เนื่องในโอกาส “วันหนังสือเด็กแห่งชาติ” 2 เมษายน 2557 แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายเสียงประชาชน (WE VOICE) ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ของโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน อายุระหว่าง 6-13 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2557 จำนวนทั้งสิ้น 1,124 คน ผลพบว่า
เด็กส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนมากถึงร้อยละ 72.8 ในจำนวนนี้ระบุเหตุผลที่ชอบอ่านหนังสือเพราะมีหนังสือที่ชอบมากที่สุด รองลงมา ชอบอ่านหนังสือเอง และชอบอ่านหนังสือเพราะมีบุคคลต้นแบบ (ร้อยละ 57.1, 18.8 และ 16.1 ตามลำดับ) โดยระบุว่า หนังสือที่ชอบอ่าน คือ หนังสือการ์ตูนมากที่สุด รองลงมาคือ หนังสือนิทาน และหนังสือนิยาย/ซีรีย์ ดารา/บันเทิง ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 53.4, 21.5 และร้อยละ 10.2/10.0 ตามลำดับ)
สำหรับบุคคลต้นแบบที่ทำให้ตนเองชอบอ่านหนังสือนั้น ส่วนใหญ่ระบุว่า คือ พ่อแม่ รองลงมา คือ เพื่อน และครู (ร้อยละ 44.0, 23.2 และ 15.2 ตามลำดับ) ส่วนเหตุผลที่ระบุว่าชอบอ่านหนังสือ เพราะที่บ้านมีหนังสือเยอะ และมีห้องสมุดในโรงเรียน/ใกล้ชุมชน สูงสุดเท่ากัน (ร้อยละ 31.7)
ส่วนกรณีที่เด็กบางส่วน (ร้อยละ 27.2) ไม่ชอบอ่านหนังสืออื่นๆ นอกจากหนังสือเรียนนั้น เด็กๆ ให้เหตุผลว่า เพราะมีอย่างอื่นที่น่าสนใจกว่าให้ทำ (ร้อยละ 31.8) รองลงมาคือ ไม่มีหนังสือที่น่าสนใจ (ร้อยละ 28.4) และที่น่าสนใจคือ อ่านหนังสือไม่ออก คิดเป็นร้อยละ 16.9 และเมื่อถามต่อว่าถ้าต้องการให้ชอบอ่านหนังสือต้องทำอย่างไรเด็กๆ ระบุว่าต้องมีเพื่อนอ่านด้วยกันมากที่สุด(ร้อยละ 28.3) รองลงมาคือ ต้องมีหนังสือที่น่าสนใจ (ร้อยละ 26.9)
เช่นเดียวกัน เมื่อถามถึงประเภทหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนที่เด็กๆ อ่าน พบว่า เด็กส่วนใหญ่ ระบุว่า อ่านหนังสือการ์ตูนมากที่สุด รองลงมาคือ อ่านหนังสือจากสื่อคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต และอ่านหนังสือจากนิตยสารหรือพ็อกเก็ตบุค (ร้อยละ 64.1, 17.1 และ 12.1 ตามลำดับ)
สถานที่ในการอ่านหนังสือของเด็ก ส่วนใหญ่ จะอ่านหนังสือที่บ้านมากที่สุด รองลงมา คือ ห้องสมุดของโรงเรียน และห้องสมุดชุมชน (ร้อยละ 56.0, 29.0 และ 11.2 ตามลำดับ)
ที่น่าสนใจคือ ระยะเวลาในการอ่าน พบว่า เด็กจำนวนเกือบครึ่งอ่านหนังสือน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมา คือ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน และ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 44.6, 40.7 และ 12.3 ตามลำดับ)
สุดท้าย เมื่อถามว่า เมื่อได้อ่านหนังสือแล้ว คิดว่าได้รับประโยชน์อะไรมากที่สุด เด็กตอบว่า ทำให้เป็นคนเก่ง/ฉลาด รองลงมา สามารถสรรค์สร้างจินตนาการได้ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นคนดี และไปเล่าให้เพื่อนๆ ฟังได้ (ร้อยละ 26.3, 22.6, 17.5, 10.0 และ 10.0 ตามลำดับ)
จากผลการสำรวจครั้งนี้ พบประเด็นที่น่าสนใจคือ
