กรุงเทพโพลล์: “ประเทศไทยบนโหมดปฏิรูป”

ข่าวผลสำรวจ Monday June 9, 2014 11:27 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ 65.0% เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรมีคุณสมบัติ “เป็นคนเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ และให้ความสำคัญกับการปฏิรูป” ระบุอยากเห็นภาพประเทศไทยไม่มีคอร์รัปชั่น ไม่มีระบบอุปถัมภ์ หลังการปฏิรูปแล้วเสร็จ พร้อมให้กำลังใจหัวหน้า คสช. ในการอดทน มั่นคง แนวแน่ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจต่อจากนี้ไป นักเศรษฐศาสตร์ 80.0% เห็นว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 31 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง “ประเทศไทยบนโหมดปฏิรูป” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 26 – 30 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ผลสำรวจมีดังนี้

การบริหารประเทศในห้วงเวลานี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 65.0 เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรมีคุณสมบัติ เป็นคนเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ และให้ความสำคัญกับการปฏิรูป รองลงมาร้อยละ 10.0 ควรเป็นคนประนีประนอมและเป็นที่ยอมรับทั้งฟาก กปปส. และ นปช. เมื่อถามถึงกรอบเวลาในการบริหารประเทศที่เหมาะสม ร้อยละ 41.7 เห็นว่าไม่ควรเกิน 1 ปี รองลงมาร้อยละ 20.0 เห็นว่าไม่ควรเกิน 6 เดือน

สำหรับประเด็นการปฏิรูปว่าควรมีตัวแทนจากภาคการเมืองหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์คิดเป็นสัดส่วนที่เท่ากันที่ร้อยละ 36.7 เห็นว่าควรมีตัวแทนจากภาคการเมืองโดยให้เหตุผลที่สำคัญว่า “นักการเมืองเป็นผู้รู้ปัญหาและผู้สร้างปัญหาในภาคปฏิบัติจึงต้องเลือกคนที่เป็นกลางและมีจำนวนไม่มาก หากขาดคนกลุ่มนี้อาจเกิดการไม่ยอมรับในภายหลัง” ส่วนที่เห็นว่าไม่ควรมีตัวแทนจากภาคการเมืองโดยให้เหตุผลว่า “ภาคการเมืองเป็นต้นเหตุของปัญหาสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปฏิรูปประเทศ จึงไม่ควรมีทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นกลาง เพื่อความเป็นอิสระปราศจากอิทธิพลทางการเมือง ไม่มีการปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง”

ส่วนเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้มีการปฏิรูปมากที่สุด คือ ด้านการเมืองต้องการให้ปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ในทุกระดับ (ร้อยละ 41.5) ด้านเศรษฐกิจต้องการให้ปฏิรูประบบภาษี (ไม่ว่าจะเป็น ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้ กระจายความเจริญไปยังภูมิภาคให้มากขึ้น (ร้อยละ 29.6) ด้านสังคมต้องการให้ปฏิรูปการศึกษา โอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียม พัฒนาบุคลากรทางศึกษา พัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 34.5)

เมื่อถามถึงภาพประเทศไทยในจินตนาการที่คาดหวังให้เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปแล้วเสร็จ คือ อันดับ 1 ประเทศไทยไม่มีคอร์รัปชั่น ไม่มีระบบอุปถัมภ์ อันดับ 2 คนไทยรักใคร่ สามัคคี ปรองดอง อันดับ 3 ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่มีนโยบายประชานิยมสุดโต่ง นักการเมืองมีคุณภาพ โดยนักเศรษฐศาสตร์มั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จร้อยละ 50.0 จากที่คาดหวังไว้

ส่วนสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์อยากบอกกับหัวหน้า คสช. ในประเด็นการปฏิรูป มีดังนี้

อันดับ 1 เป็นกำลังใจให้ ขอให้อดทน มั่นคง แน่วแน่ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ

อันดับ 2 ต้องเข้าใจปัญหาที่จะปฏิรูป ต้องปฏิรูปอย่างจริงจัง ปูพื้นฐานเรื่องการปฏิรูปให้มั่นคงเพื่อสานต่อในอนาคต

อันดับ 3 ต้องแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้ได้ สร้างค่านิยมรังเกียจการคอร์รัปชั่น

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจต่อจากนี้ไป นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 80.0 เห็นว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 6.7 เห็นว่าเศรษฐกิจน่าจะแย่ลงอีก

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ภายใต้การดูแลรักษาความสงบโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ท่านคิดว่านายกรัฐมนตรีควรเป็นคนที่มีคุณสมบัติอย่างไรเป็นพิเศษในห้วงเวลานี้

ร้อยละ 65.0 เป็นคนเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ และให้ความสำคัญกับการปฏิรูป

ร้อยละ 10.0 เป็นคนประนีประนอมและเป็นที่ยอมรับทั้งฟาก กปปส. และ นปช.

