ด้วยวันที่ 17 ตุลาคมที่จะถึงนี้เป็นวันเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของแฟนฟุตบอลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเรื่อง “คอบอลกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของวงการฟุตบอลไทย” พบว่า แฟนบอลไทยร้อยละ 52.6 เห็นว่า ปัจจุบันวงการฟุตบอลไทย ทั้งฟุตบอลทีมชาติและฟุตบอลลีก มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 33.1 เห็นว่าเหมือนเดิม ย่ำอยู่กับที่ และร้อยละ 14.3 เห็นว่า แย่ลงกว่าเดิม
แต่เมื่อถามว่ามาตรฐานฟุตบอลทีมชาติไทยในปัจจุบันจะยังคงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนได้อีกนานหรือไม่
ร้อยละ 69.2 กลับเห็นว่าคงโดน เพื่อนบ้านแซงหน้าอีกไม่นาน มีเพียงร้อยละ 30.8 ที่เห็นว่าคงยังเป็นที่ 1 ในอาเซียนได้อีกนาน และเมื่อถามต่อว่าฟุตบอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ จะสามารถคว้าเหรียญทองซีเกมส์ครั้งที่ 27 ที่พม่าในเดือนธันวาคมนี้ได้หรือไม่ ร้อยละ 57.3 บอกว่าคงผ่านรอบแรกไปได้แต่ไม่ถึงเหรียญทอง ขณะที่ร้อยละ 36.5 บอกว่าจะได้เหรียญทอง ที่เหลือร้อยละ 6.2 บอกว่าน่าจะตกรอบแรกเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา
สำหรับการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในวันที่ 17 ตุลาคมที่จะถึงนี้ แฟนฟุตบอลมากถึงร้อยละ 69.1 ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลฯ ขณะที่ร้อยละ 30.9 บอกว่าไม่ทราบ และเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยว่าจะเป็นไปอย่างยุติธรรม โปร่งใสหรือไม่ แฟนบอลไทยร้อยละ 71.7 มีความเชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 28.3 มีความเชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
และเมื่อถามว่า “คิดเห็นอย่างไรต่อการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยคนใหม่” ร้อยละ 80.7 บอกว่าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากเปลี่ยนคนใหม่ ขณะที่ร้อยละ 11.6 บอกว่าใครก็ได้คงเหมือนๆกัน และร้อยละ 7.7 เห็นว่าคนเดิมก็ดีอยู่แล้วผลงานใช้ได้ จะได้สานงานต่อเนื่อง
ด้านความเห็นต่อการพาทีมชาติไทยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลกไม่ว่าจะได้ใครเป็น นายกฯ สมาคมฟุตบอลไทยคนใหม่ แฟนบอลมากถึงร้อยละ 64.1 เห็นว่ายังไงก็ไม่มีทางเป็นไปได้ ขณะที่ ร้อยละ 35.9 เห็นว่าน่าจะทำได้
สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากมีสิทธิ์เลือกนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ท่านจะเลือกใคร” ร้อยละ 83.0 เลือก นายวิรัช ชาญพาณิชย์ ขณะที่ร้อยละ 17.0 เลือกนายวรวีร์ มะกูดี รายละเอียดดังต่อไปนี้
พัฒนาดีขึ้น ร้อยละ 52.6 เหมือนเดิม ย่ำอยู่กับที่ ร้อยละ 33.1 แย่ลงกว่าเดิม ร้อยละ 14.3 2. ความคิดเห็นต่อมาตรฐานฟุตบอลทีมชาติไทยในปัจจุบัน จะยังคงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนได้อีกนานหรือไม่ คิดว่ายังเป็นที่ 1 ในอาเซียนได้อีกนาน ร้อยละ 30.8 คิดว่าอีกไม่นานคงโดน เพื่อนบ้านแซงหน้า ร้อยละ 69.2 3. ความคิดเห็นต่อฟุตบอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ จะสามารถคว้าเหรียญทองซีเกมส์ครั้งที่ 27 ที่พม่าในเดือนธันวาคมนี้ได้หรือไม่ คิดว่าจะได้เหรียญทอง ร้อยละ 36.5 คิดว่าคงผ่านรอบแรกไปได้แต่ไม่ถึงเหรียญทอง ร้อยละ 57.3 คิดว่าตกรอบแรกเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 6.2 4. การรับทราบว่าจะมีการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ทราบ ร้อยละ 69.1 ไม่ทราบ ร้อยละ 30.9 5. ความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยว่าจะเป็นไปอย่างยุติธรรม โปร่งใส
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 2.0 และมากร้อยละ 26.3) ร้อยละ 28.3
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 47.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 24.2) ร้อยละ 71.7 6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “คิดเห็นอย่างไรต่อการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยคนใหม่” อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากเปลี่ยนคนใหม่ ร้อยละ 80.7 เห็นว่าคนเดิมก็ดีอยู่แล้วผลงานใช้ได้ จะได้สานงานต่อเนื่อง ร้อยละ 7.7 เห็นว่าใครก็ได้ คงเหมือนๆกัน ร้อยละ 11.6 7. ความเห็นต่อการพาทีมชาติไทยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลกไม่ว่าจะได้ใครเป็น นายกฯ สมาคมฟุตบอลไทยคนใหม่ คิดว่าน่าจะทำได้ ร้อยละ 35.9 คิดว่ายังไงก็ไม่มีทางเป็นไปได้ ร้อยละ 64.1 8. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากมีสิทธิ์เลือกนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ท่านจะเลือกใคร” นายวิรัช ชาญพาณิชย์ ร้อยละ 83.0 นายวรวีร์ มะกูดี ร้อยละ 17.0
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในวงการฟุตบอลไทย
2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากสนามกีฬาและลานกีฬาต่างๆ ทั้งสิ้น 9 แห่ง ได้แก่ ลานกีฬาใต้สะพานพระราม 8 สนามกีฬาการท่าเรือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติคลองหก สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติบางมด สนามกีฬาไทยญี่ปุ่น-ดินแดง สนามกีฬาธูปะเตมีย์ สนามกีฬาสมุทรปราการ สนามกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และสนามศุภชลาศัย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 699 คน เป็นชายร้อยละ 90.6 และหญิงร้อยละ 9.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10 - 13 ตุลาคม 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 15 ตุลาคม 2556
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 633 90.6 หญิง 66 9.4 รวม 699 100 อายุ 18 — 25 ปี 276 39.5 26 — 35 ปี 207 29.6 36 — 45 ปี 131 18.7 46 ปีขึ้นไป 85 12.2 รวม 699 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 324 46.3 ปริญญาตรี 320 45.8 สูงกว่าปริญญาตรี 55 7.9 รวม 699 100 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 102 14.6 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 228 32.6 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 69 9.9 เจ้าของกิจการ 30 4.3 รับจ้างทั่วไป 63 9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 19 2.7 นักศึกษา 176 25.2 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 12 1.7 รวม 699 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--