ประเด็นที่ 1 เด็กส่วนใหญ่ยังชอบอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนกันมากที่สุด โดยเฉพาะหนังสือการ์ตูนและนิทาน จะเป็นสื่อการอ่านให้กับเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมมากที่สุด
ประเด็นที่ 2 เด็กส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือที่บ้าน และห้องสมุดโรงเรียนมากที่สุด พ่อแม่และเพื่อนๆ ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการทำให้เด็กๆ สนใจการอ่านหนังสือ โดยแรงบันดาลใจของเด็กๆ คือความมุ่งหวังที่จะเป็นคนเก่ง/ฉลาด และสามารถสร้างจินตนาการที่ดีได้
ประเด็นที่ 3 ที่น่าเป็นห่วงอย่างมากก็คือ เด็กไทยส่วนใหญ่ยังใช้ระยะเวลาในการอ่านหนังสือต่อวันค่อนข้างน้อย(น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ถึง 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน) และมีเด็กบางกลุ่ม ในระดับประถมศึกษานี้ ที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก
ทั้งนี้ นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้กล่าวเชิญชวนพ่อแม่ร่วมเทิดพระเกียรติ “เจ้าฟ้านักอ่าน” ร่วมกัน และได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผลสำรวจว่า “เด็กช่วงวัยประถมศึกษา 6-12 ปี เป็นวัยเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา วัยนี้จะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา พร้อมจะออกไปสู่สังคมภายนอกที่ปกป้องเขาน้อยลงในปัจจุบัน เด็กต้องช่วยตัวเองมากขึ้น การอ่านจึงเป็นเครื่องมือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ ผลสำรวจที่พบในครั้งนี้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการที่ คุณพ่อคุณแม่ยังคงมีบทบาทสูงในการเป็นต้นแบบและชี้แนะให้กับลูกได้”
รายละเอียดดังต่อไปนี้
ชอบ ร้อยละ 72.8 ไม่ชอบ ร้อยละ 27.2 สำหรับเด็กที่ชอบอ่านหนังสือ
1.1 เหตุผลที่ชอบอ่านหนังสือ (เพราะอะไรมากที่สุด)
มีหนังสือที่ชอบ ระบุประเภทหนังสือที่ชอบ ร้อยละ 57.1 การ์ตูน ร้อยละ 53.4 นิทาน ร้อยละ 21.5 นิยาย/ซีรี่ย์ ร้อยละ 10.2 ดารา/บันเทิง ร้อยละ 10 สารคดี/ข่าว ร้อยละ 3.3 อื่นๆ เช่น กีฬา การเมือง สืบสวน ร้อยละ 1.6 มีบุคคลต้นแบบ ที่ทำให้ตัวเด็กเองชอบอ่านหนังสือ ร้อยละ 16.1 พ่อแม่ ร้อยละ 44 เพื่อน ร้อยละ 23.2 ครู ร้อยละ 15.2 ญาติ ร้อยละ 5.6 ดารา/นักร้อง ร้อยละ 5.6 อื่นๆ สมเด็จพระเทพฯ โน้ต อุดม ตา ยาย ร้อยละ 6.4 มีสถานที่อำนวยความสะดวก ได้แก่ ร้อยละ 5.6 มีห้องสมุดในโรงเรียน/ใกล้ชุมชน ร้อยละ 31.7 ที่บ้านมีหนังสือเยอะ ร้อยละ 31.7 มีร้านหนังสือใกล้บ้าน ร้อยละ 24.4 ใกล้ร้านไอติม/ร้านกาแฟ/ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 12.2 ชอบอ่านหนังสือเอง ร้อยละ 18.8 อื่นๆ เช่น มีแม่บังคับ ชอบวาดรูปเลยชอบอ่านหนังสือ ร้อยละ 2.5 สำหรับเด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ
เหตุผลที่ไม่ชอบอ่าน( เพราะอะไรมากที่สุด)
