เนื่องในวันที่ 12 สิงหาคมที่จะถึงนี้เป็นวันแม่แห่งชาติ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายเสียงประชาชน (WE VOICE) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนชาวกรุงเทพฯ เรื่อง “แม่กับการอ่านสร้างเสริมศักยภาพลูก เนื่องในวันแม่แห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 6 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,020 คน พบว่า
สิ่งของที่แม่นิยมซื้อให้ลูกมากที่สุดในโอกาสพิเศษต่างๆ (เช่น วันเกิด ปีใหม่) อันดับ 1 คือ เสื้อผ้า/ เครื่องประดับ (ร้อยละ 51.6) อันดับ 2 คือ ของเล่น/ ตุ๊กตา/ หุ่นยนต์ (ร้อยละ 47.5) อันดับ 3 คือ ขนม ของกิน (ร้อยละ 43.8) อันดับ 4 คือ หนังสือนิทาน/การ์ตูน(ร้อยละ 37.9)
สำหรับกิจกรรมที่แม่ทำร่วมกับลูกมากที่สุดในยามว่างคือ ดูโทรทัศน์/ ดูภาพยนตร์ (ร้อยละ 55.8) รองลงมาคือ ไปสนามเด็กเล่น/ ออกกำลังกาย/ เล่นกีฬา (ร้อยละ 39.3) ไปช้อปปิ้ง/ เดินห้าง (ร้อยละ 35.4) และอ่านหนังสือ/ นิทาน/ การ์ตูน (ร้อยละ 31.5) จุดที่น่าสนใจของผลสำรวจในส่วนนี้ คือ กิจกรรมที่แม่ทำกับลูกมากที่สุดในยามว่าง คือ ดูโทรทัศน์/ดูภาพยนต์ซึ่งมากกว่าการอ่านหนังสือ ย่อมแสดงว่าสังคมปัจจุบันต้องผลิตหรือมีสื่อดีๆ สำหรับเด็กเล็กให้มากขึ้นและการรณรงค์การอ่านยังมีความสำคัญที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถามว่าเคยพาลูกไปเลือกซื้อหนังสือด้วยกันหรือไม่ พบว่ามีแม่ถึงร้อยละ 68.7 ที่ระบุว่าไม่เคยพาลูกไปซื้อหนังสือ มีเพียงร้อยละ 31.3 เท่านั้น ที่ระบุว่าเคย โดยหนังสือที่อยากเลือกให้ลูกอ่านมากที่สุด คือ หนังสือที่มีเนื้อหาพัฒนาด้านจิตใจ/ อารมณ์/ EQ/ การเข้าสังคม (ร้อยละ 28.3) รองลงมาคือ หนังสือที่มีการปลูกฝังคุณธรรม/ รู้ผิดชอบชั่วดี (ร้อยละ 24.8) และหนังสือที่สร้างเสริมความรู้เชิงวิชาการที่สอดคล้องกับการเรียนที่โรงเรียน (ร้อยละ 18.3)
สำหรับสาเหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้แม่หาซื้อหนังสือและอ่านให้ลูกฟังคือ การที่แม่เห็นความสำคัญของการอ่าน (ร้อยละ 63.6) รองลงมาคือ มีหนังสือดีๆเหมาะสำหรับเด็กให้เลือกซื้อหา (ร้อยละ 43.8) และได้รับแรงจูงใจจากสื่อรณรงค์การอ่าน (ร้อยละ 30.8)
ด้านความคาดหวังจากผลของการอ่านหนังสือให้ลูกฟังพบว่า ร้อยละ 57.8 คาดหวังว่าหนังสือจะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา/ การจัดการทางอารมณ์ และเสริมสร้างจินตนาการ ร้อยละ 55.9 คาดหวังว่าหนังสือจะช่วยฝึกนิสัยให้ลูกรักการอ่าน และร้อยละ 37.9 คาดหวังว่าหนังสือทำให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง
ส่วนเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้แม่ไม่ค่อยได้ใช้เวลาอ่านหนังสือกับลูกคือ ไม่มีเวลา/ ทำงาน (ร้อยละ 47.6) รองลงมาคือ ลูกต้องเรียนพิเศษ (ร้อยละ 11.9) ชอบดูทีวีด้วยกันมากกว่า (ร้อยละ 10.0) และคิดว่าลูกได้อ่านมาจากโรงเรียนอยู่แล้ว (ร้อยละ 8.6)
