ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.49 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากการทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน 0.38 คะแนน ทั้งยังเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ และเป็นการปรับลดลงในทุกด้านที่ทำการประเมิน โดยได้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.04 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุด (3.98 คะแนน)
ด้านคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ที่ 4.94คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากการทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน 0.48 คะแนนและเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ โดยได้คะแนนความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด(5.49 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด (4.56 คะแนน)
ด้านคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 4.94 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.40 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.81 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.50 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ส่วนเรื่องที่บั่นทอนหรือทำลายภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากที่สุด อันดับ 1 คือ การคอร์รัปชั่น โกงกิน ในโครงการต่างๆ (ร้อยละ 19.9) อันดับ 2 คือ โครงการรับจำนำข้าวล้มเหลว ขาดทุน (ร้อยละ 19.3) อันดับ 3 คือ การไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เพราะข้าวของแพง น้ำมันแพงและค่าครองชีพยังสูงอยู่(ร้อยละ 11.1)
สำหรับความเห็นต่อระยะเวลา 2 ปี ของรัฐบาลที่นำโดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าสามารถนำพาประเทศ เดินทางไปถูกทางหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.2 ยังเห็นไม่ชัดเจนว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด รองลงมาร้อยละ 27.7 เห็นว่านำพาไปถูกทางแล้ว และร้อยละ 17.1 เห็นว่ายังไม่ถูกทาง
สุดท้ายเมื่อถามว่า หากมีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะนำพาประเทศไทยให้มีลักษณะอย่างไร ประชาชนระบุว่าให้ทุกคนมีโอกาสในด้านต่างๆ เท่าเทียมกันมากที่สุดร้อยละ 34.8 รองลงมาคือ มีคอร์รัปชั่นให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย ร้อยละ 25.7 และมีกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เด็กขาดที่ทุกคนเคารพ ร้อยละ 17.2
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ครบ 6 เดือน ครบ 1 ปี ครบ 1 ปี ครึ่ง ครบ 2 ปี เพิ่มขึ้น / ลดลง (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) ด้านการต่างประเทศ 5.16 5.32 5.31 5.04 -0.27 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 4.94 4.88 4.91 4.61 -0.3 ด้านความมั่นคงของประเทศ 4.95 4.8 4.92 4.55 -0.37 ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย 4.81 4.47 4.65 4.28 -0.37 ด้านเศรษฐกิจ 4.81 4.73 4.55 3.98 -0.57 คะแนนเฉลี่ย 4.94 4.84 4.87 4.49 -0.38 2. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 4.94 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ครบ 6 เดือน ครบ 1 ปี ครบ 1 ปี ครึ่ง ครบ 2 ปี เพิ่มขึ้น / ลดลง
(คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้)
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ 6.06 6.1 6.04 5.49 -0.55 ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 5.24 5.28 5.49 5.03 -0.46 ความซื่อสัตย์สุจริต 5.48 5.51 5.48 4.98 -0.5 การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 5.27 5.15 5.3 4.82 -0.48 ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ ที่มี 5 5.05 5.29 4.78 -0.51 ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ 4.64 4.75 4.9 4.56 -0.34 คะแนนเฉลี่ย 5.29 5.31 5.42 4.94 -0.48 3. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้านและ พรรคร่วมฝ่ายค้าน จากคะแนนเต็ม 10 ครบ 6 เดือน ครบ 1 ปี ครบ 1 ปี ครึ่ง ครบ 2 ปี เพิ่มขึ้น / ลดลง
(คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้) (คะแนนที่ได้)
- พรรคแกนนำรัฐบาล 5.42 5.28 5.44 4.94 -0.5 (พรรคเพื่อไทย) - พรรคร่วมรัฐบาล(พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล 4.39 4.37 4.62 4.4 -0.22 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคมหาชน) - พรรคแกนนำฝ่ายค้าน 3.88 3.55 3.86 3.81 -0.05 (พรรคประชาธิปัตย์) - พรรคร่วมฝ่ายค้าน (พรรคภูมิใจไทย 3.8 3.39 3.57 3.5 -0.07 พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ)
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน (ผลสำรวจ ข้อ 1- 3)
1. การคอร์รัปชั่น โกงกิน ในโครงการต่างๆ ร้อยละ 19.9 2. โครงการรับจำนำข้าวล้มเหลว ขาดทุน ร้อยละ 19.3 3. การไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เพราะข้าวของแพง น้ำมันแพง และค่าครองชีพยังสูงอยู่ ร้อยละ 11.1 4. การชุมนุม ม็อบ จากกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 8.8 5. การขัดแย้งผลประโยชน์กันเองภายในรัฐบาลและมีการปรับ ครม. บ่อย ร้อยละ 5.2 6. การที่นายกฯ ไม่เป็นตัวของตัวเอง และการให้สัมภาษณ์สื่อในเวทีโลก ร้อยละ 4.2 7. การขัดแย้งโต้เถียงกันในสภาฯ ร้อยละ 4.1 8. การแก้รัฐธรรมนูญและการจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม ร้อยละ 3.8 9. การที่ไม่สามารถปราบปรามปัญหายาเสพติดได้ ร้อยละ 3.6 10. ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ร้อยละ 3.4 5. ความเห็นต่อระยะเวลา 2 ปี ของรัฐบาลที่นำโดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าสามารถนำพาประเทศเดินทางไปถูกทางหรือไม่ - นำพาไปถูกทางแล้ว ร้อยละ 27.7 - ยังไม่ถูกทาง ร้อยละ 17.1 - ยังเห็นไม่ชัดเจนว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด ร้อยละ 55.2 6. เมื่อถามว่า หากมีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะนำพาประเทศไทยให้มีลักษณะอย่างไรมากที่สุด - ให้ทุกคนมีโอกาสในด้านต่างๆ เท่าเทียมกัน ร้อยละ 34.8 - มีคอร์รัปชั่นให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย ร้อยละ 25.7 - มีกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เด็กขาดที่ทุกคนเคารพ ร้อยละ 17.2 - มีคนจนให้น้อยที่สุด ร้อยละ 12.2 - มุ่งเน้นธุรกิจ การลงทุน แข่งขันกับต่างประเทศ ร้อยละ 5.6
- อื่นๆ อาทิ เน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม เรื่องการศึกษาพัฒนาชนบทให้เทียบเท่าในเมือง ฯลฯ ร้อยละ 4.5
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการประเมินผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี เมื่อทำงานมาครบ 2 ปี การให้คะแนนการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีและการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ทางการเมือง รวมถึงข้อคิดเห็นต่างๆเกี่ยวการบริหารประเทศของรัฐบาล เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,419 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.5 และเพศหญิงร้อยละ 52.5
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) ให้ผู้ตอบระบุเองโดยอิสระ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 — 29 กรกฎาคม 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 สิงหาคม 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 674 47.5 หญิง 744 52.5 รวม 1,419 100 อายุ 18 ปี - 25 ปี 329 23.2 26 ปี — 35 ปี 364 25.7 36 ปี — 45 ปี 326 22.9 46 ปีขึ้นไป 400 28.2 รวม 1,419 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 927 65.3 ปริญญาตรี 434 30.6 สูงกว่าปริญญาตรี 58 4.1 รวม 1,419 100 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 200 14.1 พนักงานบริษัทเอกชน 273 19.2 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 279 19.7 เจ้าของธุรกิจ 64 4.5 รับจ้างทั่วไป 247 17.4 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 99 7 นักศึกษา 159 11.2 อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ เกษตรกร ว่างงาน ฯลฯ 98 6.9 รวม 1,419 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--