มีอย่างอื่นที่น่าสนใจกว่าให้ทำ ร้อยละ 31.8 ไม่มีหนังสือที่น่าสนใจ ร้อยละ 28.4 อ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 16.9 ไม่รู้จะอ่านไปทำไม ร้อยละ 11.8 พ่อแม่ไม่ซื้อให้อ่าน ร้อยละ 6.1 อื่นๆ เช่น ขี้เกียจ ชอบคอมพิวเตอร์มากกว่า ปวดตา ร้อยละ 5.1 หากต้องการให้ชอบอ่านหนังสือ ต้องทำอย่างไร มีเพื่อนอ่านด้วยกัน ร้อยละ 28.3 มีหนังสือที่น่าสนใจ ร้อยละ 26.9 ครูให้อ่านและลดการบ้านให้น้อยลง ร้อยละ 14.1 พ่อแม่อ่านให้ฟัง ร้อยละ 12.1 ควรผลิตหนังสือมีให้เลือกหลายแบบ ร้อยละ 11.8 ควรมีห้องสมุดใกล้บ้าน ร้อยละ 5.1 อื่นๆ ทำเป็นเกมส์ มีรูปแยะๆ ร้อยละ 1.7 2) เด็กๆ อ่านหนังสือ(ที่ไม่ใช่หนังสือเรียน) ประเภทใดมากที่สุด หนังสือการ์ตูน ร้อยละ 64.1 คอมพิวเตอร์/สื่อทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 17.1 นิตยสาร/พ็อกเก็ตบุ๊ค ร้อยละ 12.1 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 6.7 3) เด็กๆ อ่านหนังสือ (รวมหนังสือเรียนและหนังสือทุกประเภท) จากแหล่งใดมากที่สุด บ้าน ร้อยละ 56 ห้องสมุดโรงเรียน ร้อยละ 29 ห้องสมุดชุมชน ร้อยละ 11.2 อื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต 7ELEVEN ร้านขายหนังสือ ร้านเช่าหนังสือ ร้อยละ 3.8 4) เด็กๆ อ่านหนังสือ (รวมหนังสือเรียนและหนังสือทุกประเภท) บ่อยมากน้อยเพียงใด น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 44.6 1 - 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 40.7 3 - 4 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 12.3 มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 2.4 5) เมื่ออ่านหนังสือแล้ว เด็กๆ คิดว่าจะได้รับประโยชน์อะไรกับตัวเด็กเองมากที่สุด เก่ง/ฉลาด ร้อยละ 26.3 สรรค์สร้างจินตนาการได้ ร้อยละ 22.6 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร้อยละ 17.5 เป็นคนดี ร้อยละ 10 ไปเล่าให้เพื่อนๆ ฟังได้ ร้อยละ 10 มีความสุข สงบ และสบายใจ ร้อยละ 8 คิดวิเคราะห์ได้ดี ร้อยละ 5.5
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อทราบถึงเหตุผลที่ทำให้เด็กชอบหรือไม่ชอบการอ่าน
2. เพื่อทราบถึงบุคคลต้นแบบที่ทำให้ชอบอ่านหนังสือของเด็กๆ
3. เพื่อทราบพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเด็กๆ
นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายขั้น (Multi-Stage Stratified Sampling) โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครจะสุ่มจากเขตที่แบ่งพื้นที่ไปตามเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ส่วนพื้นที่ปริมณฑลจะเก็บในพื้นที่ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล
1,124 ตัวอย่าง ซึ่งจะให้ค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-26 มีนาคม 2557
กำหนดวันเผยแพร่ผลสำรวจ : 30 มีนาคม 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์
ลักษณะประชากร จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 534 47.5 หญิง 590 52.5 อายุ (ปี) 6 63 5.6 7 168 14.9 8 167 14.9 9 188 16.7 10 219 19.5 11 151 13.4 12 150 13.3 13 18 1.6 ประเภทโรงเรียน รัฐ 611 54.4 เอกชน 513 45.6
ระดับชั้น
ป1-ป2 310 27.6 ป3-ป4 407 36.2 ป5-ป6 407 36.2 รวม 1,124 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--