กรุงเทพโพลล์: รัฐบาลกับสุขภาพจิตคนกรุง และวิธีคลายเครียดอย่างสร้างสรรค์

ข่าวผลสำรวจ Wednesday October 9, 2013 08:47 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเครียดมากที่สุด เรื่อง ของแพง รถติด การบริหารประเทศของรัฐบาล เกือบ 75% บอกทำสุขภาพจิตเสียมาก โดย 74% ไม่เชื่อว่ารัฐจะแก้ปัญหาให้ได้ แนะให้คิดบวก มองโลกในแง่ดีช่วยคลายเครียดได้

เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคมที่จะถึงนี้เป็นวันสุขภาพจิตโลก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “รัฐบาลกับสุขภาพจิตคนกรุง และวิธีคลายเครียดอย่างสร้างสรรค์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,746 คน พบว่า

เรื่องที่ทำให้คนกรุงเทพฯ เครียดและวิตกกังวลมากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านคือ ข้าวของราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 39.3 (เพิ่มขึ้นจากการสำรวจปี 2555 ร้อยละ 10.7) รองลงมาคือ การจราจรติดขัดคิดเป็นร้อยละ 11.8 (ลดลงร้อยละ 0.6) และการบริหารประเทศของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 10.3 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1) ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าปัญหาที่ท่านรู้สึกเครียด และวิตกกังวลในข้างต้น ส่งผลให้สุขภาพจิตเสียมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 74.9 บอกว่ามากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 25.1 บอกว่าน้อยถึงน้อยที่สุด

สำหรับเรื่องที่อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุดในขณะนี้ เพื่อทำให้สุขภาพจิตของคนกรุงเทพฯ ดีขึ้นคือ แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง (ร้อยละ 43.1) รองลงมาคือความขัดแย้งทางการเมืองทำให้สังคมแตกแยก

(ร้อยละ 21.4) และการทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 15.0) โดยเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นพบว่า ร้อยละ 73.6 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 26.4 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด

นอกจากนี้เมื่อถามว่าคนในกรุงเทพฯ เสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับคนต่างจังหวัด ร้อยละ 56.8 เห็นว่ามีมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 38.2 เห็นว่ามีพอๆกัน และร้อยละ 5.0 เห็นว่ามีน้อยกว่า

สุดท้ายเมื่อถามว่า “ปัจจุบันนี้ ข่าวการเมืองทำให้ท่านเครียดใช่หรือไม่” ร้อยละ 77.8 บอกว่าใช่ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 41.0 เห็นว่าใช่แต่จำเป็นต้องติดตาม และร้อยละ 36.8 เห็นว่าใช่จึงพยายามหลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้ ขณะที่ร้อยละ 22.2 เห็นว่าไม่ใช่เพราะไม่ค่อยสนใจการเมือง

ส่วนวิธีคลายเครียดอย่างสร้างสรรค์ ที่คนกรุงเทพฯ มักทำมากที่สุดเพื่อลดความเครียดคือ คิดบวกอยู่เสมอๆ มองโลกในแง่ดี (ร้อยละ 48.9) รองลงมาคือ ออกกำลังกาย (ร้อยละ 35.1) ทำงานอดิเรกเช่น ปลูกต้นไม้ ดูหนัง(ร้อยละ 32.9) เล่นสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 24.9) และเข้าวัด ฟังเทศน์ ทำบุญ (ร้อยละ 18.8)

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่เครียดและวิตกกังวลมากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่าน คือ
          เรื่อง                                   ปี 2555      ปี 2556        เพิ่มขึ้น / ลดลง
                                                 (ร้อยละ)     (ร้อยละ)         (ร้อยละ)
ข้าวของราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น                       28.6        39.3            10.7
การจราจรติดขัด                                       12.4        11.8            -0.6
การบริหารประเทศของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาล               5.2        10.3             5.1
ปัญหาจากการทำงาน / การเรียน                             9         8.1            -0.9
ความขัดแย้งแตกแยกในสังคม                               6.1         5.6            -0.5
การเป็นหนี้ เช่น ผ่อนบ้าน  ผ่อนรถ                            6         5.4            -0.6
โจรผู้ร้าย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                    4.8         4.7            -0.1
ปัญหายาเสพติด                                         3.1         2.9            -0.2
ปัญหาน้ำท่วม                                          15.4         2.7           -12.7
ปัญหาครอบครัว คนรัก                                    2.7         2.3            -0.4
การเจ็บป่วย                                           1.8         2.2             0.4
การชุมนุมประท้วง                                       1.2         1.7             0.5
ไม่มีเรื่องเครียดและวิตกกังวล                              3.5         2.9            -0.6

