ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “บัณฑิตใหม่ในวันรับปริญญา” โดยเก็บข้อมูลจากบัณฑิตจบใหม่เมื่อวันที่ 3 — 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงรับปริญญาทั้งจากมหาวิทยาลัยรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ผลสำรวจพบว่า
บัณฑิตใหม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของตัวบัณฑิตเอง เพื่อใช้ในงานรับปริญญาเฉลี่ยต่อคน 12,528.00 บาท เมื่อพูดถึงของขวัญที่บัณฑิตใหม่อยากได้มากที่สุดจากครอบครัวคือ เงินทุน ร้อยละ 22.6 ส่วนช่อดอกไม้เป็นของขวัญที่บัณฑิตอยากได้มากที่สุด จากเพื่อนๆ (ร้อยละ 38.0) และจากคนรัก (ร้อยละ48.3) ทั้งนี้บัณฑิตเลือกที่จะไปเลี้ยงฉลองกันที่ ภัตตาคาร/สวนอาหารมากที่สุด
เมื่อถามว่าสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศที่บัณฑิตใฝ่ฝันอยากไปมากที่สุดคือ ทะเล ร้อยละ 74.3 ในจำนวนนี้ร้อยละ 17.4 อยากไปเที่ยวทะเลภูเก็ตมากที่สุด ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวในต่างประเทศที่บัณฑิตอยากไปมากที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 25.3 สำหรับชีวิตในวัยทำงาน บัณฑิตร้อยละ 38.5 บอกว่า ต้องการทำธุรกิจส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 30.5 อยากทำงานในหน่วยงานของรัฐ และร้อยละ 18.0 อยากทำงานในหน่วยงานเอกชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายการ เฉลี่ยต่อคน (บาท) ค่าแต่งหน้า 1,963.00 ค่าช่างภาพ 3,508.00 ค่าชุดครุย 1,624.00 ค่ากรอบรูปรับปริญญา 1,701.00 ค่าของขวัญให้เพื่อน 1,096.00 ค่าพร็อพต่างๆ (แว่นดำ สายสะพาย มงกุฏดอกไม้ ฯลฯ) 990.00 ค่าเครื่องแต่งกายอื่นๆ (รองเท้า เสื้อสูท กระโปรง ฯลฯ) 1,646.00 รวม 12,528.00 2. ของขวัญวันรับปริญญาที่อยากได้มากที่สุด คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ของขวัญที่อยากได้จากครอบครัว / ญาติ มากที่สุด 5 อันดับแรก
- เงิน/เงินทุน ร้อยละ 22.6 - ช่อดอกไม้ ร้อยละ 21.6 - รถยนต์ ร้อยละ 18.4 - ทอง สร้อยทอง ร้อยละ 9.8 - มาร่วมถ่ายภาพแสดงความยินดี ร้อยละ 7.9
- ของขวัญที่อยากได้จากเพื่อนๆ มากที่สุด 5 อันดับแรก
- ช่อดอกไม้ ร้อยละ 38.0 - ตุ๊กตา ร้อยละ 25.3
- Photo Mix (กรอบรูปรวมภาพถ่ายความทรงจำ) ร้อยละ 6.6
- มาร่วมถ่ายภาพแสดงความยินดี ร้อยละ 6.0 - การ์ดแสดงความยินดี ร้อยละ 4.4
- ของขวัญที่อยากได้จากคนรักมากที่สุด 5 อันดับแรก
- ช่อดอกไม้ ร้อยละ 48.3 - ตุ๊กตา ร้อยละ 13.0 - ทอง / สร้อยทอง ร้อยละ 8.4 - ได้มาถ่ายรูปคู่กัน ร้อยละ 6.1 - แหวนเพชร ร้อยละ 3.8 3. สถานที่ ที่บัณฑิตจะไปเลี้ยงฉลองการรับปริญญา คือ
- ฉลองกับ ครอบครัว / ญาติๆ
- ภัตตาคาร/สวนอาหาร ร้อยละ 48.9 - จัดฉลองที่บ้าน ร้อยละ 37.1 - ร้านบุฟเฟ่ต์ ร้อยละ 5.5 - คาราโอเกะ ร้อยละ 0.8 - ผับ บาร์ ร้อยละ 0.3 -อื่นๆ อาทิ ต่างจังหวัด ล่องเรือ ฯลฯ ร้อยละ 2.1 - ไม่ฉลอง ร้อยละ 5.3
- ฉลองกับเพื่อน
- ภัตตาคาร/สวนอาหาร ร้อยละ 28.8 - คาราโอเกะ ร้อยละ 16.5 - ผับ บาร์ ร้อยละ 16.3 - ร้านบุฟเฟ่ต์ ร้อยละ 14.8 - ฉลองที่บ้าน ร้อยละ 9.3 - ฟาสต์ฟู้ด ร้อยละ 1.8 - อื่นๆ อาทิ มหาวิทยาลัย ทะเล ฯลฯ ร้อยละ 1.5 - ไม่ฉลอง ร้อยละ 11.0
