ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 63 คน เรื่อง “ลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม ประเทศไทยได้หรือเสีย” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23—30 กันยายน ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 85.7 เห็นว่าชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยไม่ได้มาด้วยเหตุผลสำคัญเพื่อการช็อปปิ้ง และเมื่อถามต่อว่าหากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมเหลือ 0-5% จากเดิม 30% จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 79.4 เชื่อว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยจะเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซ้ำร้ายร้อยละ 79.4 เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยซื้อสินค้าแบรนด์เนมนำเข้ามากกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งผลที่ตามมาร้อยละ 81.0 เชื่อว่าจะทำให้มีการนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมหรูจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อันมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น
ส่วนประเด็นผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในสินค้าที่เกี่ยวข้องนั้น ร้อยละ 46.0 เห็นว่าจะกระทบมาก ขณะที่ร้อยละ 42.9 จะกระทบน้อย
สุดท้ายเมื่อถามว่า “โดยสรุปแล้ว ท่านคิดว่าการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม ไทยได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์” นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.6 เห็นว่าจะเสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์ ขณะที่ร้อยละ20.6 เห็นว่าได้ประโยชน์มากกว่า ที่เหลือร้อยละ 23.8 บอกว่าไม่ทราบ
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
ร้อยละ 7.9 ใช่ ร้อยละ 85.7 ไม่ใช่ ร้อยละ 6.4 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ 2. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่า หากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมเหลือ 0-5% จากเดิม 30% จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่” ร้อยละ 17.5 เพิ่มขึ้นมาก ร้อยละ 79.4 เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.0 ลดลง ร้อยละ 3.1 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ 3. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่า หากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมเหลือ 0-5% จากเดิม 30% สินค้าแบรนด์เนมที่ขายได้จะมาจากลูกค้ากลุ่มใดมากกว่ากันระหว่างกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกับกลุ่มผู้บริโภคคนไทย” ร้อยละ 79.4 ผู้บริโภคชาวไทยซื้อมากกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ร้อยละ 11.1 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซื้อมากกว่าผู้บริโภคชาวไทย ร้อยละ 9.5 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ 4. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่า หากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมเหลือ 0-5% จากเดิม 30% จะทำให้การนำเข้าในกลุ่มสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นหรือไม่” ร้อยละ 81.0 เพิ่มขึ้นมาก ร้อยละ 15.9 เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.0 ลดลง ร้อยละ 3.1 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ 5. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่า หากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมเหลือ 0-5% จากเดิม 30% จะมีส่วนทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นหรือไม่” ร้อยละ 52.4 มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.6 ไม่มีส่วนที่จะทำให้ไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.0 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ 6. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่า หากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมเหลือ 0-5% จากเดิม 30% จะส่งผลต่อผู้ประกอบการของไทยในสินค้าที่เกี่ยวข้อง มากน้อยเพียงใด” ร้อยละ 46.0 กระทบมาก ร้อยละ 42.9 กระทบน้อย ร้อยละ 0.0 ไม่กระทบ ร้อยละ 11.1 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ 7. ข้อคำถาม “โดยสรุปแล้ว ท่านคิดว่าการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม ไทยได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์” ร้อยละ 55.6 เสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์ ร้อยละ 20.6 ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ ร้อยละ 23.8 ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อทราบความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ต่อผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากแนวคิดที่จะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สมาคมธนาคารไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานเศรษฐกิจต่างๆ ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในภาควิชาที่เกี่ยวเนื่องกับเศรษฐศาสตร์
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 23 — 30 กันยายน 2556
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 ตุลาคม 2556
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 26 41.3 หน่วยงานภาคเอกชน 24 38.1 สถาบันการศึกษา 13 20.6 รวม 63 100 เพศ ชาย 33 52.4 หญิง 30 47.6 รวม 63 100 อายุ 26 ปี — 35 ปี 21 33.3 36 ปี — 45 ปี 18 28.6 46 ปีขึ้นไป 24 38.1 รวม 63 100 การศึกษา ปริญญาตรี 4 6.4 ปริญญาโท 45 71.4 ปริญญาเอก 14 22.2 รวม 63 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 7 11.1 6-10 ปี 19 30.2 11-15 ปี 9 14.3 16-20 ปี 6 9.5 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 22 34.9 รวม 63 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--