กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงหลังมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 18, 2014 10:58 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ 65.9% มีความสนใจมากถึงมากที่สุดที่จะติดตามข่าวความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศของ สปช. 62.6% เชื่อว่าหลังการปฏิรูปปัญหาต่างๆ จะยังคงมีเหมือนเดิมหรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 90.4% เห็นควรว่า คสช. สนช. และ สปช. ควรยื่นเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงหลังมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 มีความสนใจมากถึงมากที่สุดที่จะติดตามข่าวความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.1 สนใจและติดตามน้อยถึงน้อยที่สุด

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่าจะสามารถปฏิรูปประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใดพบว่า ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 เชื่อว่าหลังการปฏิรูป ปัญหาต่างๆ จะยังคงมีเหมือนเดิมหรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ร้อยละ 37.4 เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงด้านที่ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากที่สุดพบว่าเป็นด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง (ร้อยละ 45.9) รองลงมาเป็นด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น(ร้อยละ 44.3) และด้านการศึกษา การเรียนรู้ และภูมิปัญญา (ร้อยละ 35.5) ส่วนด้านที่ประชาชนเห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจนน้อยที่สุดคือ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม (ร้อยละ 29.7) และด้านการสร้างระบบการเลือกตั้งที่ดี/ไม่มีนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง/ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง(ร้อยละ 31.6)

เมื่อถามต่อว่า “เห็นด้วยหรือไม่ที่พรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)” ร้อยละ 45.2 บอกว่า “เห็นด้วย” ขณะที่ร้อยละ 39.4 “ไม่เห็นด้วย” และร้อยละ 15.4 “ไม่แน่ใจ”

นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 90.4 ยังเห็นว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน มีเพียงร้อยละ 4.1 ที่เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 5.5 ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่า เชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าคณะกรรมการสรรหาสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะสามารถคัดเลือกผู้สมัครสมาชิก สปช. อย่างยุติธรรมและโปร่งใส ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 บอกว่าเชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.4 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความสนใจที่จะติดตามข่าวความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่กำลังจะเกิดขึ้น

สนใจและติดตามมากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 14.6 และมากร้อยละ 51.3)          ร้อยละ  65.9

สนใจและติดตามน้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 25.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 8.6)           ร้อยละ  34.1

2. ความเชื่อมั่นต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะปฏิรูปประเทศไทยในด้านสำคัญต่างๆ ต่อไปนี้ ให้สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด
ด้าน                                        เชื่อว่าจะเหมือนเดิมหรือ            เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลง
                                           ดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น            ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
                                                 (ร้อยละ)                       (ร้อยละ)

การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง                       54.1                         45.9
การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น                               55.7                         44.3
การศึกษา การเรียนรู้ และภูมิปัญญา                         64.5                         35.5
การสร้างระบบการเลือกตั้งที่ดี/                            68.4                         31.6
ไม่มีนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง/ ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม                  70.3                         29.7
เฉลี่ยรวม                                            62.6                         37.4

3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่พรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)”
          เห็นด้วย                                                   ร้อยละ          45.2
          ไม่เห็นด้วย                                                 ร้อยละ          39.4
          ไม่แน่ใจ                                                   ร้อยละ          15.4

4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านคิดว่าสมาชิกของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชนหรือไม่”
          เห็นว่าควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน                      ร้อยละ          90.4
          เห็นว่าไม่ควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน                    ร้อยละ           4.1
          ไม่แน่ใจ                                                   ร้อยละ           5.5

5. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการสรรหาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ว่าจะสามารถคัดเลือกผู้สมัครสมาชิก สปช. อย่างยุติธรรมและโปร่งใสมากน้อยเพียงใด

เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 10.9 และมากร้อยละ 52.7)             ร้อยละ          63.6

เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 27.2 และน้อยที่สุดร้อยละ 9.2)              ร้อยละ          36.4

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
  • เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อความสนใจที่จะติดตามข่าวความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศ
  • เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่จะปฏิรูปประเทศไทยในด้านสำคัญต่างๆ ให้สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ชัดเจนเพียงใด
  • เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชนของสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   14 - 15 สิงหาคม 2557

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   16 สิงหาคม 2557

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                618      50.6
          หญิง                                604      49.4
                    รวม                    1,222       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       212      17.3
          31 ปี – 40 ปี                       307      25.1
          41 ปี – 50 ปี                       339      27.8
          51 ปี - 60 ปี                       238      19.5
          61 ปี ขึ้นไป                         126      10.3
                    รวม                   1,222       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      854      69.9
          ปริญญาตรี                           303      24.8
          สูงกว่าปริญญาตรี                       65       5.3
                    รวม                   1,222       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        166      13.6
          ลูกจ้างเอกชน                        273      22.4
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        523      42.8
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                59       4.8
          ทำงานให้ครอบครัว                      2       0.2
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            149      12.2
          นักเรียน/ นักศึกษา                     34       2.8
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม            16       1.2
                    รวม                   1,222       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