึงเสี่ยงน้อย) ก.ค.-55 มิ.ย.-56 (เต็ม 10 คะแนน) (เต็ม 10 คะแนน) เพิ่มขึ้น/ลดลง 1) ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน เช่น สินค้าราคาสูง ข้าวของแพง มีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ มีภาระหนี้สิน ฯลฯ 6.63 7.32 0.69 2) ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร การเดินทาง ตกรถ ตกเรือ ฯลฯ 6.16 7.15 0.99 3) ความเสี่ยงด้านการเมือง เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมืองความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตยถูกสั่นคลอน 6.83 6.94 0.11 4) ความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย เช่น กินอาหารไม่ถูกสุขอนามัย มีสารพิษเจือปน ขาดการออกกำลังกาย ได้รับมลพิษทางอากาศและทางน้ำ ฯลฯ 6.03 6.62 0.59 5) ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การก่อการร้ายวางระเบิด การถูกทำร้าย ถูกลูกหลง โจรกรรมทรัพย์สิน และล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ 6.32 6.24 -0.08 6) ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตใจ เช่นความเครียด วิตกกังวลทุกข์ใจ ซึมเศร้า ฯลฯ 5.74 5.95 0.21 7) ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ เช่น มีโอกาสตกงาน ถูกลดเงินเดือน รายได้ลดลง หน้าที่การงานไม่มั่นคง 5.49 5.85 0.36 8) ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่นความเสี่ยงที่จะสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ความสัมพันธ์ในชุมชน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และห่างไกลจากศาสนา 5.32 5.46 0.14 9) ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง เช่น น้ำท่วม พายุ โรคมือเท้าปาก โรคไข้เลือดออก ฯลฯ 6.08 5.44 -0.64 10) ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายร่างกาย ห่างเหิน ไม่เข้าใจกัน และความแตกแยกในครอบครัว 4.25 4.28 0.03 เฉลี่ยรวม 5.89 6.13 0.24 หมายเหตุ: การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน 2. ความเห็นต่อเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ ได้เลย หลังผ่านการทำหน้าที่มาเกือบ 2 ปี (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) สินค้าราคาแพงขึ้น/ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 81.6 ปัญหาจราจรและการเดินทาง ร้อยละ 64.3 การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 64.1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 41.0 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย ร้อยละ 34.0 การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2556 ร้อยละ 18.0
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ
2. เพื่อสะท้อนปัญหาที่รัฐไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯได้ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สาทรและสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,202 คน เป็นชายร้อยละ 48.4 และหญิงร้อยละ 51.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7 - 10 มิถุนายน 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 11 มิถุนายน 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 582 48.4 หญิง 620 51.6 รวม 1,202 100 อายุ 18 - 25 ปี 299 24.9 26 - 35 ปี 311 25.9 36 - 45 ปี 297 24.7 46 ปีขึ้นไป 295 24.5 รวม 1,202 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 712 59.2 ปริญญาตรี 425 35.4 สูงกว่าปริญญาตรี 65 5.4 รวม 1,202 100 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 120 10 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 360 29.9 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 270 22.5 รับจ้างทั่วไป 203 16.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 80 6.7 นักศึกษา 159 13.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 10 0.8 รวม 1,202 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--