เมื่อถามความเห็นว่าใครเป็นผู้มีบทบาทในการสร้างให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านมากที่สุดอันดับแรกคือ พ่อแม่/ครอบครัว (ร้อยละ 52.7) รองลงมาคือ ครู/โรงเรียน (ร้อยละ 42.8) และเพื่อนของลูก (ร้อยละ 1.3) ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าในครอบครัวของท่านมีบุคคลที่เป็นต้นแบบในเรื่องรักการอ่านหรือไม่ ร้อยละ 65.4 ระบุว่า “มี” โดยในจำนวนนี้ระบุว่าได้แก่ ตัวพ่อกับแม่เอง (ร้อยละ 49.0) รองลงมาคือ ลุง ป้า น้า อา (ร้อยละ 7.4) และปู่ ย่า ตา ยาย (ร้อยละ 7.1) ขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่า “ไม่มี”
สุดท้ายเมื่อถามว่าเคยได้รับการจัดสรร/ สนับสนุนหนังสือสำหรับเด็กช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 6 ปี ที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนจากหน่วยงานภาครัฐ/ เอกชนหรือไม่ แม่ถึงร้อยละ 76.8 ระบุว่า “ไม่เคย” ขณะที่ร้อยละ 23.2 ระบุว่า “เคย” โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 19.8 เคยได้รับจำนวน 1 - 5 เล่ม รองลงมา ร้อยละ 2.7 เคยได้รับ 6 - 10 เล่ม และร้อยละ 0.7 เคยได้ 10 เล่มขึ้นไป
จากผลการสำรวจในครั้งนี้ นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า “ประเทศไทยแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ปีละ 8 แสนคน มีเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปีรวมปีละ 4.5 ล้านคน แสดงว่ามีเด็กเข้าถึงหนังสือเพียงปีละ 1 ล้านกว่าคน ขณะที่เด็กกว่า 3.4 ล้านคน ยังขาดโอกาสด้านนี้ ทั้ง ๆ ที่งานวิจัยทางการแพทย์เห็นสอดคล้องกันว่าหนังสือภาพ การเล่านิทาน อ่านหนังสือมีความสำคัญในการพัฒนาสมอง และทักษะชีวิตของเด็กแทบทุกด้าน ทั้งทักษะทางภาษา และการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงขอถือโอกาสเรียกร้องให้เพิ่มปริมาณสวัสดิการหนังสือแก่เด็กแรกเกิดและช่วงปฐมวัย เพื่อให้แม่ทุกคนได้มีเครื่องมือสำคัญและมีศักยภาพในการพัฒนาลูกอย่างรอบด้าน”
ข้อมูลเพิ่มเติมงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ติดต่อ 02-424-4616-17
ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการสำรวจ ติดต่อ 02-350-3500 ต่อ 1527
รายละเอียดดังต่อไปนี้
อันดับ 1 เสื้อผ้า/ เครื่องประดับ ร้อยละ 51.6 อันดับ 2 ของเล่น/ ตุ๊กตา/ หุ่นยนต์ ร้อยละ 47.5 อันดับ 3 ขนม ของกิน ร้อยละ 43.8 อันดับ 4 หนังสือนิทาน/ การ์ตูน ร้อยละ 37.9 อันดับ 5 DVD/ CD เกม/ แท็ปเล็ต/ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 21.0 อื่นๆ เช่น ของทำบุญที่วัด อุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน ร้อยละ 4.7 2. กิจกรรมที่ทำกับลูกในยามว่าง(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อันดับ 