ร้อยละ 6.7 มีความรู้ความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ

ร้อยละ 5.0 เป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ

ร้อยละ 10.0 อื่นๆ คือ มีความเป็นกลาง เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย

รวมถึงมีความรู้ความสามารถอย่างรอบด้าน มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง

ร้อยละ 3.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

2. กรอบเวลาในการปฏิรูปภายใต้การบริหารจัดการโดย คสช. หรือรัฐบาลชุดใหม่ ควรกินเวลานานที่สุดไม่เกินเท่าใด

ร้อยละ 20.0 ไม่ควรเกิน 6 เดือน

ร้อยละ 41.7 ไม่ควรเกิน 1 ปี

ร้อยละ 16.7 ไม่ควรเกิน 1 ปี 6 เดือน

ร้อยละ 13.3 ไม่ควรเกิน 2 ปี

ร้อยละ 1.7 ไม่ควรเกิน 5 ปี

ร้อยละ 3.3 ไม่ควรกำหนดระยะเวลา

ร้อยละ 3.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

3. การปฏิรูปควรมีตัวแทนจากภาคการเมือง หรือไม่

ร้อยละ 36.7 ควรมีตัวแทนจากภาคการเมือง เพราะ...

(1) เป็นผู้รู้ปัญหา/ผู้สร้างปัญหาในภาคปฏิบัติจึงต้องเลือกคนที่เป็นกลางและมีจำนวนไม่มาก

(2) เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญที่จะต้องปฏิรูป ถ้าไม่มีอาจเกิดการไม่ยอมรับในภายหลัง

(3) ควรมีจากทุกภาคส่วนและภาคการเมืองอาจถือเป็นตัวแทนประชาชน

ร้อยละ 36.7 ไม่ควรมีตัวแทนจากภาคการเมือง เพราะ...

(1) ภาคการเมืองเป็นต้นเหตุของปัญหาสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปฏิรูปประเทศ

(2) เพื่อความเป็นกลาง เพื่อความเป็นอิสระปราศจากอิทธิพลทางการเมือง ไม่มีการปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง

(3) ผลการปฏิรูปอาจไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน

ร้อยละ 26.6 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

4. การปฏิรูปประเทศไทยประเด็นใดในแต่ละด้านต่อไปนี้ ที่ท่านต้องการให้มีการปฏิรูปมากที่สุด

4.1 ปฏิรูปด้านการเมือง โดยเฉพาะในประเด็น...

อันดับ 1 การแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ในทุกระดับ (ร้อยละ 41.5)

อันดับ 2 ระบบการเลือกตั้ง การซื้อเสียง นโยบายประชานิยม และคุณภาพนักการเมือง(ร้อยละ 30.2)

อันดับ 3 กลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล (ร้อยละ 11.3)

อันดับ 4 อื่นๆ ได้แก่ ความเป็นอิสระของ สส. การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การปรองดอง(ร้อยละ 17.0)

4.2 ปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเด็น...

อันดับ 1 ปฏิรูประบบภาษี (ไม่ว่าจะเป็น ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้ กระจายความเจริญไปยังภูมิภาคให้มากขึ้น (ร้อยละ 29.6)

อันดับ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนา Logistic (ร้อยละ 13.0)

อันดับ 3 เพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าส่งออก สินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งโดยใช้ประโยชน์จากการค้าเสรีและการเปิด AEC (ร้อยละ 13.0)

อันดับ 4 สร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เท่าเทียม และเป็นธรรม ไม่มีส่วยธุรกิจ (ร้อยละ 11.1)

อันดับ 5 บริหารเศรษฐกิจโดยยึดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มองความยั่งยืนในระยะยาว มีความสมดุลในภาพรวมของเศรษฐิจ เน้นผลิตภาพ (ร้อยละ 9.2)

อันดับ 6 ลดค่าครองชีพของประชาชน / แก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน หนี้นอกระบบ (ร้อยละ 9.2)

อันดับ 7 อื่นๆ ได้แก่ ใช้นโยบายประชานิยมอย่างสร้างสรรค์ อย่าบิดเบือนกลไกราคา สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางการคลัง เพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและบริหารอย่างมืออาชีพ (ร้อยละ 14.9)

4.3 ปฏิรูปด้านสังคม โดยเฉพาะในประเด็น...

อันดับ 1 ปฏิรูปการศึกษา โอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 34.5)

อันดับ 2 สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ (ร้อยละ 21.8)

อันดับ 3 ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับคนไทยให้รู้หน้าที่ ไม่ใช่รู้แต่สิทธิ มีความละอายต่อการทำความผิด สร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคม (ร้อยละ 20)

อันดับ 4 ปฏิรูปกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง เป็นธรรม เท่าเทียม (ร้อยละ 7.3)

อันดับ 5 เร่งสร้างความปรองดอง ความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คนไทย (ร้อยละ 7.3)

อันดับ 6 ปราบปรามยาเสพติด อาชญากรรม (ร้อยละ 5.5)

อันดับ 7 อื่นๆ ได้แก่ ปฏิรูประบบราชการ เตรียมรับมือสังคมผู้สูงอายุ (ร้อยละ 3.6)

5. ภาพประเทศไทยที่คาดหวังจะได้เห็นเมื่อการปฏิรูปประเทศแล้วเสร็จ

อันดับ 1 ไม่มีคอร์รัปชั่น ไม่มีระบบอุปถัมภ์ (ร้อยละ 21.2)

