ข่าว/ เหตุการณ์ในประเทศไทยที่ทำให้ปราบปลื้มใจมากที่สุดในรอบปีนี้ คือ ข่าวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ได้แก่ ข่าวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจาก รพ. ศิริราชไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล และข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม 5 ธ.ค. ที่พระราชวังไกลกังวล) ร้อยละ 64.5
ข่าว/เหตุการณ์ที่ทำให้เศร้าสลดใจมากที่สุดในรอบปีนี้ คือ ข่าวการปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. และนักศึกษารามฯ จนมีผู้เสียชีวิตที่ ม.รามคำแหง และการใช้แก๊สน้ำตาของรัฐบาล ร้อยละ 49.2
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่น่ายกย่องมากที่สุดในรอบปีนี้ คือ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 22.4
ข่าวที่สนใจ ติดตาม และเกาะติดมากที่สุดในรอบปีนี้ คือ ข่าวการชุมนุมที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร้อยละ 58.7
ที่สุดแห่งนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ในการชุมนุมทางการเมือง ปี 2556 ที่โดนใจมากที่สุด คือ นกหวีด ร้อยละ 53.5
การสร้างสรรค์คำพูดใหม่ๆ ในปี 2556 ที่คิดว่าฮอตฮิตและโดนใจมากที่สุด คือ คำว่า “จุงเบย” ร้อยละ 54.6
ละครในปี 2556 ที่สร้างสรรค์และสร้างคุณค่าให้กับสังคมมากที่สุด คือ ทองเนื้อเก้า จาก ช่อง 3 ร้อยละ 67.0
บทบาทในตัวละครไทยที่ชื่นชอบมากที่สุดในรอบปี 2556 คือ ลำยอง จากละคร ทองเนื้อ 9 (ช่อง 3)ร้อยละ 42.3
มีรายละเอียดดังนี้
อันดับ 1 ข่าวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ได้แก่ ข่าวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจาก รพ. ศิริราชไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล
และข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม 5 ธ.ค. ที่พระราชวังไกลกังวล) ร้อยละ 64.5 อันดับ 2 ข่าววอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์เอเชีย เป็นครั้งที่ 2 ร้อยละ 13.6 อันดับ 3 ข่าวประชาชนมาร่วมชุมนุมคัดค้าน ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ร้อยละ 9.3 อันดับ 4 ข่าวการประกาศยุบสภาฯ ของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 3.9 อันดับ 5 ข่าวน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ คว้าแชมป์โลก แบดมินตัน ร้อยละ 3.7 2. ข่าว/เหตุการณ์ที่ทำให้เศร้าสลดใจมากที่สุดในรอบปีนี้ 5 อันดับแรก คือ(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
อันดับ 1 ข่าวการปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. และนักศึกษารามฯ จนมีผู้เสียชีวิตที่ ม.รามคำแหง
และการใช้แก๊สน้ำตาของรัฐบาล ร้อยละ 49.2 อันดับ 2 การเมืองไทย ร้อยละ 16.9 อันดับ 3 ข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ร้อยละ 7.8 อันดับ 4 เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 6.0 อันดับ 5 ข่าวการประกาศยุบสภาฯ ของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 3.8 3. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่น่ายกย่องมากที่สุดในรอบปีนี้ 5 อันดับแรก คือ(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) อันดับ 1 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 22.4 อันดับ 2 นักวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ร้อยละ 20.5 อันดับ 3 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร้อยละ 14.7 อันดับ 4 มวลมหาปรชาชนที่มาชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ร้อยละ 8.5 อันดับ 5 น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ แชมป์แบดมินตันโลกปี 2013 ร้อยละ 5.3 4. 10 อันดับข่าวที่สนใจ ติดตามและเกาะติดมากที่สุดในรอบปีนี้ คือ อันดับ ร้อยละ 1 ข่าวการชุมนุมที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ 58.7 2 ข่าวการประกาศยุบสภาฯ ของ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 57.8 3 ข่าวพ.ร.