วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในยุครัฐบาลทักษิณ 2 ใน
ประเด็นต่อไปนี้
1. รัฐบาลได้บอกกล่าวข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติที่ประชาชนควรรู้ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างชัดเจนเพียงพอหรือไม่
2. ประชาชนเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลแถลงให้ทราบหรือไม่
3. ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่
4. สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบ
เทียบกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,185 คน เป็น
ชายร้อยละ 46.4 และหญิงร้อยละ 53.6
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 28.6 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 36.0 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 20.5 และอายุ 46 ปีขึ้น
ไปร้อยละ 14.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 8.2 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 23.5 อนุปริญญา/ปวส.ร้อยละ 8.9
ปริญญาตรีร้อยละ 48.2 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 11.2
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 19.9 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 35.5 ค้าขายและ
ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 13.0 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 7.2 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 3.5 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 12.9 อาชีพ
อิสระร้อยละ 5.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.9
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10-14 พฤศจิกายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 พฤศจิกายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. ประชาชนร้อยละ 60.5 เห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันยังไม่ได้มีการบอกกล่าวข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติที่ประชาชน
ควรรู้ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างชัดเจนเพียงพอ โดยเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นอันดับแรกในขณะนี้คือ เรื่องสถานการณ์ความไม่
สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 11.9) เรื่องงบประมาณรายจ่ายในโครงการที่มีข่าวเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน (ร้อยละ 11.6)
เรื่องสถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ (ร้อยละ 8.4) เรื่องหุ้น กฟผ. (ร้อยละ 4.4) เรื่องความคืบหน้าในโครงการเมกกะโปรเจ็ก
(ร้อยละ 4.2) เรื่องการปฏิรูปการศึกษาและโอนย้ายข้าราชการครูไปขึ้นกับ อปท.(ร้อยละ 2.7) เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ
อาทิ กสช.และผู้ว่า สตง. (ร้อยละ 1.4) เรื่องไข้หวัดนก (ร้อยละ 1.4) เรื่องอื่นๆ (ร้อยละ 4.8) และไม่ระบุเรื่อง (ร้อยละ
9.7)
ขณะที่ร้อยละ 39.5 เห็นว่ารัฐบาลได้มีการบอกกล่าวข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติให้ประชาชนได้รับทราบอย่างชัดเจน
เพียงพอแล้ว
2. สำหรับความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลแถลงต่อประชาชนที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 52.0 ระบุว่าเชื่อเป็นส่วนน้อย และ
ร้อยละ 5.1 ระบุว่าไม่เชื่อเลย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุว่าเชื่อเป็นส่วนใหญ่ และร้อยละ 1.6 ระบุว่าเชื่อทั้งหมด
3. ร้อยละ 38.1 เชื่อว่าทุกวันนี้ประชาชนไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา มีเพียงร้อย
ละ 13.2 ที่เชื่อว่าประชาชนได้รับรู้ข้อมูลการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา
ขณะที่ร้อยละ 48.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
4. ประชาชนร้อยละ 33.4 เห็นว่าสื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์การ
เมืองน้อยกว่าในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น ขณะที่ร้อยละ 29.7 เห็นว่ามีสิทธิเสรีภาพมากกว่า ร้อยละ 20.0 เห็นว่ามีสิทธิเสรีภาพพอๆ
กัน และร้อยละ 16.9 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 550 46.4
หญิง 635 53.6
อายุ :
18 — 25 ปี 339 28.6
26 — 35 ปี 427 36.0
36 — 45 ปี 243 20.5
46 ปีขึ้นไป 176 14.9
การศึกษา
ประถมศึกษา 98 8.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 278 23.5
อนุปริญญา/ปวส. 105 8.9
ปริญญาตรี 571 48.2
สูงกว่าปริญญาตรี 133 11.2
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 236 19.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 421 35.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 154 13.0
รับจ้างทั่วไป 85 7.2
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 41 3.5
นิสิต/นักศึกษา 153 12.9
