กรุงเทพโพลล์: คะแนนนิยมเป็นอย่างไร หลังรัฐบาลแถลงถอน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม

ข่าวผลสำรวจ Monday November 11, 2013 07:01 —กรุงเทพโพลล์

คะแนนนิยมนายอภิสิทธิ์นำนางสาวยิ่งลักษณ์ เช่นเดียวกับคะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ที่นำพรรคเพื่อไทย หลังรัฐบาลแถลงถอน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ 46% ไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะถอน พ.ร.บ. นิรโทษกรรมจริง และ 41% เสนอให้ยุบสภาฯ

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,122 คน ในหัวข้อ “คะแนนนิยมเป็นอย่างไร หลังรัฐบาลแถลงถอน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม” พบว่า

คะแนนนิยมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านอยู่ที่ร้อยละ 34.8 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาร้อยละ 3.1 (จากเดิมร้อยละ 31.7) ขณะที่คะแนนนิยม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่ที่ร้อยละ 26.7 ลดลงถึงร้อยละ 13.7 (จากเดิมร้อยละ 40.4)

ด้านคะแนนนิยมพรรคการเมือง พบว่า พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนนิยมร้อยละ 37.2 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 4.8 (จากเดิมร้อยละ 32.4) ส่วนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมร้อยละ 28.2 ลดลงถึง ร้อยละ 12.8 (จากเดิมร้อยละ 41.0)

เมื่อถามความเห็นประชาชนด้วยข้อคำถามที่ว่า “สถานการณ์ ณ วันนี้ รัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรยุบสภาฯ หรือไม่” ประชาชนร้อยละ 41.1 เห็นว่า “ควรยุบสภาฯ” ขณะที่ร้อยละ 38.7 เห็นว่าไม่ควร ที่เหลือร้อยละ 20.2 ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่า“ท่านเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะถอนและไม่เสนอกฎหมาย

นิรโทษกรรมอีกตลอดอายุของรัฐบาลชุดนี้” ร้อยละ 46.2 บอกว่า “ไม่เชื่อ” ขณะที่ร้อยละ 27.0 บอกว่า “เชื่อ” ที่เหลือร้อยละ 26.8 บอกว่า “ไม่แน่ใจ”

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”
                                        สำรวจเมื่อ            สำรวจเมื่อ          เพิ่มขึ้น / ลดลง
                                     มิ.ย. 56 (ร้อยละ)     พ.ย. 56 (ร้อยละ)         (ร้อยละ)
          น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร               40.4                 26.7               -13.7
          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ               31.7                 34.8                3.1
          คนอื่น/ไม่แน่ใจ/ไม่รู้                 27.9                 38.5               10.6

2. ความเห็นต่อข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง  ท่านจะเลือกพรรคการเมืองใด”
          จะเลือกพรรค...               สำรวจเมื่อ           สำรวจเมื่อ          เพิ่มขึ้น / ลดลง
                                   มิ.ย.56 (ร้อยละ)     พ.ย.56 (ร้อยละ)         (ร้อยละ)
          พรรคเพื่อไทย                     41                28.2               -12.8
          พรรคประชาธิปัตย์                 32.4               37.2                4.8
          พรรคชาติไทยพัฒนา                0.8                 0.8                 -
          พรรคภูมิใจไทย                   0.6                 0.7                0.1
          พรรคพลังชล                     0.6                 0.6                 -
          พรรครักประเทศไทย               0.6                 1.2                0.6
          พรรคอื่นๆ                       0.6                 2.3                1.7
          ไม่แน่ใจ/ไม่รู้                    23.4                29                 5.6

3. ความเห็นต่อข้อคำถาม “สถานการณ์ ณ วันนี้ รัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ควรยุบสภาหรือไม่ ”
          เห็นว่าควร         ร้อยละ          41.1
          เห็นว่าไม่ควร       ร้อยละ          38.7
          ไม่แน่ใจ           ร้อยละ          20.2

4. ความเห็นต่อข้อคำถาม “ท่านเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร จะถอนและไม่เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมอีกตลอดอายุของรัฐบาลชุดนี้”
          เชื่อ         ร้อยละ            27
          ไม่เชื่อ       ร้อยละ          46.2
          ไม่แน่ใจ      ร้อยละ          26.8

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

1. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนระหว่างนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายค้าน

2. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนในพรรคการเมืองต่างๆ

3. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อการคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองด้วยการยุบสภาฯ

4. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการแถลงถอนกฎหมายนิรโทษกรรมของรัฐบาล

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,122 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.5 และเพศหญิงร้อยละ 48.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7 - 8 พฤศจิกายน 2556

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ        :  10 พฤศจิกายน 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                                       577         51.5
          หญิง                                       545         48.5
                      รวม                         1,122          100
อายุ
          18 — 25  ปี                                150         13.4
          26 — 35  ปี                                273         24.3
          36 — 45  ปี                                280           25
          46 — 55  ปี                                228         20.3
          56  ปีขึ้นไป                                 191           17
                      รวม                         1,122          100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                              716         63.8
          ปริญญาตรี                                   342         30.5
          สูงกว่าปริญญาตรี                               64          5.7
                      รวม                         1,122          100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                 122         10.9
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                  221         19.7
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                   252         22.5
          รับจ้างทั่วไป                                 181         16.1
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                      100          8.9
          นักศึกษา                                     67            6
          เกษตรกร                                   134         11.9
          อื่นๆ อาทิ  อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น             45            4
                      รวม                         1,122          100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