1 ดูโทรทัศน์/ ดูภาพยนตร์ ร้อยละ 55.8 อันดับ 2 ไปสนามเด็กเล่น/ ออกกำลังกาย/ เล่นกีฬา ร้อยละ 39.3 อันดับ 3 ไปช้อปปิ้ง/ เดินห้าง ร้อยละ 35.4 อันดับ 4 อ่านหนังสือ/ นิทาน/ การ์ตูน ร้อยละ 31.5 อันดับ 5 เดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 25.8 อันดับ 6 ทำอาหารกินกันในครอบครัว ร้อยละ 24.6 อันดับ 7 เข้าวัดสวดมนต์ ร้อยละ 14.5 อันดับ 8 เล่นคอมพิวเตอร์/ iPad/ iPhone ร้อยละ 13.8 อื่นๆ เช่น ร้องเพลงคาราโอเกะ ทำงานฝีมือ นั่งคุยนั่งเล่น ร้อยละ 2.6 3. ข้อคำถาม “ท่านเคยพาลูกไปเลือกซื้อหนังสือด้วยกันหรือไม่” เคย ร้อยละ 31.3 ไม่เคย ร้อยละ 68.7 4. ข้อคำถาม “ท่านจะเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาประเภทใดให้ลูกอ่านมากที่สุด” การพัฒนาด้านจิตใจ/ อารมณ์/ EQ/ การเข้าสังคม ร้อยละ 28.3 การปลูกฝังคุณธรรม/ รู้ผิดชอบชั่วดี ร้อยละ 24.8 การสร้างเสริมความรู้เชิงวิชาการที่สอดคล้องกับการเรียนที่โรงเรียน ร้อยละ 18.3 การดูแลสุขภาพอนามัย เช่น การกิน การรักษาความสะอาด ร้อยละ 11.5 การฝึกทักษะชีวิต/ การช่วยเหลือตนเอง ร้อยละ 11.2 การให้ความรู้ด้านความปลอดภัย ร้อยละ 3.4 อื่นๆ เช่น นิทาน การ์ตูน เน้นบันเทิง ร้อยละ 2.5 5. สาเหตุจูงใจที่ทำให้แม่หาซื้อหนังสือและอ่านให้ลูกฟัง(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) แม่เห็นความสำคัญของการอ่าน ร้อยละ 63.6 มีหนังสือดีๆเหมาะสำหรับเด็กให้เลือกซื้อหา ร้อยละ 43.8 ได้รับแรงจูงใจจากสื่อรณรงค์การอ่าน ร้อยละ 30.8 คำแนะนำจากคนรอบข้าง ร้อยละ 11.5 อื่นๆ เช่น เป็นหนังสือที่ลูกสนใจ ร้อยละ 1.5 6. ความคาดหวังจากผลการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา/ การจัดการทางอารมณ์ และเสริมสร้างจินตนาการ ร้อยละ 57.8 จะช่วยฝึกนิสัยให้ลูกรักการอ่าน ร้อยละ 55.9 ต้องการให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง ร้อยละ 37.9 เป็นการถ่ายทอดความรักจากแม่สู่ลูก ร้อยละ 33.3 สามารถสอดแทรกคุณธรรมและคติสอนใจจริยธรรมให้กับลูก ร้อยละ 28.5 อื่นๆ เช่น ทำให้เด็กอยากเรียนรู้ อยากให้ใช้หนังสือมากกว่าคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 0.4 7. ข้อคำถาม “เหตุผลสำคัญที่ทำให้ไม่ค่อยได้ใช้เวลาอ่านหนังสือกับลูก” ไม่มีเวลา/ทำงาน ร้อยละ 47.6 ลูกต้องเรียนพิเศษ ร้อยละ 11.9 ชอบดูทีวีด้วยกัน ร้อยละ 10.0 คิดว่าลูกได้อ่านมาจากโรงเรียนอยู่แล้ว ร้อยละ 8.6 คิดว่าลูกยังอ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 7.8 ลูกต้องทำการบ้าน ร้อยละ 3.3 ไม่มีหนังสือดีๆ ที่น่าอ่าน ร้อยละ 2.6 ไม่มีเงิน เพราะ ต้องเก็บเงินไว้ใช้ในเรื่องอื่นที่จำเป็นมากกว่า ร้อยละ 2.0 หนังสือมีราคาแพง ร้อยละ 1.8 ไม่มีห้องสมุดเด็กที่ใกล้บ้าน ร้อยละ 1.0 อื่นๆ เช่น อ่านให้ลูกฟังเสมออยู่แล้ว คิดว่าลูกยังเล็กมาก ร้อยละ 3.4 8. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าใครเป็นผู้มีบทบาทในการสร้างให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านมากที่สุด” พ่อแม่/ครอบครัว ร้อยละ 52.7 ครู/โรงเรียน ร้อยละ 42.8 เพื่อนของลูก ร้อยละ 1.3 สื่อต่างๆ ร้อยละ 1.2 กระทรวงศึกษา/รัฐบาล ร้อยละ 1.0 ชุมชน/สังคม ร้อยละ 0.4 กทม./เทศบาล/อบต. ร้อยละ 0.3 อื่นๆ เช่น ทุกส่วนร่วมมือกัน ร้อยละ 0.3 9. ข้อคำถาม “ในครอบครัวของท่านมีบุคคลที่เป็นต้นแบบในเรื่องรักการอ่านหรือไม่” มี ร้อยละ 65.4 ได้แก่ ตัวพ่อกับแม่เอง ร้อยละ 49.0 ลุง ป้า น้า อา ร้อยละ 7.4 ปู่ ย่า ตา ยาย ร้อยละ 7.1 ลูกคนโต ลูกพี่ลูกน้อง ร้อยละ 1.1 ทุกคนในครอบครัว ร้อยละ 0.8 ไม่มี ร้อยละ 34.6 10. ข้อคำถาม “ท่านเคยได้รับการจัดสรร/ สนับสนุนหนังสือสำหรับเด็กช่วงวัย 0-6 ปี ที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนจากหน่วยงานภาครัฐ/ เอกชนหรือไม่” เคย ร้อยละ 23.2 โดยได้รับจำนวน 1 - 5 เล่ม ร้อยละ 19.8 6 - 10 เล่ม ร้อยละ 2.7 10 เล่มขึ้นไป ร้อยละ 0.7 ไม่เคย ร้อยละ 76.8
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสร้างกระแสหรือกระตุ้นให้แม่ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านสร้างเสริมศักยภาพลูก
2. เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนให้สังคมรับทราบถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูก
3. เพื่อเป็นข้อมูลในประกอบการดำเนินนโยบายในการรณรงค์ของ สสส.
แม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 6 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งชั้นใน ชั้นกลาง ชั้นนอก และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ โดยคณะนักวิจัยจะกระจายผู้เก็บข้อมูลไปยังพื้นที่เป้าหมายต่างๆ และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว
1,020 ตัวอย่าง ซึ่งจะให้ค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3-6 สิงหาคม 2556
กำหนดวันเผยแพร่ผลสำรวจ : 9 สิงหาคม 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ อายุ
ต่ำกว่า 20 ปี 78 7.6 21 - 30 ปี 334 32.7 31 - 40 ปี 443 43.5 41 - 50 ปี 151 14.8 มากกว่า 50 ปี 14 1.4 รวม 1,020 100 การศึกษาขั้นสูงสุด ประถมศึกษา 154 15.1 มัธยมศึกษา/ปวช 397 38.9 ปวส/อนุปริญญา 146 14.3 ปริญญาตรี 262 25.7 สูงกว่าปริญญาตรี 61 6 รวม 1,020 100 อาชีพ ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ 84 8.2 พนักงานบริษัท 242 23.7 ธุรกิจส่วนตัว/ ค้าขาย 249 24.4 รับจ้าง 212 20.8 เกษตร/ ประมง 5 0.5 นักศึกษา 12 1.2 แม่บ้าน 206 20.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 10 1 รวม 1,020 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--