84.7% เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันถึงขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง
77.4 % เห็นการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ จากการคุยไลน์ facebook
ระบุ ดารา/นักร้อง และ สื่อมวลชน/นักข่าว เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด
เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ“ภาษาไทยบนสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนคนรุ่นใหม่ที่มีอายุ 15-35 ปี ที่พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,218 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 55.7 ไม่ทราบว่าวันที่ 29 กรกฎาคมที่จะถึงนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ขณะที่ร้อยละ 44.3 บอกว่าทราบ ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.7 เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง และมีเพียงร้อยละ 15.3 เท่านั้นที่เห็นว่าปัจจุบันไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤติจึงไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์
สำหรับผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด คือ ดารา/นักร้อง (ร้อยละ 36.0) รองลงมาร้อยละ 33.3 คือ สื่อมวลชน/นักข่าว และร้อยละ 19.2 คือครู/อาจารย์
ส่วนแหล่งที่มักจะพบเห็นการใช้ภาษาไทยที่สะกด /ออกเสียงผิดเพี้ยนไป หรือคำแปลกๆ บ่อยที่สุดนั้น ร้อยละ 77.4 บอกว่าเห็นจากการคุยไลน์ และการเขียนคอมเมนท์ผ่าน facebook รองลงมาร้อยละ 15.8 เห็นจากการพูดคุยตามๆ กันในหมู่เพื่อนๆ และ ร้อยละ 6.8 เห็นจากพิธีกร ตัวละครในทีวี/ภาพยนตร์
ทั้งนี้ร้อยละ 38.8 ให้เหตุผลที่มักนิยมใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปในสังคมออนไลน์ ว่าใช้ตามๆ กันจะได้เกาะกระแส รองลงมาร้อยละ 32.4 ให้เหตุผลว่า สะกดง่าย สั้น และสื่อสารได้เร็ว และร้อยละ 26.9 ให้เหตุผลว่าเป็นคำที่ใช้แล้วรู้สึก ขำ คลายเครียดได้
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่เห็นการพูดหยาบคายของตัวละครทีวี / ภาพยนตร์ หรือการโพสต์ ข้อความหยาบคายผ่านสังคมออนไลน์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 65.9 รู้สึกว่ารับได้แต่บางครั้งก็มากเกินไป รองลงมาร้อยละ 25.6 รู้สึกว่ารับได้/ไม่ซีเรียส และมีเพียงร้อยละ 8.5 เท่านั้นที่รู้สึกว่ารับไม่ได้เลย
สุดท้ายประชาชนร้อยละ 55.0 เชื่อว่าการให้สื่อมวลชน นักร้อง นักแสดง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มาร่วมรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องจะสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดความนิยมใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องได้ ขณะที่ร้อยละ 14.0 เชื่อว่าไม่ได้ และร้อยละ 31.0 ไม่แน่ใจ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ทราบ ร้อยละ 44.3 ไม่ทราบ ร้อยละ 55.7 2. ความเห็นต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันว่าถึงขั้นวิกฤติและควรมีการรณรงค์อย่างจริงจังหรือไม่ การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันถึงขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง ร้อยละ 84.7 การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤติจึงไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์ ร้อยละ 15.3 3. ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด คือ ดารา/นักร้อง ร้อยละ 36.0 สื่อมวลชน/นักข่าว ร้อยละ 33.3 ครูอาจารย์ ร้อยละ 19.2 ผู้นำประเทศ ร้อยละ 3.8 อื่นๆ อาทิ วัยรุ่น เพื่อน สังคมออนไลน์ เป็นต้น ร้อยละ 7.7 4. แหล่งที่พบเห็นการใช้ภาษาไทยที่สะกด /ออกเสียงผิดเพี้ยนไป หรือคำแปลกๆ บ่อยที่สุด เห็นจากการคุยไลน์ คอมเมนท์ ตามเพจต่างๆ เช่น facebook,pantip ฯลฯ ร้อยละ 77.4 เห็นจากการพูดคุยตาม ๆ กันในหมู่เพื่อนๆ ร้อยละ 15.8 เห็นจาก พิธีกร ตัวละครในทีวี/ภาพยนตร์ ร้อยละ 6.8 5. เหตุผลที่คนมักนิยมใช้ภาษาไทยในการพูด เขียน ผิดเพี้ยน ในสังคมออนไลน์ ใช้ตามๆ กันจะได้เกาะกระแส ร้อยละ 38.8 สะกดง่าย สั้น และสื่อสารได้เร็ว ร้อยละ 32.4 เป็นคำที่ใช้แล้วรู้สึก ขำ คลายเครียดได้ ร้อยละ 26.9 เป็นคำที่สร้างสรรค์ดี ร้อยละ 1.4 อื่นๆ อาทิ สื่อถึงความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดในขณะนั้นได้ตรงกว่า เป็นต้น ร้อยละ 0.5 6. ความรู้สึกเมื่อเห็นการพูดหยาบคายของตัวละครทีวี / ภาพยนตร์ หรือการโพสต์ ข้อความหยาบคายผ่านสังคมออนไลน์ รู้สึกว่ารับไม่ได้เลย ร้อยละ 8.5 รู้สึกว่ารับได้แต่บางครั้งก็มากเกินไป ร้อยละ 65.9 รู้สึกว่ารับได้/ไม่ซีเรียส ร้อยละ 25.6 7. ความเห็นต่อการให้สื่อมวลชน นักร้อง นักแสดง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มาร่วมรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง จะสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดความนิยมใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องได้หรือไม่ เชื่อว่าได้ ร้อยละ 55.0 เชื่อว่าไม่ได้ ร้อยละ 14.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 31.0
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวันภาษาไทย วันที่ 29 กรกฎาคม ในด้านผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทย การใช้และเหตุผลในการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ ตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อการใช้ภาษาไทยแบผิดๆและการใช้คำหยาบคายจากสื่อต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองของประชาชนให้สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีอายุ 18 - 35
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 23 – 25 กรกฎาคม 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 28 กรกฎาคม 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 610 50.1 หญิง 608 49.9 รวม 1,218 100 อายุ 15 ปี - 20 ปี 338 27.8 21 ปี – 25 ปี 308 25.2 26 ปี – 30 ปี 280 23 31 ปี - 35 ปี 292 24 รวม 1,218 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 799 65.6 ปริญญาตรี 371 30.5 สูงกว่าปริญญาตรี 48 3.9 รวม 1,218 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 96 7.9 ลูกจ้างเอกชน 378 31.1 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 181 14.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 39 3.2 ทำงานให้ครอบครัว 27 2.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 20 1.6 นักเรียน/ นักศึกษา 444 36.5 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 33 2.7 รวม 1,218 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--