อาชีพอิสระ 60 5.1
อื่นๆ 35 2.9
ตารางที่ 2 : ความชัดเจนและเพียงพอของข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติที่รัฐบาลบอกกล่าวแก่ประชาชน
จำนวน ร้อยละ
ชัดเจนเพียงพอแล้ว 468 39.5
ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ 717 60.5
โดยเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงเพิ่มเติมให้ชัดเจนมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่-
- เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (11.9%)
- เรื่องงบประมาณรายจ่ายในโครงการต่างๆที่มีข่าวการทุจริตคอร์รัปชัน (11.6%)
- เรื่องสถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ (8.4%)
- เรื่องความคืบหน้าในโครงการเมกกะโปรเจ็กต่างๆ (4.2%)
- เรื่องหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (4.4%)
- เรื่องการปฏิรูปการศึกษาและโอนย้ายข้าราชการครูไปขึ้นกับ อปท. (2.7%)
- เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ อาทิ กสช. และผู้ว่าฯ สตง. (1.4%)
- เรื่องไข้หวัดนก (1.4%)
- อื่นๆ อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้า การจัดซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่ง
และการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระสังฆราชฯ (4.8%)
- ไม่ระบุ(9.7%)
ตารางที่ 3 : ความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลแถลงต่อประชาชน
จำนวน ร้อยละ
เชื่อทั้งหมด 20 1.6
เชื่อเป็นส่วนใหญ่ 489 41.3
เชื่อเป็นส่วนน้อย 616 52.0
ไม่เชื่อเลย 60 5.1
ตารางที่ 4 : ความตรงไปตรงมาของข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของรัฐบาลที่ประชาชนได้รับ
จำนวน ร้อยละ
ตรงไปตรงมา 156 13.2
ไม่ตรงไปตรงมา 452 38.1
ไม่แน่ใจ 577 48.7
ตารางที่ 5 : สิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของสื่อมวลชนไทย
ในยุครัฐบาลทักษิณ 2 เปรียบเทียบกับในยุครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น
จำนวน ร้อยละ
สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น 352 29.7
สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพน้อยกว่าในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น 396 33.4
สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพพอๆ กับในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น 237 20.0
ไม่แน่ใจ 200 16.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในยุครัฐบาลทักษิณ 2 ใน
ประเด็นต่อไปนี้
1. รัฐบาลได้บอกกล่าวข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติที่ประชาชนควรรู้ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างชัดเจนเพียงพอหรือไม่
2. ประชาชนเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลแถลงให้ทราบหรือไม่
3. ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่
4. สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบ
เทียบกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,185 คน เป็น
ชายร้อยละ 46.4 และหญิงร้อยละ 53.6
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 28.6 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 36.0 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 20.5 และอายุ 46 ปีขึ้น
ไปร้อยละ 14.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 8.2 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 23.5 อนุปริญญา/ปวส.ร้อยละ 8.9
ปริญญาตรีร้อยละ 48.2 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 11.2
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 19.9 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 35.5 ค้าขายและ
ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 13.0 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 7.2 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 3.5 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 12.9 อาชีพ
อิสระร้อยละ 5.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.9
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10-14 พฤศจิกายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 พฤศจิกายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. ประชาชนร้อยละ 60.5 เห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันยังไม่ได้มีการบอกกล่าวข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติที่ประชาชน
ควรรู้ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างชัดเจนเพียงพอ โดยเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นอันดับแรกในขณะนี้คือ เรื่องสถานการณ์ความไม่
สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 11.9) เรื่องงบประมาณรายจ่ายในโครงการที่มีข่าวเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน (ร้อยละ 11.6)