2. ปัญหาที่ท่านรู้สึกเครียด และวิตกกังวลในข้างต้น ส่งผลให้สุขภาพจิตเสียมากน้อยเพียงใด
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 14.9 และมากร้อยละ 60.0)          ร้อยละ          74.9
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 22.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 2.2)           ร้อยละ          25.1

3. เรื่องที่อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหามากที่สุดในขณะนี้ เพื่อทำให้สุขภาพจิตของคนกรุงเทพฯ ดีขึ้น

แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง                                     ร้อยละ          43.1
ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้สังคมแตกแยก                     ร้อยละ          21.4
การทุจริต คอร์รัปชั่น                                       ร้อยละ          15.0
การจราจรติดขัด                                          ร้อยละ          14.8
การป้องกันและรับมือกับน้ำท่วม                                ร้อยละ           3.3
แก้ปัญหาสินค้าเกษตร                                       ร้อยละ           1.1
การแก้รัฐธรรมนูญ                                         ร้อยละ           1.3

4. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 4.7 และมากร้อยละ 21.7)           ร้อยละ          26.4
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 46.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 27.1)          ร้อยละ          73.6

5. คนในกรุงเทพฯ เสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับคนต่างจังหวัด
มีมากกว่า                                               ร้อยละ          56.8
มีพอๆกัน                                                ร้อยละ          38.2
มีน้อยกว่า                                               ร้อยละ           5.0

6. ข้อคำถาม “ปัจจุบันนี้ ข่าวการเมืองทำให้ท่านเครียดใช่หรือไม่”
ใช่                                                    ร้อยละ         77.8
          โดย ใช่แต่จำเป็นต้องติดตาม                       ร้อยละ         41.0
          ใช่จึงพยายามหลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้                 ร้อยละ         36.8
ไม่ใช่เพราะไม่ค่อยสนใจการเมือง                             ร้อยละ         22.2

7. วิธีคลายเครียดอย่างสร้างสรรค์ ที่มักทำเพื่อลดความเครียด (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
คิดบวกอยู่เสมอๆ มองโลกในแง่ดี                              ร้อยละ         48.9
ออกกำลังกาย                                            ร้อยละ         35.1
งานอดิเรกเช่น ปลูกต้นไม้ ดูหนัง                              ร้อยละ         32.9
เล่นสังคมออนไลน์                                         ร้อยละ         24.9
เข้าวัด ฟังเทศน์ ทำบุญ                                     ร้อยละ         18.8
นั่งสมาธิให้จิตใจสงบ                                       ร้อยละ         17.9
เข้าคอร์สดูแลตัวเองเช่น ทำหน้า ลดความอ้วน                    ร้อยละ          4.9

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

1. เพื่อสะท้อนเรื่องที่ประชาชนเครียดและวิตกกังวลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

2. เพื่อสะท้อนเรื่องที่อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหา เพื่อทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

3. เพื่อต้องการทราบว่าข่าวการเมืองทำให้เครียดหรือไม่

4. เพื่อสะท้อนวิธีการคลายเครียดอย่างสร้างสรรค์

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,746 คน เป็นชายร้อยละ 49.1 และหญิงร้อยละ 50.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล        :   3 - 7 ตุลาคม 2556

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ            :   9 ตุลาคม 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                              858      49.1
          หญิง                              888      50.9
                    รวม                  1,746       100
อายุ
          18 — 25 ปี                        537      30.7
          26 — 35 ปี                        444      25.4
          36 — 45 ปี                        378      21.7
          46 ปีขึ้นไป                         387      22.2
                   รวม                   1,746       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                     844      48.4
ปริญญาตรี                                    790      45.2
สูงกว่าปริญญาตรี                               112       6.4
                   รวม                   1,746       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ         140        8
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน          409      23.3
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว           349        20
          เจ้าของกิจการ                        99       5.7
          รับจ้างทั่วไป                         253      14.5
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ              100       5.7
          นักศึกษา                            323      18.5
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น      73       4.3
                   รวม                    1,746       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