- ฉลองกับคนรัก / คนรู้ใจ
- ภัตตาคาร/สวนอาหาร ร้อยละ 33.2 - ฉลองที่บ้าน ร้อยละ 19.5 - ร้านบุฟเฟ่ต์ ร้อยละ 7.8 - คาราโอเกะ ร้อยละ 3.0 - ผับ บาร์ ร้อยละ 2.8 - ฟาสต์ฟู้ด ร้อยละ 2.3 - อื่นๆ อาทิ ทะเล ล่องเรือ ร้อยละ 2.3 - ไม่ฉลอง/ไม่มีแฟน ร้อยละ 29.1 4. สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่บัณฑิตใฝ่ฝันอยากไปมากที่สุดหลังจากเรียนจบ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ประเภท ทะเล ร้อยละ 74.3
โดยระบุว่า ทะเลที่อยากไปมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
- ทะเลภูเก็ต ร้อยละ 17.4 - ทะเลหมอก จ.กระบี่ ร้อยละ 14.4 - ทะเลหัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 8.1 - เกาะล้าน พัทยา จ.ชลบุรี ร้อยละ 7.5 - เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 6.0 - ประเภท ภูเขา / ดอย ร้อยละ 11.7
โดยระบุว่า ภูเขา / ดอย ที่อยากไปมากที่สุดคือ
- วังน้ำเขียว เขาใหญ่ ร้อยละ 2.4 - ภูกระดึง จ.เลย ร้อยละ 1.5 - ดอยอินทนนท์ จ .เชียงใหม่ ร้อยละ 0.9 - ประเภท น้ำตก ร้อยละ 7.1
โดยระบุว่า น้ำตกที่อยากไปมากที่สุด คือ
- น้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี ร้อยละ 2.4 - น้ำตกวังตะไคร้ จ. นครนายก ร้อยละ 1.5 - น้ำตกพลิ้ว น้ำตกเขาสอยดาว จ. จันทบุรี ร้อยละ 1.2 - ประเภทประวัติศาสตร์ ร้อยละ 3.8
โดยสถานที่ที่อยากไปมากที่สุดคือ เมืองเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา, ปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์ เป็นต้น
- ประเภทวัฒนธรรม (ตลาดน้ำ วัด ) ร้อยละ 3.1
โดยสถานที่ที่อยากไปมากที่สุดคือ อัมพวา วัดร่องขุ่น ดอยสุเทพ วัดพระแก้ว เป็นต้น
- ประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 25.3 - ประเทศอังกฤษ ร้อยละ 11.6 - ประเทศเกาหลีใต้ ร้อยละ 7.8 - ประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 7.5 - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ร้อยละ 7.0 - ประเทศฝรั่งเศส ร้อยละ 6.5 - ประเทศมัลดีฟส์ ร้อยละ 3.8 - ประเทศจีน ร้อยละ 3.0 - ประเทศออสเตรเลีย ร้อยละ 2.7 - ประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 2.2 6. องค์กรในฝันที่บัณฑิตอยากเข้าไปทำงานด้วยมากที่สุด คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ทำธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 38.5
โดยระบุว่า
- เป็นเจ้าของคนเดียว ร้อยละ 21.8 - สืบทอดธุรกิจครอบครัว ร้อยละ 9.7 - ร่วมหุ้นกับเพื่อน ร้อยละ 7.0 - หน่วยงานราชการ ร้อยละ 30.5
โดยระบุว่า
- รับราชการครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 5.8 - งานเทศบาล อบต. ร้อยละ 3.7 - ทำงานในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ร้อยละ 3.5 - กรมทหาร กระทรวงกลาโหม ร้อยละ 2.9 - ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ ร้อยละ 2.5
- อื่นๆ อาทิ กทม. ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ฯลฯ ร้อยละ 21.1
- หน่วยงานเอกชน ร้อยละ 18.0
โดยระบุว่า
- บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(SCG) ร้อยละ 1.6 - บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์(CP) ร้อยละ 1.3
- ธนาคารเอกชน เช่น ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย
ธ. ไทยพาณิชย์ ร้อยละ 1.1
- อื่นๆ อาทิ โตโยต้า เอไอเอส โรงแรม ฯลฯ ร้อยละ 14.0
- หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.0
โดยระบุว่า
- การไฟฟ้า ร้อยละ 6.1 - การบินไทย ร้อยละ 2.9 - ปตท. ร้อยละ 2.6 - อื่นๆ อาทิ TOT ท่าอากาศยาน ฯลฯ ร้อยละ 1.4
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อทราบของขวัญรับปริญญาที่บัณฑิตอยากได้จากบุคคลต่างๆ
2. เพื่อทราบการเตรียมงบประมาณในงานรับปริญญาของบัณฑิต
3. เพื่อทราบสถานที่ที่บัณทิตจะไปเลี้ยงฉลองรับปริญญากับบุคคลต่างๆ
4. เพื่อทราบสถานที่ท่องเที่ยวที่ใฝ่ฝันทั้งในประเทศและต่างประเทศของบัณฑิตจบใหม่
5. เพื่อทราบถึงองค์กรในฝันของบัณฑิตที่อยากเข้าไปร่วมงานด้วย
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากบัณฑิตที่อยู่ในช่วงงานรับปริญญาจากมหาวิทยาลัย ทั้งรัฐและเอกชน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.8 และเพศหญิงร้อยละ 55.2
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทั้งในวันที่ซ้อมรับปริญญาและวันรับจริง ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 — 7 กรกฎาคม 2556
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 10 กรกฎาคม 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 179 44.8 หญิง 221 55.2 รวม 400 100 มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 70 17.5 มหาวิทยาลัยมหิดล 70 17.5 มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี 70 17.5 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต 67 16.7 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 70 17.5 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 53 13.3 รวม 400 100 อาชีพของบิดา ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 88 22.2 พนักงานบริษัทเอกชน 37 9.3 ธุกิจส่วนตัว 93 23.3 ค้าขาย 55 13.8 เกษตรกรรม/ปศุสัตว์ 41 10.3 รับจ้างทั่วไป 42 10.5 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 18 4.5 อื่นๆ อาทิ ว่างงาน เสียชีวิต เป็นต้น 26 6.1 รวม 400 100 อาชีพของมารดา ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 66 16.4 พนักงานบริษัทเอกชน 32 7.9 ธุกิจส่วนตัว 85 21.3 ค้าขาย 74 18.7 เกษตรกรรม/ปศุสัตว์ 37 9.2 รับจ้างทั่วไป 38 9.4 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 14 3.6 อื่นๆ อาทิ ว่างงาน เสียชีวิต เป็นต้น 54 13.5 รวม 400 100 รายได้ของครอบครัวต่อเดือน 0-5,000 บาท 4 1 5,001 — 10,000 บาท 20 5 10,001 — 15,000 บาท 38 9.5 15,001 — 20,000 บาท 37 9.3 20,001 — 25,000 บาท 28 7 25,001 — 30,000 บาท 26 6.5 30,001 — 35,000 บาท 32 8 35,001 — 40,000 บาท 28 7 40,001 — 50,000 บาท 38 9.5 50,001 บาท ขึ้นไป 149 37.2 รวม 400 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--