เรื่องสถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ (ร้อยละ 8.4) เรื่องหุ้น กฟผ. (ร้อยละ 4.4) เรื่องความคืบหน้าในโครงการเมกกะโปรเจ็ก
(ร้อยละ 4.2) เรื่องการปฏิรูปการศึกษาและโอนย้ายข้าราชการครูไปขึ้นกับ อปท.(ร้อยละ 2.7) เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ
อาทิ กสช.และผู้ว่า สตง. (ร้อยละ 1.4) เรื่องไข้หวัดนก (ร้อยละ 1.4) เรื่องอื่นๆ (ร้อยละ 4.8) และไม่ระบุเรื่อง (ร้อยละ
9.7)
ขณะที่ร้อยละ 39.5 เห็นว่ารัฐบาลได้มีการบอกกล่าวข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติให้ประชาชนได้รับทราบอย่างชัดเจน
เพียงพอแล้ว
2. สำหรับความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลแถลงต่อประชาชนที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 52.0 ระบุว่าเชื่อเป็นส่วนน้อย และ
ร้อยละ 5.1 ระบุว่าไม่เชื่อเลย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุว่าเชื่อเป็นส่วนใหญ่ และร้อยละ 1.6 ระบุว่าเชื่อทั้งหมด
3. ร้อยละ 38.1 เชื่อว่าทุกวันนี้ประชาชนไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา มีเพียงร้อย
ละ 13.2 ที่เชื่อว่าประชาชนได้รับรู้ข้อมูลการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา
ขณะที่ร้อยละ 48.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
4. ประชาชนร้อยละ 33.4 เห็นว่าสื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์การ
เมืองน้อยกว่าในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น ขณะที่ร้อยละ 29.7 เห็นว่ามีสิทธิเสรีภาพมากกว่า ร้อยละ 20.0 เห็นว่ามีสิทธิเสรีภาพพอๆ
กัน และร้อยละ 16.9 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 550 46.4
หญิง 635 53.6
อายุ :
18 — 25 ปี 339 28.6
26 — 35 ปี 427 36.0
36 — 45 ปี 243 20.5
46 ปีขึ้นไป 176 14.9
การศึกษา
ประถมศึกษา 98 8.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 278 23.5
อนุปริญญา/ปวส. 105 8.9
ปริญญาตรี 571 48.2
สูงกว่าปริญญาตรี 133 11.2
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 236 19.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 421 35.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 154 13.0
รับจ้างทั่วไป 85 7.2
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 41 3.5
นิสิต/นักศึกษา 153 12.9
อาชีพอิสระ 60 5.1
อื่นๆ 35 2.9
ตารางที่ 2 : ความชัดเจนและเพียงพอของข้อมูลข่าวสารในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติที่รัฐบาลบอกกล่าวแก่ประชาชน
จำนวน ร้อยละ
ชัดเจนเพียงพอแล้ว 468 39.5
ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ 717 60.5
โดยเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงเพิ่มเติมให้ชัดเจนมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่-
- เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (11.9%)
- เรื่องงบประมาณรายจ่ายในโครงการต่างๆที่มีข่าวการทุจริตคอร์รัปชัน (11.6%)
- เรื่องสถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ (8.4%)
- เรื่องความคืบหน้าในโครงการเมกกะโปรเจ็กต่างๆ (4.2%)
- เรื่องหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (4.4%)
- เรื่องการปฏิรูปการศึกษาและโอนย้ายข้าราชการครูไปขึ้นกับ อปท. (2.7%)
- เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ อาทิ กสช. และผู้ว่าฯ สตง. (1.4%)
- เรื่องไข้หวัดนก (1.4%)
- อื่นๆ อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้า การจัดซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่ง
และการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระสังฆราชฯ (4.8%)
- ไม่ระบุ(9.7%)
ตารางที่ 3 : ความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลแถลงต่อประชาชน
จำนวน ร้อยละ
เชื่อทั้งหมด 20 1.6
เชื่อเป็นส่วนใหญ่ 489 41.3
เชื่อเป็นส่วนน้อย 616 52.0
ไม่เชื่อเลย 60 5.1
ตารางที่ 4 : ความตรงไปตรงมาของข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของรัฐบาลที่ประชาชนได้รับ
จำนวน ร้อยละ
ตรงไปตรงมา 156 13.2
ไม่ตรงไปตรงมา 452 38.1
ไม่แน่ใจ 577 48.7
ตารางที่ 5 : สิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของสื่อมวลชนไทย
ในยุครัฐบาลทักษิณ 2 เปรียบเทียบกับในยุครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น
จำนวน ร้อยละ
สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น 352 29.7
สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพน้อยกว่าในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น 396 33.4
สื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ 2 มีสิทธิเสรีภาพพอๆ กับในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดอื่น 237 20.0
ไม่แน่ใจ 200 16.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-