กรุงเทพโพลล์: ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ครม. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5

ข่าวผลสำรวจ Thursday July 4, 2013 14:45 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเทพฯ ไม่เชื่อว่าการปรับ ครม. จะทำให้ผลงานของรัฐบาลดีขึ้น

ชี้เปลี่ยน รมว. พาณิชย์ใหม่ก็แก้ปัญหาจำนำข้าวไม่ได้ ยกปวีณาจะทำผลงานเด่นสุดใน ครม. ชุดใหม่

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่ในบางกระทรวงภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ครม. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5 ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,093 คน พบว่า

ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 เชื่อมั่นว่าผลงานของรัฐมนตรีใหม่ในแต่ละกระทรวงจะเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 36.9 เชื่อมั่นว่าผลงานจะดีขึ้น และร้อยละ 11.3 เชื่อมั่นว่าผลงานจะแย่ลง

เมื่อพิจารณารัฐมนตรีใหม่ในแต่ละกระทรวง ประชาชนมากถึงร้อยละ 74.1 เชื่อมั่นว่าผลงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะดีขึ้นภายใต้การบริหารของนางสาวปวีณา หงสกุล รองลงมาร้อยละ 44.1 เชื่อมั่นว่าผลงานของกระทรวงศึกษาธิการจะดีขึ้นภายใต้การบริหารของนายจาตุรนต์ ฉายแสง ด้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่มีประชาชนเพียงร้อยละ 36.2 ที่เชื่อมั่นว่าผลงานจะดีขึ้น ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าภาพลักษณ์ของ ครม. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5 ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ครม.ชุดก่อน ร้อยละ 47.2 คิดว่าเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 41.4 คิดว่าดีขึ้น และร้อยละ 11.4 คิดว่าแย่ลง

ส่วนความเห็นประชาชนหลังจากมีการปรับ ครม. แล้วความขัดแย้งและความไม่สงบทางการเมือง จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ร้อยละ 70.8 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 14.3 เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น และร้อยละ 14.9 เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง เมื่อถามต่อว่าหลังจากมีการปรับ ครม. แล้วเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ร้อยละ 68.9 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 20.8 เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น และร้อยละ 10.3 เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง

สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ รมว.พาณิชย์ คนใหม่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาการจำนำข้าวได้มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 57.8 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.2 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่งมีนัยต่อการปฏิวัติหรือไม่ ร้อยละ 39.6 คิดว่าไม่น่าจะมี ขณะที่ร้อยละ 26.3 คิดว่ามี และร้อยละ 34.1 ไม่แน่ใจ

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1.ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผลงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ภายใต้การบริหารงานของรัฐมนตรีใหม่ในแต่ละกระทรวงเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐมนตรีคนก่อน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง                                                           เชื่อมั่นว่าผลงานจะ
                                                                      ดีขึ้น      เหมือนเดิม        แย่ลง
                                                                  (ร้อยละ)       (ร้อยละ)     (ร้อยละ)
นางสาวปวีณา หงสกุล  (การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)                    74.1          22.1         3.8
นายจาตุรนต์ ฉายแสง (ศึกษาธิการ)                                          44.1            45        10.9
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (กลาโหม)                                          36.2          44.4        19.4
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง  (แรงงาน)                                            32          43.6        24.4
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล  (พาณิชย์)                                      30.9          60.2         8.9
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)                                  27          66.4         6.6
นายชัยเกษม นิติสิริ  (ยุติธรรม)                                             26.9          63.8         9.3
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี  (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)                      24.3          68.9         6.8
เฉลี่ยรวม                                                              36.9          51.8        11.3

2. ภาพลักษณ์ของ ครม. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5 ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ครม. ชุดก่อน

ดีขึ้น           ร้อยละ          41.4
เหมือนเดิม      ร้อยละ          47.2
แย่ลง          ร้อยละ          11.4

3. หลังจากมีการปรับ ครม. แล้วความขัดแย้งและความไม่สงบทางการเมือง จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้

เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น           ร้อยละ          14.3
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม          ร้อยละ          70.8
เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง         ร้อยละ          14.9

4. หลังจากมีการปรับ ครม. แล้วเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้

เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น           ร้อยละ          20.8
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม          ร้อยละ          68.9
เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง         ร้อยละ          10.3

5. ความเชื่อมั่นต่อ รมว. พาณิชย์ คนใหม่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาการจำนำข้าวได้มากน้อยเพียงใด

มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 4.0 และมากร้อยละ 38.2)          ร้อยละ          42.2

น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 43.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 14.3)         ร้อยละ          57.8

6. การที่ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง มีนัยต่อการปฏิวัติหรือไม่

คิดว่ามี           ร้อยละ          26.3
คิดว่าไม่น่าจะมี     ร้อยละ          39.6
ไม่แน่ใจ          ร้อยละ          34.1


รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการปรับ ครม. นายกฯยิ่งลักษณ์ 5

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 19 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สาทร สายไหม หลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,093 คน เป็นชายร้อยละ 51.5 และหญิงร้อยละ 48.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   1 — 3 กรกฎาคม 2556

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   4 กรกฎาคม 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

                       ชาย                        563      51.5
                       หญิง                        530      48.5
                       รวม                      1,093       100
อายุ
                      18 — 25 ปี                   265      24.2
                      26 — 35 ปี                   288      26.4
                      36 — 45 ปี                   275      25.2
                      46 ปีขึ้นไป                    265      24.2
                      รวม                       1,093       100
การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                       635      58.1
               ปริญญาตรี                            386      35.3
               สูงกว่าปริญญาตรี                        72       6.6
                     รวม                        1,093       100
อาชีพ
     ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                    170      15.6
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                     300      27.4
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                      213      19.5
     เจ้าของกิจการ                                   64       5.9
     รับจ้างทั่วไป                                    150      13.7
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                          69       6.3
     นักศึกษา                                       101       9.2
     อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น                 26       2.4
                     รวม                        1,093       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