อันดับ 2 คนไทยรักใคร่ สามัคคี ปรองดอง (ร้อยละ 19.7)

อันดับ 3 ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่มีนโยบายประชานิยมสุดโต่ง นักการเมืองมีคุณภาพ (ร้อยละ 12.1)

อันดับ 4 คนไทยมีค่านิยมที่ส่งเสริมคนเก่งและเป็นคนดี ซื่อสัตย์ เสียสละ (ร้อยละ 9.1)

อันดับ 5 การเมืองไทยมีเสถียรภาพ (ร้อยละ 7.6)

อันดับ 6 มีระบบถ่วงดุล ตรวจสอบ และบทลงโทษที่มีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 7.6)

อันดับ 7 มีเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนกินดีอยู่ดี (ร้อยละ 7.6)

อันดับ 8 ข้าราชการเป็นอิสระจากนักการเมือง (ร้อยละ 6.1)

อันดับ 9 กฏหมายศักดิ์สิทธิ์ (ร้อยละ 4.5)

อันดับ 10 อื่นๆ ได้แก่ คนไทยเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น ฝ่ายบริหารมีอำนาจทางการใช้จ่ายน้อยและอยู่ภายใต้การควบคุมโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (ร้อยละ 4.5)

6. ท้ายที่สุดแล้ว มีความมั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จตามที่คาดหวังไว้กี่เปอร์เซ็นต์จากข้อข้างต้น
ร้อยละ 66.7 มั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จ 50% จากที่คาดหวังไว้

(ค่าเฉลี่ย=51.4%, ค่ากลาง=50.0%, ค่าสูงสุด=90.0%, ค่าน้อยสุด=0.0%,

ค่าเฉลี่ยที่ตัดค่าสูงสุดและต่ำสุดออก=51.7%, SD=20.3%) ร้อยละ 33.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

7. สิ่งที่อยากบอกกับหัวหน้า คสช. ในประเด็นการปฏิรูป
อันดับ 1 เป็นกำลังใจให้ ขอให้อดทน มั่นคง แนวแน่ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ (ร้อยละ 32.1)
อันดับ 2 ต้องเข้าใจปัญหาที่จะปฏิรูป ต้องปฏิรูปอย่างจริงจัง ปูพื้นฐานเรื่องการปฏิรูปให้มั่นคงเพื่อสานต่อในอนาคต (ร้อยละ 17.9)
อันดับ 3 ต้องแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้ได้ สร้างค่านิยมรังเกียจการคอร์รัปชั่น(ร้อยละ 10.7)
อันดับ 4 ต้องจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว (ร้อยละ 8.9)
อันดับ 5 ลดการผูกขาดของภาคธุรกิจ กระจายอำนาจการปกครอง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (ร้อยละ 5.6)
อันดับ 6 ต้องเลือกคนเก่งและดีมาช่วยกันบริหารประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน (ร้อยละ 3.6)
อันดับ 7 ต้องมีความยุติธรรมในการลงโทษผู้กระทำความผิด รวมถึงผู้กระทำความผิดทางการเมือง (ร้อยละ 3.6)
อันดับ 8 อื่นๆ ได้แก่ ให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ให้นักวิชาการช่วยคิดแก้ปัญหา (ไม่ควรใช้ตัวแทนกลุ่มอาชีพเพียงอย่างเดียว) เร่งสร้างความปรองดอง แก้ปัญหาการพนัน สื่อสารกับต่างประเทศให้เข้าใจสังคมและการเมืองไทย ลดกำลังทหาร (ร้อยละ 17.6)

หมายเหตุ : มีนักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 51 คน

8. แนวโน้มเศรษฐกิจต่อจากนี้ไป น่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ร้อยละ 80.0 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น

ร้อยละ 6.7 เศรษฐกิจน่าจะแย่ลงอีก

ร้อยละ 5.0 เหมือนเดิม ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

ร้อยละ 8.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
         นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่อความคาดหวังในการปฏิรูปประเทศไทย รวมถึงการบริหารราชการแผ่นดินภายใต้การดูแลรักษาความสงบโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) บริษัททริสเรทติ้ง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซียไซรัส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล          :  26 – 30 พฤษภาคม 2557

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ              :  8 มิถุนายน 2557

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                              28      46.7
          หน่วยงานภาคเอกชน                           22      36.7
          สถาบันการศึกษา                              10      16.6
                    รวม                             60       100
เพศ
          ชาย                                       36        60
          หญิง                                       24        40
                    รวม                             60       100
อายุ
          26 ปี – 35 ปี                               13      21.7
          36 ปี – 45 ปี                               23      38.3
          46 ปีขึ้นไป                                  24        40
                    รวม                             60       100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                    3         5
          ปริญญาโท                                   41      68.3
          ปริญญาเอก                                  16      26.7
                    รวม                             60       100
ประสบการณ์ทำงานรวม
          1-5  ปี                                     8      13.3
          6-10 ปี                                    14      23.3
          11-15 ปี                                    9        15
          16-20 ปี                                   10      16.7
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                             19      31.7
                    รวม                             60       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