บ. นิรโทษกรรม 52.9 4 ข่าวการแข่งขันวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย 48.8 5 ข่าวตัดสินคดี กรณีเข้าพระวิหาร 38.1 6 ข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 32.3 7 ข่าวการลอบยิง เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ (นักกีฬาแม่นปืน) 32.1 8 ข่าวทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 29.7 9 ข่าวน้ำท่วม ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ 26.0 10 ข่าวพ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท 25.5 5. ที่สุดแห่งนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ในการชุมนุมทางการเมือง ปี 2556 ที่โดนใจมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 นกหวีด ร้อยละ 53.5 อันดับ 2 สัญลักษณ์คัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ร้อยละ 34.8 อันดับ 3 มือตบ ตีนตบ ร้อยละ 24.6 อันดับ 4 การ์ตูนล้อเลียนการเมืองต่าง ๆ ร้อยละ 16.0 อันดับ 5 คลิปล้อเลียนการเมืองต่าง ๆ ร้อยละ 15.0 6. การสร้างสรรค์คำพูดใหม่ๆ ในปี 2556 ที่คิดว่าฮอตฮิตและโดนใจมากที่สุด 5 คำแรก คือ อันดับ 1 จุงเบย ร้อบละ 54.6 อันดับ 2 บ่องตง ร้อยละ 33.7 อันดับ 3 ฟิน ร้อยละ 33.4 อันดับ 4 ฝุดฝุด ร้อยละ 26.0 อันดับ 5 สุดซอย ร้อยละ 22.4 7. ละครในปี 2556 ที่สร้างสรรค์และสร้างคุณค่าให้กับสังคมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ทองเนื้อเก้า จาก ช่อง 3 ร้อยละ 67.0 อันดับ 2 สุภาพบุรุษจุฑาเทพ จาก ช่อง 3 ร้อยละ 7.0 อันดับ 3 เลือดเจ้าพระยา จาก ช่อง 7 ร้อยละ 3.5 อันดับ 4 คู่กรรม จาก ช่อง 5 ร้อยละ 2.1 อันดับ 4 หยกเลือดมังกร จาก ช่อง 7 ร้อยละ 2.1 อันดับ 5 ดาวเรือง จาก ช่อง 3 ร้อยละ 1.6 8. บทบาทในตัวละครไทยที่ชื่นชอบมากที่สุดในรอบปี 2556 5 อันดับแรก คือ(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) อันดับ 1 ลำยอง จากละคร ทองเนื้อ 9 (ช่อง 3) ร้อยละ 42.3 อันดับ 2 วันเฉลิม จากละคร ทองเนื้อ 9 (ช่อง 3) ร้อยละ 39.5 อันดับ 3 คุณชายพุฒิภัทร จากละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ช่อง 3) ร้อยละ 2.8 อันดับ 4 สันต์ จากละคร ทองเนื้อ 9 (ช่อง 3) ร้อยละ 1.8 อันดับ 5 หยก จากละครเรื่องหยกเลือดมังกร (ช่อง7) ร้อยละ 1.6
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับเรื่องที่สุดแห่งปี 2556 ในด้านต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงเรื่องและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตลอดปี 2556 ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน รวมถึงเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สำหรับในกรุงเทพมหานครได้ทำการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 13 เขตได้แก่ ดุสิต บางเขน บางซื่อ บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี และราษฎร์บูรณะ ส่วนจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี มหาสารคาม สงขลา และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,283 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.1 และเพศหญิงร้อยละ 51.9
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 - 15 ธันวาคม 2556
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 20 ธันวาคม 2556
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 617 48.1 หญิง 666 51.9 รวม 1,283 100 อายุ 18-25 ปี 361 28.1 26-35 ปี 322 25.1 36-45 ปี 283 22.1 46 ปีขึ้นไป 317 24.7 รวม 1,283 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 743 57.9 ปริญญาตรี 461 35.9 สูงกว่าปริญญาตรี 79 6.2 รวม 1,283 100 อาชีพ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 148 11.5 พนักงานบริษัทเอกชน 377 29.4 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 204 15.9 เจ้าของกิจการ 49 3.8 รับจ้างทั่วไป 173 13.5 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 74 5.8 เกษตรกร 32 2.5 นักศึกษา นักเรียน 189 14.7 อื่นๆ อาทิ อาชีพ อิสระว่างงาน 37 2.9 รวม 1,283 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--