ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 31 แห่ง จำนวน 61 คน เรื่อง “จีดีพีกับหนี้สาธารณะ” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 22 —28 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 เห็นว่าในช่วงปี 2557-2563 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลมีแผนจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ และ พ.ร.บ.ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยมีโอกาสกว่า 50% ที่จะขยายตัวเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 5.63 ต่อปี (จีดีพี ณ ราคาประจำปี)ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา เมื่อถามต่อว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่จีดีพีจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 4 ต่อปี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 บอกว่ามีโอกาสมากกว่า 50% นั่นหมายความว่ามีโอกาสมากกว่าครึ่งเช่นกันที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะเกินร้อยละ 50 ตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้
นอกจากนี้ร้อยละ 85.2 คิดว่ารัฐบาลยังคงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลอยู่ในปี 2560 มีเพียงร้อยละ 11.5 ที่คิดว่ารัฐบาลน่าจะใช้งบประมาณแบบสมดุลได้ตามที่ได้วางแผนไว้ และนักเศรษฐศาสตร์มากถึง ร้อยละ 90.2 เชื่อว่ามีโอกาสมากกว่า 50% ที่รัฐบาลในช่วงปี 2560-2563 จะใช้งบประมาณแบบขาดดุลเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า “ระหว่างหนี้สาธารณะ หนี้ภาคเอกชน และหนี้ครัวเรือนหนี้อะไรน่าเป็นห่วงที่สุด” ร้อยละ 63.9 บอกว่า หนี้ครัวเรือนน่าห่วงที่สุด รองลงมาร้อยละ 31.1 หนี้สาธารณะน่าห่วงที่สุด ขณะที่หนี้ภาคเอกชนไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดที่เห็นว่าน่าห่วง
สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากรัฐบาลจะใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายสมดุลอย่างยั่งยืน” ในช่วงปี 2560 เป็นต้นไป รัฐบาลต้องดำเนินการอะไรบ้างในตอนนี้
อันดับ 1 เห็นว่าต้องหยุด เลิก โครงการประชานิยมต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะชดเชยราคา การโอนความมั่งคั่ง เนื่องจากโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่ไม่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตให้สูงขึ้น
อันดับ 2 เห็นว่าต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับรัฐเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
มีโอกาสน้อยที่สุด 0% 10% 20% 30% 40% 50% 60% 70% 80% 90% 100% มีโอกาสมากที่สุด ร้อยละ 0.0 1.6 4.9 9.8 11.5 6.6 8.2 18.0 18.0 9.8 4.9 ร้อยละ
ร้อยละ 27.8 เห็นว่ามีโอกาสน้อยกว่า 50% ร้อยละ 65.5 เห็นว่ามีโอกาสมากกว่า 50%
ร้อยละ 6.7 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
มีโอกาสน้อยที่สุด 0% 10% 20% 30% 40% 50% 60% 70% 80% 90% 100% มีโอกาสมากที่สุด ร้อยละ 3.3 4.9 6.6 14.8 6.6 23.0 11.5 18.0 3.3 1.6 0.0 ร้อยละ
ร้อยละ 36.2 เห็นว่ามีโอกาสน้อยกว่า 50% ร้อยละ 57.4 เห็นว่ามีโอกาสมากกว่า 50%
ร้อยละ 6.4 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
ร้อยละ 85.2 คิดว่ารัฐบาลยังคงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลอยู่
ร้อยละ 11.5 คิดว่ารัฐบาลน่าจะใช้งบประมาณแบบสมดุลได้
ร้อยละ 3.3 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
เป็นไปได้น้อยที่สุด 0% 10% 20% 30% 40% 50% 60% 70% 80% 90% 100% เป็นไปได้มากที่สุด ร้อยละ 0.0 0.0 1.6 0.0 3.3 16.4 11.5 29.5 16.4 11.5 4.9 ร้อยละ
ร้อยละ 4.9 เห็นว่ามีโอกาสน้อยกว่า 50% ร้อยละ 90.2 เห็นว่ามีโอกาสมากกว่า 50%
ร้อยละ 4.9 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
ร้อยละ 63.9 หนี้ครัวเรือนน่าห่วงที่สุด
ร้อยละ 31.1 หนี้สาธารณะน่าห่วงที่สุด
ร้อยละ 0.0 หนี้ภาคเอกชนน่าห่วงที่สุด
ร้อยละ 5.0 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
6. ในปี 2560 เป็นต้นไป หากรัฐบาลจะใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายสมดุลอย่างยั่งยืน รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างไรในตอนนี้
อันดับ 1 หยุด เลิก โครงการประชานิยมต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะชดเชยราคา การโอนความมั่งคั่ง เนื่องจากโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่ไม่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตให้สูงขึ้น
อันดับ 2 เห็นว่าต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับรัฐเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน
อันดับ 3 เร่งรัดการจัดเก็บภาษี การเพิ่มภาษี ต้องรีบผ่าน พ.ร.บ. กู้เงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมกับลดรายจ่ายไปด้วย
อันดับ 4 ต้องมีวินัยทางการคลัง มีการติดตามการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
อันดับ 5 ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
อันดับ 6 อื่นๆ ได้แก่ เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค การลงทุน ขยายกำลังซื้อในประเทศ ปรับเปลี่ยนวิธีใช้งบประมาณ คงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลไปก่อน และคนไทยต้องอยู่อย่างพอเพียงช่วยตัวเองได้
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลต่อระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศ รวมถึงสะท้อนความเห็นต่อประเด็นดุลงบประมาณที่รัฐบาลมีนโยบายในการใช้งบประมาณแบบสมดุลในปี 2560 นี้
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 —28 สิงหาคม 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 กันยายน 2556
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 26 42.6 หน่วยงานภาคเอกชน 20 32.8 สถาบันการศึกษา 15 24.6 รวม 61 100 เพศ ชาย 33 54.1 หญิง 28 45.9 รวม 61 100 อายุ 18ปี — 25 ปี 1 1.7 26 ปี — 35 ปี 19 31.1 36 ปี — 45 ปี 18 29.5 46 ปีขึ้นไป 23 37.7 รวม 61 100 การศึกษา ปริญญาตรี 4 6.6 ปริญญาโท 41 67.2 ปริญญาเอก 16 26.2 รวม 61 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 8 13.1 6-10 ปี 14 23 11-15 ปี 12 19.7 16-20 ปี 8 13.1 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 19 31.1 รวม 61 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--