ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง “ครบ 1 เดือน คสช. : ผลงานในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18 – 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลสำรวจมีดังนี้
การบริหารประเทศภายใต้ คสช. ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมาที่มีนโยบายมาตรการต่างๆ ที่ออกมามากมายนั้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 62.6 เห็นว่าการดำเนินงานดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น มีเพียงร้อยละ 18.5 ที่เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว ขณะที่ร้อยละ 10.6 มองว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ผลและไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้
เมื่อพิจารณาการดำเนินงานในแต่ละเรื่องพบว่า เรื่องที่กำลังดำเนินการอยู่และมีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวคือเรื่อง การจัดระเบียบรัฐวิสาหกิจ และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว
ส่วนเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าไม่ได้ผลหรือได้ผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้นคือเรื่อง การปราบปรามการพนัน / บ่อน / หวย
สำหรับเรื่องการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ / ไม่มีสีเสื้อ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 53.3 มองว่าสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะสั้นเท่านั้น และมีถึงร้อยละ 20.0 ที่มองว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ผล เช่นเดียวกับกิจกรรมคืนความสุขให้กับคนไทยที่ร้อยละ 78.3 เห็นว่าได้ผลเพียงในระยะสั้นเท่านั้น
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่าการดำเนินงานของ คสช. ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมายังขาดยุทธศาสตร์ ขาดกลยุทธ์ ขาดความเป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และขาดที่ปรึกษาที่เยี่ยมยอดจึงอาจทำให้ปัญหาที่กำลังแก้อยู่ในปัจจุบันจะกลับมาอีกในอนาคต ดังนั้น การทำงานในช่วงแผนปฏิรูปประเทศระยะที่ 2 คสช. จึงควรวางยุทธศาสตร์การปฏิรูปที่ชัดเจน มุ่งแก้ทุกปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อให้การปฏิรูปสำเร็จตามที่ประชาชนคาดหวัง
สุดท้ายเมื่อถามว่า จีดีพี ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3 ได้หรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์กว่าครึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.7 คิดว่าไม่ได้ มีเพียงร้อยละ 25.0 ที่คิดว่าได้
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
1. การทำงานในรอบ 1 เดือนของ คสช. นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นเพียงใดว่าการแก้ปัญหาที่กำลังดำเนินการอยู่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ในระยะยาว
การทำงานในรอบ 1 เดือนของ คสช. เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหา...
ไม่ได้ผล/แก้ไม่ได้ ได้ผลในระยะสั้น ได้ผลในระยะยาว ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
1.การจัดระเบียบรัฐวิสาหกิจ 6.7 46.7 38.3 8.3 2.การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว 13.3 46.7 30 10 3.การปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรม และสะท้อนกลไกตลาด 25 28.3 33.3 13.4 4.การติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ และแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น 11.7 61.7 20 6.6 5.การปราบปรามอาวุธสงคราม / มือปืน 0 75 18.3 6.7 6.มาตรการลดต้นทุนการผลิตที่จะใช้ช่วยเหลือชาวนา 6.7 71.7 18.3 3.3 7. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ / ไม่มีสีเสื้อ 20 53.3 15 11.7 8. การคืนความสุขให้กับคนไทย 3.3 78.3 13.3 5.1 9. การปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด 3.3 73.3 11.7 11.7 10. การจัดระเบียบวินมอเตอร์ไซต์/รถตู้/แท็กซี่ 11.7 68.3 11.7 8.3 11.การดูแลค่าครองชีพ 16.7 66.7 8.3 8.3 12.การปราบปรามการพนัน / บ่อน / หวย 8.3 81.7 3.3 6.7 ภาพรวม 10.6 62.6 18.5 8.3 หมายเหตุ : รวบรวมและคัดเลือกโดยกรุงเทพโพลล์ 2. การทำงานในรอบ 1 เดือนของ คสช. โดยสังเขปตามการประเมินข้างต้น มีจุดอ่อนตรงไหนที่ต้องรีบแก้ไขหรือแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการทำงานอีก 2 เดือนที่เหลือของแผนปฏิรูปประเทศระยะที่ 1 (เป็นคำถามปลายเปิด)
อันดับ 1 การดำเนินงานยังขาดยุทธศาสตร์ ขาดกลยุทธ์ ขาดความเป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และขาดที่ปรึกษาที่เยี่ยมยอดจึงอาจทำให้ปัญหาที่กำลังแก้อยู่ในปัจจุบันจะกลับมาอีกในอนาคต
อันดับ 2 เพิ่มความจริงจังเด็ดขาด เข้มงวด ในการบังคับใช้กฏหมาย ไม่ต้องเกรงกลัวผู้ใด ต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียม โดยความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายยังต้องมีอยู่เมื่อการบริหารประเทศกลับสู่ภาวะปกติ
อันดับ 3 เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจสิ่งที่ทำว่ามีความจำเป็นและมีเป้าหมายอย่างไรในการแก้ปัญหาต่างๆ มีการสร้างความเชื่อมั่นกับชาวต่างชาติ และนักลงทุน
อันดับ 4 อื่นๆ ได้แก่ เน้นแก้ปัญหาของคนหมู่มาก(เช่นราคาพลังงาน ค่าครองชีพ) เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาจราจร
หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 32 คน
อันดับ 1 วางยุทธศาสตร์การปฏิรูปที่ชัดเจน มุ่งแก้ทุกปัญหาอย่างยั่งยืน
อันดับ 2 แก้กฏหมายเพื่อรองรับการปฏิรูป ปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นในทุกยุคสมัยไม่ว่าใครมาบริหารประเทศ เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น
อันดับ 3 ปฏิรูปเศรษฐกิจ การเกษตร พลังงาน แรงงาน การคอร์รัปชั่น เพื่อประชาชนจะได้อยู่ดีกินดี พร้อมๆ กับการปฏิรูปสังคมด้วยการสร้างสังคมที่มีวินัย ยึดถือคุณธรรม ความซื่อสัตย์เป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม
อันดับ 4 สื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนทราบความก้าวหน้าในการปฏิรูปประเทศ
อันดับ 5 ให้ประชาชน นักวิชาการ มีส่วนร่วมในการปฏิรูป
อันดับ 6 อื่นๆ ตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิรูปเป็นระยะๆ / มอบอำนาจเต็มให้กับรัฐบาลใหม่ในช่วงที่ 2 ที่จะปฏิรูป / สร้างกลไกตรวจสอบการทำงานของ คสช.
หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 31 คน
ร้อยละ 51.7 คิดว่าไม่ได้
ร้อยละ 25.0 คิดว่าได้
ร้อยละ 23.3 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อการทำงาน การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 – 25 มิถุนายน 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 26 มิถุนายน 2557 ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 26 43.3 หน่วยงานภาคเอกชน 21 35 สถาบันการศึกษา 13 21.7 รวม 60 100 เพศ ชาย 36 60 หญิง 24 40 รวม 60 100 อายุ 18 – 25 ปี 1 1.7 26 – 35 ปี 14 23.3 36 – 45 ปี 27 45 46 ปีขึ้นไป 18 30 รวม 60 100 การศึกษา ปริญญาตรี 5 8.4 ปริญญาโท 38 63.3 ปริญญาเอก 17 28.3 รวม 60 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 9 15 6-10 ปี 18 30 11-15 ปี 11 18.3 16-20 ปี 8 13.3 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 14 23.4 รวม 60 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--